เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 27
  พิมพ์  
อ่าน: 38928 โควิด-๑๙ มหันตภัยโลก (ภาคต่อ 'โคโรนาไวรัสอู่ฮั่น')
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 225  เมื่อ 10 ก.พ. 22, 08:25

ผู้ติดเชื้อโควิด-๑๙ ทั่วโลก เข้าหลัก ๔๐๐ ล้านเรียบร้อยแล้ว ตกใจ

จำนวนผู้ติดเชื้อ ๑๐๐ ล้านคน จากล้านที่ ๓๐๐ - ๔๐๐ใช้เวลา ๔๑ วัน หรือ ๑๐ ล้านคนใน ๔.๑ วัน

เมื่อเทียบกับ ๑๐๐ ล้านรายก่อน

ใช้เวลาน้อยลง ๓.๘ เท่า

จำนวนผู้ติดเชื้อ ๑๐๐ ล้านคน จากล้านที่ ๒๐๐ - ๓๐๐ใช้เวลา ๑๕๖ วัน หรือ ๑๐ ล้านคนใน ๑๕.๖ วัน



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 226  เมื่อ 10 ก.พ. 22, 08:41

ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 100  ล้าน  แต่ตายเพิ่มขึ้นสามแสน ( 301,459) คน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 227  เมื่อ 18 ก.พ. 22, 12:03



จับตา "โอมิครอน BA.2" ติดได้ง่าย มีอัตราส่วน 1:18 คนป่วย-ตายทำนิวไฮ

ตอนหนึ่งที่สงสัยว่าแปลว่าอะไร คือที่พิมพ์ตัวอักษรแดง

รศ.นพ.นิธิพัฒนโพสต์อีกว่า ที่น่าสนใจต่อไปคือทำไมวัยรุ่นบางส่วนจึงยังลังเลการเข้ารับวัคซีนโควิด ข้อมูลจากการสำรวจออนไลน์ในฮ่องกง จากวัยรุ่นกลุ่มตัวอย่าง 2,609 คน พบมีเพียง 39% ที่ตั้งใจจะเข้ารับการฉีดวัคซีนโดยไม่ลังเล เป็นผลจากพบเห็นสมาชิกในครอบครัวป่วยโควิด โดยเฉพาะกรณีที่เป็นพ่อหรือแม่ ส่วนข้อกังวลที่พบส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับความสงสัยในประสิทธิภาพของวัคซีน ผลข้างเคียงในระยะสั้น ระยะยาว ต่างกับนักเรียนวัย 12-17 ปีในบ้านเราที่ยอมรับการฉีดวัคซีนโควิดสูงถึงเกือบ 80% ที่บ้านเรายอมรับเยอะอาจเป็นผลมาจากผู้ปกครองเป็นหลัก การศึกษาในกลุ่มผู้ปกครองของนักเรียนวัยรุ่น 13,327 คนในจีน พบ 13.5% ที่ปฏิเสธการรับวัคซีนราว 4% ไม่แน่ใจแต่ยังให้ลูกหลานรับวัคซีน ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิเสธวัคซีน คือ ผู้ปกครองที่เป็นโสด การมีฐานะดีมากหรือไม่ก็จนมาก ส่วนปัจจัยที่ส่งเสริมการยอมรับวัคซีน คือ การได้รับข้อมูลเรื่อง วัคซีนจากอาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชน การไม่เชื่อเรื่องทฤษฎีสมคบคิดเกี่ยวกับวัคซีนโควิด และประสบการณ์ตรงของผู้ปกครองเองในการฉีดวัคซีน

พวกที่ปฏิเสธวัคซีนเพราะจนมากก็พอเข้าใจ คืออาจไม่มีเงินค่าวัคซีน  พวกที่รวยมากก็พอเข้าใจว่าอาจหวังได้วัคซีนตัวที่เชื่อว่าดีกว่านี้
แต่ผู้ปกครองที่เป็นโสด คือพวกไหน และเกี่ยวอะไรกับการไม่ฉีดวัคซีน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 228  เมื่อ 18 ก.พ. 22, 14:37

