เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 3434 ขออนุญาตเรียนถามถึงวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับผีของคนไทยภาคกลางในสมัยอดีตหน่อยค่ะ
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


 เมื่อ 08 ธ.ค. 20, 19:51

เนื่องจากวันปล่อยผีของฝรั่งที่ผ่านไปทำให้ดิฉันนึกได้ว่าสังคมภาคกลางในสมัยอดีตก็มีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องผีก่อนที่จะมาเชื่อในศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธจะเข้ามาในดินแดน แต่เหมือนว่าหลักฐานที่พูดถึงประเพณี วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับเรื่องผี การบูชาผีจะหายไปจากสังคมภาคกลางค่อนข้างเยอะ จะมีก็แต่ภาคเหนือ อีสานที่ยังมีหลักฐานที่พูดถึงประเพณี วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับเรื่องผี มีการบูชาผีอยู่ เลยอยากเรียนถามหน่อยค่ะว่า

1 หลักฐานที่พูดถึงประเพณี วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับเรื่องผี การบูชาผีของสังคมคนไทยภาคกลางในสมัยอดีต (สุโขทัย-อยุธยา) มีอะไรบ้างคะทั้งที่ยังอยู่และที่หายไปแล้ว

2 คนเขมร ลาวที่ถูกเกณฑ์เข้ามาในสมัยสงคราม (สุโขทัย-รัตนโกสินทร์ตอนกลาง )ที่ไทยไปรบกับเขมร ลาว มีส่วนทำให้ประเพณี วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับเรื่องผี การบูชาผีของสังคมคนไทยภาคกลางมีการเปลี่ยนแปลงไหมคะเพราะทางลาว เขมร ก็ดูจะเชื่อเรื่องแบบนี้เช่นกัน

3 คนไทยภาคกลางในสมัยอดีต(สุโขทัย-อยุธยา) มีความเชื่อเรื่องวันปล่อยผีเหมือนฝรั่งไหมคะเพราะมีความเชื่อเรื่องผีเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 08 ธ.ค. 20, 21:17

https://www.posttoday.com/dhamma/565264

พระขพุงผีคือผีของใคร?

ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ถึงมีคำคำหนึ่งที่น่าสนใจ คือคำว่า “พระขพุงผี” ท่านบรรยายไว้ว่า “เทพดาในเขาอันนั้นเป็นใหญ่กว่าผีทุกผีในเมืองนี้” สรุปคือเป็นเทพารักษ์สิงในภูเขา ซึ่งเป็นภูเขาที่ “เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัย” ไม่ได้แปลว่า ทิศเหนือ ทิศหัวนอนนั้นหมายถึง ทิศใต้ สมัยก่อนตีความจารึกไม่ถูก มองทางทิศเหนือของสุโขทัย จะเจอแต่ทุ่งไม่มีภู แต่ถ้ามองลงใต้ จะพบทิวเขาหลวง

แต่ผมเห็นบางแห่งยังคิดว่า “พระขพุงผี” เป็นชื่อเฉพาะ บ้างก็แปลออกทะเลไปเลย ที่จริงคำนี้เป็นภาษาเขมร คำว่า ขพุง หรือขพง (ខ្ពង់) หมายถึงสันเขา ผีตนนี้ (ซึ่งหมายถึงเทวดาหรือวิญญาณบรรพบุรุษในคติไทยโบราณ) จะต้องสถิตอยู่ที่สันเขาหลวงเป็นแน่ ในศิลาจารึกเตือนว่า เจ้าผู้ครองสุโขทัยจงไหว้ดีพลีถูก ถ้าไหว้ไม่ถูกใจผีเขาหลวงจะไม่คุ้มหัว

ในศิลาจารึกหลักที่ 1 มีข้อความเต็มๆ ดังนี้ “เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยนี้มีกุฎี พิหาร ปู่ครู มีสรีดภงส์ มีป่าพร้าว มีป่าลาง มีป่าขาม มีน้ำโคก มีพระขพุงผี เทพดาในเขาอันนั้นเป็นใหญ่กว่าผีทุกผีในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมืองสุโขไทนี้แล้ ไหว้ดีพลีถูก เมืองนี้เที่ยง เมืองนี้ดี ผิไหว้บ่ดี พลีบ่ถูก ผีในเขาอันนั้นบ่คุ้มเกรงเมืองนี้หาย”

