เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 37762 โควิด-๑๙ มหันตภัยโลก (ภาคต่อ 'โคโรนาไวรัสอู่ฮั่น')
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



 เมื่อ 01 ม.ค. 21, 08:10

ต่อจากภาคแรก
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=7079.msg174709;topicseen#msg174709

วายร้ายไวรัสจากอู่ฮั่นมาทักทายประเทศไทยเป็นชาติแรกเมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๖๓ โดยติดมากับนักท่องเที่ยวชาวจีน

ถัดมาอีก ๑ เดือน วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ 'โรคจากโคโรนาไวรัสอู่ฮั่น'ได้ชื่อใหม่จากองค์การอนามัยโลกว่า 'โควิด-๑๙' มหันตภัยจากโรคร้ายกระจายไปทั่วโลก จนถึงสิ้นปี ๒๕๖๓

๑ มกราคม ๒๕๖๔ โรคร้ายยังคงอยู่และทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ  ขึ้นปีใหม่ ขออนุญาตขึ้นกระทู้ใหม่ ซึ่งยังคงมีเรื่องให้ติดตามอีกมาก

ขอชาวเรือนไทยพ้นภัยโควิดตลอดปีใหม่นี้เทอญ  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 01 ม.ค. 21, 09:42

ถ้ามีข่าวล่ากว่านี้ คุณเพ็ญชมพูช่วยบอกด้วยนะคะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 01 ม.ค. 21, 09:45

เช้านี้ที่หมอชิต - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผยข่าวดี ประเทศไทยจะเริ่มรับวัคซีนโควิด-19 เดือนกุมภาพันธ์ 2564 จำนวน 2 ล้านชุด

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า นายกรัฐมนตรีสั่งการให้เจรจากับผู้ผลิตวัคซีนโควิด-19 ทุกรายที่ผลิตออกมาจำหน่ายแล้ว เพื่อให้ได้วัคซีนมาใช้ในช่วงที่มีการระบาดขณะนี้

ซึ่งจากการเจรจาสรุปได้ว่า ภายในเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2564 วัคซีนจะถูกส่งมาถึงประเทศไทย ไม่น้อยกว่า 2 ล้านชุด โดย นายอนุทิน ได้รายงานผลการเจรจากับผู้ผลิตวัคซีนทุกรายให้นายกรัฐมนตรีรับทราบแล้ว นายกรัฐมนตรีให้การสนับสนุนเต็มที่ ทั้งเรื่องงบประมาณ และได้สั่งการไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที เพื่อเร่งรัดกระบวนการจัดหาวัคซีนมาให้ถึงประชาชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงโดยเร็วที่สุด

นายอนุทิน ระบุว่า จะเจรจาเพื่อให้ได้วัคซีนมาให้มากที่สุด เร็วที่สุด เพื่อความปลอดภัยของประชาชนคนไทย ซึ่งเป็นภารกิจที่สำคัญที่สุดของรัฐบาล

https://news.ch7.com/detail/458762
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 01 ม.ค. 21, 17:33

 เศร้า เศร้า เศร้า


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 03 ม.ค. 21, 18:46

ศบค. เตรียม "ล็อกดาวน์" แต่ไม่ใช้คำว่า "ล็อกดาวน์



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 03 ม.ค. 21, 19:24

ประกาศ "พื้นที่ควบคุมสูงสุด" ใน ๒๘ จังหวัด  'ล็อกดาวน์' แต่ไม่ประกาศ 'ล็อกดาวน์'  ยิ้มเท่ห์

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/001/T_0004.PDF


บันทึกการเข้า
superboy
พาลี
****
ตอบ: 222


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 03 ม.ค. 21, 20:54

จังหวัดผมติดอันดับท้ายๆ ด้วยครับอาจารย์

ทุกเช้าผมไปตลาดสด พ่อค้าแม่ค้าคุยกันเรื่องเดียว จะโดนสั่งปิดตลาดสดวันไหนแล้วจะทำมาหากินอย่างไร

ทุกเช้าผมไปตลาดสด จะเห็นลูกค้าจับกลุ่มคุยกันโดยสวมหน้ากากปิดบังคางทุกราย

ทุกเช้าผมไปตลาดสด บ้านไหนที่จับกลุ่มคุยกันก็ยังจับกลุ่มคุยกันโดยไม่สมหน้ากากเช่นเคย

ทุกเช้าผมไปตลาดสด...

บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 04 ม.ค. 21, 08:22

เข้าใจว่าสถานการณ์ตอนนี้แตกต่างจากเมื่อต้นปี 2563โดยสิ้นเชิง

ทั้งนี้เพราะมีการผลิตวัคซีนออกมาได้แล้วหลายเจ้า ซึ่งต้อรอดูผลข้างเคียงกันต่อไป

ดังนั้นตอนนี้แค่ประคับประคองไปเราก็จะมีทางรอด โดยไม่ต้องล็อคดาวน์

เรามีตัวอย่างจากเมื่อต้นปี 63แล้วที่มีการประกาศล็อคดาวน์ทันที ซึ่งตอนนั้นเรายังไม่รู้ว่าวัคซีนจะมาเมื่อไหร่

ทันทีที่ล็อคดาวน์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจรุนแรงมากกว่าจะฟื้น

แต่ตอนนี้เบาใจได้อย่างว่ามีวัคซีนแล้ว และประเทศไทยได้สูตรและสิทธิในการผลิตมาแล้ว ดังนั้นหากประคับประคองสถานการณ์ไปแบบนี้ไม่ต้องล็อคดาวน์เศรษฐกิจไม่พัง

แต่ยังพอรับมือได้ ก็คิดว่าน่าจะจบแบบสวยๆก็ได้สำหรับประเทศไทยค่ะ
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 05 ม.ค. 21, 11:04

ในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขเผยว่า กำลังจะได้รับวัคซีนจาก Sinovac* มาและจะเริ่มฉีดให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ได้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป ก่อนที่กลางปี วัคซีน AstraZeneca ที่รับมาผลิตโดยบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ จะเริ่มใช้ได้ นอกจากนี้ยังมีโครงการพัฒนาวัคซีนที่เกิดจากความร่วมมือของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสภากาชาดไทยเพื่อคิดค้นวัคซีนใช้ต่อไป

* ชื่อวัคซีนคือ Corona Vac ผลิตโดยบริษัท Sinovac Biottech ของจีน เป็นวัคซีนเชื้อตาย (inactivated vaccine)

การทดสอบในตุรกี ใช้อาสาสมัคร ๗,๐๐๐ ราย มีประสิทธิภาพ ๙๑.๒๕%  ส่วนในบราซิล ใช้อาสาสมัคร ๑๓,๐๐๐ คน พบว่า มีประสิทธิภาพสูงกว่าระดับมาตรฐานที่ ๕๐% แต่ถูกทาง Sinovac สั่งชะลอการรายงานผลการทดลองออกไป เนื่องจาก Sinovac ต้องการเปิดเผยผลการทดลองที่แม่นยำหลังจากนี้เป็นระยะเวลา ๑๕ วัน การเปิดเผยผลการทดลองที่ล่าช้าทำให้ Sinovac ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าขาดความโปร่งใส และส่งผลให้ประชาชนของบราซิล มากกว่า ๕๐% ปฎิเสธที่จะฉีดวัคซีนของ Sinovac เนื่องจากไม่มั่นใจในด้านความปลอดภัย

สำหรับประเทศอื่นในอาเซียนมีสรุปในตารางข้างล่าง ส่วนรายละเอียดอ่านต่อได้ที่ https://www.facebook.com/153951094974177/posts/1506141939755079/



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 05 ม.ค. 21, 15:12

เปรียบเทียบข้อมูลวัคซีนโควิด-๑๙ ของ สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, จีน และรัสเซีย

อ่านรายละเอียดที่

https://www.facebook.com/153951094974177/posts/1505994606436479/
https://www.facebook.com/153951094974177/posts/1506770656358874/


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 05 ม.ค. 21, 19:55

หลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะในแถบยุโรปยังคงใช้มาตรการล็อกดาวน์ เพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ที่ยังคงระบาดอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลในหลายประเทศตัดสินใจขยายช่วงระยะเวลาล็อกดาวน์ออกไปอีก จากช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา

ประเทศไทยยังไม่มีการประกาศ 'ล็อกดาวน์'ในการระบาดครั้งใหม่ มีแต่การประกาศ 'พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด’  สำหรับ ๕ จังหวัดคือ สมุทรสาคร, ระยอง, ชลบุรี, จันทบุรี และตราด

ประดิษฐ์คำใหม่ขึ้นอีกคำแล้ว  ยิงฟันยิ้ม

อ่านรายละเอียดที่ https://thestandard.co/explore-lockdown-countries-tackle-latest-coronavirus/



บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 06 ม.ค. 21, 07:58

เห็นว่าไปต่อรองเอาของ Sinovac มาได้สองแสนโดสที่จะฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์ก่อน

