เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21 22 ... 27
  พิมพ์  
อ่าน: 38931 โควิด-๑๙ มหันตภัยโลก (ภาคต่อ 'โคโรนาไวรัสอู่ฮั่น')
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 285  เมื่อ 21 มิ.ย. 22, 08:26

ผู้ป่วยใหม่ลดลงมาต่ำกว่า 2000 อีกครั้ง  ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 286  เมื่อ 22 มิ.ย. 22, 09:17

วันนี้ผู้ป่วยใหม่พุ่งขึ้นเลย 2000 อีกแล้ว  แต่ยอดผู้เสียชีวิตลดลง
การถอดหน้ากากอนามัยจะทำให้ผู้ติดเชื้อมากขึ้นหรือเปล่า


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 287  เมื่อ 24 มิ.ย. 22, 10:18

เห็นทีจะไม่ลง ลังเล ลังเล
แต่ใจชื้นหน่อยที่สถิติผู้เสียชีวิตยังต่ำกว่า 20  แสดงว่าผู้ป่วยใหม่อาจอาการไม่ร้ายแรงอย่างเมื่อ 2 ปีก่อน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 288  เมื่อ 24 มิ.ย. 22, 10:35

ข่าวไม่ดีเลยค่ะ  ตกใจ ตกใจ

ศูนย์จีโนมฯ เผยไทยติดโอไมครอน BA.4-BA.5 แล้ว 81 ราย ชี้เชื้อจับเซลล์ปอดมนุษย์ได้ดีขึ้น


ศูนย์จีโนมฯ เผยไทยติดโอไมครอน BA.4 และ BA.5 แล้ว 81 ราย คาดเป็นไปได้สูงที่จะเข้ามาระบาดแทนที่ BA.2.12.1 แถมหนามที่กลายพันธุ์จับกับเซลล์ปอดของมนุษย์ได้ดีขึ้น อันตรายถึงตาย ชี้กำลังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในยุโรป มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2565 ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ระบุว่า คำถามที่สอบถามศูนย์จีโนมฯ เกี่ยวกับการระบาดระลอกใหม่ของโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 โดยเฉพาะคำถามที่ว่า ประเทศใดในยุโรปที่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ และผู้เสียชีวิตเนื่องจากการระบาดของโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4, BA.5 มากที่สุด

ตอบคือ โปรตุเกสกำลังเผชิญกับระบาดของโอมิครอน สายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 ระลอกใหม่ โดยจำนวนผู้ติดเชื้อต่อล้านคนมีค่าเฉลี่ย 7 วัน อยู่ที่ 2,043 ราย ในวันจันทร์ (20 มิ.ย.65) ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นอัตราผู้ป่วยรายใหม่สูงเป็นอันดับ 2 ของโลก แม้ว่าจะลดลงบ้างจากระดับสูงสุดเมื่อต้นเดือนมิ.ย.ที่ 2,878 ราย โดยมีผู้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ คือ 178 คน ในวันที่ 20 มิ.ย.65

คำถามต่อมา จำนวนผู้ติดเชื้อ BA.4, BA.5, และ BA.2.12.1 ที่ตรวจพบในประเทศไทย และอัพโหลดขึ้นบนฐานข้อมูลโควิดโลก หรือ GISAID ปัจจุบันมีจำนวนกี่ราย คำตอบคือ จำนวนผู้ติดเชื้อ BA.4, BA.5, และ BA.2.12.1 ที่ตรวจพบในประเทศไทย ถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม และอัพโหลดข้อมูลรหัสพันธุกรรมขึ้นบนฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID”

ปัจจุบัน (23 มิถุนายน 2565) มีจำนวน 32, 49, 25 ตามลำดับ ทั้งนี้ เฉพาะผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ย่อย BA.4-BA.5 มีจำนวน 81 ราย และเมื่อรวมสายพันธุ์ BA.2.12.1 เข้าไปด้วยรวม 106 ราย

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. ที่ผ่านมา ศูนย์จีโนมฯ ระบุว่า ขณะนี้เชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน สายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 กำลังเกิดความกังวลไปทั่วโลก

