เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 37751 โควิด-๑๙ มหันตภัยโลก (ภาคต่อ 'โคโรนาไวรัสอู่ฮั่น')
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 210  เมื่อ 31 ธ.ค. 21, 09:10

สถานการณ์โควิด-๑๙ ในประเทศไทย เดือนธันวาคม ๒๕๖๔

จำนวนผู้ติดเชื้อค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ จำนวนผู้ติดเชื้อต่ำสุดในวันที่ ๒๘ ธันวาคม ที่ ๒,๓๐๕ ราย มีแนวโน้มที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นในเดือนหน้า เนื่องจากการระบาดระลอกใหม่ของโควิดสายพันธุ์โอมิครอน ตกใจ

ส่วนตัวเลขผู้เสียชีวิตลดลงต่ำกว่า ๕๐ รายต่อวัน โดยมีตัวเลขต่ำสุดในวันที่ ๒๙ ธันวาคม ที่ ๑๗ ราย



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 211  เมื่อ 03 ม.ค. 22, 11:10

"การแพร่ระบาดของ covid ในกรุงลอนดอน มีแนวโน้มชะลอตัวแล้วครับ"
ใครที่ตามข่าวการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ประเทศสหราชอาณาจักร คงจะทราบว่า จํานวนผู้ติดเชื้อนั้นพุ่งขึ้นสูงอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง จนทำลายสถิติ ... และแทบจะทุกรายแล้วตอนนี้ที่เป็นสายพันธุ์ omicron โดยยังไม่มีแนวโน้มที่จะชะลอตัว กราฟยังพุ่งชันอยู่
แต่ถ้าเราแยกดูเฉพาะแค่กรุงลอนดอน โดยไม่รวมส่วนอื่นๆ ของทั้งประเทศ (ลอนดอน เป็นเมืองที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อสูงมาก โดยอยู่ที่ประมาณ 16.5 เปอร์เซ็นต์ ของเฉพาะประเทศอังกฤษ)
ข้อมูลล่าสุดเมื่อวานนี้ พบว่าจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่รายวันเริ่มชะลอตัวแล้ว และอาจจะค่อยๆ ลดลงด้วย (ดูรูปซ้าย กราฟบนสุด)
ดังรายงาน UK Coronavirus Dashboard อย่างเป็นทางการที่อัพเดทเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2022 นั้น จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่รายวัน อยู่ที่ 27,608 ราย
ซึ่งอัตราส่วนของผู้ติดเชื้อรายใหม่ ในช่วง 21 - 27 ธันวาคม  2021 อยู่ที่ 1777 รายต่อประชากร 1 แสนคน ...  ลดลงจากตัวเลข 1974 รายต่อประชากร 1 แสนคน ในสัปดาห์ก่อนหน้านั้น
สำหรับรายงานตัวเลขผู้ป่วยที่ต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล ในกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2021 นั้นอยู่ที่ 3,636 ราย ... เพิ่มขึ้นจาก 2,260 รายเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2021 (ดูรูปซ้าย  กราฟกลาง เส้นสีฟ้า)
แม้ตัวเลขผู้ที่ต้องเข้าโรงพยาบาล จะเพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่ได้พุ่งสูงอย่างของจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ .. แถมจำนวนของผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจนั้น มีจำนวนเพียง 238  ราย ... เพิ่มขึ้นไม่จากตัวเลข 207 รายเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2021 (ดูรูปซ้าย  กราฟกลาง เส้นสีส้ม)
ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตนั้น (ดูรูปซ้าย กราฟล่าง) แนวโน้มจะมีอัตราที่ค่อนข้างคงที่ แต่ก็คงจะต้องรอดูอีก 2-3 สัปดาห์ เพราะค่าพวกนี้มักจะแล็ค เพิ่มตามมาทีหลังจากการติดเชื้อ
สำหรับรูปทางด้านขวานั้น จะเป็นทั้งค่า ผู้ติดเชื้อใหม่รายวัน , ผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาล , และผู้เสียชีวิต (กราฟจากบนลงล่าง ตามลำดับ) จากกรุงลอนดอนเช่นกัน แต่คำนวณต่อจำนวนประชากร 1 แสนคน และแยกแยะตามกลุ่มอายุของประชาชนเป็นสีๆ
ซึ่งแม้ว่าอัตราส่วนของผู้ติดเชื้อ (ดูรูปขวา กราฟบน) ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มของวัยทำงานและวัยกลางคน (เส้นสีเหลือง สีชมพูเข้ม และสีแดง) แต่เห็นได้ชัดว่าจำนวนผู้ติดเชื้อในกลุ่มของเด็กนั้น (เส้นสีฟ้า) เพิ่มสูงขึ้นจากการระบาดครั้งก่อนเป็นอย่างมาก
แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ติดเชื้อแล้วเจ็บป่วยจนต้องเข้าโรงพยาบาลนั้น ส่วนใหญ่ก็ยังเป็นผู้สูงอายุ (ดูรูปขวา กราฟกลาง เส้นสีเขียว) .. คล้ายคลึงกับผู้ที่เสียชีวิตในช่วงนี้ ส่วนใหญ่ก็ยังเป็นผู้สูงอายุเช่นกัน (รูปขวา กราฟล่าง เส้นสีม่วง)
ปล. ข้อมูลจากรายงานอื่นระบุว่า ผู้ที่เสียชีวิตส่วนใหญ่ ก็มาจากการติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้า มากกว่าจากสายพันธุ์โอมิครอนเยอะครับ
ปล. Dashboards สถิติโควิด-19 ของกรุงลอนดอนนี่ เค้าทำละเอียดและดูง่ายดีครับ ใครสนใจเรื่องพวกนี้ลองเข้าไปเยี่ยมชมเพจเขานะครับ
ข้อมูล และ กราฟ จาก https://data.london.gov.uk/dataset

