เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 37763 โควิด-๑๙ มหันตภัยโลก (ภาคต่อ 'โคโรนาไวรัสอู่ฮั่น')
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 195  เมื่อ 06 ธ.ค. 21, 15:43

ในที่สุด ก็มาถึงไทยจนได้

ไทม์ไลน์ผู้ป่วยโอมิครอนรายแรก ชายไทยสัญชาติอเมริกัน ไร้คนสัมผัสเสี่ยงสูง

วันที่ 6 ธ.ค. 2564 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงข่าวที่กระทรวงสาธารณสุข ว่า ขณะนี้ทั่วโลกพบผู้ติดเชื้อโอมิครอน หรือ โอไมครอน (Omicron หรือ B.1.1.529) แล้ว 46 ประเทศ เป็นการติดเชื้อในประเทศ 15 ประเทศ และพบในผู้เดินทางเท่านั้น 31 ประเทศ ซึ่งล่าสุดคงต้องเพิ่มประเทศไทยเข้าไปด้วย โดยยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจากโอมิครอน
ผลการสอบสวนผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ไม่มีอาการ โดยเป็นชายไทย สัญชาติอเมริกัน อาศัยอยู่ที่สเปน 1 ปี อาชีพนักธุรกิจ ไม่มีโรคประจำตัว ได้รับวัคซีนจอห์นสัน & จอห์นสัน (Johnson & Johnson) 1 เข็ม ที่สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2564 มีผู้สัมผัสจากเคสนี้รวม 19 คน

https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2258857?fbclid=IwAR2Mda_CzyPGRLX4AoPCwarMt3yO85NZg_g4VMPHcc0TVp4nRbG0GtRZULk
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 196  เมื่อ 06 ธ.ค. 21, 15:59

 ลังเล


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 197  เมื่อ 17 ธ.ค. 21, 07:36

จาก FB  คุณเจริญขวัญ แพรกทอง บลาฮาสสกี้

อเมริกามี 50 รัฐ ตอนนี้น่าจะเจอแล้ว 33 รัฐ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 198  เมื่อ 17 ธ.ค. 21, 12:36

สถานการณ์ในสหราชอาณาจักรกำลังย่ำแย่ ข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์

สหราชอาณาจักรพบผู้ติดเชื้อโควิด-๑๙ รายวันสูงที่สุดนับตั้งแต่โรคระบาดใหญ่ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขส่งเสียงเตือนว่าสถานการณ์เลวร้ายสุดยังมาไม่ถึง หลังต้องเผชิญทั้งตัวกลายพันธุ์เดลตาและโอมิครอน ซึ่งแพร่กระจายเชื้อรวดเร็วมาก

กระทรวงสาธารณสุขสหราชอาณาจักรรายงานพบผู้ติดเชื้อใหม่รายวัน ๗๘,๖๑๐ คนในวันพุธ (๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๔) ทุบสถิติเดิม ๖๘,๐๕๓ คนที่เคยเกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๖๔ ครั้งที่สหราชอาณาจักรอยู่ภายใต้มาตรการล็อกดาวน์

จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวันในสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้นอย่างมากจากหนึ่งสัปดาห์ก่อน โดยเมื่อวันพุธที่แล้ว (๘ ธันวาคม ๒๕๖๔) เคสผู้ติดเชื้อใหม่รายวันยังอยู่ที่ ๕๑,๓๔๒ ราย

ศาสตราจารย์คริส วิตตี หัวหน้าเจ้าที่การแพทย์ของอังกฤษ บอกว่า ประเทศแห่งนี้กำลังเผชิญโรคระบาด ๒ ตัวแยกกัน ตัวหนึ่งคือตัวกลายพันธุ์โอมิครอน ที่กำลังขับเคลื่อนการแพร่ระบาดรวดเร็วมาก และอีกตัวคือตัวกลายพันธุ์เดลตา

ฝรั่งเศสประเทศเพื่อนบ้านยังไม่เกรงใจ สั่งห้ามชาวอังกฤษเข้าประเทศแล้ว ข่าวจาก ไทยรัฐออนไลน์

เมื่อวานนี้ (๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๔) รัฐบาลฝรั่งเศสสั่งห้ามไม่ให้พลเมืองชาวอังกฤษเดินทางเข้ามาในประเทศฝรั่งเศส โดยจะมีผลบังคับในวันเสาร์ที่ ๑๙ ธันวาคมนี้ เพื่อพยายามป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอน ที่กำลังระบาดอย่างหนักในสหราชอาณาจักร

