เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 38564 โควิด-๑๙ มหันตภัยโลก (ภาคต่อ 'โคโรนาไวรัสอู่ฮั่น')
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 30 ม.ค. 21, 19:17

ล่าสุดมีการเผยแพร่ผลการวิจัยระยะที่สามของวัคซีนอีกตัวหนึ่งคือ วัคซีนของบริษัท Johnson & Johnson ของอเมริกา  รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ สรุปให้เราทราบดังนี้

วัคซีนของ Johnson & Johnson เป็นวัคซีนประเภท Adenovirus vector คล้ายกับของ Astrazeneca/Oxford โดยใช้ Adenovirus-26 เป็นตัวนำพาส่วนของยีนที่กำหนดการสร้างโปรตีนส่วนหนามของไวรัสโควิด-๑๙ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันในน้ำเลือด หรือแอนติบอดี้ขึ้นมา ในขณะที่ของ Astrazeneca/Oxford ใช้ Chimpanzee Adenovirus

Johnson & Johnson ทำการวิจัยในอาสาสมัครจำนวน ๔๓,๗๘๓ คน ทั้งในอเมริกา ลาตินอเมริกา และแอฟริกาใต้ ผลวิจัยพบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อที่มีอาการระดับปานกลางรุนแรงได้ ๖๖% ประเมินผล ณ ๒๘ วันหลังฉีดวัคซีน (ภาพรวมของทุกประเทศที่วิจัย) โดยจำแนกเป็น ๗๒% ในอเมริกา ๖๖% ในลาตินอเมริกา และ๕๗% ในแอฟริกาใต้ ทั้งนี้หากวิเคราะห์เฉพาะการป่วยรุนแรง จะสามารถป้องกันได้ ๘๕%

ข้อดีของวัคซีนของ Johnson & Johnson คือ ฉีดเพียงเข็มเดียว และการเก็บรักษาวัคซีนสามารถเก็บในตู้เย็นธรรมดาได้ ต่างจากวัคซีนประเภท mRNA ที่ต้องเก็บในอุณหภูมิเย็นจัดซึ่งอาจทำให้มีปํญหาในทางปฏิบัติสำหรับประเทศที่ไม่มีระบบ cold chain ที่ดีพอ

https://www.facebook.com/1607465964/posts/10221742717029645/
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 30 ม.ค. 21, 20:26

เห็นข่าวรัฐไทยปฏิบัติกับผู้ที่ติดโรค กับผู้คนที่มาอยู่รวมตัวกันเยอะๆระหว่างคนดังกับคนธรรมดาทั่วไปที่ต่างมาตราฐานกันเหนื่อยใจ คราวก่อนก็มีประเด็นชาวต่างชาติกับคนไทยไปทีแล้ว
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 04 ก.พ. 21, 10:12

ในที่สุดข้อมูลการศึกษาระยะที่ ๓ วัคซีน Sputnik V ของรัสเซีย ได้มีการเผยแพร่ในวารสารชื่อดัง Lancet กลบข้อกล่าวหาที่เคยคลุมเครือในอดีต ประสิทธิภาพสูงถึง ๙๑.๑% โดยสถาบันกามาเลยาของรัสเซีย ทดลองกับอาสาสมัคร ๑๙,๘๖๖ ราย โดยพบผู้ติดเชื้อ ๑๖ รายที่อยู่ในกลุ่มผู้ได้รับวัคซีนจริง และพบผู้ติดเชื้อ ๖๒ ราย ที่ได้รับวัคซีนหลอก
  
วัคซีน Sputnik V เป็นไวรัส Vector เช่นเดียวกับ AstraZeneca  ที่ใช้ adenovirus เป็นตัวนำสารพันธุกรรมเข้าสู่เซลล์มนุษย์แล้วให้เซลล์มนุษย์สร้างโปรตีนเปลือกผิวของไวรัสโควิด ที่เรียกว่าสไปรท์โปรตีน AstraZeneca ใช้ adenovirus ของลิงชิมแปนซี เพื่อหวังหลบหลีกภูมิต้านทานของมนุษย์ ใช้ ๒ เข็มเหมือนกัน วัคซีนSputnik V ของรัสเซียใช้ adenovirus ของมนุษย์ แต่ใช้ไวรัส ๒ ตัว คือ adenovirus 5 และ adenovirus 26