จากเพจ อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 212  เมื่อ 03 ม.ค. 22, 21:45

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ให้ความเห็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับโอไมครอนกับการสิ้นสุดของโควิด

โอไมครอนกับการประกาศอิสรภาพ

โอไมครอนติดง่าย รวดเร็วหลบหลีก ภูมิทั้งจากวัคซีน (ทำให้ต้องรีบฉีดกระตุ้นให้อยู่ในระดับสูงมาก) และจากการติดเชื้อครั้งก่อน เช่น เดลต้า การติดโอไมครอนขณะนี้ ดูจะไม่หนักหนาสาหัสในเรื่องของอาการ

๓ อาทิตย์ แรกของปีใหม่อาจจะเห็นจำนวนการติดชัดเจนขึ้น และผลกระทบกับการต้องหยุดงาน กักตัว เพราะป่วย หรือตรวจเป็นบวก ว่าจะเป็น เปอร์เซ็นต์สูงเพียงใดตั้งแต่ ๑๐ จนถึง ๒๕% หรือไม่ และผลตาม คือคนทำงานในระบบ ทั้งในโรงพยาบาลและในโรงงาน ที่ต้องขาดหายไปบ้าง

อาทิตย์ ที่ ๔-๖ ของปี จำนวนติดจะหนาแน่น และจะสามารถประเมินความรุนแรง ว่าจะกระทบ แต่คนสูงวัย มีโรคประจำตัว และ คนที่ได้วัคซีนไม่ครบ หรือได้ ๒ เข็ม นานกว่า ๓-๕ เดือน เท่านั้น

หรือคนทั่วไปจะมีอาการหนักขึ้นด้วย ตามรูปแบบโควิด อู๋ฮั่นเดือน มกราคม ๒๕๖๓ ที่อาการ น้อย ๆ ตอนต้น

แต่ที่สำคัญ คือเด็กเล็ก ที่ไม่ได้วัคซีน

และที่สำคัญ คือ โอไมครอน จะปฏิบัติตัวเหมือนโควิดที่ผ่านมาหรือไม่ ในการทำให้เกิดผลกระทบระยะยาวหรือที่เรียกว่า long COVID ทั้งนี้ อาจไม่ขึ้นกับความหนักของอาการในขณะที่กำลังติดเชื้อแต่เป็นผลกระทบต่อเนื่องระยะยาว