การศึกษาในกลุ่มผู้ปกครองของนักเรียนวัยรุ่น 13,327 คนในจีน พบ 13.5% ที่ปฏิเสธการรับวัคซีนราว 4% ไม่แน่ใจแต่ยังให้ลูกหลานรับวัคซีน ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิเสธวัคซีน คือ ผู้ปกครองที่เป็นโสด การมีฐานะดีมากหรือไม่ก็จนมาก ส่วนปัจจัยที่ส่งเสริมการยอมรับวัคซีน คือ การได้รับข้อมูลเรื่อง วัคซีนจากอาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชน การไม่เชื่อเรื่องทฤษฎีสมคบคิดเกี่ยวกับวัคซีนโควิด และประสบการณ์ตรงของผู้ปกครองเองในการฉีดวัคซีน

คุณหมอนิธิพัฒน์สรุปความมาจากบทคัดย่องานวิจัยของนักวิชาการชาวจีนเรื่อง Guardians’ willingness to vaccinate their teenagers against COVID-19 in China: A national cross-sectional survey

In total, 13327 (82.61%) of the respondents expressed positive WVT, 12.90% of the respondents were uncertain but inclined to vaccinate their teenagers. Meanwhile, 3.89% of the respondents were uncertain and inclined to reject, and 0.60% of the respondents rejected the vaccines. After adjusting for potential confounders, the married, total family income last year, reject to Categoly1 vaccines, access information about the COVID-19 vaccines from community workers, low COVID-19 vaccine conspiracy, guardian’s vaccination behavior, and the importance of vaccinating teenagers were all independent factors that affected the guardians’ likely to accept.

ผู้ปกครองที่เป็นโสด = the married ❓
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 229  เมื่อ 18 ก.พ. 22, 15:19

น่าจะแปลจากบทความอื่นนะคะ  %  ไม่ตรงกัน   เนื้อหาก็ไม่ตรงกันด้วย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 230  เมื่อ 18 ก.พ. 22, 15:46

คุณหมอนิธิพัฒน์ อ้างอิงที่มาไว้ใน

https://www.facebook.com/100002870789106/posts/4508867585885556/?d=n


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 231  เมื่อ 18 ก.พ. 22, 16:04

 ฮืม
ก็มันไม่ตรงกันจริงๆนี่คะ 

ราว 4% ไม่แน่ใจแต่ยังให้ลูกหลานรับวัคซีน
แปลจาก
3.89% of the respondents were uncertain and inclined to reject,


พบ 13.5% ที่ปฏิเสธการรับวัคซีน
แปลจาก
12.90% of the respondents were uncertain but inclined to vaccinate their teenagers


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 232  เมื่อ 18 ก.พ. 22, 16:54

ก็มันไม่ตรงกันจริงๆนี่คะ 

บทแปลสรุปของคุณหมอนิธิพัฒน์มีปัญหาจริง ๆ ตกใจ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 233  เมื่อ 28 ก.พ. 22, 08:45

สถานการณ์โควิด-๑๙ ในประเทศไทย เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๕

ดูจากตัวเลขผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิต สถานการณ์การระบาดของโรคผ่อนคลายลงมาก และหากไม่มีเชื้อกลายพันธุ์ตัวใหม่ที่ร้ายแรง เราคงดำเนินชีวิตตามปรกติได้ในไม่ช้า

การคาดการณ์จากตัวเลขเดือนที่แล้วผิดพลาดไปมาก

จำนวนผู้ติดเชื้อไต่ระดับขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีตัวเลขสูงสุดที่ ๒๕,๖๑๕ รายในวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ แม้วันต่อมาจะลดลง แต่ยังไม่แน่ว่าจะเป็นขาลงหรือไม่

ส่วนตัวเลขผู้เสียชีวิตอยู่ในระดับ ๒๐-๔๐ ราย โดยมีตัวเลขสูงสุดที่ ๔๒ รายในวันที่ ๒๗ และ ๒๘ กุมภาพันธ์



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 234  เมื่อ 07 มี.ค. 22, 18:44