การฉีดใน ๒ เข็ม วัคซีนที่ใช้ฉีดจะต่างชนิดกัน เช่นครั้งแรกให้ adenovirus 5 เข็มที่ ๒ จะให้ adenovirus 26 เพื่อป้องกันภูมิต้านทานต่อ adenovirus  ที่ฉีดในเข็มแรก มารบกวนการสร้างภูมิต้านทานของเข็มที่ ๒  ซึ่งก็มีเหตุผล  จากการทดลองของรัสเซียพบว่า ถ้าให้ไวรัสชนิดเดียวที่ เป็น vector ตัวเดียวกัน  การกระตุ้นเข็มที่ ๒ ภูมิต้านทานจะขึ้นน้อย ไม่เหมือนกับการใช้ไวรัสต่างชนิด ภูมิคุ้มกันจะขึ้นสูงมากกว่า ดังนั้นวัคซีน Sputnik V ของรัสเซียจะฉีดเข็มที่ ๑ และ ๒ จะต้องมีการแยกแยะจากกัน จะไม่ฉีดไวรัสเวกเตอร์ตัวเดียวกัน เหมือนอย่างใน AstraZeneca

วัคซีน Sputnik V ได้ขึ้นทะเบียนให้ใช้ในภาวะฉุกเฉินแล้ว ๑๗ ประเทศ และให้ทะเบียนแบบปกติ ๑ ประเทศ ราคาที่ประกาศไว้บนหน้าเว็บของบริษัทก็บอกไว้ว่าราคาไม่เกิน ๑๐ ดอลลาร์สหรัฐ ขึ้นอยู่กับการต่อรอง เป็นวัคซีนที่น่าสนใจอีกตัวหนึ่ง

ข้อมูลจาก เฟซบุ๊กของคุณหมอยง ภู่วรวรรณ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 06 ก.พ. 21, 09:43

สถิติวันนี้


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 06 ก.พ. 21, 16:19

จำนวนผู้เสียชีวิตจาก ๒.๒ - ๒.๓ ล้านคน ใช้เวลา ๗ วัน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 08 ก.พ. 21, 08:35

โควิด 19 ในอเมริกายังคงระบาดอย่างฮึกเหิม  แม้ว่าประธานาธิบดีคนใหม่จะต่อสู้อย่างเต็มที่แล้วก็ตาม

โจไบเดนพยายามเร่งให้ฉีดวัคซีนให้ไวที่สุด ตั้งเป้าไว้ว่า 100 วันให้ได้ยอด 100 ล้าน แต่จะได้ตามนั้นไหมไม่มีใครรู้    เพราะอเมริกันเป็นพวกลูกอีช่างประท้วง นี่ก็ประท้วงกันอีกแล้ว  โจ ไบเดนออกกฎห้ามชาวต่างชาติที่เดินทางมาจากแอฟริกาใต้, บราซิล, อังกฤษ, ไอร์แลนด์ และ 26 ประเทศในยุโรป เดินทางเข้าอเมริกา เพื่อสกัดการแพร่เข้ามาของเชื้อโควิดกลายพันธุ์  เรื่องนี้น่าจะทำมาตั้งนานแล้ว ลุงทรัมป์ไม่ได้ดูดำดูดีอะไรเล้ย นอกจากห่วงคะแนนเสียงตัวเอง


 
นอกจากโควิดสายพันธุ์เดิมแล้ว ตอนนี้อเมริกาพบไวรัสโควิดสายพันธุ์อังกฤษที่แพร่ระบาดไปล้ว 20 รัฐ  ตามด้วยสายพันธุ์ 501Y.V2  จากแอฟริกาใต้ ล่าสุดเจอโควิดสายพันธุ์บราซิล ‘Brazil P.1’ ได้แต่ภาวนาให้วัคซีนครอบคลุมการกลายพันธุ์ของสายพันธุ์ใหม่ๆ เหล่านี้  เพราะผ่านมาหนึ่งปีเต็ม คนที่เก็บตัวอยู่บ้านก็เหนื่อยล้าเบื่อหน่ายเต็มที อยากจะมีชีวิตแบบเดิมที่ไม่ต้องระแวดระวังแทบทุกฝีก้าว ไม่ต้องพ่นสเปรย์หรือเช็ดข้าวของด้วยน้ำยาฆ่าเชื้ออยู่ทุกวี่วัน

ตอนนี้โจ ไบเดนสั่งซื้อวัคซีนอีก 200 ล้านโดส ต่อจำนวนประชากรประมาณ 300 ล้านคน นับว่าดีต่อใจ  โจ ไบเดนเปรียบสถานการณ์การระบาดของโควิดในอเมริกาว่า  ขณะนี้เหมือนอยู่ในสมรภูมิสงคราม จึงต้องรีบดำเนินการให้เร็วที่สุดและมากที่สุด เพื่อยังยั้งการระบาด แต่อย่างที่บอกนั่นแหละ อเมริกันเป็นลูกอีช่างประท้วง โผล่กันมาอีกแล้ว หนนี้ต่อต้านการฉีควัคซีน