โฆษกรัฐบาลฝรั่งเศส ยืนยันด้วยว่า ชาวอังกฤษไม่สามารถเดินทางเข้ามาในฝรั่งเศสเพื่อการท่องเที่ยว หรือเหตุผลทางอาชีพธุรกิจ ไม่ว่าจะฉีดวัคซีนแล้ว หรือยังไม่ฉีดวัคซีนต้านโควิด-๑๙ ก็ตาม ในขณะที่พลเมืองชาวฝรั่งเศสและพลเมืองที่อยู่ในสหภาพยุโรปที่อยู่ในสหราชอาณาจักร ยังคงสามารถจะกลับมาฝรั่งเศสได้

ยังไม่มีข่าวรัฐบาลไทยตอบสนองต่อเรื่องนี้ ชาวอังกฤษยังเดินทางเข้ามาในประเทศไทยได้ตามปรกติ ตกใจ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 199  เมื่อ 19 ธ.ค. 21, 10:02

ดร.อนันต์’เผยอังกฤษมีผู้เสียชีวิตจาก‘โอไมครอน’อีกอย่างน้อย 6 ราย
วันอาทิตย์ ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2564, 08.52 น.

‘ดร.อนันต์’เผยอังกฤษมีผู้เสียชีวิตจาก‘โอไมครอน’อีกอย่างน้อย 6 ราย ตัวเลขผู้ป่วยหนักกำลังเพิ่มขึ้นเช่นกัน ขณะที่ภูมิคุ้มกันจาก ‘วัคซีน’ ช่วยลดอัตราการเสียชีวิต แต่ไม่ป้องกัน 100% 

19 ธันวาคม 2564 ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ข้อความผ่าน เฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana เกี่ยวกับสถานการณ์ “โควิดโอไมครอน” มีเนื้อหาดังนี้...
“ผู้เสียชีวิตรายแรกจากโอมิครอนใน UK เป็นข่าวดังไปทั่วโลก เพราะเป็นข้อมูลที่บอกว่าไวรัสทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตได้แม้เป็นข้อมูลจากผู้ป่วยคนเดียว หลังจากนั้นตัวเลขไม่ได้มีคนติดตามต่อว่าจะมีเสียชีวิตเพิ่มอีกหรือไม่”

“คำตอบคือมีครับ อย่างน้อยอีก 6 คน เสียชีวิตแล้วจากโอมิครอนในอังกฤษ และ ตัวเลขผู้ป่วยหนักกำลังเพิ่มขึ้นเช่นกัน...”

“ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนช่วยลดอัตราการเสียชีวิต แต่ไม่ป้องกัน 100% ถ้าตัวเลขผู้ติดเชื้อสูงขึ้น ส่วน % ที่น้อยนิดนั้นก็เป็นตัวเลขความสูญเสียที่เห็นได้ครับ”

https://www.naewna.com/local/623113
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 200  เมื่อ 19 ธ.ค. 21, 10:05

นิตยสารดังชี้'อเมริกา'ไม่พร้อมรับมือโควิด-19'โอไมครอน'
วันอาทิตย์ ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2564, 09.45 น.

19 ธ.ค.64 สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า นิตยสารดิ แอตแลนติก (The Atlantic) รายงานว่าสหรัฐฯ ไม่พร้อมรับมือกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ชนิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์โอไมครอน ไม่ว่าจะกรณีใดก็ตาม ซึ่งได้รับการยืนยันโดยระบบการแพทย์ และการตัดสินใจของผู้กำหนดนโยบาย และอื่นๆ

บทความเมื่อวันพฤหัสบดี (16 ธ.ค.) ระบุว่าโรงพยาบาลในสหรัฐฯ อยู่ใน “จุดแตกหัก” แล้ว พร้อมชี้ว่า “การเผชิญบาดแผลทางใจนาน 2 ปี” ได้ผลักดันให้บุคลากรทางการแพทย์จำนวนมากลาออกจากงาน ขณะบุคลากรที่เหลือเหนื่อยล้าและหมดกำลังใจมากกว่าที่เคย

นอกจากนั้นนิตยสารฯ ยังกล่าวว่าบรรดาผู้กำหนดนโยบายได้เพิกเฉยต่อเครื่องมืออันจำเป็นต่อการปกป้องประชากรที่ตัวเองทำงานให้

การระบาดของเชื้อไวรัสฯ สายพันธุ์โอไมครอน จะแทรกซึมสู่รอยแตกและจุดอ่อนหลายแห่งบนกำแพงภูมิคุ้มกันของสหรัฐฯ โดยชาวอเมริกันจำนวนมากกำลังเผชิญความยากลำบากด้านการนัดรับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ขณะประชาชนจากชุมชนในชนบท มีรายได้ต่ำ และเป็นคนกลุ่มน้อย มีแนวโน้มเผชิญความล่าช้ามากกว่าเดิม

