ยินดีต้อนรับ
ท่านผู้มาเยือน
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
หน้าแรก
ตู้หนังสือ
ค้นหา
ข่าว
: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
เรือนไทย
>
General Category
>
ประวัติศาสตร์ไทย
>
วังลดาวัลย์ ที่มาของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
หน้า: [
1
]
พิมพ์
อ่าน: 2244
วังลดาวัลย์ ที่มาของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
เมื่อ 23 พ.ย. 20, 11:06
ในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงย้ายที่ประทับเป็นการถาวรจากพระบรมมหาราชวัง ไปยังพระราชวังดุสิต ทรงสร้างวังพระราชทานพระราชโอรสรุ่นใหญ่สองพระองค์ คือ พระตำหนักสวนจิตรลดา ให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ และพระตำหนักสวนปารุสกวัน เป็นที่ประทับของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังโปรดให้สร้างวังใหม่ พระราชทานแก่พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์อื่นๆ ที่ทรงสำเร็จการศึกษากลับมาจากต่างประเทศ ทั้งนี้เพราะแต่ละพระองค์เมื่อเสด็จไปต่างประเทศ ก็ยังทรงพระเยาว์พระชันษาสัก 12-13 อยู่ทั้งสิ้น ยังไม่มีวังของพระองค์เอง
ในการนี้ พระเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงใช้เงินจากกระทรวงพระคลังมหาสมบัติซึ่งเป็นเงินราชการ มีไว้ใช้ในการทะนุบำรุงกิจการต่างๆของแผ่นดิน แต่ทรงใช้เงินจากพระคลังข้างที่ซึ่งเป็นเงินส่วนพระองค์ ทรงซื้อที่ดินจากราษฎรมาปลูกวังพระราชทานพระราชโอรส
ดังมีคำอธิบายในพระนิพนธ์ “สาส์นสมเด็จ” ที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงมีถึง สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ไว้ว่า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
ความคิดเห็นที่ 1
เมื่อ 23 พ.ย. 20, 11:08
“
ที่วังนั้นมิได้บังคับเรียกเอาที่โดยอำนาจราชการ เหมือนอย่างสร้างวังมาแต่ก่อน ทรงซื้อด้วยเงิน พระคลังข้างที่ อันเป็นของส่วนพระองค์ เหมือนอย่างราษฎรซื้อขายกันตามประเพณีบ้านเมือง เพราะฉะนั้น ขอให้วังนั้นเป็นสิทธิ แก่พระเจ้าลูกยาเธอ ตลอดไปจนเชื้อสาย ถ้าหากรัฐบาลจะต้องการที่วังนั้นใช้ในราชการ ก็ให้ซื้อตามราคาอันสมควร”
ในบรรดาที่ดินที่ซื้อด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ มีที่ดินแปลงหนึ่งอยู่ระหว่าง ถนนลูกหลวงต่อ กับ ถนนดวงดาว ใกล้คลองผดุงกรุงเกษม ทรงซื้อจากชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นจำนวน ๒๗ ราย รวมเนื้อที่ ๑๗ ไร่ ๘๐ ตารางวา เดิมมีพระราชประสงค์จะสร้างพระตำหนักที่ประทับของพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา แต่พระอรรคชายาได้สินพระชนม์เสียก่อน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานที่ดินผืนดังกล่าวเพื่อสร้างวังที่ประทับของพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ พระภาคิไนยของพระอัครราชา ขณะนั้นใกล้จะเดินทางกลับสยามเมื่อทรงสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักรอังกฤษ
พระตำหนักออกแบบโดย นาย จี บลูโน (Mr.G. Bruno) สถาปนิกชาวอิตาเลี่ยน พระสถิตย์นิมานการ เจ้ากรมโยธาธิการ เป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้าง ตัวพระตำหนักใช้เวลาในการก่อสร้างนานประมาณ ๑๘ เดือน สิ้นค่าก่อสร้างทั้งสิ้น ๒๑๘,๐๐๐ บาท
