เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 21 22 [23] 24 25 26
  พิมพ์  
อ่าน: 37757 โควิด-๑๙ มหันตภัยโลก (ภาคต่อ 'โคโรนาไวรัสอู่ฮั่น')
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 330  เมื่อ 02 ม.ค. 23, 08:35

สถานการณ์โควิด-๑๙ ในประเทศไทย เดือนธันวาคม ๒๕๖๕

จำนวนผู้ติดเชื้อในโรงพยาบาลค่อย ๆ ลดจำนวนลง จากประมาณ ๖๐๐ ราย/วัน ในสัปดาห์แรก เป็นประมาณ ๓๐๐ ราย/วัน ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน

ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตค่อย ๆ ลดจำนวนเช่นกัน จากประมาณ ๑๕-๑๖ ราย/วัน ในสัปดาห์ที่ ๑-๓  เป็นประมาณ ๑๐ ราย/วัน ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 331  เมื่อ 12 ม.ค. 23, 11:50

ผู้ร้ายตัวใหม่ ชื่อ สายพันธุ์ย่อย XBB.1.5   ตกใจ ตกใจ

ศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat เกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 มีเนื้อหาดังนี้.

12 มกราคม 2566
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 328,963 คน ตายเพิ่ม 1,034 คน รวมแล้วติดไป 669,635,094 คน เสียชีวิตรวม 6,718,899 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา และฮ่องกง
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 15 ใน 20 อันดับแรกของโลก
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 94.87 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 82.78
...อัพเดตเรื่อง Omicron XBB.1.5
เมื่อคืนนี้ 11 มกราคม 2566 องค์การอนามัยโลกได้เผยแพร่ข้อมูลประเมินความเสี่ยงของการระบาดจาก XBB.1.5
ล่าสุดมีรายงานการตรวจพบทั่วโลก 38 ประเทศ นับตั้งแต่ 22 ตุลาคม 2565 ถึง 11 มกราคม 2566
ประเทศที่ส่งรายงานการตรวจพบมากสามอันดับแรกคือ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเดนมาร์ก
อัตราการขยายตัวของการระบาดในสหรัฐอเมริกานั้นสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจากสัปดาห์ละ 1% (ณ สัปดาห์ที่ 47) เพิ่มเป็นสัปดาห์ละ 8% (ณ สัปดาห์ที่ 50) ภายในสามสัปดาห์ และมีการแพร่ระบาดมากแถบตะวันออกเฉียงเหนือ
สายพันธุ์ย่อย XBB.1.5 นี้ เป็นลูกหลานในตระกูล XBB ซึ่งข้อมูลปัจจุบันชี้ชัดว่าดื้อต่อภูมิคุ้มกันมากที่สุดในทุกสายพันธุ์ของโควิด-19 ที่เคยมีมา โดย XBB.1.5 นั้นดื้อเทียบเท่ากับสายพันธุ์ XBB.1
ในแง่ความรุนแรงของโรคนั้น ยังไม่มีข้อมูลยืนยันชัดเจนว่าจะรุนแรงกว่า Omicron สายพันธุ์ย่อยอื่นๆ ที่ระบาดอยู่หรือไม่
องค์การอนามัยโลกประเมินว่า สายพันธุ์ย่อย XBB.1.5 นี้มีแนวโน้มที่จะระบาดมากขึ้นทั่วโลกได้ จึงจำเป็นต้องเฝ้าระวัง ติดตามอย่างใกล้ชิด
ในขณะเดียวกัน Wenseleers T จากเบลเยี่ยม และ Gerstung M จากเยอรมัน ได้ทำการประเมินสมรรถนะการขยายตัวของการระบาดจาก XBB.1.5 ในทวีปต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบกัน
พบว่าปัจจุบัน XBB.1.5 มีอัตราการขยายตัวของการระบาดมากในทวีปอเมริกาเหนือ และยุโรป แต่ทวีปอื่นๆ ก็ยังพบการเพิ่มขึ้นในบางประเทศ ยังไม่มากนัก
...สำหรับคนไทยเรา
ควรระลึก วิเคราะห์ และเรียนรู้จากบทเรียนในรอบสองปีกว่าที่ผ่านมาที่เกิดการติดเชื้อ ป่วย และเกิดความสูญเสียที่เกิดขึ้นจำนวนมาก
สัจธรรมที่เห็นคือ การจะปกป้องสวัสดิภาพและความปลอดภัยในชีวิตได้ จำเป็นต้องมีความรู้เท่าทันสถานการณ์ รับรู้รับทราบข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องและทันต่อเวลา เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ ทำในสิ่งที่ควรทำ
และควรหาทางช่วยกันจัดการ ป้องกันไม่ให้"รากเหง้าสาเหตุ"ของความสูญเสียในอดีต กลับมาทำให้เกิดปัญหาในอนาคต
สำคัญที่สุดคือ ความมีสติ ใส่ใจสุขภาพ ป้องกันตัวสม่ำเสมอ ไม่ประมาท
ระมัดระวังกิจกรรมและสถานที่เสี่ยง แออัด คลุกคลีใกล้ชิดเป็นเวลานาน ระบายอากาศไม่ดี
การไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ครบตามกำหนดจะช่วยลดเสี่ยงป่วยรุนแรง เสียชีวิต และ Long COVID ได้
หัวใจสำคัญคือ การใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง ระหว่างใช้ชีวิตประจำวันนอกบ้าน จะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อแพร่เชื้อลงไปได้มาก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 332  เมื่อ 15 ม.ค. 23, 11:32