ที่มา xinhuathai
https://www.naewna.com/inter/623119
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 201  เมื่อ 19 ธ.ค. 21, 18:08

โอมิครอนระบาดหนัก CNN สั่งปิดด่วนออฟฟิศทุกแห่งในสหรัฐฯ

https://mgronline.com/around/detail/9640000125224
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 202  เมื่อ 19 ธ.ค. 21, 18:36

ขอแสดงความเห็นใจ  ที่ปีใหม่นี้ หลายประเทศในยุโรปน่าจะ unhappy new year


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 203  เมื่อ 19 ธ.ค. 21, 18:40

อังกฤษเจอหนัก


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 204  เมื่อ 20 ธ.ค. 21, 07:54

“หมอยง”เชื่อ "โอมิครอน" ระบาดในไทยแน่ ในอนาคตอันใกล้นี้

“หมอยง”ยกบทเรียนต่างประเทศ โควิด-19 สายพันธุ์ "โอมิครอน" กระจายทั่วโลกอย่างรวดเร็ว เชื่อประเทศไทยก็คงหนีไม่พ้น ในอนาคตอันใกล้นี้ จะเลยปีใหม่หรือไม่ยังไม่ทราบ และมีโอกาสที่จะเกิดเป็นคลัสเตอร์ กระจายอย่างรวดเร็ว ถ้าพวกเราไม่ช่วยกันในการดูแล ป้องกันซึ่งกัน และกันอย่างเต็มที่ ชี้มีความเป็นไปได้ ถ้าฉีดวัคซีนเป็นจำนวนมากร่วมกับการติดเชื้อ จะทำให้ประชากรส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็จะทำให้โรคนี้สงบได้เร็วขึ้น


https://mgronline.com/qol/detail/9640000125339
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 205  เมื่อ 20 ธ.ค. 21, 13:15

ผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนรายแรกในประเทศไทย จุดเริ่มต้นของการระบาดใหญ่โควิด-๑๙ รอบ ๕ ⁉️

กระทรวงสาธารณสุข เผยพบผู้ติดเชื้อโอไมครอนรายแรก เป็นหญิงไทยอายุ ๔๙ ปี ไม่มีประวัติการเดินทางต่างประเทศ จากผลการสอบสวนผู้ติดเชื้อหญิงไทย รับวัคซีนแอสตราเซเนกา ๒ เข็ม เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน โดยคาดเป็นการติดเชื้อมาจากสามี ซึ่งเป็นผู้ป่วยยืนยันตั้งแต่วันที่ ๓ ธันวาคม

โดยสามีเป็นชาวโคลอมเบียอายุ ๖๓ ปี มีอาชีพนักบิน ประวัติมีโรคประจำตัว และตามประวัติได้รับวัคซีนแอสตราเซเนกา ๒ เข็ม เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ที่ประเทศไนจีเรีย จากเคสดังกล่าว พบมีผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ๑ ราย คือคนขับรถแท็กซี่ ผลตรวจคัดกรองเป็นลบแต่ยังให้กักตัวต่ออีก ๑๔ วัน มีผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ ๘๙ ราย  ซึ่งยังไม่พบการติดเชื้อเพิ่มในกลุ่มนี้

โดยในกรณีเบื้องต้นสามีที่พบมีการติดเชื้อนั้น เดินทางกลับมาถึงไทยมีการตรวจ ATK ครั้งแรกให้ผลเป็นลบจึงได้รับการปล่อยตัวกลับบ้าน และเพิ่งมามีอาการภายหลังจึงเข้ารับการตรวจและทราบผลเป็นโอไมครอน

จาก ข่าวช่อง ๓
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 206  เมื่อ 26 ธ.ค. 21, 13:02

เปิดผลศึกษา‘โอมิครอน’ หลังญี่ปุ่นทดสอบความรุนแรงในหนูแฮมสเตอร์

26 ธันวาคม 2564 ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ข้อความผ่าน เฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana เกี่ยวกับสถานการณ์ “โควิดโอมิครอน” มีเนื้อหาดังนี้

