เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 3255 ขออนุญาตเรียนถามถึงความเชื่อที่เกี่ยวกับสัตว์ของคนภาคกลางในสมัยอยุธยาหน่อยค่ะ
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 30 ธ.ค. 20, 07:41

สัตว์แปลกที่บางประเทศจุดธูปผูกผ้าสีไหว้กันนั้น ในสมัยอยุธยาถือว่าเป็นอุบาทว์ค่ะ อย่างเช่นสมัยอยุธยาตอนต้น เมื่อจะเสียเมืองทวาย  โคตกลูกมีแปดขา ไก่ฟักไข่ออกมาเป็นไก่สี่ขา
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 30 ธ.ค. 20, 09:22

สัตว์แปลกที่บางประเทศจุดธูปผูกผ้าสีไหว้กันนั้น ในสมัยอยุธยาถือว่าเป็นอุบาทว์ค่ะ

เรียกว่า อุบาทว์พระยม ๑ ใน ๘ อุบาทว์แห่งอภิไทโภธิบาทว์ (คัมภีร์ว่าด้วยลักษณะอุบาทว์ซึ่งเทวดาทั้ง ๘ สำแดงเหตุแก่ชนทั้งปวงให้รู้ว่าภัยจะบังเกิด)

ผิว์โคเคียงเกวียนเดินวน ไป่ทันแก้ปรน ปะอุกแลขุกวอดวาย หนึ่งโคเคียงคู่ไถตา ในแอกอุบาย อุบาทว์พิบัติพึงกลัว ม้าคลอดตัวเดียวสองหัว คราวเดียวสองตัวก็ดี พิบัตนานา หนึ่งผีซัดเรือนเครงครา เนืองนิจมายา แลร้องระริกขิกสรวล หนึ่งไข้แล้วเล่าทบทวน ฝันร้ายรำจวน นิรันดร รำคาญใจ หนึ่งมดแมง แมลงเรือดไร เกิดมากหลากภัย พิบัติรุมราวี นกแสดเค้าคุดปักษี นกเคาะเอาผี นกอกและนกทุงเกวียน เหยี่ยวรุ้งตบยุงทุงเทียน นกไส้ไถ่เถียน แลบินมาเข้าเคหา งูทับสมิงคา ลำพองถลา เห่าพิษนานา มาขึ้นยังเรือนซอกซอน แร้งจับแร้งสมจร กลางวันบ่มิห่อน แลเห็นประจักษ์แก่ตา อุบาทว์เหล่านี้ พระยายมราชมหามหิทธิ หากให้เห็น รีบแต่งบูชา อย่าเย็นใจอยู่ จักเป็นภยันตรายเร่งรน ลาโชบุศโบ และสุคนธ์ ธูปเทียนสกล หิรัญรัตน์วัตถา โภชนาผลาผลนานา สูปะพยัญชนะ มฤคา มธุกขีระทะธ บูชาด้วยมนต์อันมี วาระพระบาลี ลิขิตไว้ให้สืบสาย จัญไรภัยโทษอันตราย จักดลดับหายสะเดาะทั้งเคราะห์ยายี

จาก http://thaiheritage.net/nation/astrology/astrology7.htm
บันทึกการเข้า
ภศุสรร
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 06 ม.ค. 21, 16:19

เป็นเรื่องน่าแปลกมากนะครับที่ความเชื่อเกี่ยวกับการร้องของจิ้งจกตุ๊กแกในประเทศไทยสมัยโบราณนั้นมีส่วนคล้ายคลึงอย่างสูงกับความเชื่อของผู้คนในเกาะบาหลีประเทศอินโดนีเชีย(ซึ่งเป็นจังหวัดเดียวในทั้งประเทศอินโดนีเชียที่ยังคงนับถือศาสนาพราหมณ์เป็นส่วนมาก) กล่าวคือคนบาหลีแต่โบราณมีความเชื่อว่าด้วย การร้องของจิ้งจกว่า: ถ้าหากจิ้งจกในบ้านส่งเสียงร้องทักติดต่อกันน้อยกว่าห้าครั้งจะถือเป็นลางร้ายอาจจะเกิดอาเพศขื้นกับผู้อาศัยในบ้านนั้น แต่ถ้าหากจิ้งจกนั้นร้องทักต่อกันมากกว่าสิบครั้งจะถือเป็นลางดีนำโชคลาภ ท่านผู้ไหญ่อาจารย์ที่เคารพทุกท่านจะเห็นได้ว่าความเชื่อเรื่องการร้องของจิ้งจกนั้นมีความคล้ายคลึงอย่างมากระหว่างสองประเทศ ความเชื่อทั้งสองจึงอาจจะมีรากเหง้าเดียวกันเกล่าคือศาสนาพราหมณ์โบราณก็เป็นได้

(ขออภัยเป็นอย่างสูงนะครับที่ผมไม่ได้ให้ขอคิดเห็นที่ตรงกับคำถามเท่าไหร่นักผมเพียงแต่อยากจะเขียนถึงจุดอันเป็นที่น่าสนใจแก่ผมเท่านั้น ถ้าหากคำตอบของผมได้ส่งผลกระทบต่อบรรยากาศของกระทู้นี่ในแง่ลบก็ต้องขออภัยด้วยจริงๆนะครับ)
บันทึกการเข้า
ภศุสรร
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 06 ม.ค. 21, 16:33

ในสมัยอยุธยานั้นสัตว์ที่มีพิษให้โทษแก่ผู้คน(อสรพิษ แมลงมีพิษเช่นแมงมุมแมงป่อง)นั้น ผู้คนส่วนมากจะถือว่าเป็นสัตว์อัปมงคลทั่งสิ้นอย่างเช่นพฤติกรรม”ตีอก” ของแมงมุมซึ่งคนไทยโบราณถือว่าเป็นลางร้ายอย่างสูง คนในบ้านอาจมีเหตุชึ่งนำไปสู่การบาดเจ็บและเสียชีวิตได้

ความเชื่อดังกล่าวปรากฎในวรรณกรรมขุนช้างขุนแผนดังนี้: 

“ให้มีลางคืนนั้นสนั่นอึง   แมลงมุมตีอกผึงหาหยุดไม่
สยดสยองพองขนทุกคนไป   เย็นยะเยือกจับใจไปทุกยาม”

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 19 คำสั่ง