จาก FB  คุณหมอยง ภู่วรวรรณ Yong Poovorawan
 
โควิด 19 คำถามที่ถามบ่อย
ยง ภู่วรวรรณ
15 มกราคม  2566

คำถามที่ถามบ่อย จะขอตอบดังนี้
1 สถานการณ์เป็นอย่างไร?
สถานการณ์โควิด 19 อยู่ในขาลง และจะลงไปเรื่อยๆ จนถึงเดือนพฤษภาคม เมื่อเข้าฤดูฝนก็จะพบมากขึ้นอีกเป็นระลอกขึ้นมา ทั้งนี้เพราะประชากรไทยติดเชื้อไปมากแล้ว มากกว่าร้อยละ 70  และโรคเข้าสู่ฤดูกาล
2 นักท่องเที่ยวต่างชาติน่ากลัวไหม?
นักท่องเที่ยวต่างชาติจะนำเชื้อสายพันธุ์ใหม่เข้ามา โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่ดื้อต่อวัคซีน และทำให้เกิดการติดเชื้อระลอกใหม่ขึ้นได้ สายพันธุ์ที่ต้องเฝ้าระวังอย่างยิ่งขณะนี้คือ XBB.1.5 ที่ระบาดมากในอเมริกา และแนวโน้มในยุโรปก่อนที่จะกระจายไปทั่วโลก และเราต้องระวังสายพันธุ์ใหม่ที่จะเกิดขึ้นด้วย
3 การเฝ้าระวังการระบาดจากการท่องเที่ยวทำได้อย่างไร?
ในทางปฏิบัติ ถ้านักท่องเที่ยวใส่หน้ากากอนามัย ก็จะลดการแพร่กระจาย โดยเฉพาะผู้ที่ป่วย แต่คงจะยากที่จะไปบังคับนักท่องเที่ยว การเฝ้าระวังของเรา และป้องกันตัวเราจึงเป็นเรื่องสำคัญ เราจำเป็นที่จะต้องตรวจสายพันธุ์จากนักท่องเที่ยวที่มาป่วยที่บ้านเรา หรือมีการสุ่มตรวจด้วยความสมัครใจ รวมทั้งเฝ้าระวังตรวจสายพันธุ์ในผู้ป่วยคนไทยด้วย เพื่อเป็นสัญญาณเตือน
4 ประชากรไทยติดเชื้อไปแล้วเท่าไหร่?
จากการศึกษาที่ศูนย์ ด้วยการตรวจเลือด 2 โครงการ พบว่าในภาพรวม ติดเชื้อไปแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 70  โดยใน เด็กตั้งแต่อนุบาลขึ้นไปติดเชื้อไปแล้ว ถึงร้อยละ 80  ผู้ใหญ่ที่อายุน้อยกว่า 60 ปี ติดเชื้อไปแล้วประมาณร้อยละ 70  ผู้ ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ติดเชื้อไปแล้วประมาณร้อยละ 50 แต่เมื่อตรวจภูมิต้านทานของทุกกลุ่มอายุ พบว่า มากกว่าร้อยละ 96  ตรวจพบภูมิต้านทานแล้ว เกิดจากการฉีดวัคซีนและหรือการติดเชื้อ ภูมิต้านทานที่ตรวจพบเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้โรคลดความรุนแรงลงเมื่อเปรียบเทียบกับยุคก่อนมีวัคซีน
5 ประชากรไทยยังจำเป็นต้องฉีดวัคซีนหรือไม่?
ในกลุ่มเสี่ยงสูง มีความจำเป็นที่จะต้องฉีดวัคซีนเป็นระยะ โดยเฉพาะที่ฉีด หรือติดเชื้อ นานมาแล้วเกิน 4-6 เดือน ในคนที่ปกติแข็งแรงดี รวมทั้งเด็ก ถ้าเคยฉีดวัคซีนครบ 3 เข็มมาแล้ว  หรือร่วมกับ การติดเชื้อ จะรอไว้ก่อนก็ได้ โดยเฉพาะระยะนี้อยู่ขาลง ถ้าโรคอยู่ในขาขึ้นหรือมีระลอกใหม่ก็ควรจะต้องรีบฉีดวัคซีนกระตุ้น
6 วัคซีนชนิด 2 สายพันธุ์มีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหน?