คงยังจำกันได้ ตอนที่เกิดการระบาดจัดหนัก คนป่วยคนตายเป็นเบือ ก็มีหมู่อเมริกันลุกฮือมาประท้วงในรัฐต่างๆ ต่อต้านการใส่หน้ากากบ้าง ต่อต้านนโยบายล็อคดาวน์และอื่นๆ ตามแต่ที่จะห้ามอะไรแล้วทำให้ไม่พอใจขึ้นมา   โดยอ้างสิทธิเสรีภาพโน่นนี่ไปเรื่อย ห่วงแต่เสรีภาพตัวเอง ไม่ยักปกป้องเสรีภาพคนอื่น เพราะไปรวมตัวกันกลุ่มก้อนใหญ่ขนาดนั้น เท่ากับเป็นการแพร่กระจายเชื้ออย่างดี  บางเมืองถึงขนาดกลุ่มหมอและพยาบาลออกมายืนขวางกลางถน แต่คนกลุ่มนี้ก็ไม่สนใจ ตะโกนด่าหมอหยาบๆ คายๆ และไม่ลืมตบท้ายด้วยสิทธิเสรีภาพของตัวเองอีกตามระเบียบ

ล่าสุดสถานที่ฉีดวัคซีนโควิดที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในแคลิฟอร์เนีย ต้องปิดทำการชั่วคราว  หลายคนอาจจะอยากถามว่า อ้าว.. แคลิฟอร์เนียนี่คือดงระบาดขนาดใหญ่สุดในอเมริกา แล้วทำไมถึงต้องปิดจุดฉีควัคซีนล่ะ.. คำตอบคือ  ผู้ประท้วงจากกลุ่มต่อต้านวัคซีน ส่วนมากเป็นกลุ่มขวาจัด หรือพวกสนับสนุนทรัมป์ รวมตัวขวางทางเข้า บางส่วนชูป้ายคัดค้านโควิด  พลางตะโกนเรียกร้องไม่ให้คนเข้าไปฉีดวีคซีน เอ้า..แบบนี้ก็มีด้วย จะไม่ฉีดก็ไม่ฉีดสิ จะมาโวยวายเรียกร้องให้คนอื่นไม่ฉีดวัคซีนได้ไง


อ่านต่อบทความของคุณเจริญขวัญ แพรกทอง บลาฮาสสกี้ ได้ที่นี่ค่ะ
https://www.naewna.com/columnonline/46705
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 08 ก.พ. 21, 10:18

ในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขเผยว่า กำลังจะได้รับวัคซีนจาก Sinovac มาและจะเริ่มฉีดให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ได้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป ก่อนที่กลางปี วัคซีน AstraZeneca ที่รับมาผลิตโดยบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ จะเริ่มใช้ได้

ทราบแล้วเปลี่ยน  ยิงฟันยิ้ม

ข้อมูลจาก  บีบีซีไทย



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 08 ก.พ. 21, 15:31

โครงการโคแวกซ์ (Covax - Covid-19 Vaccines Global Access Facility) ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนเมษายน ๒๕๖๓ เพื่อสนับสนุนการพัฒนา จัดซื้อ และส่งวัคซีนไปยังกว่า ๑๘๐ ประเทศทั่วโลก โดยมีองค์การอนามัยโลกเป็นผู้นำ ร่วมกับองค์กรพันธมิตรเพื่อวัคซีน (Gavi, The Vaccine Alliance) ที่ก่อตั้งโดยบิลและเมลินดา เกตส์ และกลุ่มพันธมิตรความร่วมมือด้านนวัตกรรมเพื่อรับมือโรคระบาด (Coalition for Epidemic Preparedness Innovations หรือ Cepi)

ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่ยังไม่เข่าร่วมโครงการ จึงยังไม่มีโควต้าที่จะได้รับวัคซีนจากโคแวกซ์  ตกใจ

ข้อมูลจาก  gavi.org


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 08 ก.พ. 21, 16:28

“บิ๊กตู่” เคลียร์ด่วน ปมไทยตกขบวนเข้าร่วมกับ COVAX เบื้องหลังสรรหาวัคซีนโควิด-19 รัฐบาลต้องดิ้นรนหนัก

