เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 26
  พิมพ์  
อ่าน: 37772 โควิด-๑๙ มหันตภัยโลก (ภาคต่อ 'โคโรนาไวรัสอู่ฮั่น')
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 07 ม.ค. 21, 14:59

เห็นตอนนี้มีข่าวว่าที่อังกฤษเชื้อกลายพันธ์ติดเร็วขึ้นก็หนักใจว่าตัววัคซีนจะแก้ไขได้ไหม

คุณหมอยง อธิบายไว้ดังนี้

เราได้ยินข่าวมาตลอด เรื่องการผันแปรพันธุกรรมของไวรัสก่อโรค covid-19 ไม่ว่าจะเป็นใน อังกฤษ แอฟริกาใต้ และ ไนจีเรีย

ไวรัส RNA เกือบทุกชนิดมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ตามวิวัฒนาการได้ง่ายกว่าไวรัส DNA อยู่แล้ว การเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมที่ทุกคนมุ่งมองไปในส่วนที่เป็นหนามแหลมยื่นออกมาเรียกว่า spike นั่นเอง

ในส่วนนี้ที่มีการพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงและให้ความสำคัญได้แก่

การเปลี่ยนแปลงจากกรดอะมิโนแอสพาราจีน เป็น ไทโรซีน ในตำแหน่งที่ ๕๐๑  เพราะตำแหน่งนี้เป็นส่วนที่ไวรัส จะมายึดเกาะกับเซลล์ของมนุษย์ ในส่วนที่เรียกว่า ACE2 ถ้าเกาะได้ดี ก็จะติดเชื้อง่าย  ถ้าเกาะไม่ดีก็จะติดเชื้อยากกว่า จึงให้ความสนใจ

ส่วนที่ ๒ มีการขาดหายไปของกรดอะมิโนตำแหน่งที่ ๖๙-๗๐ ที่อาจจะทำให้รูปร่างของโปรตีนหนามแหลม เปลี่ยนรูปไป และ เกรงว่าไวรัสจะหลบหนีระบบภูมิต้านทาน หรือ วัคซีน

ส่วนที่ ๓ คือการเปลี่ยนแปลงของกรดอะมิโนจาก โพรลีน ไปเป็น  ฮีสติดีน ในตำแหน่ง ที่ ๖๘๑ เกี่ยวข้องกับการที่หลังไวรัสเกาะติดกับเซลล์มนุษย์แล้ว จะต้องใช้ เอนไซม์ของมนุษย์ ในการตัด เพื่อให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้โดยหลักการ การเกาะติดกับกับเซลล์มนุษย์แล้ว ไวรัสจะเข้าเซลล์ ต้องมีเอนไซม์มาตัดปลดปล่อยการเกาะนั้น เหมือนกับว่าถ้าตัดได้ดีก็จะเข้าสู่เซลล์ได้ง่าย

อย่างไรก็ตามจากการศึกษาถึงปัจจุบันเป็นเพียงสันนิษฐานทางวิทยาศาสตร์ จะต้องมีการศึกษาในแนวรุกต่อไป และข้อมูลในปัจจุบันไวรัส ที่พบกลายพันธุ์ ก็ยังสามารถจับได้ดีกับระบบภูมิต้านทาน และวัคซีนที่มีอยู่ หรือกล่าวว่า วัคซีนที่มีอยู่ยังใช้ได้ดีกับไวรัสกลายพันธุ์นั้นเอง

ส่วนการติดง่ายหรือยาก ก็ยังต้องการการศึกษาในแนวลึกต่อไป และแน่นอนไวรัสที่กลายพันธุ์ออกไป ก็ยังไม่มีหลักฐานว่าไวรัสนี้จะทำให้โรครุนแรงขึ้น หรือ น้อยลง เพราะฉะนั้นในขณะนี้ยังไม่ต้องตกใจไปเกินเหตุ อย่างที่เป็นข่าวออกมา
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 07 ม.ค. 21, 16:13

ล่าสุดก็เห็นมีกระแสต่อว่าคุณหมอทวีศิลป์หนักอยู่ ทั้งเรื่องบอกไม่ปิดประเทศเพราะถ้าปิดก็ต้องมีการเยียวยา การเยียวยาเป็นภาระของภาษีเงินทั้งประเทศ เรื่องคนใส่หน้ากากเยอะจนหมอไม่มีใส่ ล่าสุดคือเรื่องต้องโหลดแอปทุกคน