แต่ที่เราจะได้ ถ้ามีคนที่ติดโอไมครอนมากมาย ดังที่เกิดทั่วโลก คือภูมิที่ต้านทานทั้งตัวนี้และต่อตัวเดลต้าด้วย เท่ากับทำให้เดลต้าสูญพันธุ์ไปเลย แต่ภูมิดังกล่าวอาจไม่คุ้มกันโควิด วาเรียนท์ใหม่ ๆ ถ้ายังจะมีอีก

คนทั้งโลกหวังว่าโควิดจะจบลงเพียงเท่านี้ภายในไม่เกินกลางปีนี้เพื่อประกาศอิสรภาพ

๓ มกราคม ๒๕๖๕
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 213  เมื่อ 04 ม.ค. 22, 15:05

54 จังหวัดพบโอมิครอน กาฬสินธุ์แพร่ในจังหวัดมากที่สุด!
04 ม.ค. 2565 เวลา 14:02 น.63

สธ.เผยไทยพบโอมิครอนเพิ่ม 282 ราย สะสมกว่า 2,000 ราย กระจายใน 54 จังหวัด กาฬสินธุ์แพร่ในจังหวัดมากที่สุด ติดกว่า 200 ราย

   เมื่อวันที่ 4 ม.ค.2565 ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ในการแถลงข่าวสถานการณ์โรคโควิด 19 และสายพันธุ์โอมิครอน โดยนพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่าสำหรับการติดตามผู้ติดเชื้อโอมิครอนในไทยตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.2564 - 3 ม.ค.2565 พบ 2,062 ราย โดยเมื่อวันที่ 3 ม.ค. พบ 282 ราย ครบถ้วนทุกเขตสุขภาพ ส่วนใหญ่หายดีแล้ว และที่รักษาตัวก็อยู่ในรพ. ไม่ได้ออกมาภายนอก
    ทั้งนี้ จำนวนการติดเชื้อสะสม 2,062 ราย อาทิ กรุงเทพมหานคร 585 ราย โดยติดในประเทศ 7 ราย
กาฬสินธุ์ มี 233 ราย ในจำนวนนี้ติดเชื้อในประเทศ 231 ราย   ร้อยเอ็ด 180 รายติดในประเทศทั้งหมด 180 ราย ภูเก็ต 175 ราย ติดในประเทศ 17 ราย ชลบุรี 162 ราย รติดในประเทศ 70 ราย   สมุทรปราการ 106 ราย ติดในประเทศ 28 ราย โดยทั้งหมดติดเชื้อไป 54 จังหวัดแล้ว

"โอมิครอน จะเริ่มส่งผลให้จำนวนการติดเชื้อในภาพรวมของประเทศมากขึ้น แต่ยังไม่ส่งผลต่อจำนวนการเสียชีวิต เพราะคนเสียชีวิตวันนี้อาจติดเชื้อมาจาก 2 สัปดาห์ที่แล้ว และขอให้เข้าใจตรงกันว่า การติดเชื้อโควิดวันนี้ 70-80% ยังเป็นเดลตา ซึ่งยังมีผลทำให้ป่วยหนักและเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง กลุ่ม 608 คนสูงอายุ คนมีโรคประจำตัว นอกจากนี้ ต้องเรียนว่า เราจะไม่ได้ตรวจสายพันธุ์ทุกเคส แต่จะมีการใช้ระบบเฝ้าระวังปกติตามเกณฑ์เพื่อประเมินสถานการณ์ และอาจไม่ต้องอัปเดตทุกวัน รวมทั้งจากข้อมูลการศึกษาผู้ติดเชื้อบางส่วนจากโอมิครอน อาจทำให้ภูมิคุ้มกันสามารถสู้เดลตาได้ แต่จะขึ้นสูงในกลุ่มฉีดวัคซีน"นพ.ศุภกิจกล่าว

