เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 38626 โควิด-๑๙ มหันตภัยโลก (ภาคต่อ 'โคโรนาไวรัสอู่ฮั่น')
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 300  เมื่อ 03 ก.ค. 22, 10:35

๓ กรกฎาคม ๒๕๖๕

สถานการณ์ระบาดของไทย จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า

จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ ๑๒ ของโลก และอันดับ ๒ ของเอเชีย แม้สาธารณสุขไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ ๑ พฤษภาคม จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม

มองสถานการณ์ครึ่งหลังของปี ๒๕๖๕ : BA.5 การระบาดระลอกที่ ๕ ของไทย

ลักษณะการระบาดของ BA.5


เท่าที่ติดตามข้อมูลมา ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกที่มี BA.5 ระบาดมาก่อนเรานั้น ตอนนี้มีราว ๒๐% ที่มี peak สูงกว่าระลอกก่อนหน้า โดยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น เสรีใช้ชีวิตโดยไม่ป้องกันตัว กิจกรรมเสี่ยง ความแออัด รวมถึงคำแนะนำในการปฏิบัติตัวจากหน่วยงานรัฐ

สมรรถนะของประชาชนในการติดตามสถานการณ์

ระบบรายงานสถานการณ์ในปัจจุบันของไทย ไม่สะท้อนสถานการณ์จริง เพราะเลือกรายงานเฉพาะเคสที่ป่วยและเดินทางมารับการดูแลรักษาที่โรงพยาบาล รวมถึงจำนวนเสียชีวิตที่ไม่มีโรคร่วม

ดังนั้นประชาชนจึงไม่สามารถใช้ข้อมูลเพื่อติดตามประเมินสถานการณ์ เพื่อตัดสินใจประพฤติปฏิบัติได้อย่างทันเวลา ต้องรอแถลงจากหน่วยงาน ซึ่งก็จะไม่รู้ว่าอยากจะแถลงอะไร เมื่อไหร่ และเป็นเศษส่วนเท่าไหร่ของข้อมูลทั้งหมดที่ควรจะรู้ ทำให้ตกอยู่ในสภาพตาบอดคลำช้างได้

การเปลี่ยนแปลงของระบบบริการดูแลรักษา

หลัง ๑ กรกฎาคมเป็นต้นมา สธ.และสปสช. ยกเลิกบริการระบบ home isolation และให้ประชาชนที่มีสิทธิรักษาพยาบาลไปรับการดูแลรักษาตามสิทธิ

นั่นแปลว่าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งมีสิทธิบัตรทอง หากตรวจ ATK พบว่าติดเชื้อ หรือมีอาการไม่สบายที่สงสัยว่าเป็นโควิด-๑๙ ก็จะต้องเดินทางไปสถานพยาบาลเอง เพื่อขอรับบริการเจอแจกจบที่สถานพยาบาล

ความเสี่ยงและผลกระทบย่อมเกิดขึ้นหลายเรื่อง เช่น

๑. คนเบี้ยน้อยหอยน้อยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปสถานพยาบาลเพื่อรับการดูแลรักษาเจอแจกจบ

๒. คนจำนวนไม่น้อย จะชั่งใจคิดว่าจะคุ้มไหม ที่ต้องเสียเวลารอที่โรงพยาบาล และเสียค่าใช้จ่ายเดินทางไปกลับ เพื่อรับยาที่มีประสบการณืและทัศนคติในช่วงที่ผ่านมาว่าเป็นยาสามัญประจำบ้าน ไม่ใช่ยาต้านไวรัสรักษาเฉพาะโรค ดังนั้นจึงเลือกที่จะไม่ไป ไม่มีรายงานสถานะการติดเชื้อเข้าระบบ ทำให้ระบบเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ที่มีของหน่วยงานรัฐมีตัวเลขเรื่องการระบาดน้อยกว่าสถานการณ์จริง หากโรคระบาดนี้รุนแรงภายหลัง หรือก่อให้เกิดผลกระทบระยะยาว เช่น ปัญหา Long COVID ตามมา กว่าจะรู้ตัว ก็จะเป็น big wave ของผลกระทบ ยากที่จะรับมือได้ทัน เพราะความไวของระบบไม่มากพอที่จะตามสถานการณ์ได้