วันนี้ผู้เสียชีวิตจากโควิด-๑๙ ทั่วโลกเข้าหลัก ๖ ล้านคนเรียบร้อยแล้ว ตกใจ

จำนวนผู้เสียชีวิตล้านคน (จาก ๕ ล้านถึง ๖ ล้าน) ใช้เวลา ๑๒๕ วัน เฉลี่ย ๑ แสนคนใช้เวลา ๑๒.๕ วัน

ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าถึงแม้การแพร่ระบาดใหญ่จะย่างเข้าสู่ปีที่ ๓ แต่มันยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติลงในเร็ววัน แม้ผู้คนในหลายพื้นที่จะเลิกการสวมใส่หน้ากากอนามัย รักษามาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม กลับมาเดินทางตามปกติ เช่นเดียวกับธุรกิจที่กลับมาเปิดให้ดำเนินการทั่วโลกแล้วก็ตาม

วิเคราะห์สถานการณ์จาก มติชน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 235  เมื่อ 07 มี.ค. 22, 20:25

ในล้านที่ ๑-๔ การเสียชีวิตใช้เวลาเร็วขึ้น เนื่องจากเชื้อมีความรุนแรง และประชาชนยังมีภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนน้อยอยู่  ส่วนในล้านที่ ๔-๖ การเสียชีวิตใช้เวลาช้าลง เนื่องจากเชื้อมีความรุนแรงน้อยลง และประชาชนมีภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น

๑ ล้าน - ๒ ล้าน ใช้เวลา ๑๐๙ วัน
๒ ล้าน - ๓ ล้าน ใช้เวลา ๙๑ วัน
๓ ล้าน - ๔ ล้าน ใช้เวลา ๘๒ วัน
๔ ล้าน - ๕ ล้าน ใช้เวลา ๑๑๗ วัน
๕ ล้าน - ๖ ล้าน ใช้เวลา ๑๒๕ วัน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 236  เมื่อ 31 มี.ค. 22, 08:25

สถานการณ์โควิด-๑๙ ในประเทศไทย เดือนมีนาคม ๒๕๖๕

จำนวนผู้ติดเชื้อขึ้น ๆ ลง ๆ โดยภาพรวมยังคงเพิ่มขึ้น โดยมีตัวเลขสูงสุดที่ ๒๗,๕๖๐ รายในวันสุดท้ายของเดือน ๓๑ มีนาคม  

ส่วนตัวเลขผู้เสียชีวิตอยู่ในระดับ ๔๐ - ๘๐ ราย โดยมีตัวเลขสูงสุดที่ ๘๗ รายในวันที่ ๑๙ และ ๓๐ มีนาคม



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 237  เมื่อ 05 เม.ย. 22, 08:57

ที่หนักกว่านี้คือไม่รู้จะเชื่อใครดี

ผมเขียนบทความนี้เพื่อจะบอกแก่รัฐบาลลุงตู่ว่ายุทธศาสตร์ที่เรากำลังใช้อยู่ทั้งสี่อย่างนี้จะพาเราไปสู่ทางตัน และจะยิ่งมีปัญหาหากมีสายพันธ์อื่นที่รุนแรงกว่ามาแทนโอไมครอน เพราะ

ประเด็นที่ 1. หากเราเรียนรู้จากอัฟริกา เราไม่ควรพลาดโอกาสใช้โอไมครอนในการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้คนทั่วไป เพราะงานวิจัยพบว่าวัคซีนที่เราลงทุนฉีดไปแล้ว ภูมิคุ้มกันมันจะคงอยู่ไม่กี่เดือนเท่านั้น แล้วมันก็จะค่อยๆแผ่วลง นาทีทองมีอยู่แค่ไม่กี่เดือนจากนี้ไปเท่านั้น ดังนั้นเราควรจะยกเลิกการกักกันโรคเสีย เปลี่ยนมาจัดการโรคแบบเปิดให้ประชากรส่วนใหญ่ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำอยู่แล้วได้ติดเชื้อโอไมครอนเสียตอนที่วัคซีนที่เราเพิ่งลงทุนฉีดไปยังช่วยลดอัตราการเข้าโรงพยาบาลและการตายได้อยู่นี้