ไม่เฉพาะแต่หลักที่ 1 เท่านั้นที่เอ่ยถึงพระขพุงผี ศิลาจารึกหลักอื่นๆ ด้วย เช่น หลักที่ 45 ในความหมายถึงเทพารักษ์ หรือผีบรรพชน

เมื่อแยกคำออกมาจะเข้าใจความหมายชัดเจน คำว่า “พระขพุง” หมายถึง พระที่อยู่บนสัน หรือยอดภูเขา ส่วน ผี หมายถึง เทวดา รวมแล้วคือพระเทพารักษ์ ณ สันเขา

ลัทธิไหว้เทพารักษ์ภูเขาไม่ใช่ศาสนาพุทธหรือศาสนาไสย น่าจะเป็นศาสนาไหว้บรรพชนคนสุวรรณภูมิมาแต่เดิม ต่อมาพบเทวรูปที่พบในถ้ำพระแม่ย่า ของทิวเขาหลวง แทนที่คิดว่ารูปเป็นพระขพุงผี กลับอุปโลกน์เป็นนางเสือง พระราชชนนีของพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งก็ยังพอกล้อมแกล้มกันได้ เพราะวิญญาณนางเสือง ก็ถือเป็นผีบรรพชนไทย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 09 ธ.ค. 20, 08:16

หลักฐานที่พูดถึงประเพณี วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับเรื่องผี การบูชาผีของสังคมคนไทยภาคกลางในสมัยอดีต (สุโขทัย-อยุธยา) มีอะไรบ้างคะทั้งที่ยังอยู่และที่หายไปแล้ว

อีกผีคือแม่ซื้อ ความเชื่อของแต่ละภาคในเรื่องนี้อาจจะแตกต่างกันไปบ้าง ในเรือนไทยเคยกล่าวถึงโดยเฉพาะแม่ซื้อของภาคกลาง

ม.จ.หญิง พูนพิศมัย ดิศกุล ทรงพระนิพนธ์ เรื่องไว้ ทำขวัญ 3 วัน ไว้ในหนังสือ พิธีของทุกคน (สำนักพิมพ์เขษมบจจไม่รรณกิจ) ว่าเป็นประเพณีที่เชื่อถือกันมาแต่เดิม

ในสมัยที่เชื่อผี เชื่อกันว่ามนุษย์ที่เกิดมานี้ ผีเป็นผู้ปั้นรูปร่างลักษณะ แล้วคอยดักจับวิญญาณใส่ ให้มีชีวิต ก่อนส่งเข้าครรภ์มารดา ด้วยเหตุนี้ จึงเชื่อกันว่า ผีเป็นเจ้าของลูกมาก่อน

ฉะนั้น เมื่อถึงวันเกิด จึงเอาเด็กใส่กระด้งแกว่ง ถามว่า
“3 วันลูกผี 4 วันลูกคน ลูกของใคร มาเอาไปเน้อ”
แล้วก็จัดให้มีหญิงแก่คนหนึ่งเอาเบี้ย (ในสมัยนั้นใช้เบี้ยแทนสตางค์) เข้ามาเป็นผู้รับซื้อ
“ฉันรับซื้อ เป็นลูกของฉันเอง”
ผู้รับซื้อ จึงมีชื่อว่า “แม่ซื้อ” คือคนที่รับซื้อเด็กนั้นมาจากผีแล้ว ภายหลังเข้าใจปะปนกันไปว่า แม่ซื้อคือผีเอง

ในโองการแม่ซื้อ จารึกไว้ที่แผ่นหินวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม จัดตอนแม่ซื้อ

