เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 2664 ขออนุญาตเรียนถามถึงคำไวพจน์ของคำว่าน้องรัก ลูกรัก ที่รัก ในภาษาไทยหน่อยค่ะ
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


 เมื่อ 08 ม.ค. 21, 10:31

ขออนุญาตเรียนถามถึงคำไวพจน์ของคำว่าน้องรัก ลูกรัก ที่รัก ในภาษาไทยที่ใช้ในภาคกลางหน่อยค่ะ คือฉันได้ไปหามาบ้างแล้วในกูเกิ้ลซึ่งส่วนใหญ่จะเอามาจากภาษาต่างชาติ เช่น บาลี สันสกฤต ดิฉันอยากจะหาคำศัพท์เพิ่มเติมรวมไปถึงคำในตระกูลภาษาไทกะไดที่คนภาคกลางใช้ในสมัยก่อนแล้วดิฉันหาไม่เจอซึ่งอาจจะมีคนใช้น้อยลง เลิกใช้ไปแล้ว หรือเปลี่ยนความหมายของคำไปในยุคปัจจุบัน เลยมารบกวนขอคำแนะนำเพิ่มเติมค่ะว่าคำไวพจน์ของคำเหล่านี้มีคำว่ามีอะไรบ้างคะ

1 น้องรัก (น้องในที่นี้หมายถึงทั้งพี่น้องร่วมสายเลืยดเดียวกัน และไม่ร่วมสายเลือดเดียวกันแต่เรียกด้วยความเมตตาเอ็นดูค่ะ)
2 ลูกรัก (ลูกในที่นี้หมายถึงทั้งเป็นพ่อ แม่ ลูกกันจริงๆ และไม่ได้เป็นเป็นพ่อ แม่ ลูกกันจริงๆเดียวกันแต่เรียกด้วยความเมตตาเอ็นดูค่ะ)
3 ที่รัก (ที่รักในที่นี้ในที่นี้หมายคนที่เป็นแฟนกัน และไม่ใช่แฟนกันแต่เรียกด้วยความเมตตาเอ็นดูค่ะ)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 08 ม.ค. 21, 14:07

สำหรับท่านที่ไม่ทราบว่า คำไวพจน์คืออะไร

ไวพจน์   =  คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกัน หรือใกล้เคียงกันมาก เช่น นก ปักษา ปักษิน ปักษี วิหค วิหงค์, คำพ้องความ ก็ว่า.

ตอบข้อ 2  คำไวพจน์  ของ "ลูกรัก" จาก ขุนช้างขุนแผน

เห็นคุ่มคุ่มพุ่มไม้ใจจะขาด                     พ่อพลายงามทรามสวาดิของแม่เอ๋ย
เจ้าไปไหนไม่มาหาแม่เลย                     ที่โคกเคยวิ่งเล่นไม่เห็นตัว
ฤๅล้มตายควายขวิดงูพิษขบ                       ไฉนศพสาบสูญพ่อทูนหัว
........................
จะบนหมูสุราร่ำว่าครบ                       ขอให้พบลูกตัวทูนหัวเอ๋ย
แล้วลดเลี้ยวเที่ยวแลชะแง้เงย               โอ้ทรามเชยหลากแล้วพ่อแก้วตา
ตะโกนเรียกพลายงามทรามสวาดิ           ใจจะขาดคนเดียวเที่ยวตามหา
สะอื้นโอ้โพล้เพล้เดินเอกา                        สกุณานอนรังสะพรั่งไพร
....................
ความดีใจไปกอดเอาลูกแก้ว                  แม่มาแล้วอย่ากลัวทูนหัวแม่
เป็นไรไม่ไปเรือนเที่ยวเชือนแช                         แม่ตามแต่ตะวันบ่ายเห็นหายไป ฯ

หมายเหตุ คำว่า ทูนหัว  แก้วตา  ใช้ได้ทั้งคนรักและลูกรัก
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 08 ม.ค. 21, 16:36

คือฉันได้ไปหามาบ้างแล้วในกูเกิ้ลซึ่งส่วนใหญ่จะเอามาจากภาษาต่างชาติ เช่น บาลี สันสกฤต

อยากทราบคำที่คุณดาวหาได้จากคุณกุ๊ก มีอะไรบ้างหนอ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 10 ม.ค. 21, 19:38

ขออภัยที่มาพูดคุยช้าค่ะ

ขอบคุณคุณเทาชมพูสำหรับคำตอบด้วยค่ะ

คำไวพจน์ที่หาได้บางทีก็มี บางทีก็ไม่มีหรือมีก็ไม่ค่อยตรงซะทีเดียวน่ะค่ะเพ็ญชมพู เช่นคำว่าน้องรัก อันนี้ส่วนใหญ่จะเป็นคำไวพจน์ของคำว่าน้องชาย น้องสาวไปเลย เช่น อนุชา กนิษฐา ยังไม่เจอในแง่รวมไปถึงการเรียกด้วยความเมตตาเอ็นดูรักใคร่เลยค่ะ

ลูกรัก ก็เช่น บุตร ธิดา แต่ดิฉันก็ไม่ค่อยแน่ใจว่าความหมายครอบคลุมไปถึงการเรียกด้วยความเมตตาเอ็นดูรักใคร่ได้ด้วยไหมอีกเช่นกัน

ส่วนที่รัก อันนี้ผู้หญิงหาง่ายหน่อย เช่นเยาวมาลย์ สมร ส่วนผู้ชานยังไม่เจอเลยค่ะจะว่าเป็นว่าว่าพี่ อ้าย อะไรทำนองนี้ก็ไม่รู้จะได้ไหม

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 10 ม.ค. 21, 19:47

หากคุณดาวเปิดพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ จะได้คำที่ต้องการอยู่หลายคำ  ยิงฟันยิ้ม

น้องรัก

ปริยานุช (มาจากภาษาสันสกฤต) = น้องที่รัก
ยาหยี (มาจากภาษาชวา) =  น้องรัก  (แต่ความหมายที่ใช้กันในปัจจุบันหมายถึง "ที่รัก" มากกว่า)

ลูกรัก

ลูกแก้ว, ลูกขวัญ, ลูกแก้วลูกขวัญ = ลูกที่พ่อแม่รักมากที่สุด
ลูกหัวแก้วหัวแหวน = ลูกที่พ่อแม่โปรดปรานมากที่สุด

ที่รัก

กานดา (มาจากภาษาบาลีสันสกฤต) = หญิงที่รัก
จอมขวัญ = ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยม หมายถึง หญิงที่รัก
ชารี (มาจากภาษาบาลีสันสกฤต ใช้เฉพาะเขียนในหนังสือ) = หญิงชู้, หญิงที่รัก
ดวงใจ, ดวงตา = เปรียบเทียบเรียกหญิงที่รักหรือลูกที่รัก
ดวงสมร = หญิงที่รัก
ทรามชม, ทรามเชย, ทรามสงวน, ทรามสวาท = หญิงงามน่ารัก, นางงามผู้เป็นที่รัก
สายสมร = หญิงที่รัก, นาง
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 12 ม.ค. 21, 19:58

ขอบคุณคุณเพ็ญชมพูที่มาให้คำแนะนำค่ะ
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 19 ม.ค. 21, 17:55

ขออนุญาตถามเพิ่มเติมค่ะว่าคำที่มีความหมายเหล่านี้ไม่ค่อยมีในภาษาไทกะไดแบบดั้งเดิมที่คนภาคกลางใช้ถูกไหมคะ เพราะเท่าที่ดูมาจะเป็นภาษาต่างชาติซะเยอะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 19 คำสั่ง