ประเด็นที่ 2. ในแง่การควบคุมโรคระยะยาว การติดเชื้อธรรมชาติเป็นวิธีเดียวที่จะช่วยให้การควบคุมโรคมีประสิทธิผลสูงสุด เพราะผลวิจัยอัตราการต้องเข้าโรงพยาบาลของผู้มีสถานะวัคซีนและสถานะการติดเชื้อต่างกัน ซึ่งทำกับประชากรของแคลิฟอร์เนียและนิวยอร์คพบว่าหากเอาความเสี่ยงต้องถูกรับไว้ในโรงพยาบาลของกลุ่มที่ไม่เคยติดเชื้อและไม่เคยได้วัคซีนเป็นตัวตั้ง กลุ่มที่ได้วัคซีนแต่ไม่เคยติดเชื้อมีความเสี่ยงเข้ารพ.น้อยกว่า 19.8 เท่า แต่กลุ่มที่เคยติดเชื้อและเคยได้วัคซีนด้วย มีความเสี่ยงเข้ารพ.น้อยกว่า 55.3 เท่า ขณะที่กลุ่มที่เคยติดเชื้อโดยไม่เคยได้วัคซีนเลยมีความเสี่ยงเข้ารพ.น้อยกว่า 57.5 เท่า แปลว่าการติดเชื้อต่างหากที่เป็นตัวบอกว่าจะป้องกันการต้องเข้าโรงพยาบาลได้อย่างเป็นเนื้อเป็นหนัง โดยไม่เกี่ยวกับว่าจะได้หรือไม่ได้วัคซีนร่วมด้วยเลย ดังนั้นการหวังลดการเข้าใช้โรงพยาบาลจากการเปิดให้ติดเชื้อ จะได้ผลดีกว่าการหวังเอาจากการฉีดวัคซีนซึ่งต้องฉีดกระตุ้นซ้ำซากตามรอบที่ภูมิคุ้มกันแผ่วลง และต้องกระตุ้นกันไปอย่างไม่รู้จบ

ประเด็นที่ 3. อัตราเข้าโรงพยาบาลและอัตราตายจากการติดเชื้อโอไมครอนต่ำมาก นอกจากข้อมูลภาพรวมของอัฟริกาที่ผ่านการติดเชื้อธรรมชาติทั้งทวีปมาได้โดยไม่บอบช้ำแล้ว ข้อมูลของอังกฤษก็บ่งชี้ไปทางเดียวกัน ข้อมูล National Statistic ของอังกฤษบ่งชี้ว่าทุกวันนี้มีคนตายทั้งประเทศสัปดาห์ละ 826 คน (อัตราตาย 0.03% ถ้าคำนวณจากการติดเชื้อในช่วงเดียวกันสัปดาห์ละ 2,443,077 คน) ในจำนวนที่ตายนี้ประมาณ 35-60% มีโรคเรื้อรังร่วมด้วยจึงยังไม่รู้ว่าตายจากอะไร อัตราตายเพิ่มสัปดาห์ละ 5 คน (0.6%) อายุเฉลี่ยของผู้ตาย 82.5 ปี และหากเปรียบเทียบอัตราตายจากทุกโรคต่อสัปดาห์ในช่วงที่โอไมครอนระบาดอยู่ พบว่าต่ำกว่าอัตราตายรวมต่อสัปดาห์เฉลี่ย 5 ปีก่อนยุคโควิดระบาดอยู่สัปดาห์ละ 12,473 คน หรือต่ำกว่ากัน 0.3% แปลว่าในภาพใหญ่ขณะที่โอไมครอนระบาดระเบ้อติดเชื้อวันละสามแสนกว่า แต่อัตราตายรวมไม่ได้เปลี่ยนแปลงแตกต่างไปจากสมัยที่ยังไม่มีโควิด