“ทีมวิจัยของญี่ปุ่นนำไวรัสโอมิครอนไปทดสอบความรุนแรงในหนูแฮมสเตอร์ โดยเปรียบเทียบกับไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิม และ เดลต้า พบว่า หนูแฮมสเตอร์ติดโควิดจากสายพันธุ์เดิม และ เดลต้า ได้ดี มีอาการเห็นชัดมากจากน้ำหนักตัวที่ลดลงหลังติดเชื้อ ส่วนหนูที่ติด โอมิครอน น้ำหนักแทบไม่ลดลงเลยเมื่อเทียบกับหนูที่ไม่ได้รับเชื้อ อาการป่วยปอดติดเชื้อดูจากระดับออกซิเจนก็ไปในแนวเดียวกัน
เมื่อนำปอดของแฮมสเตอร์ในแต่ละกลุ่มมาตรวจสอบก็เห็นชัดว่า โอมิครอน ติดปอดหนูเหล่านี้ไม่ดีเท่าไวรัสอีกสองชนิด

ทีมวิจัยเชื่อว่า โอมิครอน เป็นไวรัสที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตรงตำแหน่งของโปรตีนหนามสไปค์ที่ทำให้ถูกตัดโดยเอนไซม์ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการเข้าสู่เซลล์ได้น้อยลง เมื่อสไปค์เปลี่ยนยาก ก็เข้าสู่เซลล์ได้ยาก ทำให้ความรุนแรงในสัตว์ทดลองน้อยลง

คำอธิบายดังกล่าวยังใช้อธิบายไม่ได้ว่าถ้าเข้าสู่เซลล์ได้ยาก เหตุใดไวรัสโอมิครอนถึงเพิ่มจำนวนได้ไวกว่าในเซลล์หลอดลมมนุษย์ถึง 70 เท่า และแพร่กระจายได้ไวมาก หรืออาจเป็นไปได้ว่าหนูแฮมสเตอร์อาจจะไม่ใช่ model ที่เหมาะสมในการศึกษาความรุนแรงของโอมิครอนเหมือนสายพันธุ์อื่นแล้ว เพราะโอมิครอนจับกับโปรตีน ACE2 ของแฮมสเตอร์ไม่ดีเหมือนสายพันธุ์อื่น???...

ไม่แน่ใจว่าความสามารถในการแพร่กระจายจากแฮมสเตอร์ติดเชื้อไปหาแฮมสเตอร์จะเหมือนที่พบได้ในมนุษย์ตอนนี้หรือไม่นะครับ ถ้าไม่เหมือนคาดว่า คำถามจะกลับมาที่ทีมวิจัยว่า ตกลงโอมิครอนรุนแรงน้อยกว่าขนาดนั้นจริงๆหรือ...

แน่นอนครับทุกคนอยากให้โอมิครอนเป็นแบบที่พบในแฮมสเตอร์ครับ แต่ตอนนี้ผลการทดลองยังมีอีกหลายคำถามที่ต้องตอบให้ชัดเจน

https://www.naewna.com/local/624677

ถามคุณหมอเพ็ญชมพู
อ่านแล้วต้องแปลไทยเป็นไทยอีกที   สรุปว่า โอมิครอนอาจจะเป็นเชื้อที่ติดง่าย  แต่ไม่รุนแรงเท่าเดลต้า
ใช่ไหมคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 207  เมื่อ 26 ธ.ค. 21, 16:51

คุณหมอธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับงานวิจัยของทีมวิจัยญี่ปุ่นเรื่องนี้ ว่า

ทีมงานจาก Sato Lab ในญี่ปุ่น เผยแพร่ผลการศึกษาเกี่ยวกับ Omicron ในหนูแฮมสเตอร์ พบว่าเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ก่อน เช่น อัลฟ่าและเดลต้าแล้ว ไวรัส Omicron นั้นดูจะแบ่งตัวได้ดีในส่วนของเซลล์บริเวณหลอดลมหรือขั้วปอด ในขณะที่การแบ่งตัวในเซลล์ปอดนั้นพบว่า Omicron มีประสิทธิภาพน้อยกว่าสายพันธุ์ก่อน ๆ

ผลดังกล่าวก็สอดคล้องกับการศึกษาทางห้องปฏิบัติการของ GuptaR Lab ที่ออกมาก่อนหน้านี้ ที่ชี้ให้เห็นว่า Omicron จับกับตัวรับร่วม TMPRSS2 ที่เซลล์ปอดได้ไม่ดีนักเมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดลต้า และชี้ให้เห็นว่า Omicron แบ่งตัวในเซลล์หลอดลมได้มากกว่าเดลต้า ๗๐ เท่า แต่ในเซลล์ปอดด้อยกว่าเดลต้า ๑๐ เท่า

ทั้งนี้ทั้งนั้น จำเป็นจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป เพราะความรู้ที่มีตอนนี้มาจากห้องปฏิบัติการและในหนูแฮมสเตอร์ อาจไม่การันตีว่าผลที่เกิดขึ้นในคนจะสอดคล้องกับที่พบมากน้อยเพียงใด