    นพ.ศุภกิจ กล่าวอีกว่า ขณะนี้มีกระแสข่าวระบุว่าไม่ได้หยุดแค่โอมิครอน มีสายพันธุ์อื่นๆมาอีก แต่จริงๆไม่ใช่อันใหม่ โดยเดิมเรามีสายพันธุ์โควิดที่น่าห่วงกังวล 4 สายพันธุ์ คือ อัลฟา เบตา แกมมา เดลตา จากนั้นก็มีสายพันธุ์ที่เรียกว่าน่าสนใจ และมีสายพันธุ์ VUM หรือ Variants Under Monitoring ซึ่งขณะนั้นมี 2 ตัว โดยตัวหนึ่งมาก่อน คือ B.1.640 แต่เงียบหายไป ถัดมาก็เป็น B.1.1529 คือโอมิครอน จึงมีการขยับชั้นเป็นสายพันธุ์น่าห่วงกังวล หรือ VOCs โดยองค์การอนามัยโลกภายในเวลาอันรวดเร็ว ล่าสุดสายพันธุ์ B.1.640 มีการกลายพันธุ์ออกไปเป็นลูกหลาน คือ B.1.640.1 เป็นของเดิมที่เคยเกิดเมื่อ 2-3 เดือนที่ผ่านมา และB.1.640.2 ซึ่งอันหลังเจอในฝรั่งเศส โดยต้นทางมาจากคองโก เจอประมาณ 400 ราย ซึ่งพบการกลายพันธุ์ของสไปก์โปรตีน ชนิด SNPs 14 ตำแหน่ง การขาดหายไปอีก 9 ตำแหน่ง โดยเฉพาะบางคนบอกว่าพบ N501Y และ E484Q ซึ่ง 2 ตัวนี้อาจหลบวัคซีนได้ แต่ขอย้ำว่า ไม่ต้องตกใจ เพราะการพบกรณีดังกล่าวเจอได้หลายตัว ทั้งเบตา แกมมา หรือแม้กระทั่วโอมิครอน โดยในระบบการเฝ้าระวังของโลกมีการติดตาม และทำให้ทราบว่ามีการกลายพันธุ์ออกมา จึงต้องจับตากันต่อไป สำหรับไทยก็เฝ้าระวังอยู่ว่า จะมีการพบสายพันธุ์ลักษณะนี้หรือไม่

การศึกษาในแอฟริกาใต้ ติดตามดูคนติดโอมิครอนแล้ว เกิดภูมิคุ้มกันขึ้น โดยเจาะเลือด 14 วันหลังติดเชื้อโอมิครอน เปรียบเทียบทั้งคนฉีดวัคซีนและไม่ฉีด เพื่อดูภูมิคุ้มกันที่ขึ้นมาว่า จัดการกับโอมิครอน และเดลตาได้แค่ไหน พบว่า คนที่ติดโอมิครอนภูมิคุ้มกันจะสูงขึ้นเฉลี่ย 14-15 เท่า ซึ่งเป็นกลไกธรรมชาติ โดยหากติดเชื้อโอมิครอนซ้ำ ภูมิฯก็จะจัดการได้ ขณะเดียวกันยังมีข้อสังเกตสำคัญว่า เมื่อติดเชื้อแล้วปรากฎว่าภูมิฯที่สูงขึ้นยังป้องกันเดลตาได้ประมาณ 4 เท่ากว่าๆ แต่ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกราย
"สรุปคนที่ฉีดวัคซีนหรือแม้กระทั่งไม่ฉีด เมื่อติดเชื้อโอมิครอนหลังจากนั้น 14 วัน จะมีภูมิคุ้มกันป้องกันเดลตาได้ด้วย เรื่องนี้น่าสนใจ โดยกรมวิทย์จะรวบรวมคนติดเชื้อในไทย และเมื่อครบ 2 สัปดาห์จะนำเลือดมาตรวจว่า จัดการกับเชื้อเดลตาได้มากน้อยแค่ไหน หากจริงตามนี้ก็หมายความว่า การติดเชื้อโอมิครอนอาจไม่ได้มีผลร้ายอย่างเดียว แต่ก็ไม่ได้สนับสนุนให้ไปรับเชื้อ ต้องแปลความดีๆ อันนี้คือ ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์" นพ.ศุภกิจ กล่าว

https://www.bangkokbiznews.com/social/980744
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 214  เมื่อ 04 ม.ค. 22, 18:21

