เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 38610 โควิด-๑๙ มหันตภัยโลก (ภาคต่อ 'โคโรนาไวรัสอู่ฮั่น')
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 15 พ.ย. 21, 12:42

 ยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 22 พ.ย. 21, 10:20

ข่าวนี้จริงหรือเปล่าไม่รู้    ถ้าจริง  ก็เป็นข่าวดีชั้นหนึ่งสำหรับชาวโลกที่ทนทุกข์ทรมานกับโควิดมา 2 ปีแล้ว
ฝากคุณเพ็ญชมพูตรวจสอบด้วยค่ะ

ข่าวดีในญี่ปุ่นข่าวดีโลก!   โควิดระลอก5แทบหายเกลี้ยง คาด'เดลตา'กลายพันธุ์จนสูญพันธุ์

https://mgronline.com/around/detail/9640000115544
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 22 พ.ย. 21, 12:04

เป็นข่าวดีสำหรับญี่ปุ่น แต่ไม่รวมถึงยุโรปแน่นอน อัตราการฉีดวัคซีนที่ครอบคลุมประชากรส่วนใหญ่น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมโรค

The Japan Times รายงานวาผู้เชี่ยวชาญชี้ถึงเหตุผลต่าง ๆ นานาถึงการหายไปของยอดผู้ติดเชื้อ คาดว่าอาจเกี่ยวกับอัตราการฉีดวัคซีนที่สูงที่ ๗๕.๗% (ตัวเลขวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๔) แต่มีทฤษฎีหนึ่งที่ฟังแล้วอาจเหลือเชื่อแต่ก็สมเหตุสมผลจากอิตุโระ อิโนอุเอะ ศาสตราจารย์แห่งสถาบันพันธุศาสตร์แห่งชาติ

อืโนอุเอะชี้ว่าสายพันธุ์เดลตาในญี่ปุ่นสะสมการกลายพันธุ์มากเกินไปในโปรตีนที่ช่วยการแก้ไขข้อผิดพลาดของไวรัสที่เรียกว่า nsp14 ไวรัสจึงพยายามซ่อมแซมข้อผิดพลาดให้ทันเวลา แต่ในท้ายที่สุดแล้วนำไปสู่ “การทำลายตนเอง” ของไวรัส

นอกจากนี้ The Japan Times ยังอ้างการศึกษาที่พบว่าผู้คนในเอเชียมีเอนไซม์ป้องกันที่เรียกว่า APOBEC3A ที่โจมตีไวรัส RNA รวมทั้งไวรัส SARS-CoV-2 ที่ทำให้เกิด COVID-19 มากกว่าเมื่อเทียบกับคนในยุโรปและแอฟริกา นักวิจัยจากสถาบันพันธุศาสตร์แห่งชาติและมหาวิทยาลัยนีงาตะ จึงทำการศึกษาว่าโปรตีน APOBEC3A ส่งผลต่อโปรตีน nsp14 อย่างไรและสามารถยับยั้งการทำงานของโคโรนาไวรัสได้หรือไม่

ข่าวจาก โพสต์ทูเดย์


นพ.ฮานส์ คลูเกอ ผู้อำนวยการ WHO ประจำภาคพื้นยุโรป ให้สัมภาษณ์กับบีบีซีโดยเตือนว่า ยุโรปอาจมีผู้เสียชีวิตจากโควิดเพิ่มอีก ๕ แสนรายภายในเดือนมีนาคมปีหน้า หากยังไม่ดำเนินมาตรการควบคุมโรคอย่างเร่งด่วน

นพ. คลูเกอ อธิบายว่า ปัจจัยที่ทำให้ยอดการระบาดเพิ่มสูงขึ้นในขณะนี้มีด้วยกันหลายอย่าง เช่น การเข้าสู่ฤดูหนาว การให้วัคซีนต้านโควิดที่ยังไม่ครอบคลุม และการแพร่ระบาดของเชื้อสายพันธุ์เดลตา เขาเรียกร้องให้เร่งฉีดวัคซีนแก่ประชากรให้มากขึ้น และบังคับใช้มาตรการด้านสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน และการใช้การรักษาวิธีใหม่ ๆ เพื่อควบคุมการระบาดของโควิด

ข่าวจาก บีบีซีไทย

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 25 พ.ย. 21, 09:20

ข่าวโควิดในเยอรมนี  ไม่ใช่ข่าวดีแน่นอน

จาก FB  คุณ Warat Karuchit

เยอรมันระบาดหนัก เพราะ "ขาดผู้นำ"