ขณะนี้มีข้อมูลค่อนข้างชัดเจนขึ้นมาก ว่าวัคซีนชนิด 2 สายพันธุ์ ไม่ได้ดีไปกว่าวัคซีนเดิมเท่าไหร่ (The New England Journal of Medicine, January 12, 2023) วัคซีนจะยังไปกระตุ้นสายพันธุ์ ดั้งเดิม ระดับภูมิต้านทานเมื่อเปรียบเทียบกับ วัคซีน mRNA ชนิดเดิมในเข็มกระตุ้น กับ 2 สายพันธุ์ จึงไม่ได้แตกต่างกันมาก การศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนเข็มกระตุ้น 2 สายพันธุ์ เป็นการศึกษาเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ฉีดกระตุ้น (ในอเมริกาตอนนี้ไม่มีวัคซีน mRNA ชนิดสายพันธุ์เดียวแล้ว) พบว่าการฉีดกระตุ้นด้วยวัคซีน 2 สายพันธุ์กระตุ้น ทำให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 30 - 40+% เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ฉีดเข็มกระตุ้น (MMWR) ประสิทธิภาพจะลดลงตามระยะเวลา ดังนั้นในกลุ่มเสี่ยง เราจะไม่รอวัคซีน 2 สายพันธุ์ ถ้าถึงเวลาที่ต้องกระตุ้นสามารถกระตุ้นได้เลย
7 หน้ากากอนามัยยังจำเป็นไหม?
ยังจำเป็นเมื่อเข้าไปอยู่ในที่ปกปิด เช่นในรถไฟฟ้า รถบัส รถเมล์ หรือที่คนหมู่มาก การอยู่กลางแจ้งจะจำเป็นสำหรับ ผู้ที่ป่วยมีโรคทางเดินหายใจ ควรจะใส่ตลอดเวลา เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ
8 หน้ากากอนามัยสำหรับเด็กอนุบาล และประถมยังจำเป็นไหม?
การดูแลหน้ากากอนามัยของเด็กเล็ก ทำได้ยาก เด็กมักจะใช้มือจับต้องอยู่ตลอด ดังนั้นในเด็กอนุบาลหรือเด็กประถม อาจไม่จำเป็น ควรไปเน้นการป้องกันเรื่องการล้างมือ สุขอนามัย สถานที่เรียนให้สะอาด โดยการหมั่นทำความสะอาดอยู่เป็นนิจ เด็กจำเป็นที่จะต้องมีการเรียนรู้ โดยเฉพาะทางอารมณ์ สีหน้าท่าทาง นอกจากการเรียนรู้ภาษาด้วยการได้ยินอย่างเดียว และเด็กไทยในวัยที่ไปเรียน แล้วติดเชื้อไปแล้วถึงร้อยละ 80  มีภูมิต้านทานเกิดขึ้นจากการติดเชื้อและฉีดวัคซีนแล้ว
9 ลองโควิด และ MISC พบได้บ่อยไหม?
ลองโควิด เป็นอาการที่เกิดขึ้น และ หลงเหลืออยู่หลังเป็นโควิด ส่วนใหญ่จะเป็นความรู้สึก เช่นเหนื่อยหายใจลำบาก หัวมึนตื้อ นอนไม่หลับ ทานอาหารไม่อร่อย พบได้บ่อยในปีแรกๆ ของการระบาดที่โรคมีความรุนแรง และลดลงในปีที่ผ่านมาในยุคของ โอมิครอน ในประชากรไทยที่ติดเชื้อไปแล้วถึงร้อยละ 70  ถ้าไปถามดู ผมเชื่อว่าน้อยมาก ลองถามเพื่อนๆที่เป็นแล้วดู รวมทั้งเด็กด้วย ติดเชื้อไปแล้ว 70%  ถ้าพบเยอะการดูแลทางการแพทย์คงยุ่งไปแล้ว ส่วน MISC เป็นปฏิกิริยาของภูมิต้านทานเชิงระบบ พบในระยะที่มีการติดเชื้อ เด็กไทยติดเชื้อไปแล้วถึงร้อยละ 80  จำนวนตัวเลขที่พบ MISC เราก็อยากรู้ตัวเลขที่แน่นอนเหมือนกัน เพื่อจะได้รู้ว่าอัตราการป่วยเป็นเท่าไหร่ อย่างไรก็ตามเชื่อว่าน้อยมากๆ เมื่อเทียบกับผู้ป่วยทั้งหมดที่ติดเชื้อไปแล้ว ในเด็กหลายล้านคน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 333  เมื่อ 23 ม.ค. 23, 10:41