เรื่องล่าสุดน่าจะคุยกันให้รู้เรื่องก่อนแล้วค่อยแถลง  ยิ้มเท่ห์


บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 07 ม.ค. 21, 19:56

ขอบพระคุณคุณเพ็ญชมพูที่มาให้ข้อมูลค่ะ
บันทึกการเข้า
ninpaat
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 08 ม.ค. 21, 05:48

ผมขอนำเสนอ บทสัมภาษณ์ทีมพัฒนาแอป "หมอชนะ" โดยคุณหนูเนย เมื่อ 9 เมษายน 2563
เพื่อนำเรียนเป็นชุดข้อมูล ให้ทุกท่านได้ทราบถึงจุดประสงค์ของแอปนี้ และรายละเอียดต่างๆ ครับ

สัมภาษณ์ทีมพัฒนาแอป "หมอชนะ" บันทึกการเดินทาง วิเคราะห์ความเสี่ยง COVID-19 ให้โดยอัตโนมัติ
https://nuuneoi.com/blog/blog.php?read_id=983

ขอขอบคุณ : Blog คุณหนูเนย
.
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 08 ม.ค. 21, 19:34

ยอดตายเข้าล้านเก้าแสนแสนโศกศัลย์

จำนวนผู้เสียชีวิตในล้านที่ ๑.๙ ใช้เวลา ๘ วัน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 11 ม.ค. 21, 07:15

เก้าสิบล้านติดเชื้อเหลือจะเศร้า

จำนวนผู้ติดเชื้อ ๑๐ ล้านคน (ระหว่าง ๘๐-๙๐ ล้านคน) ใช้เวลา ๑๖ วัน หรือ ล้านละ ๑.๖ วัน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 13 ม.ค. 21, 08:17

ในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขเผยว่า กำลังจะได้รับวัคซีนจาก Sinovac* มาและจะเริ่มฉีดให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ได้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป
* ชื่อวัคซีนคือ Corona Vac ผลิตโดยบริษัท Sinovac Biottech ของจีน เป็นวัคซีนเชื้อตาย (inactivated vaccine)

การทดสอบในตุรกี ใช้อาสาสมัคร ๗,๐๐๐ ราย มีประสิทธิภาพ ๙๑.๒๕%  ส่วนในบราซิล ใช้อาสาสมัคร ๑๓,๐๐๐ คน พบว่า มีประสิทธิภาพสูงกว่าระดับมาตรฐานที่ ๕๐% แต่ถูกทาง Sinovac สั่งชะลอการรายงานผลการทดลองออกไป เนื่องจาก Sinovac ต้องการเปิดเผยผลการทดลองที่แม่นยำหลังจากนี้เป็นระยะเวลา ๑๕ วัน การเปิดเผยผลการทดลองที่ล่าช้าทำให้ Sinovac ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าขาดความโปร่งใส และส่งผลให้ประชาชนของบราซิล มากกว่า ๕๐% ปฎิเสธที่จะฉีดวัคซีนของ Sinovac เนื่องจากไม่มั่นใจในด้านความปลอดภัย

ล่าสุด ผลทดลองวัคซีนของ Sinovac ในบราซิล พบมีประสิทธิภาพเพียง ๕๐.๓๘% ‼️

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานอ้างศูนย์ชีวการแพทยบูทันทัน (Butantan biomedical center) หน่วยงานที่เป็นพันธมิตรกับบริษัท Sinovac ผู้ผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-๑๙ ของจีน เปิดเผยผลการทดลองเชิงคลินิคในเฟสที่ ๓ ของวัคซีนป้องกันโควิด-๑๙ ในประเทศบราซิล พบว่า มี “ประสิทธิภาพโดยทั่วไป” (general efficacy) อยู่ที่ ๕๐.๓๘ เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

การเปิดเผยผลการทดลอง เกิดแรงกดดันให้มีความโปร่งใสมากขึ้นเกี่ยวกับการทดลองวัคซีนตัวดังกล่าว ทั้งนี้เมื่อวันที่ ๗ มกราคมที่ผ่านมา ศูนย์ชีวการแพทยบูทันทัน ได้เปิดเผยประสิทธิภาพของวัคซีนเอาไว้ว่ามีประสิทธิภาพอยู่ที่ ๗๘ เปอร์เซ็นต์ ระดับซึ่งศูนย์ชีวการแพทยบูทันทัน ระบุว่าเป็น “ประสิทธิภาพในทางคลินิค” (clinical efficacy)

ริคาร์โด ปาลาซิออส ผู้อำนวยการการวิจัยเชิงคลินิคศูนย์ชีวการแพทย์บูทันทันเปิดเผยว่า ตัวเลข “ประสิทธิภาพโดยทั่วไป” นั้นรวมเอาตัวเลขของการติดเชื้อที่มีอาการเพียงเล็กน้อย และไม่แสดงอาการเข้าไปด้วยโดยผู้ติดเชื้อเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาทางการแพทย์