๓. ปรากฏการณ์ตรวจเองพบว่าติดเชื้อ แต่ไม่แจ้ง ไม่รักษา ไม่แยกกักตัว อาจเพิ่มขึ้น เพราะระบบช่วยเหลือสนับสนุนทางสังคมไม่มีหรือระบบมีแต่เป็นแบบ Risks beyond benefits  ก็ย่อมมีโอกาสที่จะเกิดปัญหาการระบาดที่แพร่กระจายต่อเนื่องในสังคมได้

๔. หลังปรับมาให้มารับบริการเจอแจกจบ การเดินทางมาสถานพยาบาลของผู้ติดเชื้อย่อมมีโอกาสเกิดผลกระทบตั้งแต่การแพร่เชื้อระหว่างการเดินทางในขนส่งสาธารณะ และโอกาสแพร่เชื้อติดเชื้อกันมากขึ้นในสถานพยาบาล เพราะจำนวนผู้รับบริการในสถานพยาบาลที่แออัดอยู่เดิมจากโรคต่าง ๆ ที่ไม่ใช่โควิด-๑๙

ภาพรวมจะเห็นได้ว่า จะเป็นลักษณะที่คนในสังคมจะตามสถานการณ์ได้ยาก ความเสี่ยงในสังคมระหว่างการใช้ชีวิตจะสูง และต้องพึ่งพาตนเอง

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 301  เมื่อ 04 ก.ค. 22, 18:07

ต้องขอออกมาเตือนกันให้ดัง ๆ ว่า สถานการณ์โควิดขณะนี้เขม็งเกลียวขึ้นมาใหม่ ทุกคนและทุกฝ่ายต้องช่วยกันประคองภาพรวมไม่ให้กลับไปทรุดหนักอีกรอบ แล้วรอลุ้นให้เกิดการปรับฐานโรคซาลงในช่วงอีก ๒-๓ สัปดาห์ข้างหน้า เพื่อจะได้ร่วมเดินหน้าผลักดันประเทศที่กะปลกกะเปลี้ยกันต่อไป

สถานการณ์ที่บ้านริมน้ำเริ่มตึงมือมากว่าสัปดาห์แล้ว จำนวนผู้ป่วยโควิดที่จำเป็นต้องรับเข้าโรงพยาบาลเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งส่วนน้อยที่ป่วยจากโควิดโดยตรง และส่วนใหญ่ที่ป่วยจากโรคอื่นแต่มีการติดเชื้อโควิดร่วมด้วย จนทำให้บุคลากรด่านหน้าที่กันไว้จำนวนหนึ่งสำหรับงานโควิด ต้องกลับมาทำงานกันหนักขึ้นจากเดิมกว่าเท่าตัว และต้องวิ่งวุ่นหมุนเตียงกันมือระวิง เพื่อลดจำนวนคนไข้ที่ตกค้างรอรับไว้ในโรงพยาบาล สภาพเช่นนี้กำลังเกิดขึ้นกับโรงพยาบาลใหญ่อีกหลายแห่งทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด สวนทางกับตัวเลขรายวันที่แจ้งว่ายังมีเตียงรองรับผู้ป่วยโควิดเหลืออีกมาก ตัวเลขที่ว่านั้นเป็นแค่กรอบจำนวนเตียงที่จะขยายขึ้นได้ภายใต้เงื่อนไข แต่ที่มีใช้งานอยู่จริงตอนนี้เริ่มร่อยหรอเต็มที ส่วนกรอบที่จะขยายได้ก็ถูกนำไปใช้กับผู้ป่วยอื่นที่ไม่ใช่โควิดจนเกือบไม่เหลือหรอแล้ว

จากข้อมูลที่รับทราบมา ตัวเลขผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยจริงเมื่อปลายสัปดาห์ก่อน น่าจะอยู่ที่ราววันละห้าหมื่นคนแล้ว ต่างกับตัวเลขรายวันที่เราเห็นกันในรายงาน แถมยังมีปรากฏการณ์ยอดตกช่วงต้นสัปดาห์เช่นดังรูปของวันนี้ ซึ่งเป็นผลจากระบบการตรวจหาเชื้อและรายงานผลช่วงวันหยุด ส่วนตัวเลขผู้ป่วยอาการรุนแรงที่เพิ่มขึ้นจาก ๖๐๐ แล้วมาหยุดแถวก่อน ๗๐๐ ดังในอีกรูปนั้น ก็เป็นผลจากระบบการรายงานที่จะมียอดวิ่งเข้ามาเป็นก้อน ๆ ไม่ได้สม่ำเสมอในทุกวัน



