เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 38516 โควิด-๑๙ มหันตภัยโลก (ภาคต่อ 'โคโรนาไวรัสอู่ฮั่น')
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 16 มี.ค. 21, 13:39

หลายประเทศในยุโรปยังทยอยระงับการใช้วัคซีน COVID-19 ของแอสตราเซเนกา จนกว่าสำนักงานยายุโรปจะสรุปผลการวิเคราะห์ผลข้างเคียงในกรณีที่พบผู้มีภาวะลิ่มเลือดอุตตันหลังฉีดวัคซีน

นอกจากประเทศในยุโรป ก็ยังมีประเทศในเอเซียคือ อินโดนีเซีย และประเทศในแอฟริกาคือ คองโก

ข้อมูลจาก เวิร์คพอยท์ทูเดย์



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 19 มี.ค. 21, 08:25

วัคซีนของแอสตราเซเนกามีเรื่องฮือฮาให้ถูกวิจารณ์ไม่หยุดหย่อน

ผลการวิจัยล่าสุดเผยแพร่ใน วารสาร The New England Journal of Medicine เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๔ พบว่า วัคซีนของแอสตราเซเนกามีประสิทธิภาพต้านเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ สายพันธุ์แอฟริกาใต้เพียง ๑๐.๔% ซึ่งถือว่าต่ำมาก และดูเหมือนจะต่ำกว่าวัคซีนยี่ห้ออื่นที่เคยมีการทดลองก่อนหน้านี้

งานวิจัยชิ้นนี้ สอดคล้องกับเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รัฐบาลแอฟริกาใต้ตัดสินใจระงับการฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกา หลังพบว่า วัคซีนชนิดนี้มีประสิทธิภาพประมาณ ๑๐% ในการต้านเชื้อโควิด-๑๙ สายพันธุ์แอฟริกาใต้

ในขณะที่วัคซีนจากบริษัทอื่น ๆ พบว่ายังคงใช้ได้กับสายพันธุ์แอฟริกาใต้ แม้จะมีประสิทธิภาพลดลง

รายละเอียดอ่านต่อที่ เวิร์คพอยท์ทูเดย์

เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ควรจัดซื้อวัคซีนมาใช้หลาย ๆ ชนิดมากกว่าพยายามจะซื้ออยู่ชนิดเดียว อย่างในบางประเทศ  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 20 มี.ค. 21, 08:23

จำนวนผู้เสียชีวิตหนึ่งแสนคนจากล้านที่ ๒.๖ - ๒.๗ ใช้เวลา ๑๑ วัน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 31 มี.ค. 21, 06:57

จำนวนผู้เสียชีวิตหนึ่งแสนคนจากล้านที่ ๒.๗ - ๒.๘ ใช้เวลา ๑๑ วัน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 03 เม.ย. 21, 07:15

จำนวนผู้ติดเชื้อ ๑๐ ล้านคน จากติดเชื้อจากล้านที่ ๑๒๐ - ๑๓๐ ใช้เวลา ๑๙ วัน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 07 เม.ย. 21, 20:11

ไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์อังกฤษบุกประเทศไทยแล้วในการระบาดระลอก ๓  ตกใจ

วันนี้ (๗ เมษายน ๒๕๖๔) ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แถลงผลการตรวจพันธุกรรม SARS -CoV-2 จากตัวอย่าง บางแค และทองหล่อ ด้วยวิธี Specific probe Real Time RT-PCR เพื่อแยกสายพันธุ์อังกฤษ กับสายพันธุ์ปกติ (Wild type)

ผลการตรวจสอบแสดงให้เห็นว่า สายพันธุ์ที่พบในการระบาดขณะนี้ ของสถานบันเทิงที่ทองหล่อ เป็นสายพันธุ์อังกฤษ ที่จะทำให้เกิดการระบาดได้รวดเร็วขึ้น กว่าสายพันธุ์ปกติ ๑.๗ เท่า และปริมาณไวรัสในผู้ป่วยถึงแม้จะไม่มีอาการ จะมีปริมาณไวรัสที่สูงมาก จากการสังเกต จากค่า Ct ของสายพันธุ์สถานบันเทิง ก็เห็นได้ชัดว่ามีค่า Ct ต่ำ แสดงว่ามีไวรัสมาก