ข่าวจาก มติชน

วัคซีนมีประสิทธิภาพ ๕๐.๓๘% อาจเรียกได้ว่า "เกือบสอบตก" คนใช้วัคซีนคงทำใจลำบาก  ตกใจ
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 13 ม.ค. 21, 09:25

 ยิ้ม
สงสัยจะอ่านข่าวมาจากคนละสำนัก

https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-01-11/sinovac-s-covid-vaccine-approved-by-indonesia-for-emergency-use

Sinovac’s Vaccine Approved by Indonesia for Emergency Use

ndonesia approved China’s Sinovac Biotech Ltd. shots for emergency use, paving the way for Southeast Asia’s largest economy to start its inoculation program.

The Sinovac vaccine was found to be about 65% effective against Covid-19 in late stage-trials in the city of Bandung, Penny Lukito, head of the food and drug regulator, said in a press briefing Monday. The regulator also considered data from clinical trials in Brazil and Turkey in making the decision, she said.

The vaccine is “largely safe,” Lukito said. “It brings hope of reducing the Covid cases.”

The emergency use authorization is the first for Sinovac’s vaccine outside of China. In Brazil, late stage-trials showed an efficacy rate of 78%. The vaccine was effective in preventing mild cases of the virus and 100% effective against severe and moderate infections, according to the Brazil government.

Indonesia is struggling to rein in the worst coronavirus outbreak in Southeast Asia, with its positivity rate exceeding 31% on Monday in a sign of insufficient testing. The World Health Organization recommends keeping the rate below 5%.

President Joko Widodo is set to receive the first shot on Jan. 13, along with social media influencers and religious leaders. Indonesia needs to boost confidence in the vaccine among its 270 million population to curb the outbreak that has so far infected over 830,000 people.

Indonesia’s Ulema Council has declared the Covid-19 vaccines to be halal and clean, and can be used by Muslims in line with guidelines from relevant authorities. Sinovac has shipped 3 million doses to the country, which plans to inoculate 181.5 million people by March 2022.

https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-01-12/china-vaccine-going-global-with-four-different-efficacy-rates

On Tuesday, Butantan explained the 78% was calculated considering the mild, moderate and severe cases, officials said. When very mild cases are included among the 13,000 volunteers, the figure is 50.4% -- 167 infected volunteers in the placebo arm, and 85 in the vaccine arm. The shot proved 100% effective in preventing severe cases.

Brazilian health regulator Anvisa requested additional data from the Butantan Institute on the Sinovac trial before deciding whether to approve the vaccine for use.
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 13 ม.ค. 21, 09:42

วัคซีนไหนดีกว่ากัน ?

BioNTech Pfizer ป้องกันทั่วไป 95%  ป้องกันเคสรุนแรงได้ 89%
SinoVac ป้องกันทั่วไปได้ 78% ป้องกันเคสรุนแรงได้ 100%         
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 13 ม.ค. 21, 22:04

เรื่องวัคซีนป้องกันโรคโควิด

หากใช้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูง ก็จะส่งผลให้ควบคุมโรคได้ง่ายขึ้นกว่าประสิทธิภาพต่ำ ทั้งนี้เพราะการที่จะควบคุมโรคโควิดไม่ให้ระบาดได้นั้น จำเป็นต้องมีภูมิคุ้มกันหมู่อย่างน้อย ๖๐% ของประชากรทั้งประเทศ โดยยืนบนสมมติฐานว่าวัคซีนได้ผล ๑๐๐%

แต่หากวัคซีนได้ผลน้อยลง เช่น ๘๐% ก็จำเป็นจะต้องฉีดวัคซีนในประชากรจำนวนราว ๗๕% ของประเทศจึงจะหวังว่าจะได้ภูมิคุ้มกันหมู่ ๖๐% ของประชากรทั้งประเทศ

หากยิ่งประสิทธิภาพน้อยมาก ๆ เช่น ๕๐% ต่อให้เราฉีดทุกคนในประเทศ ก็ไม่มีทางจะได้ภูมิคุ้มกันหมู่ถึง ๖๐% ของประชากรทั้งประเทศได้