ซึ่งตัวนี้อินโดนีเซียได้ไปก่อนแล้ว โดยผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตอินโดนีเซียสูงสุดในอาเซียน

ซึ่งตัว Sinovac นี้ก็มีประเด็นเมื่อเดือนพ.ย.เรื่องการทดลองในบราซิล

เลยคิดว่าจริงๆไทยก็หัวหมออยู่เหมือนกัน ให้อินโดนีเซียฉีดไปก่อน รอดูหนึ่งเดือนว่ามีผลข้างเคียงอะไรไหม

แล้วไทยค่อยเอามาฉีด;D ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 06 ม.ค. 21, 09:52

ที่วัคซีนล็อตแรกมาลงล็อกที่วัคซีนของ Sinovac อาจเป็นเพราะว่าเป็นของคนคุ้นเคย

สำนักข่าว Nikkei Asia ของญี่ปุ่น รายงานในวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๖๓ ว่า บริษัท ซิโนแวค ไบโอเทค (Sinovac Biotech) ผู้ผลิตวัคซีนโคโรนาแวค เปิดระดมทุนจากนักลงทุนเพื่อเพิ่มกำลังผลิตวัคซีนต้านไวรัสโควิด-๑๙ เป็น ๒ เท่า โดยมีบริษัท ซิโน ไบโอฟาร์มาซูติคอล (Sino Biopharmaceutical Limited) ที่มี ซีพี ฟาร์มาซูติคอล กรุ๊ป ถือหุ้นใหญ่ร่วมลงทุนกว่า ๕๑๕ ล้านเหรียญหรือประมาณ ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท

ทำให้ซีพีกรุ๊ปกลายเป็นผู้ถือครองหุ้นกว่า ๑๕% ในซิโนแวค ไลฟ์ ไซเอนซ์ ซึ่งเป็นหน่วยธุรกิจผู้ผลิตวัคซีนในเครือบริษัท ซิโนแวค ไบโอเทค (Sinovac Biotech) โดยวัคซีนจากซิโนแวค ไบโอเทค (Sinovac Biotech) ที่กลุ่มซีพีได้เข้าถือหุ้นนี้ คือวัคซีนที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้จัดซื้อจำนวน ๒ ล้านโด๊สในวงเงินรวม ๑,๒๒๘ ล้านบาท และกำลังจะมาถึงประเทศไทยในเดือนหน้าเป็นล็อตแรก โดยแบ่งการส่งมอบทั้งหมด ๓ ครั้ง ดังนี้ ส่งมอบในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๐๐,๐๐๐โด๊ส เดือนมีนาคม ๘๐๐,๐๐๐ โด๊ส และเดือนเมษายนอีก ๑,๐๐๐,๐๐๐ โด๊ส

จาก https://workpointtoday.com/cp-buy-sinovac/

ต่อไปพนักงานขายในร้านสะดวกซื้อของเครือซีพีอาจจะถามผู้ซื้อว่า "รับซาลาเปาและวัคซีนโควิดซักโด๊สสองโด๊สมั้ยคะ"  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 06 ม.ค. 21, 13:04

ทำความรู้จักวัคซีนโควิด-๑๙ ชนิดต่าง ๆ ในเชิงวิชาการกันสักนิด  ยิงฟันยิ้ม
 
๑. วัคซีน mRNA (วัคซีนของ Pfizer-Biontech และ Moderna) mRNA ถูกห่อหุ้มด้วย lipid nanoparticle เมื่อฉีดเข้าไปที่กล้ามเนื้อ particle จะเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อ mRNA จะถูกถอดออก ใน cytoplasm หรือของเหลวในเซลล์  mRNA จะเข้าสู่ ribosome เพื่อสร้างโปรตีนตามรูปแบบที่กำหนด และส่งผ่านออกทาง golgi ออกสู่นอกเซลล์ โปรตีนที่สร้างออกมาจะเป็นแอนติเจนไปกระตุ้นร่างกายสร้างแอนติบอดี ที่เป็นภูมิต้านทานต่อโรคโควิด-๑๙

ข้อดีของวัคซีนชนิดนี้ทำได้ง่าย และเป็นจำนวนมากอย่างรวดเร็ว เพราะทำในโรงงาน กระตุ้นภูมิต้านทานได้สูง  ข้อเสียคือ RNA สลายตัวได้ง่าย ต้องเก็บที่อุณหภูมิต่ำมาก ๆ และวัคซีนชนิดนี้เป็นชนิดแรกที่ใช้ในมนุษย์ อาการข้างเคียงหลังฉีดพบได้บ่อยกว่าวัคซีนที่ทำโดยชนิดเก่า เช่นมีไข้ ปวดเมื่อย และผลระยะยาวคงต้องรอการศึกษาต่อไปเป็นปีหรือหลายปี

