เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 1706 พระบวรราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว อำเภอเขาหินซ้อน
Chalan
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


 เมื่อ 22 ม.ค. 21, 15:23

ขออนุญาตเรียนถามถึงความสำคัญที่นำไปสู่การก่อสร้างพระบวรราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประดิษฐานอยู่ข้างวัดเขาหินซ้อนนันทวัฒนาราม ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ค่ะ

สืบเนื่องจากจังหวัดฉะเชิงเทราจัดพิธีถวายราชสักการะพระบวรราชานุสาวรีย์ของพระองค์ท่าน ในวันที่ 7 มกราคม ของทุกปี เลยอยากทราบว่าพระองค์ท่านมีความสำคัญอย่างไรต่อพื้นที่บริเวณนั้นคะ จนนำมาสู่การสร้างพระบวรราชานุสาวรีย์ เพราะเท่าที่ลองหาข้อมูล ไม่พบว่าท่านเคยเสด็จมาค่ะ พบแต่เพียงประวัติการก่อสร้าง

รบกวนท่านผู้รู้ค่ะ ขอบคุณค่ะ





บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 22 ม.ค. 21, 19:15

ไม่ทราบเหมือนกันค่ะ  ถ้าท่านใดทราบ ช่วยเข้ามาตอบด้วยนะคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 22 ม.ค. 21, 22:04

ประวัติการสร้างมีเพียงเท่านี้แล  ขยิบตา


บันทึกการเข้า
Chalan
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 24 ม.ค. 21, 20:17

ประวัติการสร้างมีเพียงเท่านี้แล  ขยิบตา

ขอบคุณมากค่ะ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 26 ม.ค. 21, 10:06


อาจมีความเชื่อมโยงดังนี้ครับ

โดย ท่านอาจารย์ C.NAVARAT
https://www.facebook.com/1174884455908584/posts/2264878186909200/
วังสีทาของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
.
.
หลังจากสยามได้ทำสนธิสัญญาเบาวริงกับอังกฤษ และชาติอื่นๆที่ตามเข้ามาอีก ๑๒ ชาติ พระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ทรงเห็นพ้องต้องกันเห็นว่า หากอนาคตภายหน้าเมื่อสยามเกิดบาดหมางกับชาติตะวันตกแล้ว เขาคงเอาเรือปืนเข้ามาข่มขู่ การตั้งรับในพระนครเห็นทีจะลำบาก  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯจึงมีพระบรมราชานุญาตให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เสด็จออกไปสำรวจภูมิประเทศที่เหมาะจะสร้างเป็นราชธานีสำรองหากเกิดสงคราม จากสระบุรีไปจนถึงโคราช
.
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯได้เสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่ง ถึงอยุธยาแล้วเลี้ยวขวาเข้าแม่น้ำป่าสัก ผ่านสระบุรีจนถึงแก่งคอย ก่อนจะเสด็จต่อโดยสถลมารค ประทับช้างทรงผ่านดงพระยาไฟไปจนจนถึงเมืองนครโคราช แต่ทรงพบว่าขาดแม่น้ำใหญ่พอที่จะหล่อเลี้ยงประชากร ไม่เหมาะที่จะสร้างราชธานีได้ จึงเสด็จย้อนกลับมายังแม่น้ำป่าสัก ซึ่งทรงต้องพระทัยทุ่งกว้างแห่งหนึ่งของแก่งคอย ซึ่งมีภูเขาล้อมรอบดุจปราการธรรมชาติ เหมาะสมที่จะสร้างเมืองตามเหตุผลทางยุทธศาสตร์ดังกล่าวได้
.
จึงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระตำหนักขึ้นที่ตำบลบ้านสีทา ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากทุ่งดังกล่าว ด้วยเหตุว่าเป็นชัยภูมิที่มีคุ้งน้ำมากมาย หากสร้างป้อมปืนใหญ่เรียงรายดักไว้ ก็จะสามารถสะกัดเรือปืนที่มาทางลำน้ำได้ชะงัด  หากจะบุกเข้าถึงเมืองก็ต้องใช้กำลังทางบกซึ่งลำบากกว่ามาก แล้วทรงรับสั่งให้นำช้างและม้าในขบวนเสด็จของพระองค์ไปเลี้ยงแบบปล่อยอิสระที่ทุ่งดังกล่าว โดยให้หลวงยกกระบัตรโนรี นายอำเภอคนแรกของอำเภอแก่งคอย ซึ่งเป็นเชื้อสายลาวเวียงจันทน์  ไปสร้างกำแพงล้อมคอก เพื่อกันมิให้พวกมันหนีออกมาได้  หลังจากนั้น พระองค์จึงได้เสด็จวังสีทาบ่อยๆ
.
เป็นที่รู้กันว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นทรงคุ้นเคยกับชาวลาวมาก ทางทิศเหนือของพระราชวังบวรสถานมงคลในกรุงเทพนั้น มีชุมชนชาวลาวที่ถูกกวาดต้อนมาจากเวียงจันทร์หลังศึกเจ้าอนุอยู่อีกด้านหนึ่งของคลองคูเมือง พระองค์ทรงโปรดที่จะเสด็จไปบ่อยๆจนสามารถแอ่วลาวและทรงแคนได้อย่างชำนิชำนาญ คราวเมื่อเซอร์จอห์น เบาวริ่งมาเฝ้าและรับพระราชทานเลี้ยงที่วังหน้า ยังได้ทรงแคนให้ท่านเซอร์ฟังจนเป็นที่ประทับใจนำไปเขียนชื่นชมพระองค์ท่าน การสนิทสนมกับชาวลาวทั้งที่พระนครและที่บ้านสีทาดังนี้ ไม่เป็นที่สบพระทัยของพระเชษฐานัก ในพระราชบันทึกมีที่ทรงค่อนขอดพระราชอนุชาในเรื่องนี้อยู่ และนั่นก็อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่พระจอมเกล้าทรงเลือกที่จะสร้างพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ในตัวเมืองลพบุรีเป็นที่ประทับของพระองค์แทน
.
วังสีทาได้เป็นเสมือนบ้านหลังที่สองของพระปิ่นเกล้า เพราะไม่นานหลังจากนั้นก็ทรงพระประชวรออดๆแอดๆด้วยวัณโรค ต้องเสด็จไปพักฟื้นพระวรกายที่นั่นครั้งละนานๆ ซึ่งตรงนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงเข้าพระทันไปว่าทรงไปติดสาวลาว ต่อเมื่อพระปิ่นเกล้าทรงเห็นว่าพระอาการหนักขึ้น แล้วเสด็จกลับมาประทับรักษาพระองค์ที่พระตำหนักอิศเรศรังสรรค์ในพระราชวังบวรสถานมงคล พระจอมเกล้าจึงทรงตระหนักความจริงและเสด็จไปเยี่ยมพร้อมกับสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์  หลังจากวันนั้นแล้วไม่นานพระปิ่นเกล้าก็เสด็จสวรรคต