วันนี้เป็นวันสุดท้ายของระบบการเบิกจ่ายเงินค่าตรวจรักษาโรคโควิด-๑๙ ในรูปแบบเดิม เพื่อเปลี่ยนผ่านเข้าสู่รูปแบบปกติของระบบสุขภาพพื้นฐาน เรียกว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเดินหน้าเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น ที่ได้เตรียมการรองรับกันไว้มานานก่อนหน้าแล้ว เมื่อประกอบกับสถานการณ์การระบาดที่กลับปะทุขึ้นใหม่ แม้จะยังไม่แรงถึงครึ่งหนึ่งของช่วงพีคโอไมครอนครั้งก่อน แต่ต้นทุนประเทศในการดูดซับปัญหาเราร่อยหรอยอบแยบเต็มที ทั้งด้านงบประมาณและด้านบุคลากร หากไม่ออกแรงฮึดช่วยกันชะลอควบคุมการระบาดให้อยู่มือ อาจเห็นมีผู้ป่วยอาการรุนแรงตกค้างในชุมชนและจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น แล้วคงหลีกเลี่ยงดราม่าครั้งใหม่ไม่พ้นแน่

ถึงเวลาแล้วที่ภาครัฐต้องบอกความจริง และออกมาเตือนให้ประชาชนเตรียมพร้อมรับมือ ไม่ใช่คอยแต่ให้ท้ายเพื่อปลดหน้ากากหรือเพิ่มกิจกรรมทางสังคมที่เสี่ยงแต่เพียงด้านเดียว

รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล
หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
๔ กรกฎาคม ๒๕๖๕
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 302  เมื่อ 05 ก.ค. 22, 10:19

เตือนจริง‘โควิด’ระบาดระลอกใหม่ จ่อชง ศบค. ลดวันรักษา-กักตัว สูตรใหม่เหลือ 5+5

"หมอโอภาส" แจงดราม่า"หมอหนู"กักตัวเกิน 10 วัน ไม่ทำอันตรายใคร บอกโรคประจำถิ่น สธ.ปรับมาตรการพร้อม เหลือเรื่องข้อกฎหมาย แต่สุดท้ายรอศบค.เคาะศุกร์นี้

วันที่ 5 กรกฎาคม 2565 ที่ทำเนียบฯ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงการกักตัวของผู้ป่วยโควิด-19 ว่า เดิมกำหนดให้มีการกักตัว 7+3 วัน คือกักตัว 7 วันสังเกตอาการอีก 3 วัน แต่ล่าสุดคณะกรรมการวิชาการได้ลดเหลือ 5+5 ซึ่งจะรอนำเข้าที่ประชุมศบค.วันศุกร์ที่ 8 ก.ค.นี้

ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้มีผู้ติดเชื้อสูงขึ้นสถานการณ์มีการรองรับเตียงอย่างไรบ้าง นพ.โอภาส กล่าวว่า เราทราบดีว่าสถานการณ์การติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น ตั้งแต่ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ต้องมีการแจ้งเตือน ซึ่งการที่ติดเชื้อมากขึ้นมาจาก 2 ปัจจัย คือ 1.ตอนนี้กิจกรรมเราเยอะมาก ส่วนใหญ่จะเจอในงานเลี้ยง งานปาร์ตี้ และ 2.มาจากเชื้อ BA.4 , BA.5 ที่ติดเชื้อเร็วขึ้นแต่พบว่าความรุนแรงของโรคไม่ได้มากขึ้นตามไปด้วย นพ.โอภาส กล่าวว่า ที่เรากำลังตามดูขณะนี้คือภาวะการรองรับด้านการรักษาผู้ป่วยหนักมากขึ้นหรือไม่ เตียงรองรับพอหรือไม่ แต่ภาพรวมของประเทศผู้ป่วยหนักไม่ได้มากขึ้น แต่เป็นสัดส่วนจำนวนเคสที่เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ส่วนใหญ่ตอนนี้ติดเชื้อก็รักษาตัวอยู่บ้าน กินยาก็หายเองได้ ดังนั้นเตียงตามโรงพยาบาลยังเพียงพอ เหลือแต่ที่ กทม.เท่านั้น เนื่องจากกทม.มีระบบที่ซับซ้อน บางคนอาการเบาแต่จำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาลเนื่องจากมีเรื่องของประกันสุขภาพที่ระบุว่าต้องนอนโรงพยาบาล ทำให้เสียเตียงไปจำนวนหนึ่ง

