เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 38625 โควิด-๑๙ มหันตภัยโลก (ภาคต่อ 'โคโรนาไวรัสอู่ฮั่น')
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 16 ม.ค. 21, 14:17

ถึงคิวงานเข้าวัคซีนไฟเซอร์  ตกใจ

๑๖ มกราคม ๒๕๖๔ เว็บไซต์ Bloomberg รายงานอ้างเจ้าหน้าที่นอร์เวย์ยืนยันว่า ในตอนนี้ทางการนอร์เวย์พบผู้เสียชีวิตแล้ว ๒๓ คน หลังได้รับวัคซีนโควิด-๑๙ เข็มแรกไม่นาน ซึ่งเกือบ ๓ ใน ๔ ของผู้เสียชีวิตมีอายุมากกว่า ๘๐ ปี โดยจากการชันสูตรศพเบื้องต้น ๑๓ ศพ ชี้ว่า เกิดจากผลข้างเคียงตามปกติของวัคซีนโควิด-๑๙

https://workpointtoday.com/norway-covid-vaccine-dead/

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 16 ม.ค. 21, 16:53

ซ่อมคลิปข้างบน

บันทึกการเข้า
ninpaat
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 17 ม.ค. 21, 08:40

.
อัตราการเสียชีวิตจากโควิด-19 ทุกๆ 500,000 รายในขณะนี้ ยังคงมีอัตราเร่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อยู่ครับ

 จำนวนผู้เสียชีวิต             ระยะเวลา
ทุกๆ500,000ราย            (เดือน)
     (ครั้งที่)
        1                       6 (29 มิถุนายน 2563)
        2                       3 (28 กันยายน 2563)
        3                       2 (3 ธันวาคม 2563)
        4                       1.5 (6 สัปดาห์ ,15 มกราคม 2564)
.

ขอขอบคุณ : ภาพจาก www.straitstimes.com/world/covid-19-deaths-top-2-million-amid-global-lockdowns-and-fresh-outbreaks


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 18 ม.ค. 21, 09:07

โควิด-๑๙ วิกฤตการณ์ที่เยอรมัน   ตกใจ
 
นิวยอร์กโพสต์ รายงานเมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๖๔ ว่าเยอรมันกำลังประสบวิกฤตอย่างหนัก ภายหลังจากมียอดผู้เสียชีวิตจากโควิด-๑๙ รายวัน สูงมากกว่าวันละ ๑,๐๐๐ ราย ทำให้เกิดปัญหาโลงศพไม่เพียงพอ และคนงานเผาศพทำงานไม่ทัน โลงศพถูกวางซ้อนกันสูงถึง ๒-๓ ชั้น หรือแม้กระทั่งเก็บไว้ในโถงทางเดินเพื่อรอการเผา

จอร์ก ชาลเดช ผู้จัดการฌาปนสถาน ในเมืองไมเซิน รัฐซัคเซิน ของเยอรมันเผยว่า เริ่มรับศึกหนักตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ปีที่ผ่านมา ภายหลังจาก ยอดผู้เสียชีวิตจากโควิด-๑๙ เริ่มเพิ่มขึ้นในอัตราที่ไม่คาดคิด ซึ่งเห็นได้ชัดว่า ผิดปกติอย่างมาก

"ผู้ที่เสียชีวิตจากไวรัสโคโรนานั้น เพิ่มขึ้นอย่างมาก เพิ่มขึ้น ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ อัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจากเมื่อก่อน" ชาลเดช กล่าว

นอกจากนี้ ผู้จัดการฌาปนสถาน ยังเผยว่า มีคนงานหลายสิบคน โดยปกติแล้วจะทำงานตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ ในระบบสองกะ แต่ตอนนี้คนงานทุกคนต้องทุ่มเทเวลาทั้งหมด ทำงานตลอด ๒๔ ชั่วโมง เพราะวิธีนี้เป็นวิธีเดียวที่จะสามารถเร่งจัดการผู้เสียชีวิต และเผาศพพวกเขาโดยเร็วที่สุด