ไม่ได้ชะลอครับ แค่ข้อมูลส่งเข้ามาช้าเพราะติดวันหยุดครับ ตอนนี้อัพเดตแล้วก็อยู่หลักแสนกว่าทุกวันครับ

บางประเทศ อย่างสหรัฐอเมริกา เสาร์อาทิตย์ตัวเลขจะลดฮวบฮาบ และกลับมาเพิ่มสูงในวันจันทร์ เป็นแบบนี้มาตลอดครับ น่าจะเพราะเป็นวันหยุด มีหน่วยสาธารณสุขหยุดงานจำนวนมาก

"การแพร่ระบาดของ covid ในกรุงลอนดอน มีแนวโน้มชะลอตัวแล้วครับ"
ใครที่ตามข่าวการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ประเทศสหราชอาณาจักร คงจะทราบว่า จํานวนผู้ติดเชื้อนั้นพุ่งขึ้นสูงอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง จนทำลายสถิติ ... และแทบจะทุกรายแล้วตอนนี้ที่เป็นสายพันธุ์ omicron โดยยังไม่มีแนวโน้มที่จะชะลอตัว กราฟยังพุ่งชันอยู่
แต่ถ้าเราแยกดูเฉพาะแค่กรุงลอนดอน โดยไม่รวมส่วนอื่นๆ ของทั้งประเทศ (ลอนดอน เป็นเมืองที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อสูงมาก โดยอยู่ที่ประมาณ 16.5 เปอร์เซ็นต์ ของเฉพาะประเทศอังกฤษ)
ข้อมูลล่าสุดเมื่อวานนี้ พบว่าจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่รายวันเริ่มชะลอตัวแล้ว และอาจจะค่อยๆ ลดลงด้วย (ดูรูปซ้าย กราฟบนสุด)
ดังรายงาน UK Coronavirus Dashboard อย่างเป็นทางการที่อัพเดทเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2022 นั้น จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่รายวัน อยู่ที่ 27,608 ราย
ซึ่งอัตราส่วนของผู้ติดเชื้อรายใหม่ ในช่วง 21 - 27 ธันวาคม  2021 อยู่ที่ 1777 รายต่อประชากร 1 แสนคน ...  ลดลงจากตัวเลข 1974 รายต่อประชากร 1 แสนคน ในสัปดาห์ก่อนหน้านั้น
สำหรับรายงานตัวเลขผู้ป่วยที่ต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล ในกรุงลอนดอน เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2021 นั้นอยู่ที่ 3,636 ราย ... เพิ่มขึ้นจาก 2,260 รายเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2021 (ดูรูปซ้าย  กราฟกลาง เส้นสีฟ้า)
แม้ตัวเลขผู้ที่ต้องเข้าโรงพยาบาล จะเพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่ได้พุ่งสูงอย่างของจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ .. แถมจำนวนของผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจนั้น มีจำนวนเพียง 238  ราย ... เพิ่มขึ้นไม่จากตัวเลข 207 รายเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2021 (ดูรูปซ้าย  กราฟกลาง เส้นสีส้ม)
ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตนั้น (ดูรูปซ้าย กราฟล่าง) แนวโน้มจะมีอัตราที่ค่อนข้างคงที่ แต่ก็คงจะต้องรอดูอีก 2-3 สัปดาห์ เพราะค่าพวกนี้มักจะแล็ค เพิ่มตามมาทีหลังจากการติดเชื้อ
สำหรับรูปทางด้านขวานั้น จะเป็นทั้งค่า ผู้ติดเชื้อใหม่รายวัน , ผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาล , และผู้เสียชีวิต (กราฟจากบนลงล่าง ตามลำดับ) จากกรุงลอนดอนเช่นกัน แต่คำนวณต่อจำนวนประชากร 1 แสนคน และแยกแยะตามกลุ่มอายุของประชาชนเป็นสีๆ
ซึ่งแม้ว่าอัตราส่วนของผู้ติดเชื้อ (ดูรูปขวา กราฟบน) ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มของวัยทำงานและวัยกลางคน (เส้นสีเหลือง สีชมพูเข้ม และสีแดง) แต่เห็นได้ชัดว่าจำนวนผู้ติดเชื้อในกลุ่มของเด็กนั้น (เส้นสีฟ้า) เพิ่มสูงขึ้นจากการระบาดครั้งก่อนเป็นอย่างมาก
แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ติดเชื้อแล้วเจ็บป่วยจนต้องเข้าโรงพยาบาลนั้น ส่วนใหญ่ก็ยังเป็นผู้สูงอายุ (ดูรูปขวา กราฟกลาง เส้นสีเขียว) .. คล้ายคลึงกับผู้ที่เสียชีวิตในช่วงนี้ ส่วนใหญ่ก็ยังเป็นผู้สูงอายุเช่นกัน (รูปขวา กราฟล่าง เส้นสีม่วง)
ปล. ข้อมูลจากรายงานอื่นระบุว่า ผู้ที่เสียชีวิตส่วนใหญ่ ก็มาจากการติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้า มากกว่าจากสายพันธุ์โอมิครอนเยอะครับ
ปล. Dashboards สถิติโควิด-19 ของกรุงลอนดอนนี่ เค้าทำละเอียดและดูง่ายดีครับ ใครสนใจเรื่องพวกนี้ลองเข้าไปเยี่ยมชมเพจเขานะครับ
ข้อมูล และ กราฟ จาก https://data.london.gov.uk/dataset