เมื่อถามถึงกรณีที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขทำหนังสือแจ้งเตือนไปยังสาธารณสุขทั่วประเทศ จะทำให้ประชาชนหวั่นวิตกหรือไม่ นพ.โอภาส กล่าวว่า ไม่ใช่เฉพาะปลัดสาธารณสุข แต่ทราบว่าทางปลัดกระทรวงมหาดไทยก็หนังสือแจ้งไปยังหน่วยราชการด้วยเหมือนกัน ซึ่งเป็นการเตือนหน่วยราชการให้ระมัดระวัง เข้มงวด และเตรียมพร้อม ทั้งนี้ถือเป็นมาตรการเตรียมความพร้อมตามปกติ ซึ่งการเตรียมพร้อมดีกว่าไม่เตรียมพร้อม  พวกเราก็ต้องเตรียมพร้อมด้วย

อ่านรายละเอียดได้ ที่
https://www.naewna.com/politic/664652
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 303  เมื่อ 07 ก.ค. 22, 20:28

สะพรึง!รร.กรุงเทพคริสเตียน ระส่ำติดโควิดกว่า700คน ประกาศปิด9วัน

กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เปิดเทอม 8 สัปดาห์ นักเรียน-บุคลากร ติดเชื้อโควิดพุ่งรวดเร็วกว่า 700 คน ออกประกาศเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียน ออนไลน์ 11-19 ก.ค.นี้ด่วน!
7 กรกฎาคม 2565



https://www.dailynews.co.th/news/1227184/?fbclid=IwAR21iPB5u8ymwAc0s5XY_3Z9FSF7M8sArdHrgzNyShViH5KneSpU_0ctFSQ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 304  เมื่อ 08 ก.ค. 22, 11:11

สาธิตเกษตรฯออกประกาศ กลับมาเรียนออนไลน์

โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ออกประกาศเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2565 เรื่องการเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอน โดยระบุว่า เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 มีแนวโน้มสูงขึ้น ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยง การแพร่กระจายของเชื้อโรคและตัดวงจรการแพร่ระบาด โรงเรียนจึงพิจารณาจัดรูปแบบการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 11 ถึง 12 กรกฎาคม 2565 และกลับมาเรียนปกติในวันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม 2565

https://www.prachachat.net/education/news-975244
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 305  เมื่อ 11 ก.ค. 22, 09:55

ตัวเลขทางการลดลง  แต่...ยังต้องตั้งการ์ดอย่างเคร่งครัด


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 306  เมื่อ 12 ก.ค. 22, 08:35

๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๔ เป็นวันแรกที่ระบุว่า การนับตัวเลขผู้ป่วยรายใหม่ เป็น จำนวนผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (By RT-PCR & ATK)


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 307  เมื่อ 12 ก.ค. 22, 09:20

แปลว่า ผู้ป่วยที่ไม่เข้ารพ. รักษาตัวอยู่กับบ้าน  ไปสถานีอนามัย  ฯลฯ ไม่นับ

*******************************
ส่งต่อกันมาใน Facebook

เมื่อวานนี้มีแพทย์ท่านหนึ่งติดโควิดแล้วหาเตียงตามสิทธิ UC รักษาในรพ.ของรัฐไม่ได้
ขณะนี้อาการหนักต้องใส่ท่อช่วยหายใจอยู่ใน ICU รพ.เอกชนแห่งหนี่ง
ทุก ๆ วันมีญาติ ๆ และเพื่อน ๆ ปรึกษาผมมาวันละหลาย ๆ รายว่าติดโควิดแต่หาที่รับยาและ/หรือหาเตียงในรพ.ไม่ได้
ซึ่งมีในทุก ๆ สิทธิของระบบการรักษา และเพื่อน ๆ แพทย์ต่างก็ปรารภมากับผมว่าพบเหตุการณ์แบบเดียวกันจำนวนมาก