ประโยชน์ที่จะได้จากการใช้วัคซีนที่ประสิทธิภาพไม่มากนั้น ก็อาจต้องหวังประโยชน์ด้านอื่นแทน เช่น ลดความรุนแรงของโรค เป็นต้น แต่ต้องระวังให้ดี ต้องชั่งผลดีผลเสียที่อาจเกิดขึ้น ไม่ใช่แค่เรื่องผลข้างเคียงจากการฉีดเท่านั้น แต่ที่สำคัญมากคือ หากประสิทธิภาพต่ำเกินไป จะทำให้เกิดผลกระทบสำคัญเช่น คนที่ได้รับอาจเข้าใจผิดคิดว่าป้องกันได้ และลดการ์ดลง ไม่ป้องกันตัวเอง ทำให้มีโอกาสที่ตนเองจะติดเชื้อแล้วป่วยหรือตาย และยิ่งไปกว่านั้นคือ เนื่องจากวัคซีนอาจไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อ ทำให้คนนั้นติดเชื้อแล้วเป็นคนแพร่ให้คนอื่นในสังคมวงกว้างได้

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๑๓ มกราคม ๒๕๖๔

https://www.facebook.com/1607465964/posts/10221600174226164/
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 14 ม.ค. 21, 10:34

เรื่องวัคซีนป้องกันโรคโควิด

หากใช้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูง ก็จะส่งผลให้ควบคุมโรคได้ง่ายขึ้นกว่าประสิทธิภาพต่ำ ทั้งนี้เพราะการที่จะควบคุมโรคโควิดไม่ให้ระบาดได้นั้น จำเป็นต้องมีภูมิคุ้มกันหมู่อย่างน้อย ๖๐% ของประชากรทั้งประเทศ โดยยืนบนสมมติฐานว่าวัคซีนได้ผล ๑๐๐%

แต่หากวัคซีนได้ผลน้อยลง เช่น ๘๐% ก็จำเป็นจะต้องฉีดวัคซีนในประชากรจำนวนราว ๗๕% ของประเทศจึงจะหวังว่าจะได้ภูมิคุ้มกันหมู่ ๖๐% ของประชากรทั้งประเทศ

หากยิ่งประสิทธิภาพน้อยมาก ๆ เช่น ๕๐% ต่อให้เราฉีดทุกคนในประเทศ ก็ไม่มีทางจะได้ภูมิคุ้มกันหมู่ถึง ๖๐% ของประชากรทั้งประเทศได้

ประโยชน์ที่จะได้จากการใช้วัคซีนที่ประสิทธิภาพไม่มากนั้น ก็อาจต้องหวังประโยชน์ด้านอื่นแทน เช่น ลดความรุนแรงของโรค เป็นต้น แต่ต้องระวังให้ดี ต้องชั่งผลดีผลเสียที่อาจเกิดขึ้น ไม่ใช่แค่เรื่องผลข้างเคียงจากการฉีดเท่านั้น แต่ที่สำคัญมากคือ หากประสิทธิภาพต่ำเกินไป จะทำให้เกิดผลกระทบสำคัญเช่น คนที่ได้รับอาจเข้าใจผิดคิดว่าป้องกันได้ และลดการ์ดลง ไม่ป้องกันตัวเอง ทำให้มีโอกาสที่ตนเองจะติดเชื้อแล้วป่วยหรือตาย และยิ่งไปกว่านั้นคือ เนื่องจากวัคซีนอาจไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อ ทำให้คนนั้นติดเชื้อแล้วเป็นคนแพร่ให้คนอื่นในสังคมวงกว้างได้

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๑๓ มกราคม ๒๕๖๔

https://www.facebook.com/1607465964/posts/10221600174226164/

ขอน้อมรับโอกาสนี้แสดงความคิดเห็นในด้านตรงข้ามกับคุณหมอเพ็ญชมพูด้วยความยินดียิ่ง   ยิ้ม

"หากยิ่งประสิทธิภาพน้อยมาก ๆ เช่น ๕๐% ต่อให้เราฉีดทุกคนในประเทศ ก็ไม่มีทางจะได้ภูมิคุ้มกันหมู่ถึง ๖๐% ของประชากรทั้งประเทศได้"
ประโยคนี้ตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง โดยเฉพาะเรื่อง innate immunity ที่ในแต่ละกลุ่มประชากรแตกต่างกัน

ขอกลับไปที่ประเด็น  
วัคซีนไหนดีกว่ากัน ? (สำหรับประเทศไทย)

BioNTech Pfizer ป้องกันทั่วไป 95%  และ ป้องกันเคสรุนแรงได้ 89%
SinoVac ป้องกันทั่วไปได้ 78% (+ 90% ตุรกี และ 50% กรณี บราซิล) และ ป้องกันเคสรุนแรงได้ 100%        