 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสถึง โควิด XBB.1.5  ตัวใหม่ 
ฟังแล้ว ปีกระต่ายน่าจะเป็นกระต่ายดุเสียแล้ว(ละมั้ง)

เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 128,373 คน ตายเพิ่ม 635 คน รวมแล้วติดไป 673,294,559 คน เสียชีวิตรวม 6,746,068 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ รัสเซีย และเม็กซิโก
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 91.1 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 80.94
...อัพเดตสถานการณ์สายพันธุ์ไวรัส
รายงานจาก GITHUB สรุปสถานการณ์สายพันธุ์ไวรัสทั่วโลกเมื่อวันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา
สรุปว่า XBB.1.5 จัดเป็นสายพันธุ์ไวรัสที่แข็งแรงที่สุด (viral fitness) ที่มีการระบาดอยู่ในปัจจุบัน
แม้ปัจจุบันจะครองสัดส่วนหลักในแถบตะวันออกของอเมริกา แต่คาดว่า XBB.1.5 จะเป็นสายพันธุ์หลักในสหรัฐอเมริกาภายในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์
ในขณะที่แถบยุโรปยังพบในสัดส่วนน้อยราว 5% ณ ช่วงสัปดาห์แรกของปีนี้ แต่ด้วยค่าเฉลี่ยของการระบาดทวีคูณ (doubling time) ราว 10 วัน หากเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ XBB.1.5 เป็นสายพันธุ์หลักได้ตั้งแต่ปลายกุมภาพันธ์
อย่างไรก็ตาม XBB.1.5 อาจไม่ใช่ตัวเดียวที่ครองการระบาด แต่ต้องแข่งขันกับสายพันธุ์อื่นๆ ในแต่ละพื้นที่ด้วย จึงไม่น่าจะเห็นภาพรวมการระบาดที่ครองด้วย XBB.1.5 ตัวเดียวเดี่ยวๆ
สายพันธุ์อื่นๆ ที่พบมากในแต่ละพื้นที่ ได้แก่ XBF ในออสเตรเลีย,
CH.1.1 ในนิวซีแลนด์และสหราชอาณาจักร รวมถึง BQ.1* + S:346T + S:144- ในเดนมาร์ก ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร
...ถ้าประเมินสถานการณ์ของไทย แนวโน้มจะเป็นซุปสายพันธุ์ที่หลากหลาย เพราะปัจจัยหลักมาจากการท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามามากในหลายเดือนที่ผ่านมา สัดส่วนหลักของสายพันธุ์ย่อมแปรผันตามจำนวนคนเดินทางจากภูมิภาคนั้นๆ
...อัพเดต Long COVID
Bowyer RCE และคณะ จากสหราชอาณาจักร เผยแพร่ผลการศึกษาในวารสารสากล European Journal of Epidemiology เมื่อ 21 มกราคมที่ผ่านมา
ทำการวิเคราะห์ลักษณะของอาการผิดปกติภายหลังจากการติดเชื้อโรคโควิด-19 จากฐานข้อมูลวิจัย 9 แหล่ง
สาระสำคัญคือ อาการอ่อนเพลีย/เหนื่อยล้า (Fatique) ปัญหาด้านความคิด/ความจำ/สมาธิ (Difficulty concentrating, memory loss) และอาการปวดกล้ามเนื้อ (Muscle pain) ถือเป็นอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วย Long COVID โดยกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