ในฐานะที่ผมเป็นแพทย์คนหนึ่งที่ยังตรวจผู้ป่วยที่รพ.อยู่เป็นประจำ ประเมินจากสถานการณ์จริงว่าขณะนี้น่าจะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มในแต่ละวันเกินกว่าห้าหมื่นคนอย่างแน่นอน
มีทั้งแบบไม่มีอาการ  แบบอาการน้อยและแบบอาการหนัก (ทั้ง 3 แบบต่างก็แพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ทั้งสิ้น) ซึ่งเพื่อน ๆ แพทย์ของผมที่อยู่หน้างานจริงต่างก็คิดเหมือน ๆ กัน

ดังนั้นผมจึงขอให้พี่น้องประชาชนทุก ๆ ท่านอย่าประมาทและการ์ดอย่าตกอย่างเด็ดขาดเพราะบางรายแม้ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม 608 และฉีดวัคซีนแล้วไม่ต่ำกว้า 3 เข็มติดแล้วต้องใส่ท่อช่วยหายใจก็ยังมีให้เห็น

อีกทั้งโควิดไม่เหมือนไข้หวัดใหญ่ที่หายแล้วจบ หากแต่ภายหลังหายแล้วระยะหนึ่งอาจเกิด MIS-C (Multisystem Inflammatory  Syndrome in Children) กับลูกหลานของท่านซึ่งเป็นการอักเสบของหลาย ๆ อวัยวะพร้อม ๆ กันทำให้อาจเสียชีวิตได้

รวมทั้งทุก ๆ ท่านที่ติดเมื่อหายแล้วยังอาจเกิด Long Covid ในระยะยาวที่มีอาการได้ทั้งทางสมองและทางร่างกายทุก ๆ ส่วน กับท่านได้อีกด้วยนะครับ

ด้วยความรักและความห่วงใย
ศ.คลินิกเกียรติคุณนพ.อำนาจ กุสลานันท์
อดีตนายกแพทยสภา
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 308  เมื่อ 13 ก.ค. 22, 12:35

กรมการแพทย์ ออกแนวทางเวชปฏิบัติ ฉบับปรับปรุงใหม่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ปรับลำดับให้ยากลุ่มเสี่ยง คือ ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงหรือมีโรคร่วมสำคัญ กำหนดการรักษาผู้ติดโควิด-๑๙ แบ่งเป็นตามความรุนแรงของโรคและปัจจัยเสี่ยงออกเป็น ๔ กลุ่ม

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 309  เมื่อ 31 ก.ค. 22, 10:35

สถานการณ์โควิด-๑๙ ในประเทศไทย เดือนกรกฎาคม ๒๕๖๕

จำนวนผู้ติดเชื้อในโรงพยาบาล (เริ่มระบุวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๕) ขึ้น ๆ ลง ๆ อยู่ในระดับ ๑,๖๐๐ - ๒,๖๐๐ ราย

ส่วนตัวเลขผู้เสียชีวิตอยู่ในระดับ ๑๕ - ๓๗ ราย โดยมีตัวเลขสูงสุดที่ ๓๗ รายในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม และต่ำสุดที่ ๑๕ ราย ในวันที่ ๙ กรกฎาคม



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 310  เมื่อ 06 ส.ค. 22, 08:35

มีข่าวดีมาบอก ยิงฟันยิ้ม

ยาต้านโควิดที่ชื่อว่า “โมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) ของบริษัท Merck ได้ผลดีมาก จากศึกษาการใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ในกลุ่มตัวอย่าง ๗๗๕ ราย กินวันละ ๒ ครั้ง นาน ๕ วัน มีแค่ ๗.๓% ที่ป่วยเข้าโรงพยาบาล และไม่มีใครตายด้วยโควิดเลย ส่วนอีกกลุ่มตัวอย่างหนึ่งที่ให้ยาหลอก (Placebo) ป่วยเข้าโรงพยาบาล ๑๔.๑% และตายด้วยโควิด ๘ ราย