เยอรมันกำลังอยู่ในสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก กับเคสโควิดที่พุ่งขึ้นสูงอย่างน่ากลัว วันพุธมียอดผู้ติดเชื้อสูงถึง 66,884 คน และเสียชีวิต 335 ราย ซึ่งสูงกว่าระลอกอื่นๆในอดีตอย่างมาก แม้ว่าจะเป็นประเทศที่มีความพร้อมด้านการแพทย์และวัคซีนก็ตาม
AP วิเคราะห์ว่า เหตุผลสำคัญของการไม่สามารถจัดการควบคุมการแพร่ระบาดของเยอรมันในครั้งนี้ มาจาก "เหตุผลการเมือง" เพราะเยอรมนีกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านอำนาจจากแองเกลา แมร์เคิ่ล และเพิ่งผ่านการเลือกตั้งใหญ่ระดับประเทศ เลยเกิดสภาวะเกียร์ว่าง และมีความยุ่งยากในการออกกฎหมาย จึงไม่เข้มงวดในการควบคุมโรค ไม่บังคับฉีดวัคซีน และไม่ล็อกดาวน์เพราะกลัวเสียคะแนน
นอกจากนั้น ยังมีปัญหาคนไม่ยอมฉีดวัคซีน (ขนาดเป็นประเทศที่คิดค้นวัคซีน mRNA ได้ ยังมีอัตราการฉีดวัคซีนไม่ถึง 70%) โดยเฉพาะคนหนุ่มสาว และปัญหาคนแก่ที่ฉีดวัคซีน mRNA ไปเมื่อต้นปี ภูมิลดลงจนติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
เยอรมันจึงพยายามเร่งฉีดวัคซีนให้มากและเร็วที่สุด จน รมต.สาธารณสุข ถึงกับต้องออกมาขู่ว่า
"Presumably by the end of the winter everyone will be vaccinated, cured or dead" (คาดว่าเมื่อสิ้นสุดหน้าหนาวนี้ (ชาวเยอรมัน) ทุกคนจะฉีดวัคซีนแล้ว หรือไม่ก็หายจากโควิด หรือไม่ก็ตาย)
ในขณะนี้เยอรมันจึงกำลังเผชิญกับภาวะผู้ป่วยล้น รพ. เนื่องมาจากเหตุผลทางการเมือง นั่นก็คือการ "ขาดผู้นำ" จนหัวหน้าแผนกฉุกเฉินใน รพ.หนึ่งถึงกับกล่าวว่า
“Nobody had the guts to take the lead and announce unpopular measures" (ไม่มีใครกล้ารับบทบาทผู้นำและประกาศมาตรการที่คนจะไม่พอใจ)
“This lack of leadership is the reason we are here now." (การขาดผู้นำ เป็นเหตุผลที่ทำให้เรามาถึงจุดนี้)
ก็ได้แต่ภาวนาว่าขออย่าให้สภาพการณ์เช่นนี้เกิดกับประเทศไทยเลย

https://apnews.com/article/coronavirus-pandemic-health-germany-western-europe-national-elections-a2162d75c29a865353e4e079c378f080?fbclid=IwAR3Kfm1EWhN8FnJNVgzuG0qG-Bg9LEpi5vnVy9pnwZuyDPLr1iqFkSCWzpA
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 25 พ.ย. 21, 12:11



สื่อดังชี้โควิด-19ระลอกล่าสุดใน‘สหรัฐฯ’ รุนแรง-เลวร้ายกว่าปีก่อน
วันพฤหัสบดี ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564, 08.20 น.

25 พฤศจิกายน 2564 สำนักข่าวบลูกเบิร์กรายงานว่าการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ระลอกล่าสุดในสหรัฐฯ กำลังส่งผลกระทบต่อแผนกผู้ป่วยหนักของบางรัฐท้องถิ่น ขณะหลายพื้นที่ของประเทศเผชิญการระบาดที่รุนแรงกว่าปีก่อน

รายงานข่าวเมื่อวันจันทร์ (22 พ.ย.) อ้างอิงข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขสหรัฐฯ ระบุว่าผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่ได้รับการยืนยันผลหรือเป็นผู้ป่วยต้องสงสัยใน 15 รัฐท้องถิ่น กำลังมีสัดส่วนการครองเตียงในแผนกผู้ป่วยหนักเพิ่มขึ้นกว่าปีที่แล้ว