ข่าวจาก ไทยพีบีเอส


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 07 เม.ย. 21, 21:08

ล่าสุดที่มีข่าวการระบาดของสายพันธุ์อังกฤษ UK (B.1.1.7) ในไทยนั้น หากดูตาราง ก็จะทราบว่าวัคซีนใดมีผลป้องกันอย่างไร

เหนืออื่นใดคือ สายพันธุ์แอฟริกาใต้ และบราซิล มีโอกาสมาเช่นกัน ดังนั้นวัคซีนที่แต่ละประเทศใช้ จึงควรมีสรรพคุณที่ดีพอ การเลือกรับวัคซีนจึงควรรู้รายละเอียด ไม่ใช่จะฉีดอะไรก็ได้ตามคำโฆษณา

จาก เฟซบุ๊ก รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 08 เม.ย. 21, 11:06

ทยงานเข้า! เผลอแผล็บเดียวโควิดตัวกลายพันธุ์ UK ระบาดหนัก กลายเป็นสายพันธุ์หลักในสหรัฐฯ

เคสผู้ติดเชื้อที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับสูงในวันพุธ (7 เม.ย.) ทั้งนี้ สายพันธุ์ดังกล่าวเพิ่งถูกพบในไทยเมื่อช่วงต้นสัปดาห์ ก่อความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคระบาดใหญ่ในประเทศไทย

รายงานของรอยเตอร์ระบุว่า ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19ของไทย พุ่งขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่จำนวนยังคงอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับบรรดาชาติเพื่อนบ้านทั้งหลายในภูมิภาค

ไทย พบผู้ติดเชื้อใหม่ 334 คนเมื่อวันพุธ (7 เม.ย.) และไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม ส่งผลให้ยอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 29,905 ราย ในนั้นเสียชีวิต 95 ราย

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นากยรัฐมนตรี สั่งตั้งโรงพยาบาลสนาม ท่ามกลางความคาดหมายว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจะพุ่งขึ้น

รอยเตอร์รายงานว่า รัฐมนตรี 10 ราย และสมาชิกรัฐสภาหลายสิบคน ต้องกักโรคตนเองเมื่อวันพุธ (7 เม.ย.) สืบเนื่องจากสัมผัสใกล้ชิดกับเคสผู้ที่มีผลตรวจเชื้อออกมาเป็นบวก

คำยืนยันเกี่ยวกับการปรากฏตัวของตัวกลายพันธุ์ B.1.1.7 อาจกลายเป็นปัญหาใหญ่สำหรับไทย ในขณะที่ไทยเหลือเวลาแค่ 1 สัปดาห์ก่อนถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์ วันหยุดยาวที่สุดของประเทศ

จากข้อมูลของเหล่านักวิทยาศาสตร์สหราชอาณาจักร ระบุว่าตัวกลายพันธุ์ B.1.1.7 แพร่เชื้อได้ง่ายกว่าตัวกลายพันธุ์อื่นๆ ถึง 70% และมีอันตรายมากกว่าหลายเท่า

(ที่มา : รอยเตอร์)

อ่านรายละเอียดได้ในลิ้งค์ค่ะ
https://mgronline.com/around/detail/9640000033450
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 09 เม.ย. 21, 08:35

วิบากกรรมของ (ผู้ใช้วัคซีน) แอสตร้าเซนเนก้า ยังไม่สิ้น ‼️

วันที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๔ ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปแสดงความวิตกกังวล หลังจากที่องค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (EMA) ได้ออกมาเปิดเผยว่า มีความเป็นไปได้ที่วัคซีนป้องกันโรคโควิด-๑๙ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าและมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดมีส่วนทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน โดยหลายประเทศได้ออกข้อจำกัดให้ใช้วัคซีนดังกล่าวสำหรับประชาชนในช่วงอายุที่กำหนดไว้เท่านั้น