ล่าสุดโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 มีการกลายพันธุ์บริเวณหนาม เพื่อให้เข้าจับกับเซลล์ปอดของมนุษย์ได้ดีขึ้น เหมือนกับสายพันธุ์เดลต้าที่ระบาด และมีอาการติดเชื้อที่รุนแรงในอดีต ต่างจากโอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม BA.1 และ BA.2 ซึ่งไม่พบการกลายพันธุ์ในบริเวณดังกล่าว

ส่วนหนามของโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4, BA.5 และ BA.2.12.1 ที่เปลี่ยนแปลงไปสามารถเป็นตัวเชื่อมให้ผนังของหลายเซลล์หลอมรวมเป็นเซลล์เดียว (cell fusion หรือ syncytia formation) ดึงดูดให้ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ติดเชื้อเข้ามาทำลายเกิดการอักเสบ (ของปอด) ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้ (life-threating)

สำหรับโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 ขณะนี้กำลังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในยุโรป โดยเฉพาะในอังกฤษเกิดความตื่นตระหนกเป็นพิเศษในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อในอังกฤษเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สืบเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองใหญ่ 4 วันระหว่างวันที่ 2-5 มิ.ย.65 ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการพบปะสังสรรค์ใกล้ชิดโดยไม่สวมหน้ากากอนามัยป้องกัน นำมาสู่ผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 43 ในสัปดาห์ถัดมา

นอกจากนี้ ในทวีปอเมริกาเหนือ สายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 ดูเหมือนจะแพร่ระบาดได้ดีกว่า BA.2.12.1 และมีความเป็นไปได้สูงที่จะระบาดเข้าไปแทนที่ BA.2.12.1 ที่กำลังระบาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา

https://www.isranews.org/article/isranews/109851-isranews-1000-324.html?fbclid=IwAR0cp0-f9nWkHMyiVI2N7X2liftBrBlZ4iV4YHIA9y6Z29f-8Mv_1m18FD0
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 289  เมื่อ 24 มิ.ย. 22, 14:01

จาก FB "อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์"
 