...การป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อ หรือไม่ติดซ้ำ ย่อมดีที่สุด
การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอระหว่างใช้ชีวิตประจำวัน ทำงาน เรียน หรือเดินทางท่องเที่ยว จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก
อ้างอิง
1. Variant report 2023-01-19. GITHUB. 19 January 2023.
2. Bowyer RCE et al. Characterising patterns of COVID-19 and long COVID symptoms: evidence from nine UK longitudinal studies. European Journal of Epidemiology. 21 January 2023.
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 334  เมื่อ 30 ม.ค. 23, 09:34

สถานการณ์โควิด-๑๙ ในประเทศไทย เดือนมกราคม ๒๕๖๖

จำนวนผู้ติดเชื้อในโรงพยาบาลค่อย ๆ ลดจำนวนลง จากประมาณ ๑๔๒ ราย/วัน ในสัปดาห์แรก เป็นประมาณ ๖๗ ราย/วัน ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน

ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตค่อย ๆ ลดจำนวนเช่นกัน จากประมาณ ๘-๙ ราย/วัน ในสัปดาห์ที่ ๑-๒ เป็นประมาณ ๔ ราย/วัน ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 335  เมื่อ 27 ก.พ. 23, 09:35

สถานการณ์โควิด-๑๙ ในประเทศไทย เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๖

จำนวนผู้ติดเชื้อในโรงพยาบาลค่อย ๆ ลดจำนวนลง จากประมาณ ๓๖-๕๖ ราย/วัน ในสัปดาห์ ๑-๒ เป็นประมาณ ๒๙ ราย/วัน ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน

ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตค่อย ๆ ลดจำนวนเช่นกัน จากประมาณ ๒ ราย/วัน ในสัปดาห์แรกเป็นประมาณ ๑ ราย/วัน ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 336  เมื่อ 03 เม.ย. 23, 09:35

สถานการณ์โควิด-๑๙ ในประเทศไทย เดือนมีนาคม ๒๕๖๖

จำนวนผู้ติดเชื้อในโรงพยาบาลอยู่ในระดับคงที่ประมาณ ๑๗ - ๒๕ ราย/วัน

ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตค่อย ๆ ลดลง จาก ๗ ราย/สัปดาห์ในสัปดาห์แรก เป็น ๓ ราย/สัปดาห์ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 337  เมื่อ 03 เม.ย. 23, 11:42

กำลังอยากทราบสถิติอยู่พอดี    ตอนนี้ออกไปข้างนอก เจอคนไม่สวมหน้ากากอนามัย เพิ่มมากขึ้นแล้วค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 338  เมื่อ 16 เม.ย. 23, 09:35