.

ประวัติพนมสารคาม
http://www.phanom.ac.th/web/musiumphanom/what%20is%20phanom/phanom13.html
ดิมอำเภอพนมสารคาม ตั้งอยู่ที่บ้านโพธิ์ใหญ่ มีอำเภอสนามชัยเขตเป็นสาขา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ยกทัพไปตีลาวและเขมร เจ้าพระยาบดินทร์เดชาได้กวาดต้อนชาวลาวและเขมรเข้ามาเป็นจำนวนมาก และกำหนดพื้นที่ให้อยู่เป็นหลักแหล่งพื้นที่ดังกล่าวปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอพนมสารคามและอำเภอสนามชัยเขต เหตุนี้เองชุมชนดังกล่าวจึงหนาแน่นขึ้นเป็นลำดับ
                ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราโชบายยกหมู่บ้านที่เป็นชุมชนหนาแน่นขึ้นเป็นเมือง จึงโปรดเกล้าฯ ให้ "ยกบ้านท่าถ่านเป็นเมืองพนมสารคาม" มีศาลากลางเมือง มีเรือนจำ มีเจ้าเมืองปกครอง พระพนมสารนรินทร์ เป็นเจ้าเมืองคนสุดท้ายก่อนที่จะยุบเป็นอำเภอพนมสารคาม บริเวณที่เป็นที่ตั้งเมืองพนมสารคาม ปัจจุบันเรียกว่า ตำบลเมืองเก่า (เพ็ญศรี ดุ๊ก และนารี สาริกะภูติ, 2529 : 16-17)