"ทุกคนไม่ได้รับอนุญาตให้ไปเยี่ยมคนที่รักที่โรงพยาบาล และแม้พวกเขาจะต้องจบชีวิตลง คุณก็ไม่สามารถจับมืออำลาพวกเขาได้อีกต่อไป สิ่งเดียวที่คุณจะได้รับคือ โทรศัพท์แจ้งว่าพวกเขาเสียชีวิต"

ข่าวจาก กะปุก



บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 19 ม.ค. 21, 17:50

เรื่องวัคซีนของไทยตอนนี้ก็มาทะเละกันอีกไม่รู้จะจบเช่นไร คนทั่วไปจะได้ฉีดเมื่อไร
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 20 ม.ค. 21, 13:19

ในสหรัฐอเมริกา   รายงานข่าวในวันเสาร์ที่ 16 มกราคม 2021
ติดเชื้อ                 24,076,396      คน
ตาย                    401,473           คน
หาย                    14,211,528      คน

โจ ไบเดน ว่าที่ผู้นำสหรัฐฯ คนใหม่ ไว้อาลัยให้แก่ชาวอเมริกัน ๔๐๐,๐๐๐ คนที่เสียชีวิตจากโรคโควิด-๑๙ ตลอดช่วง ๑๑ เดือนที่ผ่านมา ก่อนที่จะเข้าพิธีสาบานตนเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ในวันนี้ (๒๐ มกราคม ๒๕๖๔)

พิธีรำลึกถูกจัดขึ้นที่อนุสรณ์สถานลินคอล์นเมื่อช่วงค่ำวันอังคาร (๑๙ มกราคม ๒๕๖๔) เพียงไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จะเดินทางออกจากทำเนียบขาว และมอบภาระหน้าที่ในการแก้ไขวิกฤตของชาติไว้กับผู้นำอเมริกาคนใหม่

“นี่คือสิ่งที่เราจะต้องจดจำ บางครั้งการจดจำอาจเป็นเรื่องยาก แต่มันก็คือวิธีเยียวยารักษา และเป็นสิ่งสำคัญที่เราทุกคนในชาติจะต้องทำร่วมกัน” ไบเดน กล่าวสุนทรพจน์เริ่มต้นพิธีไว้อาลัยซึ่งถูกจัดขึ้นพร้อมกันตามเมืองใหญ่ทั่วสหรัฐฯ

เมื่อท้องฟ้าในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. มืดสนิทลง โคมไฟฟ้าจำนวน ๔๐๐ ดวงได้ถูกเปิดขึ้นตลอดแนวด้านข้างของสระน้ำเพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงถึง ๔๐๐,๐๐๐ ชีวิตที่จากไปด้วยโรคร้าย จากนั้นนักร้องชาวอเมริกัน โยลันดา แอดัมส์ ได้ขับร้องบทเพลง “ฮาเลลูยา” สรรเสริญพระผู้เป็นเจ้า ก่อนที่จะมีการยืนสงบนิ่งเพื่อไว้อาลัยแก่ผู้เสียชีวิตจากโควิด-๑๙

กมลา แฮร์ริส ว่าที่รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งได้เข้าร่วมพิธีด้วย ระบุว่า “แม้กายเราจะแยกจากกัน แต่จิตวิญญาณของชาวอเมริกันทุกคนเป็นหนึ่งเดียว”

ลอรี แมรี คีย์ พยาบาลจากรัฐมิชิแกน ได้ขับร้องบทเพลง “อะเมซิ่ง เกรซ” ก่อนที่ ไบเดน จะก้าวขึ้นสู่โพเดียม จากนั้นมหาวิหารแห่งชาติ (National Cathedral) ซึ่งอยู่ห่างออกไปราว ๔ ไมล์ได้ลั่นระฆัง ๔๐๐ ครั้งหลังจากที่ผู้นำสหรัฐฯ กล่าวสุนทรพจน์จบลง

https://mgronline.com/around/detail/9640000005677



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 23 ม.ค. 21, 07:15

จำนวนผู้เสียชีวิตจาก ๒ - ๒.๑ ล้านคน ใช้เวลา ๗ วัน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 24 ม.ค. 21, 13:19