อ่านต่อได้ที่
https://www.naewna.com/inter/618032
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 26 พ.ย. 21, 07:42

เยอรมนีก้าวผ่านหลักชัยอันน่าเศร้า ยอดผู้เสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับโควิด-๑๙ ทะลุ ๑๐๐,๐๐๐ คนในวันพฤหัสบดี(๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๔) ในขณะที่เคสผู้ติดเชื้อที่พุ่งสูงขึ้นกำลังท้าทายรัฐบาลชุดใหม่ที่กำลังเข้ามาทำหน้าที่แทนรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคิล

ข้อมูลจากสถาบันโรเบิร์ต คอช ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านสาธารณสุขของเยอรมนี ระบุว่าพบผู้เสียชีวิตจากโควิด-๑๙ เพิ่มอีก ๓๕๑ ราย ส่งผลให้ยอดผู้เสียชีวิตสะสมนับตั้งแต่โรคระบาดใหญ่เริ่มต้นขึ้นเพิ่มเป็น ๑๐๐,๑๑๙ คน ขณะที่เคสผู้ติดใหม่รายวันอยู่ที่ ๗๕,๙๖๑ คน ทุบสถิติสูงสุดรอบใหม่

"วันที่เราต้องไว้อาลัยแก่เหยื่อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ๑๐๐,๐๐๐ คน เป็นวันที่น่าเศร้า" นางอังเกลา แมร์เคิล ที่กำลังพ้นจากตำแหน่งกล่าวระหว่างแถลงข่าว พร้อมเรียกร้องให้ผู้ที่เข้ามาสืบทอดตำแหน่ง ลงมืออย่างรวดเร็วในการกำหนดมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมเพิ่มเติม เพื่อตัดวงจรการขยายตัวทวีคูณของไวรัส

"ผู้คนที่ล้มป่วยในวันนี้จะเป็นฐานของคนไข้ห้องไอซียูในช่วง ๑๐ ถึง ๒๔ วันข้างหน้า" เธอกล่าว "ดังนั้น มันสำคัญยิ่งที่เราต้องทำให้แน่ใจว่าโรงพยาบาลต่าง ๆ ของเราจะไม่แบกรับภาระจนล้น"

โรงพยาบาลต่าง ๆ ในบางพื้นที่ โดยเฉพาะในทางภาคตะวันออกและภาคใต้ของเยอรมนี กำลังอยู่ภายใต้แรงกดดันและ คริสเตียน ดรอสเทน นักไวรัสวิทยาชั้นนำ เตือนว่าอาจมีผู้เสียชีวิตจากโรคระบาดใหญ่อีก ๑๐๐,๐๐๐ คน

ผู้อำนวยการสถาบันโรเบิร์ต คอช ระบุอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ราว ๐.๘% นั่นหมายความว่าหากเคสผู้ติดเชื้อรายวันอยู่ที่ราว ๆ ๕๐,๐๐๐ คน จะมีผู้เสียชีวิตประมาณ ๔๐๐ คนในแต่ละวัน

ข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 26 พ.ย. 21, 08:48

ไทยเรายังรักษาสภาพของเดือนนี้ไว้ได้


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 26 พ.ย. 21, 09:59

ข่าวร้ายของชาวโลก‼️

ผู้เชี่ยวชาญประสานเสียงเตือนให้ระวังเชื้อโควิด-๑๙ กลายพันธุ์ สายพันธุ์ใหม่ สุดสยอง จากบอตสวานา ซึ่งถูกตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า B.1.1.529 เกิดการกลายพันธุ์มากที่สุดเท่าที่เคยพบ และอาจอันตรายกว่าเชื้อโควิด-๑๙ สายพันธุ์เดลตา ที่เป็นสายพันธุ์หลักที่กำลังระบาดทั่วโลกในขณะนี้อีกด้วย

ความน่ากลัวของเชื้อโควิด-๑๙ สายพันธุ์ใหม่ B.1.1.529 ซึ่งยังถูกตั้งชื่อเรียกว่า ‘Nu’ ก็คือ มันเกิดการกลายพันธุ์มากถึง ๓๒ ตำแหน่ง จนถือเป็นเชื้อโควิด-๑๙ ที่เกิดกลายพันธุ์มากที่สุดเท่าที่เคยพบเลยเดียว และขณะนี้พบผู้ติดเชื้อโควิด-๑๙ สายพันธุ์ใหม่ B.1.1.529 อยู่ที่เพียง ๑๐ ราย แต่พบผู้ติดเชื้อใน ๓ ประเทศแล้ว และจะแพร่ระบาดมากขึ้น