ภายหลังจากการเปิดเผยของ EMA หน่วยงานที่ปรึกษาด้านวัคซีนของสหราชอาณาจักร ได้ออกมาแนะนำให้ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า ๓๐ ปี เลี่ยงไปใช้วัคซีนตัวอื่น ขณะเดียวกันฝรั่งเศสและเบลเยียมก็ได้มีการกำหนดให้ฉีดวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าให้กับผู้ที่มีอายุ ๕๕ ปีขึ้นไป

ส่วนประเทศอื่น ๆ อาทิ อิตาลี, เยอรมนี, สเปน, เอสโตเนีย และเนเธอร์แลนด์ มีการกำหนดให้ผู้ที่ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าจะต้องมีอายุมากกว่า ๖๐ ปีขึ้นไป

ทางด้านสวีเดนจะฉีดวัคซีนดังกล่าวให้กับผู้ที่มีอายุ ๖๕ ปีขึ้นไป และไอซ์แลนด์ได้กำหนดอายุของผู้ที่จะได้รับการฉีดวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าไว้ว่าจะต้องไม่ต่ำกว่า ๗๐ ปี

ขณะที่เดนมาร์กและนอร์เวย์ยังคงระงับการฉีดวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าไว้ชั่วคราว  

อย่างไรก็ตาม  EMA ยังคงยืนยันว่าการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-๑๙ ของแอสตร้าเซนเนก้านั้นมีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงจากอาการข้างเคียงไม่พึงประสงค์ที่อาจจะเกิดขึ้น

จาก เวิร์คพอยท์ทูเดย์


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 11 เม.ย. 21, 17:09

จำนวนผู้เสียชีวิตหนึ่งแสนคนจากล้านที่ ๒.๘ - ๒.๙ ใช้เวลา ๑๑ วัน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 14 เม.ย. 21, 09:10

วิบากกรรมของวัคซีนโควิดดาวรุ่งอีกตัวหนึ่ง  ตกใจ

วัคซีนของ Johnson & Johnson เป็นวัคซีนประเภท Adenovirus vector คล้ายกับของ Astrazeneca/Oxford โดยใช้ Adenovirus-26 เป็นตัวนำพาส่วนของยีนที่กำหนดการสร้างโปรตีนส่วนหนามของไวรัสโควิด-๑๙ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันในน้ำเลือด หรือแอนติบอดี้ขึ้นมา ในขณะที่ของ Astrazeneca/Oxford ใช้ Chimpanzee Adenovirus

Johnson & Johnson ทำการวิจัยในอาสาสมัครจำนวน ๔๓,๗๘๓ คน ทั้งในอเมริกา ลาตินอเมริกา และแอฟริกาใต้ ผลวิจัยพบว่าสามารถป้องกันการติดเชื้อที่มีอาการระดับปานกลางรุนแรงได้ ๖๖% ประเมินผล ณ ๒๘ วันหลังฉีดวัคซีน (ภาพรวมของทุกประเทศที่วิจัย) โดยจำแนกเป็น ๗๒% ในอเมริกา ๖๖% ในลาตินอเมริกา และ๕๗% ในแอฟริกาใต้ ทั้งนี้หากวิเคราะห์เฉพาะการป่วยรุนแรง จะสามารถป้องกันได้ ๘๕%

ข้อดีของวัคซีนของ Johnson & Johnson คือ ฉีดเพียงเข็มเดียว และการเก็บรักษาวัคซีนสามารถเก็บในตู้เย็นธรรมดาได้ ต่างจากวัคซีนประเภท mRNA ที่ต้องเก็บในอุณหภูมิเย็นจัดซึ่งอาจทำให้มีปํญหาในทางปฏิบัติสำหรับประเทศที่ไม่มีระบบ cold chain ที่ดีพอ

วัคซีนของจอห์นสันแอนด์จอห์นสันและแอสตร้าเซนเนก้า ต่างเป็นวัคซีนเวคเตอร์ ใช้อะดิโนไวรัสมาดัดแปลงใส่สารพันธุกรรมที่กำกับการสร้างโปรตีนตุ่มหนามของตัวไวรัสโควิด  มาฉีดกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อโปรตีนส่วนหนามของไวรัสโควิด