ยาดีแต่ขาดแคลน ตกใจ

ยา Molnupiravir ที่ได้รับการยอมรับให้ใช้เป็นยากิน ที่ได้ผลดีเป็นอันดับ ๒ ของโลก (ตามรายงาน ของ สหรัฐ) และมี ประเทศใน ยุโรป และประเทศที่เจริญแล้ว ใช้กันแพร่หลาย ตัวนี้ ได้ผลดี รองจาก Paxlovid ที่ รายงานว่าเป็นยากินที่ใช้ได้ผลดี เป็นอันดับหนึ่ง (แต่ผลข้างเคียงค่อนข้างเยอะ หลายคน เลยยังไม่ค่อยกล้าใช้  ตัวเลือกต้น ๆ ของหมอ เลยยังเป็น Molnupiravir กันมากกว่า)

ยานี้ US FDA ได้รับการอนุมัติฉุกเฉิน เร่งด่วนให้ออกมา ใช้รักษาคนไข้โควิดกันทั่วโลก

แต่ของไทยเรา ยังถูกจำกัดการนำเข้าและนำมาใช้ มีใช้แค่รัฐนำเข้ามาจำนวนน้อยมาก ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ไม่เพียงพอและประชาชนเข้าถึงยาก ส่วนที่มีข่าวว่าองค์การเภสัชผลิตเอง ก็ยังไม่เห็นออกมาสู่ตลาด เรียกว่ายายังขาดแคลนมาก เมื่อเทียบกับจำนวนคนป่วยที่เพิ่มขึ้น หลังเราผ่อนคลายมาตรการลง ขนาดรัฐมนตรีติดแล้วกิน Molnupiravir ยังโดนโจมตีและยังต้องหาข้ออ้างว่า อ้วนมาก แพทย์ถึงอนุมัติให้ใช้ได้ แสดงถึงความขาดแคลนและเข้าถึงได้ยาก

ขณะที่ประเทศอื่นเค้ามีใช้กันแพร่หลายหมดแล้ว แม้แต่เพื่อนบ้านที่ว่า ตามหลังเรามาก ๆ เค้าก็ยังมีใช้กันหมดแล้ว ยาขาดแคลนจนต้องมีคนแอบนำเข้ามาขายกันเอง และกลายเป็นยาเถื่อน  และอาจจะมียาปลอมปนมาขาย ทำให้คนขาดความมั่นใจ แพทย์เองก็หาสั่งใช้กับคนไข้ไม่ได้  และ ไม่กล้าสั่งใช้ เพราะว่าผิดกฏหมายและขาดความมั่นใจว่ายาปลอมหรือไม่
 
ถึงตอนนี้ หากรัฐเร่งเปิดให้เอกชนนำเข้ามาเพิ่ม อนุมัติให้มีใช้กันง่าย ๆ ราคาไม่แพง แพทย์สั่งจ่ายให้คนไข้ได้ง่ายขึ้น ผลดีจะตกแก่ประชาชน ไม่ต้องห่วงเรื่องการใช้ยาไม่เหมาะสม หมอทุกคนทราบอยู่แล้วว่ายามีข้อดีและข้อเสีย ต้องเลือกใช้ ระวังกับคนไข้ที่เหมาะสม ตามรายงานต่าง ๆ ที่ออกมาโดยกลั่นกรองก่อน

แต่ถ้าไม่มียาที่ถูกกฏหมายให้เข้าถึงให้เลือกใช้ ต้องให้คนไข้เลือกเสี่ยงแอบซื้อยานำเข้าผิดกฏหมายและยาปลอมยิ่งอันตรายกว่า

จาก หมอเจ พันทิป
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 311  เมื่อ 06 ส.ค. 22, 10:35

Molnupiravir กับ การกลายพันธุ์

เรื่องการกลายพันธุ์กับ Molnupiravir มีพื้นฐานจากกลไกการออกฤทธิ์ของยาตัวนี้ คือสารออกฤทธิ์ของยา β-D-N4-hydroxycytidine (NHC) เป็น nucleoside analog ยับยั้ง RNA polymerase (RdRp) ทำให้ไวรัสแบ่งตัวไม่ได้ นอกจากนี้ NHC ยังยับยั้ง proofreading property ด้วย ทำให้สร้างสาย RNA ผิดพลาด

กลไกการยับยั้ง RdRp เป็นกลไกยอดนิยมของยาต้านไวรัสที่ใช้ในปัจจุบัน นอกจากนี้ยาต้านไวรัสหลายตัวมีฤทธิ์ยับยั้ง proofreader จนเกิด drug induced lethal mutagenesis เช่น ribavirin เพิ่ม G to A และ C to U mutation ส่วน favipiravir ก็ทำให้เกิด A to G และ U to C mutation