จากเพจ อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 215  เมื่อ 04 ม.ค. 22, 19:22

อ่านคำตอบคุณม้าแล้วใจฝ่อค่ะ  น่ากลัวปีเสือ จะดุกว่าปีวัวเสียก็ไม่รู้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 216  เมื่อ 04 ม.ค. 22, 20:17

ถ้ามีคนที่ติดโอไมครอนมากมาย ดังที่เกิดทั่วโลก คือภูมิที่ต้านทานทั้งตัวนี้และต่อตัวเดลต้าด้วย เท่ากับทำให้เดลต้าสูญพันธุ์ไปเลย แต่ภูมิดังกล่าวอาจไม่คุ้มกันโควิด วาเรียนท์ใหม่ ๆ ถ้ายังจะมีอีก

คนทั้งโลกหวังว่าโควิดจะจบลงเพียงเท่านี้ภายในไม่เกินกลางปีนี้เพื่อประกาศอิสรภาพ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล  อีกท่านหนึ่งซึ่งเชื่อว่าโอมิครอนจะเป็นจุดจบของโควิด

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 217  เมื่อ 05 ม.ค. 22, 08:03

ก่อนหน้า ดร.อนันต์ออกมาให้ข่าว  ก็มีข่าวนี้ค่ะ

จาก FB หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC

ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 2 ปี หลังวันหยุดยาวเทศกาลปีใหม่นี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อจะก้าวกระโดดหลายหมื่นคนแต่ละวันในไม่ช้า แต่คนไทยไม่ต้องตื่นตระหนกตกใจมากเกินไป
เชื้อไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์โอมิครอน มีวิวัฒนาการเปลี่ยนไปจากเดิมมาก ปรับตัวเองให้เข้ากับคนได้ดียิ่งขึ้น แพร่จากคนสู่คนง่ายขึ้น ลดระยะฟักตัว และเปลี่ยนจากการก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบทั้งส่วนบนและส่วนล่างรุนแรงเฉียบพลัน กลายเป็นเชื้อโคโรนาไวรัสที่ทำให้เกิดหวัดเล็กธรรมดา ไม่รุนแรง เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ไม่ค่อยลงปอด เหมือนกับเชื้อโคโรนาไวรัสที่เรารู้จักมานานอย่างน้อย 50 ปีแล้ว ได้แก่ human coronavirus-229 E,  human coronavirus-NL63, human coronavirus-OC43 และ human coronavirus-HKU1
เชื้อโคโรนาไวรัสดั้งเดิม 4 ชนิดนี้ก่อให้เกิดโรคหวัดธรรมดาในเด็ก เป็นเองหายเอง ส่วนผู้ใหญ่มักไม่ติดเชื้อนี้ เพราะมีภูมิต้านทานตามธรรมชาติเนื่องจากเกือบทุกคนเคยติดเชื้อนี้มาแล้วสมัยเป็นเด็ก ถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิม
หลังการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนครั้งใหญ่นี้ เชื่อว่าทุกคนไม่ว่าจะเคยฉีดวัคซีน หรือเคยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดิมมาก่อน จะได้รับเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนไม่ช้าก็เร็ว เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ หวังว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 คงจะจบลงสักที
อนาคตเราคงไม่ต้องมาฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 เข็ม 4 กันอีก เพราะเราทุกคนได้รับเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนเปรียบเสมือนวัคซีนธรรมชาติชนิดตัวเป็นอ่อนฤทธิ์ (live attenuated vaccine) กระตุ้นภูมิต้านทานได้ดีกว่าวัคซีนทุกชนิดที่มีในปัจจุบัน อนาคตของบริษัทผลิตวัคซีนต่อต้านไวรัสโควิด-19 คงไม่รุ่งเหมือนช่วงที่ผ่านมา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 218  เมื่อ 05 ม.ค. 22, 08:09