คนดังรายล่าสุดที่โควิดพรากไป  คือ Larry King   เจ้าพ่อพิธีกรและรายการสัมภาษณ์คนดังของ CNN  เขาอยู่ยืนยงคงกระพันมาหลายทศวรรษ จนกลายเป็นตำนานโทรทัศน์
จากไปในวัย 87 ปี

บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 24 ม.ค. 21, 21:46

เห็นมีข่าวว่า WHO แจกวัคซีนให้ชาติแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยไม่รู้ว่าฟรีไหม แต่ดันมีข่าวไทยไม่รับซะงั้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 25 ม.ค. 21, 10:44

เห็นมีข่าวว่า WHO แจกวัคซีนให้ชาติแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยไม่รู้ว่าฟรีไหม แต่ดันมีข่าวไทยไม่รับซะงั้น

สธ.ตอบชัด ทำไม ‘ไทย’ ถึงไม่ได้รับวัคซีนฟรี โคแวกซ์ (COVAX) จากองค์การอนามัยโลก

เมื่อวันที่ 24 มกราคม นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวถึงกรณีกระแสข่าวกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ไม่ยอมเข้าร่วมโครงการ COVAX (โคแวกซ์) ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในการจัดหาวัคซีนโควิด 19 และกำลังจะส่งให้วัคซีนของไฟเซอร์แก่ประเทศสมาชิกที่ยากจนกว่า ซึ่งเข้าร่วมโครงการกว่า 40 ล้านโดสว่า

ในการจัดหาวัคซีนมีการวางแผนเข้าร่วมกับโครงการโคแวกซ์ตั้งแต่แรก แต่ในการเจรจานั้น โครงการนี้เป็นโครงการที่ให้วัคซีนฟรีกับประเทศยากจน ซึ่งทางโครงการจัดประเทศไทยอยู่ในประเทศรายได้ปานกลาง จึงไม่ได้รับฟรีตรงนี้

หากจะเข้าร่วมก็ต้องนำเงินไปร่วมลงขันในการจัดหาวัคซีน ซึ่งโครงการก็ยังไม่ได้ระบุว่า จะเอาวัคซีนตัวไหนมา และก็ยังไม่มีวัคซีนตัวใดที่มีความคืบหน้ามาก เพียงแต่บอกให้ไทยเอาเงินไปร่วมลงขัน เมื่อได้มาแล้วก็จะได้วัคซีนในรูปแบบของการซื้อในราคาตามปกติ ถ้าไม่สำเร็จก็ไม่ได้เงินคืน จึงเป็นเรื่องยากในการที่จะเอาเงินไปลงตรงนั้น

“เราไม่ได้ทิ้งเรื่องของการเจรจาในโครงการโคแวกซ์ ซึ่งขณะนี้วัคซีนเริ่มทยอยออกมา เราคุยกันอยู่เรื่อยๆ ในเรื่องข้อมูลต่างๆ อาจจะสามารถแบ่งให้ประเทศไทยซื้อได้หรือไม่ในราคาต้นทุน หรือราคาถูก แต่ประเทศไทยไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับวัคซีนฟรีอยู่แล้ว” นพ.โอภาสกล่าว
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 25 ม.ค. 21, 12:59

ขอบคุณค่ะคุณเทาชมพู ถ้าไทยสามารถได้ราคาต้นทุนหรือราคาถูกก็คงดีไม่น้อย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 26 ม.ค. 21, 18:07

โควิด-๑๙ วิกฤตการณ์ที่เนเธอร์แลนด์  ตกใจ

ดัตช์ป่วน! นายกฯประณามม็อบก่อจลาจล ต้านรบ.ประกาศเคอร์ฟิวคุมโควิด
https://www.matichon.co.th/foreign/news_2546433

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 27 ม.ค. 21, 07:15

ติดเชื้อ ๑๐๐ ล้านคนแล้วจ้า  ตกใจ

อีกวันหนึ่งซึ่งต้องบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ ผู้ติดเชื้อเข้าหลักล้าน ผู้เสียชีวิตครึ่งแสน  ร้องไห้


เป็นอีกวันหนึ่งที่ต้องบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์เช่นกัน ผู้ติดเชื้อโควิด-๑๙ เข้าหลัก ๑๐๐ ล้าน ผู้เสียชีวิตเข้าหลัก ๒ ล้าน