๒. วัคซีน viral vector (วัคซีนของ AstraZineca และ Spuknic V) ใช้วิธีการเอาสารพันธุกรรมของไวรัสโรคโควิด-๑๙ ใส่เข้าไปในไวรัสที่จะเป็นเวกเตอร์ หรือ ตัวฝาก (ที่ใช้อยู่เป็น adenovirus, vesicula stomatitis virus  ซึ่งไม่ก่อโรคในมนุษย์) เพื่อส่งสารพันธุกรรมนั้นเข้าไปในเซลล์มนุษย์ เมื่อเข้าไปแล้วไวรัสจะถอดรูปพันธุกรรมที่ส่งเข้าไป โดยเข้าไปในนิวเคลียสของเซลล์ เพื่อลอกแบบ และเปลี่ยนให้เป็น mRNA ออกมาในไซโตพลาสซึม แล้วส่วนของ mRNA จะไปที่ ไรโบโซม เพื่อสร้างโปรตีนตามรูปแบบที่กำหนดไว้ (คือ spike protein) ส่งผ่านออกมาทาง golgi ออกนอกเซลล์ โปรตีนที่ส่งออกมาจะทำหน้าที่เป็นแอนติเจน กระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีต่อเชื้อโควิค-๑๙

ข้อดีของวัคซีนชนิดนี้คือ ผลิตได้จำนวนมากได้ง่าย เพราะทำจากโรงงาน เป็น DNA  จะมีความคงทนกว่า จึงสามารถเก็บได้ในอุณหภูมิ ๒-๘ องศาเซลเซียส ราคาจะถูก เพราะทำได้จำนวนมาก วัคซีนนี้เป็นชนิดใหม่เช่นเดียวกัน ผลระยะยาวจึงยังไม่ทราบ และ จะต้องคำนึงอีกประการหนึ่งคือขั้นตอนที่ผ่านนิวเคลียสของเซลล์ เราไม่ทราบว่าจะมีการรวมตัว integrate กับ DNA ของมนุษย์หรือไม่  ผลระยะยาวก็คงต้องติดตามต่อไป

๓. วัคซีนเชื้อตาย (วัคซีนของจีน Sinovac, Sinopharm) ใช้หลักการเช่นเดียวกับวัคซีนที่ทำมาแต่ในอดีตเช่น วัคซีนตับอักเสบเอ  วัคซีนโปลิโอ วัคซีนพิษสุนัขบ้าและอื่น ๆ อีกหลายชนิด โดยเพาะเลี้ยงไวรัสบน Vero cell  (เซลล์ชนิดนี้ใช้ทำวัคซีนหลายชนิดเช่นวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า) เมื่อได้ไวรัสจำนวนมาก ก็จะเอามาทำลายฤทธิ์หรือฆ่าเชื้อให้ตายแล้วนำมา formulation ใส่สารกระตุ้นภูมิต้านทาน

ข้อดีของวัคซีนชนิดนี้คือ ในเรื่องความปลอดภัย เป็นเชื้อตายสามารถให้ในคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องได้ ข้อเสียคือการผลิตจำนวนมากจะทำได้ยาก เพราะไวรัสชนิดนี้เป็นไวรัสก่อโรค จะต้องเพาะเลี้ยง ในห้องชีวนิรภัยระดับสูง ต้นทุนในการผลิตจะมีต้นทุนสูง และเนื่องจากเป็นเชื้อตาย (inactivated virus) เชื้อไม่ไปเพิ่มจำนวน การกระตุ้นภูมิต้านทานจะได้ระดับต่ำกว่าวัคซีนที่กล่าวมาจากข้างต้น

เก็บความจาก เฟซบุ๊กของศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 07 ม.ค. 21, 14:27

เห็นตอนนี้มีข่าวว่าที่อังกฤษเชื้อกลายพันธ์ติดเร็วขึ้นก็หนักใจว่าตัววัคซีนจะแก้ไขได้ไหม

และล่าสุดก็เห็นมีกระแสต่อว่าคุณหมอทวีศิลป์หนักอยู่ ทั้งเรื่องบอกไม่ปิดประเทศเพราะถ้าปิดก็ต้องมีการเยียวยา การเยียวยาเป็นภาระของภาษีเงินทั้งประเทศ เรื่องคนใส่หน้ากากเยอะจนหมอไม่มีใส่ ล่าสุดคือเรื่องต้องโหลดแอปทุกคน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 19 คำสั่ง