เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 27
  พิมพ์  
อ่าน: 38860 โควิด-๑๙ มหันตภัยโลก (ภาคต่อ 'โคโรนาไวรัสอู่ฮั่น')
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 17 พ.ค. 21, 14:40

เรือนจำเป็นสถานที่ปิด การที่เชื้อโควิดจะเข้าไปได้นั้นมีอยู่ ๒ ทางคือโดย ผู้ต้องขัง และ เจ้าหน้าที่เรือนจำ และเมื่อเข้าไปแล้วโอกาสที่ระบาดเป็นคลัสเตอร์ใหญ่ย่อมมีมาก ด้วยความแออัดอย่างยวดยิ่งในเรือนจำ

สำหรับผู้ต้องขังจากที่ติดตามข่าวจากสื่อทราบว่า ก่อนที่จะเข้าไปในเรือนจำ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าครั้งแรกหรือหลังจากที่ไปศาล มีการกักตัว ๑๔ วัน (ต่อมาขยายเป็น ๒๑ วัน) และตรวจโควิดทุกครั้ง

ส่วนการเข้าออกของเจ้าหน้าที่เรือนจำมีมาตรการเข้มงวดเพียงใดยังเป็นที่สงสัย  ฮืม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 20 พ.ค. 21, 08:25

ส่วนการเข้าออกของเจ้าหน้าที่เรือนจำมีมาตรการเข้มงวดเพียงใดยังเป็นที่สงสัย  ฮืม

อธิบดีกรมราชทัณฑ์ กล่าวว่า จากการสอบสวนการแพร่ระบาด COVID-19 ที่เข้าสู่เรือนจำ อาจเกิดจากการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามระเบียบการเฝ้าระวัง และการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อจากเจ้าหน้าที่ เนื่องจากกรมราชทัณฑ์ได้สั่งการมาโดยตลอด เกี่ยวกับมาตรการ "คนในไม่ให้ออก คนนอกไม่ให้เข้า" โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ที่อาจเป็นพาหะนำเชื้อเข้ามาสู่เรือนจำ

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเจ้าหน้าที่บางคนอาจต้องไปเฝ้าผู้ป่วยที่โรงพยาบาลและติดเชื้อมา ถือว่าเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ จะไม่ให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานข้างนอกเข้าไปยังแดนต่าง ๆ ส่วนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ภายในแดน หากเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงและไม่ปฏิบัติตามมาตรการของกรมราชทัณฑ์ จะดำเนินการสอบสวนและลงโทษทางวินัยตามขั้นตอน

ข่าวจาก ไทยพีบีเอส


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 22 พ.ค. 21, 10:41

และแล้วสายพันธุ์อินเดียก็มา  ตกใจ

เมื่อวานนี้ (๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔) นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า จากการเฝ้าระวังการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโรคโควิด-๑๙ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ตรวจรหัสพันธุกรรมจากตัวอย่างที่ส่งมาจากแคมป์คนงานก่อสร้างหลักสี่และบริเวณใกล้เคียง จำนวน ๘๐ ตัวอย่าง พบว่าเป็นสายพันธุ์อินเดีย (B.1.617.2) จำนวน ๓๖ ราย เป็นคนไทย ๒๑ ราย คนงานชาวเมียนมา ๑๐ ราย และกัมพูชา ๕ ราย ที่เหลือเป็นสายพันธุ์อังกฤษ (B.1.1.7) และยังมีตัวอย่างจากการค้นหาเชิงรุก จากพื้นที่อื่นในกรุงเทพฯ อีก ๒ แห่ง แต่พบเป็นสายพันธุ์อังกฤษทั้งหมด



วัคซีนที่เรามีใช้อยู่ขณะนี้มีเพียง ๒ ยี่ห้อ แอสตร้าเซนเนก้าน่าจะพอช่วยได้ แต่สำหรับซิโนแวคยังสงสัยอยู่  ฮืม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 22 พ.ค. 21, 20:18

ตามมาด้วยสายพันธุ์แอฟริกาใต้  ตกใจ  ตกใจ

รายงานจากกลุ่ม COVID-19 Network Investigations (CONI)