ส่วนวัคซีนโควิด-๑๙ ของจีนและรัสเซีย ที่พัฒนาโดยคานซิโน ไบโอโลจิคอล และสถาบันกามาเลยา ก็พึ่งพิงแนวทางนี้เช่นกัน ขณะที่วัคซีนของไฟเซอร์/ไบโอเอ็นเทคกับวัคซีนของโมเดอร์นา ใช้เทคโนโลยี mRNA

เมื่อวันวานนี้ (๑๓ เมษายน ๒๕๖๔) ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) และองค์การอาหารและยา (FDA) ของสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์ร่วมกัน ระงับการใช้วัคซีนโควิด-๑๙ ของจอห์นสันแอนด์จอห์นสันเป็นการชั่วคราว หลังพบสตรี ๖ คน อายุระหว่าง ๑๘ ถึง ๔๘ ปี โดยอาการต่าง ๆ เกิดขึ้นราว ๖ ถึง ๑๓ วันหลังเข้ารับการฉีดวัคซีน ล่าสุดเสียชีวิตไปแล้ว ๑ คน อีกรายอยู่ในภาวะวิกฤต

นอกจากนี้แล้วทางจอห์นสันแอนด์จอห์นสันยังเผยด้วยว่าจะเลื่อนจ่ายวัคซีนไปยังยุโรป หนึ่งสัปดาห์หลังจากคณะผู้ควบคุมกฎระเบียบของยุโรปเผยว่ากำลังตรวจสอบทบทวนเคสลิ่มเลือดอุดตันในผู้ได้รับวัคซีนตัวดังกล่าวในสหรัฐฯ ขณะที่แอฟริกาใต้ ก็เป็นอีกชาติที่ระงับใช้วัคซีนของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน เช่นกัน

ข่าวจาก ผู้จัดการ



น่าคิดว่าเทคโนโลยี Adenovirus vector มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะเส้นเลือดอุดตันหรือไม่  ฮืม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 16 เม.ย. 21, 15:04

ทบทวนความรู้เรื่องเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนโควิด

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 16 เม.ย. 21, 21:28

วันนี้ (๑๖ เมษายน ๒๕๖๔] นายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงว่า ขณะนี้ทางรัฐบาลได้ติดต่อขอซื้อวัคซีนโควิด-๑๙ ไปยังผู้ผลิตอีกหลายเจ้า ทั้งจากรัสเซีย จีน อินเดีย และสหรัฐฯ แล้ว

ชื่อวัคซีนอาจจะอ่านยากไปสักหน่อยสำหรับท่านนายกฯ ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 17 เม.ย. 21, 15:54

ผู้เสียชีวิตจากโควิด-๑๙ เข้าหลัก ๓ ล้านคนเรียบร้อยแล้ว

จำนวนผู้เสียชีวิตล้านคน (จาก ๒ ล้านถึง ๓ ล้าน) ใช้เวลา ๙๑ วัน เฉลี่ย ๑ แสนคนใช้เวลา ๙.๑ วัน


บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 17 เม.ย. 21, 18:57

เรื่องวัคซีนเป็นอะไรที่รู้สึกโโมโห รำคาญรัฐบาลจริงๆค่ะ ตอนแรกก็สั่งเจ้าเดียว มีข่าวว่ารัฐจะผลิตเองด้วย เอกชน โรงบาลต่างๆไปขอผลิตก็มีข่าวว่าไม่ให้ทำ พอไปๆมาๆต้องไปซื้อของต่างชาติมาจากที่ตัวเองสั่ง พอได้มาก็ไม่กล้าฉีดแล้วก็มาเปลี่ยนใจมากล้าฉีด ทีนี้พอมาระบาดหนักอีกรอบก็กลายเป็นทำอะไรไม่ทันการเลยเพราะเสียเวลาจากเรื่องนี้ไป สั่งเจ้าเดียวอีก
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 19 คำสั่ง