จำนวนผู้ติดเชื้อจาก ๑-๑๐๐ ล้านคน ใช้เวลา ๒๙๙ วัน เฉลี่ยล้านละ ๓.๐ วัน (จำนวนผู้ติดเชื้อจาก ๙๐-๑๐๐ ล้านคนใช้เวลา ๑๖ วัน หรือ ล้านละ ๑.๖ วัน)

ข้อมูลจาก https://www.bloomberg.com/graphics/2020-coronavirus-cases-world-map/


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 28 ม.ค. 21, 09:30

เราวิ่งมาราธอนมาถึงครึ่งทางแล้ว เราน่าจะผ่านจุดสูงสุด และกำลังวิ่งในครึ่งทางหลัง ใน ๑ ปีที่ผ่านมาสรุปได้ว่า

โควิด-๑๙ เป็นโรคระบาดที่รุนแรงเริ่มจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ระบาดอย่างกว้างขวางไปทั่วโลกในรอบ ๑๐๐ ปี นับจากไข้หวัดใหญ่สเปน ระบาดในประเทศทางตะวันตกมากกว่าทางตะวันออก ทั้งนี้เพราะทางตะวันออก น่าจะกลัวตาย มากกว่าทางตะวันตก มีการปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัด และไม่ว่าจะปิดประเทศหรือไม่เปิดประเทศ เศรษฐกิจตกต่ำกันถ้วนหน้า การเดินทางระหว่างกันและกันลดลง

ความรุนแรงของโรค จะพบในผู้สูงอายุ และมีปัจจัยเสี่ยงในเด็ก ความรุนแรงน้อยกว่าผุ้ใหญ่ และผู้สูงอายุ อัตราตายโดยเฉลี่ยประมาณ ๒%  หรือน้อยกว่า หลังจากที่ทั่วโรคมีรายงาน ๑๐๐ ล้านคน เชื่อว่ามีผู้ป่วยอาการน้อย หรือไม่มีอาการตกสำรวจจำนวนมาก มีผู้เสียชีวิต ๒.๑ ล้านคน ประมาณหนึ่งในสาม การติดเชื้อเป็นแบบไม่มีอาการ จึงยากต่อการควบคุมโรค วิถีชีวิตใหม่ (new normal) ได้มีแนวทางปฏิบัติจนคุ้นเคย ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ กำหนดระยะห่าง ทำให้โรคระบบทางเดินหายใจลดลงอย่างมาก

เราเริ่มเห็นแสงในการควบคุม หลังจากการพัฒนาวัคซีน และนำไปใช้ได้จริง โดยเริ่มตั้งแต่กลางเดือนธันวาคม จนปัจจุบันมีการฉีดวัคซีนแล้วกว่า ๖๐ ล้านโด๊ส ประเทศอิสราเอลเป็นประเทศที่ฉีดวัคซีนของไฟเซอร์ ต่อจำนวนประชากรมากที่สุด (๑ใน ๓ ของประเทศ) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฉีดวัคซีนไปแล้ว ๑ใน ๔ ของประชากร ใช้วัคซีนเชื้อตายของจีน  Shinopham ประสิทธิผลการป้องกันโรคในอิสราเอล เริ่มเห็นผล ในผู้ที่อายุมากกว่า ๖๐ ปีที่ได้รับวัคซีน มีป่วยที่ต้องเข้าโรงพยาบาลน้อยกว่าผู้ไม่ได้รับวัคซีนถึงร้อยละ ๖๐ แสดงว่าวัคซีนลดการป่วยที่รุนแรง อย่างน้อยไม่ต้องเข้าโรงพยาบาล และลดการเสียชีวิต และเชื่อว่าวัคซีนโควิด-๑๙ ทุกชนิดที่ใช้อยู่ในขณะนี้ ก็เช่นเดียวกัน สามารถลดความรุนแรงของโรคได้ การลดการระบาดโควิด-๑๙ ได้ ประชากรอย่างน้อยร้อยละ ๖๐ ต้องมีภูมิต้านทานกลุ่ม (herd immunity) ภูมิคุ้มกันกลุ่มคิดจากสมการ  1-1/Ro  Ro คืออำนาจการกระจายโรค ที่มีการคำนวณไว้แล้วอยู่ระหว่าง ๒-๓  ภูมิคุ้มกันกลุ่มจึงเท่ากับ 1-1/3