สถานการณ์ไทยในขณะนี้ มีเคสติดเยอะขึ้น

ยิ่งเห็นไปแออัดมากในงานเทศกาลโดยไม่ป้องกันตัว ความเสี่ยงย่อมมากขึ้นด้วย

ข้อมูลระบาดทั่วโลกชี้ชัดว่า XBB.x น่าจะครองการระบาดหลัก ไทยย่อมเป็นไปได้สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง XBB.1.5 และ XBB.1.16

XBB.x นั้นดื้อภูมิคุ้มกันมาก และดื้อแอนติบอดี้ที่ใช้รักษาด้วย

ขอบคุณแวดวงบันเทิง และสื่อมวลชน ที่ช่วยกันออกมากระตุ้นเตือนประชาชนเรื่องโควิด-๑๙ เสมอ

หากเราจำกันได้ เราตื่นตัวในการระบาดระลอกแรกได้ เพราะคุณแมทธิวที่ช่วยออกมาแจ้งข่าวเรื่องสนามมวย

ในระลอกถัด ๆ มา ก็มีการแจ้งเตือนกันมาเรื่อย ๆ

จนมาถึงระลอกนี้ คุณป๋อณัฐวุฒิ ออกมาเตือนดัง ๆ ให้ระมัดระวังป้องกันตัวกัน เพราะหากติดเชื้อและป่วยมีอาการรุนแรง จะลงปอดได้ด้วย

รวมถึงข่าวของคุณวีไวโอเล็ต โดยสาระในคลิปจากข่าวคุณสรยุทธเช้านี้ ชี้ให้เห็นว่า เราสามารถติดเชื้อมาโดยไม่รู้ตัวหรือยังไม่มีอาการ แล้วนำพามาติดคนในบ้านได้ ยิ่งหากมีการแชร์แก้วน้ำดื่มหรือของกินของใช้กัน ก็จะเสี่ยงที่จะติดได้



ขอให้ทุกท่านสุขภาพแข็งแรง หายป่วยโดยเร็วครับ และขอบคุณมาก ๆ ที่ช่วยออกมากระตุ้นเตือนประชาชนให้ระมัดระวัง

ดังนั้น การป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอระหว่างใช้ชีวิตประจำวันจึงเป็นเรื่องจำเป็น ระวังที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี การคลุกคลีใกล้ชิด และการแชร์ของกินของใช้กับผู้อื่น

การใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก

คำเตือนจาก

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๑๕ เมษายน ๒๕๖๖ (๑)  (๒)
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 339  เมื่อ 01 พ.ค. 23, 10:35

สถานการณ์โควิด-๑๙ ในประเทศไทย เดือนเมษายน ๒๕๖๖

จำนวนผู้ติดเชื้อที่เข้าโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นจากประมาณ ๒๔ ราย/วันในสัปดาห์แรก เป็นประมาณ ๒๕๘ ราย/วันในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน

ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นจาก ๒ ราย/สัปดาห์ในสัปดาห์แรก เป็น ๑๐ ราย/สัปดาห์ ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน

การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อที่เข้าโรงพยาบาลและจำนวนผู้เสียชีวิต คงเนื่องมาจากเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมานั่นแล


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 340  เมื่อ 06 พ.ค. 23, 17:35

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization - WHO) ประกาศเมื่อวานนี้ (๕ พฤษภาคม ๒๕๖๖)ว่า การระบาดของโควิด-๑๙ ไม่ถูกจัดว่าเป็น สถานการณ์ฉุกเฉินทางสาธารณสุขอีกต่อไป

ผู้อำนวยการใหญ่ WHO เทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส กล่าวว่า เขารู้สึกถึงความหวังอันยิ่งใหญ่ ที่จะประกาศว่า สถานการณ์การระบาดของโควิด-๑๙ ที่เป็นภัยฉุกเฉินด้านสาธารณสุขโลกได้จบลงแล้ว แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าโควิด-๑๙ ไม่ได้เป็นภัยคุกคามทางสาธารณสุขโลกอีกต่อไป