"โควิด โอมิครอน สายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 เราต้องกังวลมากน้อยแค่ไหน?"
หลังจากที่เริ่มมีรายงานข่าวว่า พบไวรัสโควิด สายพันธุ์โอมิครอน ที่เป็นสายพันธุ์ย่อยใหม่ ชื่อว่า BA.4 และ BA.5 ระบาดมากขึ้นในหลายประเทศ และล่าสุด ก็มีพบจำนวนหนึ่งในประเทศไทยเราด้วย
ทำให้เริ่มเกิดคำถามว่า เราจะต้องกังวลเกี่ยวกับเชื้อตัวนี้ มากน้อยแค่ไหน ? ต้องเตรียมการรับมืออะไรเป็นพิเศษหรือเปล่า ?
ดังนั้น ผมลองสรุปข้อมูลที่พอจะหาได้ มาให้พิจารณากันนะครับ
- โควิดสายพันธุ์โอมิครอนนั้น มีวิวัฒนาการกลายพันธุ์ไปเรื่อยๆ อย่างเช่น สายพันธุ์ย่อย BA.2 ซึ่งระบาดเป็นหลักในประเทศไทยเราช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา
- แต่ตอนนี้ มันก็มีวิวัฒนาการไปอีก เป็นสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 (ดูแผนภูมิในรูปประกอบ) ซึ่งมีอัตราการแพร่ระบาดที่เร็วขึ้นกว่าเดิม มีแนวโน้มที่จะติดเชื้อในปอดได้มากขึ้น ซึ่งในทางทฤษฎีแล้วมันอาจจะเป็นตัวที่อันตรายขึ้นกว่าโอมิครอนเดิม (คือ BA.2) แม้ว่าจะยังไม่มีหลักฐานโดยตรง ว่ามันทำให้เกิดอาการของโรคที่ซีเรียสขึ้นจริง
- แม้จะฟังดูน่ากังวล แต่ก็ยังไม่มีสัญญาณชี้บ่งว่ามันจะทำให้เกิด "คลื่น (wave) " การแพร่ระบาดใหญ่ และมีผู้เสียชีวิตมากมายขึ้นอีก แต่อาจจะมีการเพิ่มขึ้นบ้างพอเห็นเป็นพีค และผู้ที่จะเสี่ยงชีวิตกับเชื้อนี้ ก็ยังคงเป็นกลุ่มที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน หรือไม่เคยติดเชื้อโควิดมาก่อน
- ตอนนี้ สายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิดกว่า 97% ที่ระบาดอยู่ทั่วโลกนั้น เป็นโอมิครอน โดยมีสายพันธุ์ย่อย BA.2 มากที่สุด (39% ของพวกโอมิครอนทั้งหมด) ขณะที่สายพันธุ์ย่อย BA.2.12.1 มีอยู่ 28%,   BA.5 มี 6%, และ  BA.4 มี 3%
- แต่การที่สายพันธุ์ย่อยหลังๆ นั้น เริ่มมีมากขึ้น และอาจจะเข้าแทนที่ BA.2 ได้ องค์การ อนามัยโลก (WHO) จึงกำหนดให้พวกมันเป็น “สายวิวัฒนาการ ที่กำลังจับตามอง ของสายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variant of Concern lineages under monitoring)
- มีรายงานการระบาดของ  BA.4 และ BA.5 ในประเทศอัฟริกาใต้ และประเทศโปรตุเกส ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นจนเป็นพีค และตอนนี้ก็มีรายงานว่าเชื้อทั้ง 2 สายพันธุ์ย่อยนี้ มีอัตราส่วนเพิ่มมากขึ้น ในประเทศยุโรปอื่นๆ รวมทั้งในสหรัฐอเมริกา โดยมีแนวโน้มว่าอาจจะกลายเป็นสายพันธุ์หลักในอนาคต
- ประเด็นที่นักวิทยาศาสตร์กังวลกันของเชื้อพวกนี้ (ทั้ง BA.4 ,  BA.5 และ BA.2.12.1) ก็คือการกลายพันธุ์ที่เกิดขึ้นที่ยีนโปรตีนหนาม ในตำแหน่ง LR452 ที่อาจจะเป็นตัวการทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ย่อยเดิม
- รวมทั้ง พวกมันเหมือนจะติดเชื้อที่เนื้อเยื่อปอดได้มากขึ้น ซึ่งคล้ายคลึงกับสายพันธุ์อื่นๆ อย่าง อัลฟ่า Alpha หรือ เดลต้า Delta (โอมิครอนตัวเก่า อย่างสายพันธุ์ย่อย BA.1 และ BA.2 มักจะเชื้อที่เนื้อเยื่อทางเดินหายใจตอนบน  เช่นเซลล์บุในโพรงจมูก มากกว่า
- ข้อมูลเบื้องต้นจากงานวิจัยของ  Kei Sato และคณะที่มหาวิทยาลัยโตเกียว แสดงให้เห็นว่า  BA.4/5 และ BA.2.12.1 นั้นเพิ่มจำนวนในเซลล์ปอดของคน ได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่า BA.2
- ส่วนการทดลองของพวกเขา ในหนูแฮมสเตอร์ ก็พบว่า BA.4 และ BA.5  สามารถทำให้เกิดอาการป่วยรุนแรงได้  (แม้ว่าจะยังไม่มีหลักฐานในมนุษย์ก็ตาม) รวมถึงการที่มันเพิ่มจำนวนได้มากขึ้น และอาจจะดื้อต่อภูมิคุ้มกันของร่างกายหนู ที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อก่อนหน้านั้น
- เป็นไปได้ว่า ที่ BA.4 และ BA.5 จะมาแทนที่สายพันธุ์อื่นได้นั้น เนื่องจากว่ามันมีความสามารถในการที่จะหลบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ที่เกิดจากการที่เคยติดเชื้อหรือจากการฉีดวัคซีน จนทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำได้
- อย่างไรก็ตาม วัคซีนก็ยังเป็นเกราะป้องกันที่ดี ต่อการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตจากเชื้อพวกนี้ การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นบูสเตอร์ ก็ยังมีแนวโน้มที่จะสามารถช่วยเสริมระดับภูมิคุ้มกันในร่างกาย ในการรับมือกับสายพันธุ์ย่อยใหม่นี้
#สรุป เชื้อโควิดโอมิครอน สายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 อยู่ในกลุ่มของเชื้อที่ต้องจับตามอง ว่าจะมาแทนที่สายพันธุ์ย่อยเดิม อย่าง BA.2 เมื่อไหร่ ... ซึ่งการคาดการณ์ที่มีอยู่ขนาดนี้ ยังไม่มีตัวชี้บ่งว่า จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดที่รุนแรง และมีผู้เสียชีวิตมาก เหมือนช่วงปีก่อนๆ ... การฉีดวัคซีน และฉีดกระตุ้น ยังเป็นแนวทางที่ดีที่สุด ในการปกป้องตนเองและสังคม จากการป่วยรุนแรงและเสียชีวิต ด้วยสายพันธุ์ย่อยเหล่านี้ครับ