"...แม่ซื้อลางบางพรรณอยู่ในไส้ มักให้ร้องไห้ร้องคราง แม่ซื้อลางบางขวางอยู่ในสะดือ ทำให้อึดอื้อลงท้อง ให้สะอื้นร้องดิ้นรน แม่ซื้อลางบางก้นอยู่ในเศียรทำให้อาเจียนเสียงแห้งแหบ แม่ซื้อลางบางอยู่ในเนื้อ นอนสะดุ้งเพื่อร้องหวาดหวีด ผิวเลือดซีดกำเดา แม่ซื้อลางบางเนาในกระหม่อม มักให้ผอมร้องไห้มิหยุดเป็นซางผุดให้ตาแข็ง แม่ซื้อลางบางแฝงอยู่ในชงค์ มักให้ไหลหลงตกใจร้อง ตีนมือน่องเย็นเฉียบ แม่ซื้อลางบางเลียบอยู่ในเส้น มักให้เต้นสี่ตีนมือ บิดตัวอืออึดไปมา หวาดวายว่าหน้าเขียว" ให้จัดข้าวปลาสุราพร้อมเครื่องบัดพลีเชิญแม่ซื้อมารับเครื่องบัดพลี"

"..อย่าเย้ากุมารที่เกิดมา จะได้วัฒนาจำเริญ ขอเชิญท่านเอ็นดู ซึ่งเป็นผู้อุปถัมภ์ เราส่งข้าวน้ำปูปลา ขอให้สืบศาสนาอย่าเปล่าดาย เป็นชายจะได้เป็นสงฆ์ เป็ญหญิงคงได้เป็นชี รักษาศีลมีเมตตาจิต ... เราสู่ขอซื้อไว้ ให้เป็นเบี้ยสามสิบสาม ค่าตัวตามสินไถ่ ในสามวันเป็นลูกผี พ้นสีวันเป็นลูกคน ใช่ลูกของตนอย่าฝักใฝ่ เราให้รูปใหม่ไปต่างตัว จงไปชมชัวในรูปในบัตร โภชนาจัดเซ่นสวงเราบำบวงใช้หนี้แล้ว อย่าแผ้วพานไปมา กระทำสังเวยนานา ดุจดวงตราตีประทับกำกับท่านแต่วันนี้ไป.."

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ อธิบายคำว่า "แม่ซื้อ" คือ เทวดาหรือผีที่เชื่อกันว่าเป็นผู้ดูแลรักษาทารก บางทีก็เรียกว่า แม่วี"

ในโองการแม่ซื้อ ที่จารึกไว้บนแผ่นหินวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม  ดูจะมีแม่ซื้ออยู่ ๒ พวก พวกแรกเป็นผีซึ่งตรงกันข้ามกับที่ท่านรอยอินอธิบาย คือแทนที่จะเป็นผีที่คอยดูแลเด็ก กลับทรมานเด็กให้เจ็บปวดเสียอย่างนั้น  แม่ซื้อพวกที่สองคือคนที่จ่ายเงินเป็นค่าไถ่เด็กจากผี เพื่อเอามาดูแลเอง

เกี่ยวกับเรื่องผีกับเด็กเล็ก ในสมัยโบราณมีอีกความเชื่อหนึ่งคือเชื่อว่าผีมักจะชอบเอาเด็กที่น่ารักไปอยู่ด้วย ดังนั้นเวลาจะทักเด็กต้องหลอกผีโดยบอกว่าเด็กไม่น่ารักด้วยคำว่า "น่าเกลียดน่าชัง" ซึ่งเป็นรหัสรู้กันว่าหมายถึง "น่ารักน่าเอ็นดู" นั่นเอง  

มาถึงสมัยปัจจุบันความเชื่อเรื่องผีลักพาเด็กดูจะเลือนไปแต่ยังมีร่องรอยให้เห็นอยู่ คำชมเด็กเล็กว่า "น่าเกลียดน่าชัง" จึงเลือนเป็น "น่ารักน่าชัง" คือ ยังติดคำหลอกผีว่า "น่าชัง" อยู่  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 09 ธ.ค. 20, 19:05

ขอบพระคุณสำหรับคำตอบค่ะ ดิฉันขออนุญาตยกตัวอย่างประเพณี วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับเรื่องผีของภาคเหนือ อีสานนะคะจะได้เห็นภาพชัดขึ้น คือเท่าที่ทราบแถบนั้นจะมีประเพณี วัฒนธรรมเกี่ยวกับผี 1. พิธีการไหว้ การบวงสรวงบูชาผี 2 พิธีการรำการบวงสรวงบูชาผี (ที่รู้จักในรำผีฟ้า) 3 การเลี้ยงผี 4 การทรงเจ้าเข้าทรง (อันนี้ทราบว่าภาคกลางมีอยู่แล้ว) ไม่ทราบว่างสังคมคนไทยภาคกลางในสมัยอดีต (สุโขทัย-อยุธยา) มีประเพณี วัฒนธรรมอะไรแนวๆนี้บ้างไหมคะ