ข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ



บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 24 พ.ค. 21, 20:11

เห็นมีคนตามเน็ตเขาคุยๆกัน (ไม่ใช่หมอเขาว่ากันนะคะ) ว่ากลัวไวรัสจะกลายพันธ์มาเป็นสายพันธ์ไทยถ้าไทยมีหลายสายพันธ์รวมกันแบบนี้ เหอะๆ
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 27 พ.ค. 21, 19:27

 มีข่าวว่าทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะมีการจัดสรรและนำเข้าวัคซีนซิโนฟาร์ม ซึ่งก็หวังว่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งของประชาชนในการเลือกฉีกวัคซีนจากที่มีคนบ่นๆอยู่ว่ารัฐใช้แต่วัคซีนที่นำเข้าจากจีนที่ WHO ยังไม่รับรอง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 28 พ.ค. 21, 09:12

เห็นมีคนตามเน็ตเขาคุยๆกัน (ไม่ใช่หมอเขาว่ากันนะคะ) ว่ากลัวไวรัสจะกลายพันธ์มาเป็นสายพันธ์ไทยถ้าไทยมีหลายสายพันธ์รวมกันแบบนี้ เหอะๆ

ใช้เวลาไม่นาน สายพันธุ์ไทยก็มาแล้ว  ตกใจ

สำนักงานสาธารณสุขของอังกฤษ (Public Health England - PHE)) เผยแพร่ข้อมูลประจำสัปดาห์เกี่ยวกับผู้ติดเชื้อโควิด-๑๙ รายใหม่เมื่อวานนี้ (๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๔) โดยยืนยันว่า พบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ C.36.3 ครั้งแรกในประเทศไทยจากผู้ติดเชื้อที่เดินทางมาจากอียิปต์ ซึ่งอาจเป็น โควิดสายพันธุ์ไทย

โควิดกลายพันธุ์ชนิดใหม่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า VUI-21MAY-02 (C.36.3) หมายถึง สายพันธุ์ที่อยู่ระหว่างการสอบสวน (VUI = Variant Under Investigation) เชื่อว่าเป็นสายพันธุ์ที่เข้ามาจากต่างประเทศ และขณะนี้ตรวจพบในประชาชนในอังกฤษแล้ว ๑๐๙ ราย

“ขณะนี้ไม่มีหลักฐานบ่งชี้ว่าสายพันธุ์นี้ทำให้ผู้เป็นโรคโควิด-๑๙ มีอาการรุนแรงขึ้น หรือ ทำให้วัคซีนที่ใช้อยู่ลดประสิทธิภาพลง ซึ่ง PHE กำลังทำการทดลองในห้องปฏิบัติการเพื่อทำความเข้าใจไวรัสสายพันธุ์นี้ให้ดียิ่งขึ้น” PHE ระบุ

ข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ

ตัวอย่างที่เจอในไทย ส่งจากคุณหมอ โรม บัวทอง และถอดรหัสพันธุกรรมโดยคุณยุทธนา จ้อยจินดา สินินาถ เพชราช วีนัศรินทร์ อ่ำพุต

ข้อมูลจาก คุณหมอธีระวัฒน์ เหมะจุฑา


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 28 พ.ค. 21, 11:59

28 พฤษภาคม 2564 ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.อุดม คชินทร ที่ปรึกษา ศบค. เปิดเผยว่า ในที่ประชุมร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขเมื่อเช้านี้ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยืนยันว่า ยังไม่พบเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ในประเทศไทย ตามที่สื่อมวลชนอังกฤษรายงานข่าว ระบุไม่มีการส่งตัวอย่างเชื้อดังกล่าวตรวจสอบแต่อย่างใด ซึ่งการตรวจสอบการกลายพันธุ์ จะต้องได้รับการยืนยันมากกว่า 1 แล็บ
ดังนั้นข่าวที่ออกมา จึงตั้งข้อสังเกตว่า อาจเป็นเพียงข้อสงสัยจากทางอังกฤษเท่านั้น ซึ่งขั้นตอนจากนี้ อังกฤษควรแจ้งมายังทางการไทย เพื่อให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนที่จะนำไปเผยแพร่
สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของประเทศไทยในขณะนี้ ยังไม่เอื้อต่อการกลายพันธุ์ เนื่องจากยังพบผู้ติดเชื้อเพียง 60 คนต่อประชากร 1 แสนคน ขณะที่ปัจจัยที่เอื้อต่อการกลายพันธุ์ส่วนใหญ่ เกิดในพื้นที่ที่พบผู้ติดเชื้อมากกว่า 75 คนต่อประชากร 1 แสนคน และ เชื้อโควิดที่ระบาดในประเทศไทย นับตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา มากกว่าร้อยละ 95 เป็นเชื้อโควิดจากสายพันธุ์อังกฤษอีกด้วย