ข้อมูล จาก https://www.gavi.org/.../how-bad-fresh-wave-covid-19...
ภาพ จาก https://www.nature.com/articles/d41586-022-01240-x
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 290  เมื่อ 25 มิ.ย. 22, 08:50

ยังทรงๆอยู่เหนือ 2000


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 291  เมื่อ 27 มิ.ย. 22, 12:05

เริ่มสัปดาห์ปลายเดือนมิย.  ผู้ป่วยใหม่ลดลง  ผู้เสียชีวิตลดลง


บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 292  เมื่อ 27 มิ.ย. 22, 12:31

เรียนตามตรงว่า ยังไงก็ยังไม่สบายใจอยู่ดีค่ะ ผับ บาร์ สถานที่อโคจรเปิดกันเต็มที่แล้ว คอนเสิร์ตที่มีคนรวมตัวกันเป็นพันก็เริ่มแล้ว ลังเล
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 293  เมื่อ 27 มิ.ย. 22, 16:01

คุณ Anna แม่นยิ่งกว่าหมอดูค่ะ  เราคงได้สวมหน้ากากกันไปจนสิ้นปีเป็นอย่างน้อย

ศิริราช เตือนอย่าประมาท "ผ่อนคลายสวมหน้า" เผย โอมิครอน BA.4 – BA.5 เกาะเซลล์ปอดมากกว่า BA.2

คณบดีศิริราช เตือนโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 อันตรายกว่า BA.2 เหตุ เกาะเซลล์ปอดมากกว่า แนะ อย่าประมาทกับมาตราการ "ผ่อนคลายสวมหน้า"

จากกรณี ราชกิจจาฯ ประกาศผ่อนคลายสวมหน้ากากอนามัย ให้เป็นไปโดยความสมัครใจ พร้อมทั้งสามารถเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวข้ามจังหวัดภายใต้กฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่กำหนดตามปกติ มีผลทันที ตามที่ได้เสนอข่าวไปแล้วนั้น


ล่าสุด วันนี้ (27 มิ.ย.) คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล "ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา" ได้ออกมาระบุถึงการผ่อนคลายการสวมหน้ากาก ว่า

"เรื่องนี้ประกาศเพื่อบอกว่าไม่ได้บังคับให้สวมหน้ากากแล้ว แต่ไม่ได้บอกว่าต้องถอดออก โดยเฉพาะตอนนี้ที่มีโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 โดยเชื่อว่าประชาชนจะระวังตัวมากขึ้น เพราะยังต้องเฝ้าติดตามความรุนแรงของโรค โดยคาดว่าอีก 2 สัปดาห์จะเห็นภาพชัดเจนของ BA.4 และ BA.5 มากขึ้น

สำหรับสายพันธุ์ย่อยโอมิครอน BA.4 และ BA.5 พบข้อมูลมาหลายเดือนแล้ว โดยเฉพาะประเทศทางยุโรปที่พบอัตราติดเชื้อกลับมาสูงขึ้นเป็นหมื่นรายต่อวัน ซึ่งข้อมูลตอนนี้พบว่าสายพันธุ์ย่อยเริ่มไปทดแทนสายพันธุ์ย่อย BA.2 เนื่องจาก BA.4 และ BA.5 แบ่งตัวเร็วกว่า แต่ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่ารุนแรงมากกว่า เพราะยังไม่มีหลักฐานการป่วยจนเข้า รพ. อาการรุนแรงถึงเสียชีวิตที่ชัดเจน แต่ยังต้องเฝ้าติดตาม