http://www.phanom.ac.th/web/musiumphanom/gold%20l%204.htm
เจ้าพระยานิกรบดินทร์มีบัญชาให้พระยาวิเศษฤาไชยทำแผนที่ตำบลบ้านท่าถ่าน แล้วนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ทรงทอดพระเนตรทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทโปรดเกล้าฯ ว่า จากทำเลที่ตั้งบ้านท่าถ่านเดินทางไปเมืองฉะเชิงเทราใช้เวลา 1 คืน เมืองพนัสนิคม 1 วัน จะขึ้นไปเมืองปราจีนบุรีใช้เวลา 1 วัน ไร่นาที่ทำมาหากินก็มีมาก ควรจะยกฐานะขึ้นเป็นเมืองได้ จึงให้เจ้าพระยานิกรบดินทร์ปรึกษากับพระยาวิเศษฤาไชยแบ่งที่เขตแดนเป็นเมืองท่าถ่าน แล้วจัดหานายกกองลาว ปลัดกองลาว พวนคนใดที่เหมาะสมเป็นเจ้าเมือง ปลัด ยกกระบัตร กรรมการ เพื่อให้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองกรมการรับราชการต่อไป

เจ้าพระยานิกรบดินทร์กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า ได้รับใส่เกล้าฯ ปรึกษาพระยาวิเศษฤาไชยจะแบ่งที่ตั้งแต่ปากคลองเจ้าโล้ออกไปบ้านท่าถ่านตลอดปลายคลองบรรจบเข้าพระสทึง ตั้งแต่ไหล่เขาตับมาบรรป? ลงมาถึงบ้านบางแตน? จากลำน้ำใหญ่ เป็นแขวงเมืองท่าถ่านตั้งแต่ปากคลองข้างใต้ตลอดไปจนปลายคลองถึงเชิงเขาเป็นแขวงเมืองฉะเชิงเทรา แต่ที่เจ้าเมืองนั้นได้รับใส่เกล้าฯ ปรึกษานายกองปลัดกองลาวพวน ลาวพวนเวียงจันทร์ ทั้ง 8 กอง เห็นว่าท้าวเพชรบุตรท้าวเหมร เป็นคนเก่าแก่ได้เป็นนายว่ากล่าวบ่าวไพร่มาช้านาน พอจะเป็นเจ้าเมืองได้ เมื่อปรึกษาพระยาวิเศษฤาไชยก็เห็นชอบที่ จะรับพระราชทานท้าวเพชรเป็นเจ้าเมืองท้าวอ้นเป็นปลัด ขุนไสรสุนทรจางวางสวยทองเป็นยกกระบัตร ท้าวตันเป็นผู้ช่วย รับราชการแล้วแต่จะโปรดเกล้าฯ จึงพระราชดำริว่า ซึ่งเจ้าพระยานิกรบดินทร์ปรึกษาพระยาวิเศษฤาไชย จัดแจงแบ่งที่เขตแดนให้ตั้งเมืองแล้วเลือกสรรเอาท้าวเชรเป็นเจ้าเมืองนั้นชอบแล้ว โปรดเกล้าฯ ทรงขนานนามย่านท่าถ่านเป็นเมืองพนมสารคาม ให้พระราชทานนามสัญญาบัตรประทับตราพระบรมราชโองการตั้งท้าวเพชรเป็นที่พระพนมสารนรินทร์ ถือศักดินา 3000 ไร่
บันทึกการเข้า
Chalan
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 26 ม.ค. 21, 15:41