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เปิดเผยถึงการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ผ่าน PM POSCAST โดยนายกรัฐมนตรีเล่าเรื่องทางเพจไทยคู่ฟ้า ว่านอกจากชีวิตความเป็นอยู่ประชาชนแล้ว มีเรื่องการจัดซื้อและแจกจ่ายวัคซีนของประเทศไทยที่หลายคนติดตามและกังวล เจ้าหน้าที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงตนเดือดเนื้อร้อนใจ ยิ่งกว่าท่านอีกเพราะมีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องนี้

คำถามที่ว่าเหตุใดประเทศไทยไม่จัดซื้อวัคซีนครอบคลุมจำนวนที่เหมาะสม และแผนฉีดวัคซีนในประเทศไทยล่าช้าเกินไปหรือไม่ รัฐบาลมีแผนแจกจ่ายวัคซีนในระยะยาวอย่างไรนั้น ขอเรียนว่าความพยายามในการจัดหาวัคซีนของกระทรวงสาธารณสุข และสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ริเริ่มตั้งแต่ ส.ค.63 ภายหลังเห็นเงี่อนไขต่าง ๆ ของผู้ผลิตวัคซีน Covax ในลักษณะการจองวัคซีนล่วงหน้า โดยที่ยังไม่ทราบผลการทดลองในมนุษย์ ประเทศไทยขณะนั้นยังไม่มีกลไกลจัดหาวัคซีนที่มีเงื่อนไขจ่ายเงินก่อนและมีโอกาสไม่ได้วัคซีนหากการวิจัยล้มเหลว

อ่านต่อได้ที่
https://truthforyou.co/34074/?ank=&fbclid=IwAR04GXW_9rkb4V0jMKFurnHvCsPK91gZLzW9fddO20pF9Qc5OPepk153h_U

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 09 ก.พ. 21, 14:26

การใช้สุนัขดมกลิ่นอาจเป็นทางเลือกหนึ่งในการคัดกรองผู้ติดเชื้อโรคโควิด-๑๙

คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินโครงการวิจัย “การใช้สุนัขดมกลิ่นตรวจหาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-๑๙ ที่ไม่แสดงอาการ” (K9 Dogs Sniff COVID-19) โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด เป็นจำนวนทั้งสิ้น ๑,๐๘๕,๖๐๐ บาท เพื่อพัฒนาทักษะของสุนัขดมกลิ่นให้สามารถตรวจสอบและจำแนกผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-๑๙ ที่ไม่แสดงอาการออกจากกลุ่มคนปกติ ลดการใช้การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ และเพิ่มศักยภาพในการคัดกรองผู้เดินทางเข้าประเทศไทย และนำไปสู่การฝึกสุนัขใช้งานตรวจวิเคราะห์โรคต่าง ๆ ในมนุษย์ต่อไป โดยมีระยะเวลาดำเนินการทั้งหมด ๗ เดือน (ตั้งแต่เดือนกันยายน ๒๕๖๓ - มีนาคม ๒๕๖๔)

ศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.เกวลี ฉัตรดรงค์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงโครงการว่า “ก่อนที่จะมีการนำสุนัขดมกลิ่นมาใช้ในการตรวจหาผู้ป่วยโควิด-๑๙ นั้น ในวงการแพทย์ได้มีการใช้สุนัขดมกลิ่นเพื่อตรวจหาโรคมาแล้วหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น โรคมะเร็ง โรคมาลาเรีย หรือโรคอื่นๆ ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัส สำหรับการใช้สุนัขดมกลิ่นในการวินิจฉัยผู้ป่วยโควิด-๑๙ ที่ไม่แสดงอาการนั้นก็มีการนำไปใช้ตามสนามบินต่างประเทศมาแล้วหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น ฟินแลนด์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และออสเตรเลีย ซึ่งมีงานวิจัยยืนยันว่าการใช้สุนัขดมกลิ่นจำแนกผู้ป่วยโควิด-๑๙ นั้นมีความแม่นยำสูงถึง ๘๐-๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ แม้ว่าผู้ป่วยจะยังไม่แสดงอาการออกมาก็ตาม นั่นเป็นเพราะว่าสุนัขนั้นมีเซลล์ประสาทรับรู้กลิ่นมากกว่า ๓๐๐ ล้านเซลล์ มากกว่ามนุษย์ถึง ๕๐ เท่า จึงสามารถตรวจสอบสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (volatile organic compounds, VOCs) ที่เกิดจากการเผาผลาญเซลล์ที่ผิดปกติของมนุษย์ได้ ด้วยการดมกลิ่นจากก้านสำลีที่ป้ายเหงื่อบริเวณรักแร้หรือเหงื่อจากฝ่าเท้าของผู้ป่วย ซึ่งการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีนี้สามารถจะทำได้ในเวลารวดเร็ว และช่วยลดอัตราเสี่ยงของการแพร่เชื้อแก่บุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องได้ด้วย เนื่องจากเหงื่อไม่มีการปนเปื้อนของเชื้อไวรัส ต่างจากตัวอย่างจากโพรงจมูกและลำคอ หรือน้ำลาย ซึ่งมีปริมาณไวรัสจำนวนมาก