อีกทั้งการที่มีการแพร่ระบาดเร็วขึ้นมองได้ 2 แง่ ได้แก่ 1.ตำแหน่งการกลายพันธุ์ 2.คนเริ่มผ่อนคลายมาตรการหน้ากากอนามัย จึงมีโอกาสที่แพร่กระจายได้มากขึ้น รวมถึงกิจกรรมสังคมที่มากขึ้นด้วย ซึ่งหลายประเทศก็ไม่ได้ตรวจหาเชื้อกันแล้ว ดังนั้นที่เห็นผลตรวจเป็นหมื่นราย แสดงว่ายอดจริงต้องมากกว่านั้น

สิ่งที่ต้องย้ำ คือ 1.วัคซีน เพราะข้อมูลการศึกษาของ BA.4 และ BA.5 มีแนวโน้มว่าอาจจะเกาะเซลล์ปอดได้มากกว่า BA.2 แต่ยังไม่ต้องไปเทียบกับเดลต้า เพราะไม่มีหลักการว่าจะรุนแรงมากกว่า จากคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข ที่ได้ศึกษาข้อมูลประชากรกว่า 5 แสนคน พบว่าการฉีดวัคซีนเข็ม 3 ป้องกันติดเชื้อได้ 25% แต่ถ้าฉีด 4 เข็มก็จะเพิ่มสูงถึง 70-75% สำหรับตนแนะนำให้ฉีด 4 เข็มในกลุ่มคนทั่วไป และบุคลากรทางการแพทย์ด่าหน้า เป็นเข็ม 5 ได้เลย ซึ่งหลายคนได้รับแล้ว

2.คนไทยต้องกระชับตัวเอง เพราะเราบังคับนักท่องเที่ยวได้ยาก
ดังนั้นเราต้องป้องกันตนเองด้วยมาตรการเดิม สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง และล้างมือ เพราะเรายังมีเด็กต่ำกว่า 5 ขวบที่ยังไม่ได้รับวัคซีน ขณะที่คนเคยติดโควิดจะติดเชื้อซ้ำได้ใน 4-6 เดือน ก็อาจจะสั้นกว่านั้นเพียงแต่คนไม่ได้ตรวจ

โอกาสที่โควิดจะกลับมาระบาดมากแบบระลอกเดลต้าไม่น่าจะเกิดขึ้น เพราะคนฉีดวัคซีนกันมาก ระวังตัวมากขึ้น ซึ่งขอเน้นย้ำว่าเรายังคงต้องป้องกันตัวเองให้มากขึ้น หากพบว่าเริ่มมีสัญญาณรุนแรงมากขึ้น เราก็เตรียมกลับมาตั้งรับ"

https://mgronline.com/onlinesection/detail/9650000060982
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 294  เมื่อ 28 มิ.ย. 22, 08:30

ลดลง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 295  เมื่อ 29 มิ.ย. 22, 11:46

'หมอโอภาส' เตือนปีนี้ทั้งปีจะมีลูกหลานของ 'โอมิครอน' ระบาดกันเป็นระลอก ไวรัสจะเก็บตกคนที่ยังไม่ติด

'หมอโอภาส' เตือนปีนี้ทั้งปีจะมีขบวนพาเหรดลูกหลานของ'โอมิครอน' ระบาดกันเป็นระลอก ไวรัสจะเก็บตกคนที่ยังไม่ติด เพราะจะมีการเปลี่ยนแปลงให้ติดง่ายกว่าเดิม สร้างกำแพงต้านการติดเชื้อไม่ได้ แต่ต้านโรคที่รุนแรงได้จากวัคซีน

29 มิ.ย.2565- นพ.โอภาส พุทธเจริญ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ โรคอุบัติใหม่ด้านคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โพสต์ข้อความ หัวข้อ ซีซั่นของ BA.4 และ BA.5 มีเนื้อหาดังนี้

 ปีนี้ทั้งปีจะมีขบวนพาเหรดลูกหลานของโอมิครอนระบาดกันเป็นระลอก ไวรัสจะเก็บตกคนที่ยังไม่ติด เพราะไวรัสจะมีการเปลี่ยนแปลงให้ติดง่ายกว่าเดิม คนก็จะวนเวียนอยู่กับการติดเชื้อทั้งในคนที่ฉีดวัคซีนไปแล้วและติดเชื้อซ้ำในคนที่เคยติดเชื้อมาก่อน ข้อมูลของคนที่เคยติดเชื้อซ้ำจากยุโรปอยู่ที่ 0.7-0.9% แต่จริงๆตัวเลขน่ามากกว่านี้ การติดเชื้อซ้ำยังไม่มีอาการหนัก