อาจมีความเชื่อมโยงดังนี้ครับ

โดย ท่านอาจารย์ C.NAVARAT
https://www.facebook.com/1174884455908584/posts/2264878186909200/
วังสีทาของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
.
.
หลังจากสยามได้ทำสนธิสัญญาเบาวริงกับอังกฤษ และชาติอื่นๆที่ตามเข้ามาอีก ๑๒ ชาติ พระมหากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ทรงเห็นพ้องต้องกันเห็นว่า หากอนาคตภายหน้าเมื่อสยามเกิดบาดหมางกับชาติตะวันตกแล้ว เขาคงเอาเรือปืนเข้ามาข่มขู่ การตั้งรับในพระนครเห็นทีจะลำบาก  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯจึงมีพระบรมราชานุญาตให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เสด็จออกไปสำรวจภูมิประเทศที่เหมาะจะสร้างเป็นราชธานีสำรองหากเกิดสงคราม จากสระบุรีไปจนถึงโคราช
.
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯได้เสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่ง ถึงอยุธยาแล้วเลี้ยวขวาเข้าแม่น้ำป่าสัก ผ่านสระบุรีจนถึงแก่งคอย ก่อนจะเสด็จต่อโดยสถลมารค ประทับช้างทรงผ่านดงพระยาไฟไปจนจนถึงเมืองนครโคราช แต่ทรงพบว่าขาดแม่น้ำใหญ่พอที่จะหล่อเลี้ยงประชากร ไม่เหมาะที่จะสร้างราชธานีได้ จึงเสด็จย้อนกลับมายังแม่น้ำป่าสัก ซึ่งทรงต้องพระทัยทุ่งกว้างแห่งหนึ่งของแก่งคอย ซึ่งมีภูเขาล้อมรอบดุจปราการธรรมชาติ เหมาะสมที่จะสร้างเมืองตามเหตุผลทางยุทธศาสตร์ดังกล่าวได้
.
จึงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระตำหนักขึ้นที่ตำบลบ้านสีทา ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากทุ่งดังกล่าว ด้วยเหตุว่าเป็นชัยภูมิที่มีคุ้งน้ำมากมาย หากสร้างป้อมปืนใหญ่เรียงรายดักไว้ ก็จะสามารถสะกัดเรือปืนที่มาทางลำน้ำได้ชะงัด  หากจะบุกเข้าถึงเมืองก็ต้องใช้กำลังทางบกซึ่งลำบากกว่ามาก แล้วทรงรับสั่งให้นำช้างและม้าในขบวนเสด็จของพระองค์ไปเลี้ยงแบบปล่อยอิสระที่ทุ่งดังกล่าว โดยให้หลวงยกกระบัตรโนรี นายอำเภอคนแรกของอำเภอแก่งคอย ซึ่งเป็นเชื้อสายลาวเวียงจันทน์  ไปสร้างกำแพงล้อมคอก เพื่อกันมิให้พวกมันหนีออกมาได้  หลังจากนั้น พระองค์จึงได้เสด็จวังสีทาบ่อยๆ
.
เป็นที่รู้กันว่า พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นทรงคุ้นเคยกับชาวลาวมาก ทางทิศเหนือของพระราชวังบวรสถานมงคลในกรุงเทพนั้น มีชุมชนชาวลาวที่ถูกกวาดต้อนมาจากเวียงจันทร์หลังศึกเจ้าอนุอยู่อีกด้านหนึ่งของคลองคูเมือง พระองค์ทรงโปรดที่จะเสด็จไปบ่อยๆจนสามารถแอ่วลาวและทรงแคนได้อย่างชำนิชำนาญ คราวเมื่อเซอร์จอห์น เบาวริ่งมาเฝ้าและรับพระราชทานเลี้ยงที่วังหน้า ยังได้ทรงแคนให้ท่านเซอร์ฟังจนเป็นที่ประทับใจนำไปเขียนชื่นชมพระองค์ท่าน การสนิทสนมกับชาวลาวทั้งที่พระนครและที่บ้านสีทาดังนี้ ไม่เป็นที่สบพระทัยของพระเชษฐานัก ในพระราชบันทึกมีที่ทรงค่อนขอดพระราชอนุชาในเรื่องนี้อยู่ และนั่นก็อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่พระจอมเกล้าทรงเลือกที่จะสร้างพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ในตัวเมืองลพบุรีเป็นที่ประทับของพระองค์แทน
.
วังสีทาได้เป็นเสมือนบ้านหลังที่สองของพระปิ่นเกล้า เพราะไม่นานหลังจากนั้นก็ทรงพระประชวรออดๆแอดๆด้วยวัณโรค ต้องเสด็จไปพักฟื้นพระวรกายที่นั่นครั้งละนานๆ ซึ่งตรงนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงเข้าพระทันไปว่าทรงไปติดสาวลาว ต่อเมื่อพระปิ่นเกล้าทรงเห็นว่าพระอาการหนักขึ้น แล้วเสด็จกลับมาประทับรักษาพระองค์ที่พระตำหนักอิศเรศรังสรรค์ในพระราชวังบวรสถานมงคล พระจอมเกล้าจึงทรงตระหนักความจริงและเสด็จไปเยี่ยมพร้อมกับสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์  หลังจากวันนั้นแล้วไม่นานพระปิ่นเกล้าก็เสด็จสวรรคต

.