ซึ่งถ้าท่านไหนจะมาแนะนำเพิ่มเติมจากที่ดิฉันว่ามา หรือเป็นประเพณี วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับเรื่องผีเฉพาะของภาคกลางเลยก็ยินดีค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 10 ธ.ค. 20, 16:04

พูดถึง "ผี" คนไทยมีคำพูดติดปากอยู่คำหนึ่งคือ "ผีสางนางไม้" นางไม้ซึ่งคนไทยรู้จักกันดีและมีบทบาทเสมอเมื่อใกล้ "วันแห่งความหวัง" เห็นจะเป็น "นางตะเคียน" คุณวิกกี้ บรรยายเกี่ยวกับนางตะเคียนว่า

บริเวณผืนป่าที่ผีนางตะเคียนสิงสู่อยู่จะสะอาดสะอ้านเหมือนมีคนมาปัดกวาดอยู่เสมอ ๆ ก็คงเหมือนกับคนอยู่บ้านต้องออกมาปัดกวาดหน้าบ้านตัวเองให้สะอาดอยู่ตลอดเวลานั่นเอง นางตะเคียนมักมีรูปร่างหน้าตาสะสวย หมดจดงดงาม ผมยาว ห่มสไบ ใส่ผ้าถุง บางที่ก็ว่าแต่งตัวเหมือนสาวบ้านป่าทั่ว ๆ ไป ผีนางตะเคียนมักจะเป็นจำพวกหวงที่อยู่ และจะดุร้ายมากหากใครคิดจะรุกรานที่อยู่ของตน

ผู้คนที่มีความเชื่อเรื่องนี้ มักเชื่อว่าต้นตะเคียนมักมีผีนางตะเคียนสิงอยู่ การจะนำเอาต้นตะเคียนมาขุดเป็นเรือ (เรือสมัยก่อนใช้วิธีขุดขึ้นจากต้นไม้ทั้งต้น) หรือนำไม้ตะเคียนมาสร้างบ้าน จำเป็นจะต้องทำพิธีบวงสรวงขออนุญาตจากนางตะเคียนก่อน ทั้งนี้ เมื่อต้นตะเคียนที่ถูกนำมาแปรสภาพเป็นยานพาหนะ หรือสิ่งปลูกสร้างแล้ว นางตะเคียนที่สิงสถิตอยู่ในต้นตะเคียนนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงสถานะตามไปด้วย เช่น ถ้าเป็นเรือ นางตะเคียนก็จะกลายเป็นแม่ย่านางเรือ หรือ ถ้าเป็นบ้าน นางตะเคียนก็จะเป็น เจ้าที่ หรือ ผีบ้านผีเรือน

เสฐียรโกเศศเล่าเรื่องนางตะเคียนไว้ในหนังสือ ผีสาง เทวดา ว่า

“ข้าพเจ้าจำเรื่องนางตะเคียนได้เรื่องหนึ่ง ได้ยินได้ฟังมาแต่เล็กว่า ต้นตะเคียนต้นหนึ่งขึ้นอยู่ริมคลองหน้าวัด ใครไปจุดธูปบูชาและเซ่นสังเวยนางตะเคียนเพื่อขอหวยในกลางคืนเวลาดึก นางตะเคียนจะสำแดงอาการให้ปรากฏเห็น โจนจากต้นไม้ลงน้ำทุกคราวที่ไปจุดธูปเทียนบูชา จนข่าวลือไปว่านางตะเคียนนั้นศักดิ์สิทธิ์มาก มีชายคนหนึ่งเป็นคนบ้าสูบกัญชาไม่เชื่อว่าเป็นนางตะเคียน จึงถือดาบไปรออยู่ที่โคนต้นตะเคียนในเวลากลางคืน พอมีแสงสว่างจากธูปเทียน นางตะเคียนก็สำแดงอาการโจนจากต้นตะเคียนจะลงน้ำในทันทีนั้นเอง กระทาชายคนนั้นก็เอาดาบฟันสวนไป ถูกนางไม้เข้าบั้นท้ายขาดหลุดลงมา ด้วยอำนาจแห่งนางไม้ สิ่งที่หลุดลงมานั้นกลายเป็นหางตะกวดไป”