ประเด็นที่ 4. การคิดจะฉีดวัคซีนให้เด็กเพื่อช่วยเพิ่มการควบคุมโรคในระดับชาตินั้นเป็นทิศทางที่ไม่มีหลักฐานวิทยาศาสตร์สนับสนุนว่าจะได้ประโยชน์คุ้มความเสี่ยง ประเทศที่มีข้อมูลเรื่องนี้ดีที่สุดคืออังกฤษ เพราะที่อังกฤษก็มีปัญหาเดียวกันเนื่องจากการติดเชื้อกำลังอยู่ในขาขึ้น คือข้อมูลนับถึงวันนี้จากฐานข้อมูล ZOE พบว่าตอนนี้ 1 ใน 15 คนติดเชื้อถึงระดับมีอาการไปแล้ว มีคนติดเชื้อใหม่วันละ 349,011 คน เพิ่มขึ้นสัปดาห์ละ 7% มีค่า R value 1.1 แปลว่ายังอยู่ขาขึ้น แต่จวนเจียนจะถึงพีคเป็นขาลง

และข้อมูลในเด็กของ National Statistic ของอังกฤษพบว่าเด็กระดับมัธยม 96.6% มีภูมิคุ้มกันแล้ว โดยที่ 46.6% ได้วัคซีนครบแล้ว แปลว่าอย่างน้อย50% ของที่มีภูมิคุ้มกันไม่ได้เกิดจากวัคซีน ส่วนเด็กประถม(อายุ 5-11 ปี) พบว่า 62.4% มีภูมิคุ้มกันแล้ว ถ้าเจาะลึกดูเฉพาะกลุ่มเด็กประถมอายุ 8-11 ปีพบว่า 80.9% มีภูมิแล้ว โดยที่เด็กประถมทั้งหมดนี้ไม่เคยได้วัคซีนเลย เด็กเหล่านี้ทั้งหมดได้ภูมิมาจากการติดเชื้อธรรมชาติโดยมักไม่มีอาการ แล้วจะไปฉีดวัคซีนเพิ่มอีกทำไมละครับ เพราะข้อมูลของแคลิฟอร์เนียและนิวยอร์คก็บอกแล้วว่าวัคซีนไม่ได้ประโยชน์เพิ่มเติมในแง่การต้องเข้าโรงพยาบาลนอกเหนือไปจากการติดเชื้อตามธรรมชาติ

โดยสรุปผมจึงขอเสนอลุงตู่ว่า มาถึงบัดนี้เวลาได้ผ่านไปนานแล้ว สถานการณ์หรือธรรมชาติของโรค (natural course of disease) ได้เปลี่ยนไปแล้ว จำเป็นต้องเปลี่ยนยุทธศาสตร์การควบคุมโรคโควิดเสียใหม่ด้วยการตัดสินใจเลิกกักกันหรือเลิกชลอโรคทันที เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้ติดเชื้อโอไมครอน เปิดพลั้วะเลย ยิ่งเร็วยิ่งดี หันมาใช้ยุทธศาสตร์รับมือแบบโรคประจำถิ่น รีบเปิดเสียก่อนที่ใบบุญที่เราสร้างไว้จากการฉีดวัคซีนจะแผ่วลงไป และก่อนที่สายพันธ์ที่รุนแรงกว่าแบบใหม่ๆจะมาแทนโอไมครอน

นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์

อ่านเต็มๆที่นี่ค่ะ
https://m.facebook.com/%E0%B8%99%E0%B8%9E-%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C-%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B9%8C-109891462446904/
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 238  เมื่อ 05 เม.ย. 22, 08:59

ส่วนอีกคน อ่านได้ที่นี่

น่าห่วง 'ดร.อนันต์' จับตาโอมิครอน BA.2 เริ่มเปลี่ยนเหมือนเดลต้า ทำให้ไวรัสอันตรายขึ้น
5 เมษายน 2565 เวลา 7:40 น.


https://www.thaipost.net/covid-19-news/118044/?fbclid=IwAR0CwVCH9zkQ197Fkr_LlFanzbtLpJiC9bzhFdPRuI1K0o6QxsCpc-Ueq1g

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 239  เมื่อ 13 เม.ย. 22, 07:35

ผู้ติดเชื้อโควิด-๑๙ ทั่วโลก เข้าหลัก ๕๐๐ ล้านเรียบร้อยแล้ว ตกใจ

จำนวนผู้ติดเชื้อ ๑๐๐ ล้านคน จากล้านที่ ๔๐๐ - ๕๐๐ใช้เวลา ๖๒ วัน หรือ ๑๐ ล้านคนใน ๖.๒ วัน


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 27
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 20 คำสั่ง