เด็กที่อายุน้อยกว่า ๑๘ ปี ขณะนี้ยังไม่ให้วัคซีน เพราะยังไม่มีการศึกษาในเด็กกลุ่มดังกล่าว  และการติดโรคในเด็กมีอาการน้อย สตรีตั้งครรภ์ยังไม่แนะนำให้ฉีด เว้นเสียแต่ถ้ามีการระบาดมาก หรือสตรีนั้นมีความเสี่ยงสูง ก็ให้ชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบผลได้และผลเสีย และให้ข้อมูลให้ผู้รับวัคซีนตัดสินใจ การให้วัคซีนพร้อมวัคซีนอื่น โดยหลักการน่าจะให้ได้ แต่วัคซีนนี้เป็นวัคซีนใหม่ เมื่อเกิดการแทรกซ้อนจะไม่ทราบว่าเกิดจากวัคซีนอะไร จึงแนะนำให้วัคซีนนี้ห่างจากวัคซีนอื่นอย่างน้อย ๑๔ วัน วัคซีนโควิด-๑๙ จะให้ ๒ ครั้ง ยกเว้นในอนาคตอาจมีวัคซีนให้เพียงครั้งเดียว หรือ ๓ ครั้ง ชนิดของวัคซีนที่ให้ควรเป็นวัคซีนยี่ห้อเดียวกันทั้ง ๒ เข็ม ไม่ควรสลับยี่ห้อของวัคซีน จนกว่าจะได้มีการศึกษาแล้ว

ถ้าป่วยเป็นโรคโควิด-๑๙ แล้วฉีดวัคซีนได้หรือไม่ ผู้ที่เป็นโควิด-๑๙ แล้วยังมีข้อมูลยังไม่มากพอ และพบว่าผู้ที่มีอาการน้อย ภูมิต้านทานต่ำ และตรวจไม่ได้หลัง  ๖ เดือน ถ้าจะให้วัคซีน จะต้องให้หายป่วยและพ้นการกักตัวแล้ว ส่วนมากหลังหายจากโรคโควิด-๑๙ ใน ๓ เดือนแรก โอกาสจะเป็นโรค เป็นแล้วเป็นอีกเกิดขึ้นได้น้อยมาก การให้วัคซีนในผู้ที่เป็นโรคมาแล้ว ผู้ที่มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ การให้วัคซีนในกลุ่มนี้ไม่ได้มีปัญหา หรือข้อห้าม และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจภูมิต้านทานก่อนฉีดแต่อย่างใด และการให้วัคซีนในผู้ที่เคยเป็นโรคมาแล้ว ไม่มีอันตรายเพิ่มขึ้น แต่อย่างใด

เมื่อให้วัคซีนแล้วมีโอกาสติดเชื้อหรือเป็นโรคได้หรือไม่ ตอบได้เลยว่าไม่มีวัคซีนไหนที่ป้องกันได้  ๑๐๐%  เมื่อฉีดวัคซีนแล้ว จึงมีโอกาสติดโรค และอาจป่วยได้ หลักฐานปัจจุบันเชื่อว่าวัคซีนทำให้อาการป่วยน้อยลง ฉีดวัคซีนแล้วคงจะต้องปฏิบัติตนแบบวิถีชีวิตใหม่ จนกว่าประชากรส่วนใหญ่ หรือเกือบทั้งหมดมีภูมิต้านทาน และไม่มีการระบาดของโรค ดังนั้นจึงยังต้องสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ และกำหนดระยะห่างของบุคคล และสังคมต่อไป

เก็บความจาก โควิด-๑๙ ๑ ปี ผ่านไป โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์ยง  ภู่วรวรรณ

https://www.facebook.com/100000978797641/posts/5159708857405023/
https://www.facebook.com/100000978797641/posts/5161036393938936/
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 30 ม.ค. 21, 07:15

จำนวนผู้เสียชีวิตจาก ๒.๑ - ๒.๒ ล้านคน ใช้เวลา ๗ วัน


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 20 คำสั่ง