มีชื่อว่า" วังลดาวัลย์" ตั้งตามพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลดาวัลย์ กรมหมื่นภูมินทรภักดี ผู้เป็นพระชนกของพระอรรคชายา และเป็นพระอัยกาของเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศร์ แต่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า "วังแดง " ตามสีของกำแพงวัง
วังลดาวัลย์นี้ได้เป็นเรือนหอของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศร์ และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล พระธิดาในสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
ความคิดเห็นที่ 2
เมื่อ 23 พ.ย. 20, 11:58
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ทรงเป็นเจ้าของวังลดาวัลย์มาจนถึงพ.ศ. 2475 ก็ประชวรพระโรคพระหทัย สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2475 สิริพระชันษา 49 ปี 22 วัน
ทรงมีพระโอรส 3 องค์ คือ
พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล
พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร
พลโท พลเรือโท พลอากาศโท พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ
เมื่อเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีฯ สิ้นพระชนม์แล้ว ผู้ครอบครองวังลดาวัลย์ต่อมาคือพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล
ต่อมาถึง 6 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง วังลดาวัลย์ก็ยังเป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ของเจ้าของวัง
ต่อมาจนถึงพ.ศ. 2482 สยามเข้าสู่ภาวะสงครามมหาเอเชียบูรพา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นคือจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ทำสัญญาตกลงประนีประนอมเป็นมิตรกับญี่ปุ่น เพื่อให้ญี่ปุ่นได้เข้ามาตั้งกองทัพอยู่ในประเทศได้โดยปราศจากการขัดขวาง
วังลดาวัลย์ที่เป็น "บ้านส่วนตัว" ของ "เจ้า" จึงเข้าสู่สายตาของจอมพลป.อีกครั้งหนึ่ง ว่าสมควรจะใช้ประโยชน์ได้มากกว่าเป็นที่อยู่อาศัยของเจ้านาย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
ความคิดเห็นที่ 3
เมื่อ 23 พ.ย. 20, 13:55
จอมพลป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีอำนาจมากกว่านายกฯคนก่อนๆหน้านี้ เพราะควบบทบาท "ท่านผู้นำ" ที่ประชาชนจะต้องเชื่อฟังโดยไม่มีข้อแย้ง เมื่อจอมพลป. เห็นดีว่า วังลดาวัลย์กว้างขวางเหมาะสมจะเป็นกองบัญชาการของกองทัพญี่ปุ่น (แต่ใช้ชื่อว่าเป็นศูนย์วัฒนธรรม) ก็สามารถทำได้ โดยการเจรจากับเจ้าของวัง ว่าจะขอใช้สถานที่นี้ ไม่ว่าจะให้เช่าหรือขายในราคาถูกก็ตาม
พระองค์เจ้าหญิงเฉลิมเขตรคงจะทรงเห็นตัวอย่างมาแล้ว ว่าวังต่างๆเมื่อตกเป็นของรัฐแล้วจะมีชะตากรรมอย่างใด ถ้าโชคดีก็อาจจะอยู่รอดต่อไปได้ ถ้าร้ายก็เป็นอย่างวังวินด์เซอร์ที่ไม่เหลือร่องรอยอยู่อีกเลย จึงตัดสินพระทัยขายให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในตอนปลายสงครามโลก ปี 2488
วังลดาวัลย์จึงอยู่รอดตลอดมา สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ริเริ่มแนวคิดที่จะบูรณะให้เป็น“อาคารต้นแบบของการพัฒนาเชิงอนุรักษ์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ” ตั้งแต่พ.ศ. 2530 จึงได้มีการวางแผนดำเนินการอย่างรอบคอบและรัดกุม โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญจากกรมศิลปากร และผู้ทรงคุณวุฒิมาเป็นที่ปรึกษาตลอดการบูรณะ จนกลายเป็นวังลดาวัลย์ที่งดงาม เป็นสมบัติล้ำค่าทางสถาปัตยกรรมสำหรับการอนุรักษ์มรดกไทย อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