เขากล่าวว่า จะยังคงเฝ้าระวังหากว่าเกิดโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่เป็นอันตรายต่อสถานการณ์สาธารณสุขโลก ประเทศส่วนใหญ่ให้เห็นประชาชนกลับมาใช้ชีวิตเช่นเดียวกับช่วงก่อนการระบาดใหญ่ และโดยรวมทิศทางของสถิติการระบาดอยู่ในช่วงขาลง

ทั้งนี้ ตั้งแต่องค์การอนามัยโลกประกาศให้โควิดเป็นสถานการณ์วิกฤตระดับนานาชาติเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๓ คาดว่ามีคนติดโควิดทั่วโลก ๗๖๔ ล้านคน ส่วนจำนวนผู้ได้รับวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งโดสอยู่ที่ราว ๕,๐๐๐ ล้านคน

สหรัฐอเมริกา เป็นประเทศที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในโลก โดยอยู่ที่ระดับมากกว่า ๑ ล้านราย

ข่าวจาก voathai

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 341  เมื่อ 07 พ.ค. 23, 10:54

แปลว่าจะถอดหน้ากากแล้วหรือคะ
หรือว่่ายังต้องสวมต่อไป
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 342  เมื่อ 07 พ.ค. 23, 12:35

เมื่อวานนี้ (๖ พฤษภาคม ๒๕๖๖) ผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลก ๒ ท่าน คือดร. ไมค์ ไรอัน กรรมการบริหารโครงการฉุกเฉินด้านสุขภาพขององค์การอนามัยโลก และ ดร.มาเรีย ฟาน เคอร์โคฟ หัวหน้าด้านเทคนิคสำหรับการตอบสนองของโควิด-๑๙ ประจำองค์การอนามัยโลกได้ตอบคำถามสำคัญ ที่ประชาชนสนใจสอบถามผ่านสื่อดิจิทัลหลังจากที่องค์การอนามัยโลกได้ประกาศยุติภาวะฉุกเฉินในวิกฤตโควิด-๑๙ ไปเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ดังนี้

๑. ไม่สามารถกำจัดไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ให้หมดไปจากโลก(eradication) หรือกำจัดให้หมดไปจากท้องถิ่น (elimination) ได้เหมือนกับที่เคยกำจัดไวรัสไข้ทรพิษด้วยการปลูกฝีในอดีต  หรือไวรัสโปลิโอที่ใกล้จะสูญพันธุ์หมดไปจากโลกจากการหยอดวัคซีน  ทั้งนี้เนื่องจากไวรัสทั้งสอง (ไวรัสไข้ทรพิษ และ ไวรัสโปลิโอ) มีการระบาดเฉพาะในมนุษย์เท่านั้นจึงง่ายที่จะควบคุมหรือกำจัด ส่วนโคโรนาสามารถติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน  และจากคนกลับสู่สัตว์ (zoonotic infection) จึงเป็นการยากมากที่กำจัดไวรัสที่แพร่ระบาดในสัตว์และข้ามไปมาในคน

๒. โควิด-๑๙ ทางองค์การอนามัยโลกยังถือว่ามีการระบาดทั่วโลก (Pandemic) ยังไม่ใช่โรคประจำถิ่น (Endemic)

๓. การระบาดของโควิด-๑๙ ขณะนี้ยังไม่ใช่โรคที่ระบาดตามฤดูกาล (Seasonal infectious disease)  เหมือนไข้หวัดใหญ่เพราะองค์การอนามัยโลกยังไม่พบรูปแบบการระบาดในแต่ละช่วงของปี ดังนั้นในกรณีของไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หากเกิดการกลายพันธุ์เมื่อใด ก็สามารถก่อให้เกิดการระบาดได้เมื่อนั้นในทุกช่วงของปี

๔. องค์การอนามัยโลกยังไม่มีข้อมูลพอเพียงในขณะนี้ที่จะกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสม หรือความถี่ห่างในการฉีดวัคซีนและเข็มกระตุ้น แต่สนับสนุนให้มีการฉีดวัคซีนในกลุ่มเปราะบางเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเมื่อมีการระบาดของโควิด-๑๙ เกิดขึ้น