https://www.energynewscenter.com/เชฟรอน-มอบทุนวิจัยสุนัข

ได้สอบถามหัวหน้าผู้วิจัยได้ความว่ามีความคืบหน้าอยู่ ใช้สุนัขลาบราดอร์ ๖ ตัว ดมกลิ่นเหงื่อได้ถูกต้องกว่า ๙๐% และจะมีการแถลงข่าวในเร็ว ๆ นี้  ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 10 ก.พ. 21, 10:52

รัฐบาลสหรัฐฯ ของประธานาธิบดีโจ โบเดน กำลังตั้งตาคอยพินิจพิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ในนั้นรวมถึงรายงานของคณะผู้เชี่ยวชาญนานาชาติองค์การอนามัยโลก (WHO) ที่เผยแพร่เมื่อวันอังคาร (9 ก.พ.) ซึ่งระบุว่าไวรัสโควิด-19 ไม่ได้มีต้นกำเนิดจากห้องปฏิบัติการวิจัยในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน จากการเปิดเผยของเจน ซากี เลขานุการฝ่ายสื่อมวลชนของทำเนียบขาว

คณะผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบที่มาที่ไปของโควิด-19 ซึ่งนำโดยองค์การอนามัยโลก ระบุว่า ค้างคาวยังคงเป็นแหล่งต้นตอที่มีความเป็นไปได้ และมีความเป็นไปได้ที่ไวรัสแพร่กระจายเชื้อผ่านอาหารแช่แข็ง พร้อมปฏิเสธสมมติฐานที่ว่ามันหลุดจากห้องปฏิบัติการวิจัยหนึ่ง

ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากเชื่อว่าโรคโควิด-19 ที่ล่าสุดทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อสะสม 106 ล้านคน และเสียชีวิตกว่า 2.3 ล้านคนนั้น มีต้นกำเนิดมาจากค้างคาว และอาจมีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอีกชนิดหนึ่งเป็นพาหะถ่ายทอดจากค้างคาวต่อมายังมนุษย์

เหลียง วานเหนียน ผู้เชี่ยวชาญจากคณะกรรมาธิการสาธารณสุขของจีน หัวหน้าคณะสอบสวนของจีนที่ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลก แถลงเมื่อวันอังคาร (9 ก.พ.) ว่า แม้แนวคิดดังกล่าวมีแนวโน้มเป็นไปได้ แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุโฮสต์กักตุน (reservoir host) สัตว์ที่เป็นแหล่งกักตุนเชื้อโรคตามธรรมชาติและสามารถแพร่เชื้อโรคไปยังสัตว์อื่นๆ และคนได้

อ่านต่อได้ที่
https://mgronline.com/around/detail/9640000013262
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 10 ก.พ. 21, 18:10

เรื่องวัคซีนยิ่งเห็นข่าวก็ยิ่งเหนื่อยใจ ล่าสุดหมอทวีศิลป์ออกมาบอกได้วัคซีนช้าไม่มีผลกับไทยเพราะมีหน้ากากอนามัยไม่ต้องฉีดให้เจ็บตัว เป็นการแก้ตัวเรื่องความล้าช้าได้ไม่สนใจใครเลย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 15 ก.พ. 21, 19:25

จำนวนผู้เสียชีวิตหนึ่งแสนคนจากล้านที่ ๒.๓ - ๒.๔  ใช้เวลา ๙ วัน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 17 ก.พ. 21, 09:00

 ร้องไห้


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 17 ก.พ. 21, 18:34

@ คุณหมอ SILA

หนึ่งในเหยื่อล่าสุดของโควิด 19  คือแพทริเชีย ภรรยาของนักร้องดังชาวอังกฤษ Engelbert Humperdinck
เธอจากไปในวัย 85 ปี หลังจากป่วยเป็นอัลไซเมอร์อยู่สิบกว่าปี
Engelbert ร้องเพลงลาภรรยาด้วยเพลงแสนเศร้า  ตัวเขาเองตรวจก็เจอผลบวก แต่เป็นโควิดประเภทไม่แสดงอาการ

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.095 วินาที กับ 20 คำสั่ง