นางตะเคียนยังเป็นส่วนหนึ่งของตำนานชื่ออำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรีอีกด้วย

บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 13 ธ.ค. 20, 21:37

ขอบพระคุณคุณเพ็ญชมพูที่มาให้ข้อมูลค่ะ ส่วนประเพณี วัฒนธรรมของภาคอีสาน เหนือที่ดิฉันว่าไปและวันปล่อยผีสังคม คนไทยภาคกลางไม่มีประเพณี วัฒนธรรมที่คล้ายๆแบบนั้นถูกไหมคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 14 ธ.ค. 20, 13:15

ผีระดับชาวบ้านในภาคกลางอีกอย่างหนึ่งคือ นางตานี
ผีนางตานี เป็นผีผู้หญิงของไทยอีกประเภทหนึ่ง คล้ายกับผีตะเคียน แต่ผีตานีจะสิงอยู่ในต้นกล้วยตานี ผีตานีนั้นได้ชื่อว่าเป็นที่ผู้หญิงที่มีความสวยงดงาม ผมยาว นุ่งผ้าสไบสีเขียวอ่อน นุ่งโจงกระเบนสีเขียวอ่อน กลิ่นกายจะหอมคล้ายกับดอกกล้วย แต่ไม่ใช่ในต้นตานีจะมีผีตานีสิ่งอยู่ทุกต้น ซึ่งผีตานีนั้นมักจะชอบหลอกล่อผู้ชายเอาไปเป็นสามี

อ่านต่อได้ที่
https://thaihorrorstory.wordpress.com/2016/09/29/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9C%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5/

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 14 ธ.ค. 20, 15:34

การจะนำเอาต้นตะเคียนมาขุดเป็นเรือ (เรือสมัยก่อนใช้วิธีขุดขึ้นจากต้นไม้ทั้งต้น) หรือนำไม้ตะเคียนมาสร้างบ้าน จำเป็นจะต้องทำพิธีบวงสรวงขออนุญาตจากนางตะเคียนก่อน

การตัดต้นกล้วยตานีในบางกรณีก็ต้องทำพิธีบวงสรวงเหมือนกัน

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 14 ธ.ค. 20, 16:14

เสฐียรโกเศศเล่าเรื่องนางตานีไว้ในหนังสือ ผีสาง เทวดา เช่นกัน และกล่าวถึงนางไม้อีกตนหนึ่ง คือ "ผีนางแย้ม"*  ตกใจ

* นางแย้ม ในที่นี้หมายถึง นางแย้มป่า (Clerodendrum infortunatum)


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 14 ธ.ค. 20, 18:56

ที่นึกออกเพิ่มเติมคือ
กุมารทอง
โหงพราย
รัก-ยม
กระสือ
กระหัง
ปอบ
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 16 ธ.ค. 20, 21:19

ขอบพระคุณ คุณเพ็ญชมพู คุณเทาชมพูที่มาเพิ่มเติมให้ค่ะ
บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 17 ธ.ค. 20, 07:58

เสฐียรโกเศศเล่าเรื่องนางตานีไว้ในหนังสือ ผีสาง เทวดา เช่นกัน และกล่าวถึงนางไม้อีกตนหนึ่ง คือ "ผีนางแย้ม"*  ตกใจ

* นางแย้ม ในที่นี้หมายถึง นางแย้มป่า (Clerodendrum infortunatum)


ดอกนางแย้มป่าสวยมากๆเลยค่ะ
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 17 ธ.ค. 20, 08:06

นางแย้มป่า


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 17 ธ.ค. 20, 08:08

นางแย้มที่เรารู้จักกัน  สวยมากอย่างคุณนางมารน้อยชมไว้ค่ะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 17 ธ.ค. 20, 12:20

ดอกนางแย้มป่าสวยมากๆเลยค่ะ

ชมดวงพวงนางแย้ม                                    
บานแสล้มแย้มเกสร
คิดความยามบังอร                                                
แย้มโอษฐ์ยิ้มพริ้มพรายงาม

กาพย์เห่เรือ พระนิพนธ์ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์


ภาพจาก https://m.facebook.com/530907763736328/posts/1176566895837075/


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 20 คำสั่ง