ทั่วโลกสัดส่วนของ BA.4 BA.5 เพิ่มขึ้นกำลังแทนที่สายพันธุ์เดิม น่าจะเป็นสายพันธุ์ร่วมที่ทำให้มีการระบาดระลอกใหม่เล็กๆในหลายประเทศ หลังจากนี้ก็จะมีลูกหลานโอมิครอนระบาดเป็นระลอกเล็กๆน้อยๆ ยังเราคงสร้างกำแพงต้านการติดเชื้อไม่ได้ แต่ต้านโรคที่รุนแรงได้จากวัคซีน -ซึ่งอย่างน้อยการได้เข็มกระตุ้นจะช่วยได้


ส่วนข้อมูลของความรุนแรงของ BA.4 BA.5ก็ยังไม่มีข้อมูลว่าร้ายกว่าโอมิครอนตัวดั้งเดิม ในแอฟริกาใต้ดูเหมือนว่าจะรุนแรงน้อยกว่าโอมิครอน BA.2 แต่ยุโรปบางประเทศก็บอกว่าความรุนแรงพอๆกับโอมิครอน ดูจากอัตราการนอนโรงพยาบาล ปอดอักเสบ อัตราการเสียชีวิต) ส่วนข้อมูลในห้องทดลองดูรุนแรงแต่ในคนอาจจะไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป ยังไม่น่าตกใจมาก เพราะในคนความรุนแรงจะน้อยลงอย่างมากถ้ายังมีภูมิจากวัคซีนช่วย

ส่วนที่โรงพยาบาลตอนนี้คนไข้นอกเริ่มกลับมาแน่นอีกครั้ง เตียงคนไข้ในจะกลับมาตึงๆขึ้น แต่คนไข้หนักของแต่ละโรงพยาบาลจะขึ้นอยู่กับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นในแต่ละที่

เศรษฐกิจยังต้องเดินต่อและทำความคุ้นเคยกับไวรัสที่อยู่ด้วยกันไปอีกนาน สิ่งที่สำคัญคือ ภูมิคุ้มกัน วัคซีน ยาต้านไวรัส สำหรับคนกลุ่มเสี่ยงเสียชีวิต

https://www.thaipost.net/covid-19-news/171070/?fbclid=IwAR1qz32fotiWFHik9_L3FpMIY3fbxU7PlJxoM539MNsont3x4ybRHeUA2pc
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 296  เมื่อ 29 มิ.ย. 22, 11:51

ผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นมาอีกแล้ว  แต่อัตราผู้เสียชีวิตลดลง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 297  เมื่อ 30 มิ.ย. 22, 10:35

สถานการณ์โควิด-๑๙ ในประเทศไทย เดือนมิถุนายน ๒๕๖๕

จำนวนผู้ติดเชื้อค่อย ๆ ลดลง จากต้นเดือนตัวเลขประมาณ ๓,๐๐๐ ราย จนต่ำสุดที่ ๑,๗๑๔ รายในวันที่ ๒๑ มิถุนายน หลังจากนั้นตัวเลขมีแนวโน้มสูงขึ้นจนถึงสิ้นเดือน

ส่วนตัวเลขผู้เสียชีวิตอยู่ในระดับ ๑๕ - ๓๐ ราย โดยมีตัวเลขสูงสุดที่ ๓๔ รายในวันที่ ๒ มิถุนายน และต่ำสุดที่ ๑๓ ราย ในวันที่ ๒๘ มิถุนายน



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 298  เมื่อ 01 ก.ค. 22, 09:46

ต้องถอนหายใจว่า เริ่มเดือนกรกฎาคม  ตัวเลขคนไข้ใหม่ ดีดตัวขึ้นไปเกิน 2000 อีกครั้ง  แต่อัตราผู้เสียชีวิตยังอยู่ในหลักสิบ ก็ค่อยยังชั่ว
ท่านที่ถอดหน้ากากออก  ก็ขอให้รู้ว่าตอนนี้โควิด จะตัวเก่าหรือตัวใหม่ก็ตาม ยังไม่หยุดแพร่กระจายนะคะ  


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 299  เมื่อ 02 ก.ค. 22, 11:56

ยังทรงๆ


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 18 19 [20] 21 22 ... 27
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 19 คำสั่ง