ประวัติพนมสารคาม
http://www.phanom.ac.th/web/musiumphanom/what%20is%20phanom/phanom13.html
ดิมอำเภอพนมสารคาม ตั้งอยู่ที่บ้านโพธิ์ใหญ่ มีอำเภอสนามชัยเขตเป็นสาขา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ยกทัพไปตีลาวและเขมร เจ้าพระยาบดินทร์เดชาได้กวาดต้อนชาวลาวและเขมรเข้ามาเป็นจำนวนมาก และกำหนดพื้นที่ให้อยู่เป็นหลักแหล่งพื้นที่ดังกล่าวปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอพนมสารคามและอำเภอสนามชัยเขต เหตุนี้เองชุมชนดังกล่าวจึงหนาแน่นขึ้นเป็นลำดับ
                ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราโชบายยกหมู่บ้านที่เป็นชุมชนหนาแน่นขึ้นเป็นเมือง จึงโปรดเกล้าฯ ให้ "ยกบ้านท่าถ่านเป็นเมืองพนมสารคาม" มีศาลากลางเมือง มีเรือนจำ มีเจ้าเมืองปกครอง พระพนมสารนรินทร์ เป็นเจ้าเมืองคนสุดท้ายก่อนที่จะยุบเป็นอำเภอพนมสารคาม บริเวณที่เป็นที่ตั้งเมืองพนมสารคาม ปัจจุบันเรียกว่า ตำบลเมืองเก่า (เพ็ญศรี ดุ๊ก และนารี สาริกะภูติ, 2529 : 16-17)

http://www.phanom.ac.th/web/musiumphanom/gold%20l%204.htm
เจ้าพระยานิกรบดินทร์มีบัญชาให้พระยาวิเศษฤาไชยทำแผนที่ตำบลบ้านท่าถ่าน แล้วนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ทรงทอดพระเนตรทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทโปรดเกล้าฯ ว่า จากทำเลที่ตั้งบ้านท่าถ่านเดินทางไปเมืองฉะเชิงเทราใช้เวลา 1 คืน เมืองพนัสนิคม 1 วัน จะขึ้นไปเมืองปราจีนบุรีใช้เวลา 1 วัน ไร่นาที่ทำมาหากินก็มีมาก ควรจะยกฐานะขึ้นเป็นเมืองได้ จึงให้เจ้าพระยานิกรบดินทร์ปรึกษากับพระยาวิเศษฤาไชยแบ่งที่เขตแดนเป็นเมืองท่าถ่าน แล้วจัดหานายกกองลาว ปลัดกองลาว พวนคนใดที่เหมาะสมเป็นเจ้าเมือง ปลัด ยกกระบัตร กรรมการ เพื่อให้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองกรมการรับราชการต่อไป

เจ้าพระยานิกรบดินทร์กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า ได้รับใส่เกล้าฯ ปรึกษาพระยาวิเศษฤาไชยจะแบ่งที่ตั้งแต่ปากคลองเจ้าโล้ออกไปบ้านท่าถ่านตลอดปลายคลองบรรจบเข้าพระสทึง ตั้งแต่ไหล่เขาตับมาบรรป? ลงมาถึงบ้านบางแตน? จากลำน้ำใหญ่ เป็นแขวงเมืองท่าถ่านตั้งแต่ปากคลองข้างใต้ตลอดไปจนปลายคลองถึงเชิงเขาเป็นแขวงเมืองฉะเชิงเทรา แต่ที่เจ้าเมืองนั้นได้รับใส่เกล้าฯ ปรึกษานายกองปลัดกองลาวพวน ลาวพวนเวียงจันทร์ ทั้ง 8 กอง เห็นว่าท้าวเพชรบุตรท้าวเหมร เป็นคนเก่าแก่ได้เป็นนายว่ากล่าวบ่าวไพร่มาช้านาน พอจะเป็นเจ้าเมืองได้ เมื่อปรึกษาพระยาวิเศษฤาไชยก็เห็นชอบที่ จะรับพระราชทานท้าวเพชรเป็นเจ้าเมืองท้าวอ้นเป็นปลัด ขุนไสรสุนทรจางวางสวยทองเป็นยกกระบัตร ท้าวตันเป็นผู้ช่วย รับราชการแล้วแต่จะโปรดเกล้าฯ จึงพระราชดำริว่า ซึ่งเจ้าพระยานิกรบดินทร์ปรึกษาพระยาวิเศษฤาไชย จัดแจงแบ่งที่เขตแดนให้ตั้งเมืองแล้วเลือกสรรเอาท้าวเชรเป็นเจ้าเมืองนั้นชอบแล้ว โปรดเกล้าฯ ทรงขนานนามย่านท่าถ่านเป็นเมืองพนมสารคาม ให้พระราชทานนามสัญญาบัตรประทับตราพระบรมราชโองการตั้งท้าวเพชรเป็นที่พระพนมสารนรินทร์ ถือศักดินา 3000 ไร่



ขอบคุณสำหรับการชี้แนะค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 19 คำสั่ง