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา โผล่ค้าน หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ กรณี โพสต์ การติด "โอไมครอน" ได้ภูมิจริง แต่ไม่ใช่วัคซีนธรรมชาติ ชี้ควรสื่อสารให้ชัดเจนกว่านี้

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ถึงกรณี หมอมนูญ ชี้ การติดไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ "โอไมครอน" เป็นวัคซีนธรรมชาติ โดยโพสต์ทั้งหมดระบุดังนี้

กรณี วันนี้ 4 ม.ค.65 หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ ได้โพสต์ว่า ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 2 ปี หลังวันหยุดยาวเทศกาลปีใหม่นี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อจะก้าวกระโดดหลายหมื่นคนแต่ละวันในไม่ช้า แต่คนไทยไม่ต้องตื่นตระหนกตกใจ มากเกินไป

เชื้อไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ "โอไมครอน" มีวิวัฒนาการเปลี่ยนไปจากเดิมมาก ปรับตัวเองให้เข้ากับคนได้ดียิ่งขึ้น แพร่จากคนสู่คนง่ายขึ้น ลดระยะฟักตัว และเปลี่ยนจากการก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบทั้งส่วนบนและส่วนล่างรุนแรงเฉียบพลัน กลายเป็นเชื้อโคโรนาไวรัสที่ทำให้เกิดหวัดเล็กธรรมดา ไม่รุนแรง เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ไม่ค่อยลงปอด เหมือนกับเชื้อโคโรนาไวรัสที่เรารู้จักมานานอย่างน้อย 50 ปีแล้ว

ได้แก่ human coronavirus-229 E, human coronavirus-NL63, human coronavirus-OC43 และ human coronavirus-HKU1

เชื้อโคโรนาไวรัสดั้งเดิม 4 ชนิดนี้ก่อให้เกิดโรคหวัดธรรมดาในเด็ก เป็นเองหายเอง ส่วนผู้ใหญ่มักไม่ติดเชื้อนี้ เพราะมีภูมิต้านทานตามธรรมชาติเนื่องจากเกือบทุกคนเคยติดเชื้อนี้มาแล้วสมัยเป็นเด็ก ถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิม

หลังการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ "โอไมครอน" ครั้งใหญ่นี้ เชื่อว่าทุกคนไม่ว่าจะเคยฉีดวัคซีน หรือเคยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดิมมาก่อน จะได้รับเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนไม่ช้าก็เร็ว เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ หวังว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 คงจะจบลงสักที

อนาคตเราคงไม่ต้องมาฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 เข็ม 4 กันอีก เพราะเราทุกคนได้รับเชื้อสายพันธุ์ "โอไมครอน" เปรียบเสมือนวัคซีนธรรมชาติชนิดตัวเป็นอ่อนฤทธิ์ (live attenuated vaccine) กระตุ้นภูมิต้านทานได้ดีกว่าวัคซีนทุกชนิดที่มีในปัจจุบัน อนาคตของบริษัทผลิตวัคซีนต่อต้านไวรัสโควิด-19 คงไม่รุ่งเหมือนช่วงที่ผ่านมา