ตอบ: 306
ทำงานแล้วค่ะ
ความคิดเห็นที่ 4
เมื่อ 24 พ.ย. 20, 12:42
เข้ามาตามอ่านค่ะ ดูเหมือนว่า วังลดาวัลย์เคยให้เอกชนเช่าถ่ายทำละครหลายเรื่องใช่ไหมคะ จำว่า มาลัยสามชายเคยใช้เป็นบ้านพลาธรของคุณยศ
บันทึกการเข้า
สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
เพ็ญชมพู
หนุมาน
ตอบ: 12563
ความคิดเห็นที่ 5
เมื่อ 27 พ.ย. 20, 09:07
ช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีการติดต่อจัดซื้อวังลดาวัลย์จากพระทายาท โดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กระทรวงการคลังเป็นผู้ดำเนินการ เมื่อตกลงซื้อขายเรียบร้อย (๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๙)
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ก็ย้ายเข้ามาใช้เป็นสถานที่ทำการใหม่ เป็นที่ทำการลำดับที่ ๕
วังลดาวัลย์เป็นที่ตั้งของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หรือ
”สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์”
(ตาม
พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ. ๒๕๖๑
) ในปัจจุบัน และเป็นที่มาของชื่อ บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด บริษัทบริหารการลงทุนในเครือสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
ตอบ: 12563
ความคิดเห็นที่ 6
เมื่อ 27 พ.ย. 20, 16:56
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
ความคิดเห็นที่ 7
เมื่อ 27 พ.ย. 20, 17:59
อ้างจาก: นางมารน้อย ที่ 24 พ.ย. 20, 12:42
เข้ามาตามอ่านค่ะ ดูเหมือนว่า วังลดาวัลย์เคยให้เอกชนเช่าถ่ายทำละครหลายเรื่องใช่ไหมคะ จำว่า มาลัยสามชายเคยใช้เป็นบ้านพลาธรของคุณยศ
ปกติไม่ได้ให้นะคะ อาจจะอนุญาตเป็นรายๆไป
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
ตอบ: 12563
ความคิดเห็นที่ 8
เมื่อ 27 พ.ย. 20, 18:17
คุณผอูน จันทรศิริ ผู้กำกับการแสดงละครโทรทัศน์เรื่องมาลัยสามชายให้สัมภาษณ์ลงในสกุลไทยว่า ที่วังลดาวัลย์ทีแรกเขาจะไม่ให้ถ่าย แต่ได้อาศัยบารมี ม.ร.ว ยงสวัสดิ์ กฤดากร ซึ่งคุณชายยงเป็นแฟนมาลัยสามชาย ได้ช่วยพูดให้ ทางสำนักทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เลยอนุญาตให้ถ่ายได้เฉพาะตามทางเดิน กับสวนด้านนอก ที่เห็นเป็นห้องหับนี่ ต้องไปถ่ายตึกอื่นแทน ที่เห็นในละคร ไม่ใช่เป็นข้างในของวังลดาวัลย์ทั้งหมด
ข้อมูลจาก
คุณ Anemone แห่ง พันทิป
บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
ตอบ: 306
ทำงานแล้วค่ะ
ความคิดเห็นที่ 9
เมื่อ 01 ธ.ค. 20, 10:02
ขอบคุณคุณเพ็ญชมพูมากค่ะ ถึงว่าเห็นแต่ฉากสนามบ้างเท่านั้น ยังคิดอยู่เลยว่าคงอนุญาตแค่นี้
บันทึกการเข้า
สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
หน้า: [
1
]
พิมพ์
กระโดดไป:
เลือกกระทู้:
-----------------------------
General Category
-----------------------------
=> ศิลปะวัฒนธรรม
=> ภาษาวรรณคดี
=> ระเบียงกวี
=> ชั้นเรียนวรรณกรรม
=> หน้าต่างโลก
=> ประวัติศาสตร์โลก
=> ประวัติศาสตร์ไทย
=> ทันกระแส
=> วิเสทนิยม
=> ห้องหนังสือ
=> ชมรมอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทย
Powered by SMF 1.1.21
|
SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder
XHTML
|
CSS
|
Aero79
design by
Bloc
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.034 วินาที กับ 19 คำสั่ง
Loading...