จาก ศูนย์จีโนมทางการแพทย์

แปลว่าจะถอดหน้ากากแล้วหรือคะ
หรือว่ายังต้องสวมต่อไป

การระบาดยังไม่สิ้นสุด  แต่ก็เบาบางลงไปมาก ส่วนตัวที่ถือปฏิบัติอยู่คือ หากอยู่ในที่โล่งแจ้ง ก็ไม่จำเป็นต้องสวมหน้ากาก แต่หากอยู่ในสถานที่ปิดซึ่งมีคนอยู่หนาแน่น การสวมหน้ากากอนามัยย่อมปลอดภัยมากกว่า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 343  เมื่อ 26 พ.ค. 23, 11:51

“จง หนานซาน” ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบทางเดินหายใจชั้นนำของจีนเผยจีนกำลังเผชิญการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ โดยจะมียอดติดเชื้อสูงสุดช่วงปลายเดือน มิ.ย. 2566 ประมาณ 65 ล้านรายต่อสัปดาห์

นายจงฯ เปิดเผยในการประชุมวิทยาศาสตร์ Greater Bay Area Science Forum ประจำปี 2566 ที่เมืองกว่างโจว มณฑลกวางตุ้งว่า วัคซีนใหม่ 2 ชนิดที่ใช้ต่อต้านโควิดสายพันธุ์ “XBB” จะถูกนำมาใช้ในเร็วๆ นี้

ด้านนายหวัง กวงฟา ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจของโรงพยาบาลหมายเลข 1 ของมหาวิทยาลัยปักกิ่งระบุว่า โรงพยาบาลจะไม่ประสบปัญหาเตียงล้น ทั้งนี้ แม้การติดเชื้อซ้ำมักมีอาการไม่รุนแรง อย่างไรก็ดี กลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้ที่มีโรคประจำตัวควรป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งประเทศจีน (CDC) เปิดเผยว่า อัตราการติดเชื้อของโควิด-19 สายพันธุ์ XBB เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.2 ในกลางเดือนกุมภาพันธ์เป็นร้อยละ 74.4 ในปลายเดือนเมษายน และกลายเป็นร้อยละ 83.6 ในต้นเดือนพฤษภาคม

รายงานระบุว่า ความสามารถในการแพร่เชื้อและความสามารถในการหลบหนีของภูมิคุ้มกันของโควิด-19 สายพันธุ์ XBB นั้นแข็งแกร่งกว่าสายพันธุ์โอมิครอน

ด้านนายเซี่ย เหลียงจื้อ ประธานบริษัทเวชภัณฑ์ SinoCellTech ให้ความเห็นว่า วัคซีนที่ผลิตจากเชื้อโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิมไม่ได้ออกแบบมาเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากสายพันธุ์ใหม่ จึงไม่สามารถกระตุ้นแอนติบอดีได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการต่อสู้กับสายพันธุ์ใหม่ ในขณะที่วัคซีนรุ่นใหม่สามารถกระตุ้นแอนติบอดีได้อย่างมีประสิทธิภาพ"

https://mgronline.com/china/detail/9660000048415
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 344  เมื่อ 30 พ.ค. 23, 16:35

สถานการณ์โควิด-๑๙ ในประเทศไทย เดือนพฤษภาคม ๒๕๖๖

จำนวนผู้ติดเชื้อที่เข้าโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นจากประมาณ ๒๔๒ ราย/วันในสัปดาห์แรก เป็นประมาณ ๔๒๔ ราย/วันในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน

ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นจาก ๑๐ ราย/สัปดาห์ในสัปดาห์แรก เป็น ๖๔ ราย/สัปดาห์ ในสัปดาห์ที่ ๓ และลดลงเป็น ๔๒ ราย ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน

การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อที่เข้าโรงพยาบาลและจำนวนผู้เสียชีวิต อาจจะเป็นควันหลงจากสงกรานต์และการเปิดเทอมของสถานศึกษา


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 21 22 [23] 24 25 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.082 วินาที กับ 20 คำสั่ง