จากนั้น ดร.อนันต์ได้เอาเนื้อหาจากตรงนี้มารีโพสต์แล้วพิมพ์แคปชั่นว่า ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงๆ ทำไมไม่เร่งแยกเชื้อ "โอไมครอน" มาฉีดให้ประชาชนหล่ะครับ ได้เชื้อบริสุทธิ์ ปริมาณเหมาะสมด้วย เป็นวัคซีนที่ต้องการอยากได้ไงครับ

วัคซีนเชื้อ "โอไมครอน" เป็นอ่อนฤทธิ์ ไม่ทำให้ผู้รับวัคซีนมีอาการป่วยใดๆ ถ้าวัคซีนตัวนั้นยังคงทำให้คนเสียชีวิตได้ เข้า ICU ได้ และ ที่สำคัญมีอาการ Long COVID ได้ ผมไม่นิยามสิ่งนั้นว่าวัคซีนครับ

การสื่อสารต้องชัดเจนครับ เราบังเอิญติดเชื้อ "โอไมครอน" จากธรรมชาติแล้วอาการไม่รุนแรงหายเองได้แล้วมีภูมิเป็นสิ่งดี แต่สิ่งนั้นไม่ใช่ "วัคซีน"
https://www.komchadluek.net/covid-19/499704
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 219  เมื่อ 06 ม.ค. 22, 11:35

ผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนรายแรกในประเทศไทย จุดเริ่มต้นของการระบาดใหญ่โควิด-๑๙ รอบ ๕ ⁉️

ดูจากตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวัน การระบาดของโควิด-๑๙ รอบที่ ๕ เริ่มอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวานนี้ (๕ มกราคม ๒๕๖๕) ตกใจ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 220  เมื่อ 07 ม.ค. 22, 08:13

ในที่สุด สถานการณ์ก็ย้อนกลับไปเหมือนพ.ศ. 2564
ขอให้ท่านผู้อ่านเรือนไทยทุกท่านปลอดภัยนะคะ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 221  เมื่อ 07 ม.ค. 22, 08:32

ตัวเลขผู้ติดเชื้อที่เคยลดลงอย่างน่าพอใจ   กลับพุ่งขึ้นอีกครั้งอย่างน่าตกใจ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 222  เมื่อ 07 ม.ค. 22, 10:25

ผู้ติดเชื้อโควิด-๑๙ ทั่วโลก เข้าหลัก ๓๐๐ ล้านเรียบร้อยแล้ว ตกใจ

จำนวนผู้ติดเชื้อ ๑๐๐ ล้านคน จากล้านที่ ๒๐๐ - ๓๐๐ใช้เวลา ๑๕๖ วัน หรือ ๑๐ ล้านคนใน ๑๕.๖ วัน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 223  เมื่อ 08 ม.ค. 22, 09:05

 ตกใจ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 224  เมื่อ 31 ม.ค. 22, 08:55

สถานการณ์โควิด-๑๙ ในประเทศไทย เดือนมกราคม ๒๕๖๕

จำนวนผู้ติดเชื้อเริ่มเพิ่มขึ้นเป็นการระบาดระลอก ๕ เมื่อวันที่ ๕ มกราคม และตั้งแต่วันที่ ๗ เรื่อยมา คงอยู่ในระดับ ๗,๐๐๐ - ๘,๐๐๐ ราย โดยมีตัวเลขสูงสุด ๘,๖๔๐ ราย เมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม

ส่วนตัวเลขผู้เสียชีวิตอยู่ในระดับ ๑๐ - ๒๐ ราย โดยมีตัวเลขสูงกว่า ๒๐ รายเพียง ๒ วัน คือ ๒๒ และ ๒๘ ราย ในวันที่ ๒๗ และ ๒๘ มกราคม

ดูจากตัวเลขผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิต สถานการณ์การระบาดของโรคผ่อนคลายลงมาก และหากไม่มีเชื้อกลายพันธุ์ตัวใหม่ที่ร้ายแรง เราคงดำเนินชีวิตตามปรกติได้ในไม่ช้า ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.823 วินาที กับ 20 คำสั่ง