อ้างอิงข้อมูล จาก New England  J. of Med และ Lancet
1. Safety and Efficacy of the BNT162b2 mRNA Covid-19 Vaccine
https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa2034577
2. Efficacy and Safety of the mRNA-1273 SARS-CoV-2 Vaccine
https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa2035389
2. Safety, tolerability, and immunogenicity of an inactivated SARS-CoV-2 vaccine in healthy adults aged 18–59 years: a randomised, double-blind, placebo-controlled, phase 1/2 clinical trial
https://www.thelancet.com/article/S1473-3099(20)30843-4/fulltext
 
ผมสรุปว่า กรณีประเทศไทยใช้วัคซีน SinoVac ดีกว่า Pzifer   ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 14 ม.ค. 21, 11:28

คงต้องรอรายละเอียดจาก รายงานการทดสอบวัคซีนอย่างเป็นทางการ ของ Sinovac Biotech ในวารสารวิชาการ (ซึ่งยังไม่มีการตีพิมพ์)

“Safety and Efficacy of the inactivated  SARS-CoV-2 CoronaVac vaccine”

เพื่อจะมองภาพได้กว้างขึ้น  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 14 ม.ค. 21, 12:45

'สหรัฐฯ'อ่วม! โควิดคร่าชีวิตวันเดียวเกือบ 4,500 คน พุ่งทุบสถิติใหม่

14 ม.ค.64 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ตามข้อมูลของมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ จนถึง 20.30 น.ตามเวลาท้องถิ่นวันอังคาร (ตรงกับเมืองไทย 08.30 น.วันพุธ) สหรัฐฯพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ วันเดียว 235,000 คน และเสียชีวิต 4,470 คน โดยเวลานี้มีคนไข้โควิด-19 ที่นอนรักษาตัววอยู่ในโรงพยาบาล ราวๆ 131,000 คน

สหรัฐฯ กำลังเผชิญการระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างรุนแรงมากกว่าที่เคยเกิดขึ้นในปี 2563 โดยสถิติการพบผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตมากที่สุดในวันเดียว 5 ครั้งหลังสุด ล้วนเกิดขึ้นในปี 2564 นี้ ขณะที่ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา สหรัฐฯ มีผู้เสียชีวิตจากไวรัสโคโรนาเฉลี่ยมากกว่าวันละ 3,300 ศพ เพิ่มขึ้นจากช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนถึง 217%

อย่างไรก็ตาม ดร.พอล ออฟฟิต สมาชิกคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวัคซีนและผลิตภัณฑ์ทางชีวภาพ ของสำนักงานอาหารและยาสหรัฐฯ เชื่อว่า ในเดือนมิถุนายน สถานการณ์ในสหรัฐฯ จะดีขึ้นอย่างมาก อันเป็นผลจากการฉีดวัคซีนเป็นวงกว้าง, สภาพอากาศที่อุ่นขึ้น, การเข้ามาบริหารของรัฐบาลใหม่ และ การสร้างภูมิคุ้มกันในสังคม
https://www.naewna.com/inter/545252
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 16 ม.ค. 21, 07:15

คงต้องบันทึกวันนี้ไว้ในประวัติศาสตร์ ผู้เสียชีวิตครบ ๑ ล้านคน

จำนวนผู้เสียชีวิตจากเก้าแสนถึงหนึ่งล้านใช้เวลา ๑๙ วัน



เป็นอีกวันหนึ่งที่ต้องบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ ผู้เสียชีวิตจากโควิด-๑๙ ครบ ๒ ล้านคน

จำนวนผู้เสียชีวิตล้านคน (จาก ๑ ล้านถึง ๒ ล้าน) ใช้เวลา ๑๐๙ วัน เฉลี่ย ๑ แสนคนใช้เวลา ๑๐.๙ วัน (จำนวนผู้เสียชีวิตจากล้านที่ ๑.๙ - ๒ ล้านใช้เวลา ๘ วัน)


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 16 ม.ค. 21, 07:46

ในสหรัฐอเมริกา   รายงานข่าวในวันเสาร์ที่ 16 มกราคม 2021
ติดเชื้อ                 24,076,396      คน
ตาย                    401,473           คน
หาย                    14,211,528      คน

เข้าไปดูในลิ้งค์  จะมีรายการให้ดูว่าแต่ละรัฐติดเชื้อ ตาย หาย เท่าไหร่ ค่ะ

https://www.worldometers.info/coronavirus/country/us?fbclid=IwAR3zfXT-Ve8h142T7vq3yx4Q-fssj4cd4eObmnk9dUQ0aZMkW2iZPAcyhI8
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 26
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.088 วินาที กับ 19 คำสั่ง