เมื่อเทียบกับ Ribavirin & Favipiravir แล้ว Molnupiravir มี drug induced mutagenesis สูงกว่าเป็นร้อยเท่า ยาที่ใช้กลไกนี้จึงเหมาะกับ RNA virus ที่เกิด replication error หรือ mutation ง่ายและทนความผิดพลาดได้น้อยกว่า การกลายพันธุ์ที่มากไปจึงทำให้ไวรัสอยู่ไม่ได้ (lethal mutagenesis)

Lethal mutagenesis จึงเป็นอาวุธสำคัญของ Molnupiravir ที่เหนือยาต้านไวรัสอื่นที่เป็นแค่ RdRp inhibitor ทั่วไป ผลการทดสอบในแล็บพบว่ายานี้ทำให้ SAR-CoV-2 หมดฤทธิ์ได้แม้ในระดับต่ำ

และกลไกนี้แหละที่ทำให้หลายคนแคลงใจว่า

๑. ทำให้เชื้อกลายพันธุ์จนเกิดสายพันธุ์ใหม่ไหม
๒. ส่งผลต่อมนุษย์ไหม

ข้อมูลเท่าที่มีจากการศึกษาในแล็บ ไม่พบว่ายานี้เร่งการกลายพันธุ์ของไวรัสจนเกิดสายพันธุ์ใหม่ เนื่องจากเชื้อที่โดนยายับยั้งมักเกิดการกลายพันธุ์สูงมากจนอยู่ไม่ได้ตายไปเอง โดยไม่พบว่าเซลล์เพาะเลี้ยง (เช่นเซลล์ปอด) มีการกลายพันธุ์จากยาร่วมด้วย

อย่างไรก็ดี การศึกษาในสัตว์ทดลอง มีรายงานความผิดปกติในกระดูกและกระดูกอ่อนของหนูที่ได้รับยาขนาดสูงมาก (>๑๕ เท่าของขนาดปกติ) เป็นเวลานาน ประกอบกับข้อมูลการศึกษาทำเฉพาะในผู้ใหญ่ ยานี้จึงไม่แนะนำในคนท้องและเด็ก

ศาสตราจารย์ นายแพทย์มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยเป็นเลิศด้านการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 312  เมื่อ 06 ส.ค. 22, 11:38

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่คาใจอยู่   พอดีคุณเพ็ญชมพูนำข้อความมาโพส

เริ่มจากอ่านข่าวพบว่า  รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความครอบครัวตนเองติดโควิด แต่ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม 608 ทำให้ไม่ได้รับยาต้านไวรัส จึงสั่งยาโมลนูพิราเวียร์มาเอง แต่ขอไม่ระบุแหล่งที่ซื้อยา

จากนั้น นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)ก็ออกมาแถลงว่า
“รัฐบาลยืนยันว่ายาที่จะใช้รักษาโควิดทุกขนาน สปสช.ยังคุ้มครองอยู่ การใช้ยาโดยแพทย์ต้องมีดุลยพินิจ การที่ผู้ป่วยไม่ได้รับยา เช่น โมลนูพิราเวียร์ ถ้ามองอีกแง่คือ ผู้ป่วยอาการไม่ถึงขั้นให้ยา ก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดี ว่าผู้ป่วยสุขภาพดี แข็งแรงไม่จำเป็นต้องให้ยาฆ่าไวรัส ขอให้เชื่อในดุลยพินิจของแพทย์ ซึ่งจะปลอดภัย อย่าไปซื้อยาเองเด็ดขาด เพราะผู้ขายก็ผิดกฎหมายได้ ยกเว้นมีใบสั่งแพทย์ โดยเฉพาะการหาซื้อเอง ก็ไม่รู้ว่าจะได้ยาอะไร นำเข้ามาอย่างไร”

เรื่องยังไม่จบ  อีกคนที่ออกมาคัดค้านก็คือนายแพทย์ฉันชาย สิทธิพันธ์ ว่า ‘ดร.เจษฎา’ ไม่ควรซื้อโมลนูฯ กินเอง
การใช้ยาต้านไวรัส เป็นไปตามดุลพินิจของแพทย์ ยาไม่ได้มีเพียงพอกับทุกคน และทุกคนก็ไม่ได้จำเป็นต้องใช้ยาเหมือนกันหมดทุกคน การใช้ยาโดยเฉพาะยาต้านไวรัสควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหรือผลกระทบจากยาภายหลัง

สรุปได้แบบงงๆ
1 ดร.เจษฎาบอกว่ายารักษา ทางการมีให้กับคนอายุ 60+ และมีโรคประจำตัว
2 คนป่วยโควิดในบ้านอจ. อายุไม่ถึง 60  เลยไม่เข้าเกณฑ์
3 อาจารย์เลยต้องไปหาซื้อยาโมลนูฯ ที่ใช้รักษาอาการป่วยได้ มาเอง ไม่ผ่านแพทย์
3 อาการของคนป่วยน่าจะมาก  เพราะถ้าหากว่ากินยาตามอาการแล้วค่อยยังชั่ว  อาจารย์ก็คงไม่ต้องขวนขวายไปหาซื้อยาเถื่อนมาให้กิน

แทนที่คนที่ค้านอาจารย์จะมาชี้แจงว่าทำไมยามีน้อย  จนไม่พอสำหรับประชาชน กลับบอกว่า ผิดที่ไม่ควรซื้อยาเอง  รู้ไหมคนป่วยที่ไม่กินยานี้ก็มี  ไม่ใช่ป่วยแล้วต้องกินกันทุกคน
แต่ไม่ยักมีใครตอบประเด็นที่ดร.เจษฎาพยายามจะบอกว่า...ยาไม่มีมากพอแก่ความต้องการ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 313  เมื่อ 06 ส.ค. 22, 12:35

ว่าด้วยเรื่องยาต้านไวรัส หลักการ การใช้ และปัญหาการจัดการ

ตั้งแต่นาทีที่ ๑๗.๒๐

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 314  เมื่อ 22 ส.ค. 22, 13:49

อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์
·
อัพเดตสถานการณ์การระบาดโควิด สัปดาห์ที่ 33 : คอนเฟิร์มว่าเป็น "ขาลง" แล้วครับ
วันนี้ แดชบอร์ของกระทรวงสาธารณสุข (https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard/
) รายงานผล จำนวนผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่ รายสัปดาห์ (14-20 สิงหาคม 2565) จากผลตรวจ ATK+ ค่อนข้างช้าหน่อย แต่ก็ออกมาให้วิเคราะห์แล้ว โดยมีจำนวน 204250 ราย หรือค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 29,178 รายต่อวัน ... ลดลงอย่างต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนที่มีค่าเฉลี่ย 31148 รายต่อวัน
ดังนั้น เมื่อมาพล็อตกราฟ รวมกับจำนวนจากผลตรวจ PCR จะได้ตามรูปด้านซ้าย ซึ่งเห็นได้ชัดว่า การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด สายพันธุ์โอมิครอน ระลอกของสายพันธุ์ย่อย BA.5 นั้นเป็น "ขาลง" อย่างชัดเจน
ซึ่งระลอกการระบาดนี้ ก็ยังคงเป็นไปตามสูตร "ระบาด 2 เดือน" เหมือนเดิม คือ เริ่มต้นเมื่อกลางเดือนกรกฏาคม ขึ้นไปถึงจุดพีคสุดเมื่อกลางเดือนสิงหาคม และน่าจะลงมาสงบดี กลางเดือนกันยายนนี้ครับ
รูปกราฟของการติดเชื้อ ก็สอดคล้องล้อกัน กับกราฟของการป่วยหนัก เป็นไปตามสูตร "ห่างกัน 1 เดือน" เช่นเคย คือ ตอนนี้จำนวนผู้ป่วยหนักและผู้ป่วยใส่ท่อหายใจ ได้ตามมาถึงจุดพีคแล้ว และกำลังลดลง ซึ่งก็น่าจะลงมาถึงจุดสงบในอีก 1 เดือนจากนี้ไป
ดังนั้น ตามแผนที่มีการประกาศว่า วันที่ 1 ตุลาคมนี้ จะให้โรคโควิดลงระดับฉุกเฉินลงมาอยู่ที่ระดับเฝ้าระวัง ก็น่าจะโอเคอย่างชัดเจนครับ

https://www.facebook.com/OhISeebyAjarnJess/
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 19 20 [21] 22 23 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.132 วินาที กับ 20 คำสั่ง