แต่ที่แน่ ๆ เราเห็นจากการติดเชื้อแพร่เชื้อในโลกแห่งความเป็นจริงว่า Omicron นั้นแพร่ระบาดได้เร็วมากกว่าเดิมหลายเท่า ติดเชื้อซ้ำได้มากกว่าสายพันธุ์เดิม กลุ่มเป้าหมายขยายวงกว่าเดิม ครอบคลุมทั้งคนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน คนที่ฉีดไม่ครบ คนที่ฉีดครบก็ยังติดได้ รวมถึงคนที่เคยมีประวัติติดเชื้อมาก่อนแล้วด้วย

นอกจากนี้ยังชัดเจนว่าดื้อต่อภูมิคุ้มกันจากวัคซีนและจากการติดเชื้อมาก่อน และดื้อต่อโมโนโคลนัล แอนติบอดี้หลายชนิดที่ใช้ในการรักษา

หลายประเทศนั้นพบว่า การแพร่ระบาดของ Omicron ทำให้เด็กและเยาวชนต้องป่วยและเข้ารับการรักษาในรพ.มากขึ้น ซึ่งเหตุผลหนึ่งที่อธิบายคือ เป็นกลุ่มที่ยังเข้าถึงวัคซีนได้จำกัด

ทั้งนี้ สำหรับ Omicron ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับภาวะอาการคงค้างหลังการติดเชื้อ หรือ Long COVID ว่าจะมีมากน้อยเพียงใด

ถามคุณหมอเพ็ญชมพู
อ่านแล้วต้องแปลไทยเป็นไทยอีกที   สรุปว่า โอมิครอนอาจจะเป็นเชื้อที่ติดง่าย  แต่ไม่รุนแรงเท่าเดลต้า ใช่ไหมคะ

การที่โอมิครอนแบ่งตัวได้ดีในเซลล์หลอดลม เมื่อจามไอเขื้อไวรัสก็ออกมามากขึ้น ทำให้ติดเชื้อและระบาดได้ง่ายขึ้น การแบ่งตัวในเซลล์ปอดได้น้อยลง ทำให้อาการรุนแรงน้อยลงด้วย  แต่ไม่ใช่จะไม่เกิดเสียเลย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 208  เมื่อ 27 ธ.ค. 21, 08:02

สรุปว่ายังสรุปไม่ได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 209  เมื่อ 28 ธ.ค. 21, 12:36

กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นพบว่า ทหารสหรัฐที่เดินทางมาประจำการในญี่ปุ่นไม่ได้ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทำให้เกิดการระบาดแบบกลุ่มกว่า 200 คนในฐานทัพที่จังหวัดโอกินาวา

จังหวัดโอกินาวาต้องเผชิญกับการระบาดของโรคโควิด-19 ในฐานทัพฮันเซน เมื่อพบผู้ติดเชื้อมากกว่า 223 ราย เป็นทหารเรือสหรัฐผลัดใหม่ที่เพิ่งเดินทางเข้ามาประจำการในญี่ปุ่น และพบว่าทหารสหรัฐเหล่านี้ไม่ได้ตรวจหาเชื้อโควิดจากต้นทางในสหรัฐ

กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นยอมรับว่า ฝ่ายสหรัฐไม่ได้ตรวจหาเชื้อตังแต่เดือนกันยายน โดยอ้างว่าได้ฉีดวัคซีนให้ทหารแล้ว และจำนวนผู้ติดเชื้อลดน้อยลง นอกจากนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. ฝ่ายสหรัฐได้ลดระยะเวลากักตัวลงเหลือ 10 วันตามนโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่น แต่เมื่อเกิดการระบาดของเชื้อสายพันธุ์โอไมครอน รัฐบาลญี่ปุ่นได้ขยายเวลากักตัวเป็น 14 วันเมื่อ 1 ธ.ค. แต่ทหารสหรัฐก็ยังคงกักตัว 10 วันเหมือนเดิม

กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นตกอยู่ในสภาพ “น้ำท่วมปาก” เพราะข้อตกลงระหว่าง 2 ประเทศ กำหนดว่า การตรวจหาเชื้อและกักตัวทหารสหรัฐที่เดินทางมาญี่ปุ่นจะดำเนินการโดยฝ่ายสหรัฐ ทำให้บรรดาทหารสหรัฐไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายของญี่ปุ่น

https://mgronline.com/japan/detail/9640000128376
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.052 วินาที กับ 20 คำสั่ง