ที่มา https://www.naewna.com/politic/576170


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 31 พ.ค. 21, 15:07

สถานการณ์โควิด-๑๙ ในประเทศไทย เดือนพฤษภาคม ๒๕๖๔ เดือนที่ ๒ ของการระบาดระลอก ๓

อัตราการติดเชื้อเพิ่มขึ้น (จำนวนสูงสุด ๙,๖๓๕ รายในวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๔ เนื่องจากรวมผู้ติดเชื้อในเรือนจำจำนวนมากถึง ๖,๘๕๓ ราย)  ส่วนอัตราการเสียชีวิตขึ้น ๆ ลง ๆ มีลักษณะคล้ายลูกคลื่น ทำสถิติสูงสุด ๔๗ รายในวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๖๔ และลงลงเรื่อย ๆ แต่ก็มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นตามลักษณะของลูกคลื่น

สถิติตั้งแต่วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๔ - ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔

ข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 31 พ.ค. 21, 18:10

จำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากโควิด-๑๙ เดือนพฤษภาคม ๒๕๖๔


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 01 มิ.ย. 21, 16:27

การระบาดของไวรัสหลายชนิดที่ผ่านมาในอดีตเป็นบทเรียน ให้ตระหนักถึงข้อระมัดระวังในการตั้งชื่อไวรัสโดยนำเอาตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในจุดที่เกิดการระบาดของไวรัสมาตั้งชื่อ เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่สเปน, ไวรัสเมอร์ส (MERS) หรือไวรัสทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือแม้แต่ชื่อเก่าของ COVID-19 ที่เรียกว่า โคโรนาไวรัสอู่ฮั่น อาจก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่ประชนในประเทศหรือเมืองนั้น ๆ

ดังนั้นเมื่อวานนี้ (๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔)  จึงมี ประกาศจากองค์การอนามัยโลก โดย คุณหมอมานพ พิทักษ์ภากร ถ่ายทอดไว้ดังนี้

WHO แถลงการตั้งชื่อสายพันธุ์ COVID ใหม่สำหรับการสื่อสาร เพื่อป้องกันความสับสน และลดประเด็นปัญหา stigma ในการใช้ชื่อประเทศหรือเมืองเป็นชื่อสายพันธุ์ โดยแบ่งสายพันธุ์เป็น ๒  กลุ่มคือ variant of concern (VOC) และ variant of interest (VOI) ตามความหนักหน่วงของปัญหา และตั้งชื่อตามตัวอักษรกรีก

ปัจจุบัน VOC ๔ สายพันธุ์หลักให้ใช้ชื่อตามนี้คือ

B.1.1.7 (UK) ชื่อ Alpha
B.1.351 (South African) ชื่อ Beta
P.1 (Brazil) ชื่อ Gamma
B.1.617.2 (India) ชื่อ Delta

ที่เหลืออีก ๖ VOI มีชื่อ Epsilon ไปถึง Kappa

จะได้ไม่ต้องเถียงกันว่าสายพันธุ์ใหม่ตัวไหนควรเรียกสายพันธุ์ไทย ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 09 มิ.ย. 21, 21:36

อักษรกรีกสำหรับ VOC & VOI


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 13 มิ.ย. 21, 07:35

หากสายพันธุ์เดลต้าระบาดในเมืองไทยมากเหมือนในอังกฤษ การฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า โดยทิ้งระยะห่างถึง ๑๖ สัปดาห์ตามนโยบายที่ใช้ในปัจจุบันนั้น นานเกินไป



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 13 มิ.ย. 21, 10:39

สัปดาห์นี้ จำนวนผู้ติดเชื่อน่าจะเพิ่ม เพราะวัคซีนขาดตลาดพอดี
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 13 มิ.ย. 21, 11:13

ปัญหาเรื่องการขาดแคลนวัคซีน น่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ต้องยืดระยะห่างระหว่างเข็มแรกและเข็มที่สองออกไปเป็น ๑๖ สัปดาห์


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 27
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 19 คำสั่ง