การกลายพันธุ์ถึง ๓๒ ตำแหน่งของเชื้อโควิด-๑๙ สายพันธุ์ใหม่ B.1.1.529 ทำให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากชี้ว่าจะทำให้เชื้อโควิด-๑๙ สายพันธุ์นี้ แพร่กระจายได้สูงขึ้น สามารถต่อต้านวัคซีนและยังเป็นเชื้อโควิด-๑๙ สายพันธุ์ใหม่ที่เกิดการกลายพันธุ์เปลี่ยนแปลงที่โปรตีนหนาม หรือ สไปค์โปรตีน มากที่สุดกว่าสายพันธุ์อื่นอีกด้วย

ศาสตราจารย์ Francois Balloux นักพันธุศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยคอลเลจ ลอนดอนในอังกฤษ ชี้ว่า เชื้อโควิด-๑๙ สายพันธุ์ใหม่ B.1.1.529 ดูเหมือนอุบัติขึ้นจากการติดเชื้อแบบอ้อยอิ่งในผู้ป่วยคนหนึ่งที่ป่วยเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งบางทีผู้ป่วยรายนี้อาจไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเอดส์

การเปลี่ยนแปลงของสไปค์โปรตีนของเชื้อโควิด-๑๙ สายพันธุ์ใหม่ ทำให้การฉีดวัคซีนในปัจจุบันนี้ต้องพบกับความยากมากขึ้น เพราะระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายจากการฉีดวัคซีนในขณะนี้ จดจำเชื้อโควิด-๑๙ ที่เป็นเชื้อโควิดก่อนหน้านี้

ด้าน ดร.ทอม พีค็อก นักไวรัสวิทยาประจำมหาวิทยาลัยอิมพีเรียล คอลเลจ ในอังกฤษ ซึ่งเป็นนักไวรัสวิทยาคนแรกที่หยิบยกการพบผู้ติดเชื้อโควิด-๑๙ สายพันธุ์ใหม่ B.1.1.529 ได้อธิบายถึงการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-๑๙ สายพันธุ์ใหม่ B.1.1.529 ว่า เป็นการผสมผสานการกลายพันธุ์ที่น่าสยอง พร้อมกันนั้น ดร.พีค็อก ยังเตือนว่า เชื้อโควิด-๑๙ สายพันธุ์ใหม่ B.1.1.529  ถือเป็นเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ ที่มีศักยภาพความร้ายกาจที่จะก่อให้เกิดความเลวร้ายมากที่สุดกว่าเชื้อทุกชนิด รวมทั้งเชื้อโควิด-๑๙ สายพันธุ์เดลตา

ข่าวจาก ไทยรัฐ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 26 พ.ย. 21, 20:23

ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 28 พ.ย. 21, 14:37

เชื้อโควิด-๑๙ สายพันธุ์ใหม่ B.1.1.529 ซึ่งยังถูกตั้งชื่อเรียกว่า ‘Nu’

องค์การอนามัยโลก (WHO) ตั้งชื่อโควิดตัวใหม่ว่า Omicron (โอไมครอน)โดยข้ามอักษรกรีกไป ๒ ตัวคือ Nu (นิว) และ Xi (ไซ) โดยมีเหตุผลจากวงใน WHO ว่า ชื่อ Nu อาจออกเสียงเป็น New (นิว) ซึ่งแปลว่า “ใหม่” จึงอาจจะสร้างความสับสนในอนาคตได้ว่า ถ้ามันมีสายพันธุ์ใหม่ ๆ ออกมาจริง คนก็อาจจะสื่อสารกันคลุมเครือ ส่วน Xi ตรงกับชื่อของผู้นำคนสำคัญของจีนอย่าง สี จิ้นผิง ซึ่งชื่อในภาษาอังกฤษของเขาถูกสะกดว่า Xi Jinping

ทางการในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสหราชอาณาจักร เยอรมนี อิตาลี และสาธารณรัฐเช็ก รวมถึงอีกหลายประเทศในแถบยุโรป เริ่มทยอยตรวจพบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนแล้ว  ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มีประวัติเดินทางกลับจากทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา

สำหรับในประเทศไทย ศูนย์จีโนมทางการแพทย์  โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้พบว่ามีแนวโน้มว่าอาจเกิดปัญหาไม่มากก็น้อยกับชุดตรวจ PCR "บางยี่ห้อ" ไม่ใช่ทุกยี่ห้อที่ WHO ให้รายชื่อไว้  คืออาจให้ผลบวกน้อยทั้งที่มีเชื้อจำนวนมาก หรือเกิดผลลบปลอม (false negative) ขึ้นได้ ประเมินจากตัวตรวจตาม (PCR Primer) ของยี่ห้อดังกล่าวมีรหัสพันธุ์กรรมของตัวตรวจตาม (PCR Primer) ที่บ่งชี้ว่าอาจตรวจจับกับส่วนจีโนมของสายพันธุ์โอไมครอนได้ไม่ดี หรือจับไม่ได้เลยเนื่องจากไวรัสมีการกลายพันธุ์ไปมาก

น่ากังวลว่า หากไม่ระมัดระวังในการใช้ชุดตรวจ PCR โดยเลือกใช้แต่ยี่ห้อที่มีคุณภาพ โอไมครอนอาจหลุดรอดการตรวจพบก็เป็นไปได้ ตกใจ

https://www.facebook.com/1721313428084052/posts/3060783094137072
https://www.facebook.com/1683658098593742/posts/2911170562509150
https://www.facebook.com/787530131354769/posts/4532927396815005
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 28 พ.ย. 21, 19:45

ได้ข่าวตอนหัวค่ำว่าโอไมครอนบุกถึงเนเธอร์แลนด์แล้วค่ะ

จาก  Facebook News1
 
เนเธอร์แลนด์วุ่น ผู้โดยสารติดเชื้อ คาดเป็นสายพันธุ์'โอไมครอน' :

เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเนเธอร์แลนด์ เผย ตรวจพบเคสผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในหมู่ผู้โดยสารที่บินมาจากแอฟริกาใต้ 61ราย ใน 2 เที่ยวบินเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา และเชื่อว่าบางส่วนเป็นเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ุใหม่ตัวกลายพันธุ์โอไมครอน
การตรวจพบครั้งนี้สร้างความประหลาดใจไม่น้อย เนื่องจากผู้โดยสารทั้งหมดต่างมีผลตรวจเชื้อเป็นลบหรือแสดงบัตรฉีดวัคซีนก่อนขึ้นเครื่อง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 191  เมื่อ 29 พ.ย. 21, 10:07

เนเธอร์แลนด์งานงอก!ผลตรวจยันผู้โดยสารบนเที่ยวบินจากแอฟริกาใต้ติดเชื้อ'โอไมครอน'13คน

เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเนเธอร์แลนด์ระบุในวันอาทิตย์(28พ.ย.) ว่าพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ตัวกลายพันธุ์ "โอไมครอน" 13 ราย ในบรรดาผู้โดยสารบน 2 เที่ยวบินที่บินมาจากแอฟริกาใต้และมาถึงท่าอากาศยานสคิปโพลของเมืองอัมสเตอร์ดัมในวันศุกร์(26พ.ย.)

ผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอน 13 รายดังกล่าวเป็นหนึ่งในบรรดาผู้โดยสาร 61 คนที่มีผลตรวจโควิด-19 เป็นบวกบน 2 เที่ยวบิน ซึ่งบรรทุกบรรดาผู้โดยสารและลูกเรือรวมกันราวๆ 600 คน และเหล่าคนที่มีผลตรวจเป็นบวกนั้นถูกกักโรคที่โรงแรมแห่งหนึ่งใกล้กับสนามบิน

"ในการสืบสวนถอดรหัสพันธุกรรม(ไวรัส)ของเรา ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่ จนถึงตอนนี้พบแล้ว 13 เคสตัวกลายพันธุ์โอไมครอนในบรรดาผู้โดยสารที่มีผลตรวจโควิด-19 เป็นบวก" สถาบันสุขภาพแห่งชาติเนเธอร์แลนด์(RIVM)ระบุในถ้อยแถลง

"มีความเป็นไปได้ที่จะมีเคสเพิ่มเติมปรากฏในเนเธอร์แลนด์" ฮูโก เดอ จอง รัฐมนตรีสาธารณสุขเนเธอร์แลนด์กล่าวระหว่างแถลงข่าวในกรุงร็อตเตอร์ดัม "มันมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นยอดของภูเขาน้ำแข็ง"

ทีมสืบสวนเนเธอร์แลนด์เริ่มทำการตรวจเชื้อนักเดินทางทุกคนที่เดินทางมาบนเที่ยวบิน 2 เที่ยวที่มุ่งหน้ามาจากแอฟริกาใต้ ณ ท่าอากาศยานสคิปโพลเมื่อวันศุกร์(26พ.ย.) ก่อนหน้ารัฐบาลเนเธอร์แลนด์จะกำหนดข้อจำกัดด้านการสัญจรทางอากาศจากแอฟริกาใต้ สืบเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับตัวกลายพันธุ์ตัวดังกล่าว

การตรวจพบตัวกลายพันธุ์โอไมครอน ซึ่งทางองค์การอนามัยโลกขึ้นบัญชีในฐานะ "สายพันธุ์ที่น่ากังวล" จุดชนวนความวิตกไปทั่วโลกว่ามันอาจดื้อต่อวัคซีนและทำให้วิกฤตโรคระบาดใหญ่โควิด-19 ที่ยืดเยื้อมาเกือบ 2 ปี ลากยาวออกไปอีก

เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเนเธอร์แลนด์ยังกำลังอยู่ระหว่างหาทางติดต่อและตรวจเชื้อผู้โดยสารคนอื่นๆอีกราว 5,000 คน ที่เดินทางมาจากแอฟริกาใต้ บอตสวานา เอสวาตินี เลโซโท โมซัมบิก นามิเบียและซิมบับเว นับตั้งแต่วันจันทร์ที่แล้ว(22พ.ย.)

https://mgronline.com/around/detail/9640000118070
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 192  เมื่อ 30 พ.ย. 21, 07:59

“หัวหน้าศูนย์จีโนมฯ” ชี้ไทยฉีดวัคซีนไขว้ช่วยรับมือโควิดกลายพันธุ์ได้ดี
เผยแพร่: 30 พ.ย. 2564 01:33   ปรับปรุง: 30 พ.ย. 2564 01:33   โดย: ผู้จัดการออนไลน์

"หัวหน้าศูนย์จีโนมฯ" ชี้ไทยฉีดวัคซีนสูตรไขว้ช่วยให้รับมือโควิดกลายพันธุ์ได้ดี เพราะหากไวรัสดื้อต่อวัคซีนตัวหนึ่ง อาจถูกวัคซีนอีกตัวช่วยปกป้องได้ โดยเฉพาะเชื้อตายที่ร่างกายจดจำไวรัสทั้งตัว ต่อให้หนามต่างไปจากเดิมก็ยังช่วยได้อยู่ ชี้ข้อมูล "โอไมครอน" ยังไม่มากพอ อย่าเพิ่งด่วนสรุปร้ายกาจกว่าเดลตา พร้อมยันไม่ว่าสายพันธุ์ไหนยังไม่สามารถหลบหลีกการตรวจได้

https://mgronline.com/onlinesection/detail/9640000118514
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 193  เมื่อ 30 พ.ย. 21, 08:49

สถานการณ์โควิด-๑๙ ในประเทศไทย เดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๔

จำนวนผู้ติดเชื้อค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ จำนวนผู้ติดเชื้อต่ำสุดในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ที่ ๔,๓๐๖ ราย เป็นตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันต่ำสุด ในรอบ ๕ เดือน (ยอดต่ำกว่า ๕ พันราย ครั้งสุดท้าย เมื่อ ๓๐ มิถุนายน ๔,๗๘๖ ราย)

ส่วนตัวเลขผู้เสียชีวิตลดลงต่ำกว่าหนึ่งร้อยรายโดยมีตัวเลขต่ำสุดในวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ที่ ๒๗ ราย



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 194  เมื่อ 03 ธ.ค. 21, 16:29

เชื้อโควิด-๑๙ กลายพันธุ์ สายพันธุ์ใหม่ สุดสยอง จากบอตสวานา ซึ่งถูกตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า B.1.1.529 พบผู้ติดเชื้ออยู่ที่เพียง ๑๐ ราย แต่พบผู้ติดเชื้อใน ๓ ประเทศแล้ว และจะแพร่ระบาดมากขึ้น

ผ่านไป ๑ สัปดาห์ จำนวนผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ "โอไมครอน" ลุกลามไปแล้วกว่า ๓๐ ประเทศ พบผู้ติดเชื้อแล้ว ๔๕๘ ราย

จาก คมชัดลึก



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 20 คำสั่ง