naitang
|
ความคิดเห็นที่ 120 เมื่อ 13 ม.ค. 21, 19:17
|
|
ผมมีความสนใจอยู่เรื่องหนึ่ง ว่า..ในการผลิตปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆนั้น ผู้ผลิตจะเอาวัสดุและสารเคมีต่างๆมาผสมกันตามสูตรปุ๋ยต่างๆ (ตามสัดส่วนเพื่อให้ได้ธาตุ N P และ K ตามที่ต้องการ) แล้วปั้นเป็นเม็ดเล็กกลมๆใส่ถุงขาย
ก็มีประเด็นที่ชวนให้คิดอยู่ว่า แน่นอนว่าการผสมนั้นได้สัดส่วนตามที่กำหนดไว้ในกระบวนการผลิต แต่เมื่อนำไปใช้แล้ว yield หรือปริมาณของแต่ละธาตุตามที่ระบุไว้จะสามารถปลดปล่อยออกมาให้กับพืชได้จะมีได้มากน้อยเพียงใด เรื่องนี้นอกเหนือไปจากคุณภาพของวัตถุดิบและการการผลิตแล้ว ก็ไปเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของพื้นที่ๆที่นำปุ๋ยนั้นๆไปใช้ ทั้งทางด้านกายภาพ ทางด้านเคมีของดิน ของน้ำ รวมทั้งด้านชีวภาพ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 121 เมื่อ 13 ม.ค. 21, 19:27
|
|
ไม่หรอกครับ ดีใจเสียอีกที่รู้ว่ามีปรมาจารย์ที่มีหลักนิยมในการปลูกพืชทำสวนอ่านอยู่ แต่เดิมที่เคยเกรงๆอยู่ว่ากระทู้นี้จะสอบไม่ผ่าน ก็รู้สึกสบายใจมากขึ้นครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 122 เมื่อ 13 ม.ค. 21, 21:25
|
|
นำพามาสู่เรื่องของปุ๋ยในรูปแบบอื่นๆที่มีผลิตขายอยู่ใน ตปท. คิดว่าในเมืองไทยก็น่าจะมีขาย แต่อาจจะมีราคาสูงและหายาก ปุ๋ยเป็นสินค้าควบคุมประเภทหนึ่งของไทยเรา มีการคุมทั้งด้านการผลิต การขนส่ง และการจำหน่าย ก็เพราะว่ามีการหลอกและปลอมแปลงกันมาก โดยเฉพาะในเชิงของสัดส่วนและตัวเนื้อปุ๋ย ทั้งนี้ แม้จะมีการผสมที่ถูกต้องและผ่านการชักตัวอย่างตรวจสอบแล้วก็ตาม ก็ยังไม่ค่อยจะแน่ใจนักในเรื่องของ yield ซึ่งเรื่อง yield นี้ก็อาจจะไปเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมต่างๆของพื้นที่ๆนำไปใช้ก็ได้ เลยทำให้การวิจารณ์ว่าปุ๋ยของเจ้านั้นๆจะดีหรือไม่ดีนั้นก็อาจจะมีความไม่ถูกต้องได้เช่นกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 123 เมื่อ 14 ม.ค. 21, 19:09
|
|
อาจจะเป็นเรื่องคิดมากไป ที่จะกล่าวถึงจริงๆก็คือเรื่องของวัสดุอื่นๆที่เอามาผสมเพื่อประสานส่วนผสมต่างๆให้เป็นเนื้อเดียวกันและเพื่อปั้นให้เป็นเม็ด (fuller's earth) ซึ่งที่สะดวกและหาได้ง่ายที่สุดก็คือดินที่ทำให้เป็นผงแล้ว และก็ยังมีราคาถูกอีกด้วย แต่ด้วยที่การใส่ปุ๋ยนั้นมิได้มุ่งหวังให้ได้ผลโดยเร็วคล้ายกับการฉีดยาเข้าเส้นเลือด หากแต่ต้องการให้เม็ดปุ๋ยมันค่อยๆปล่อยสารประกอบ N,P,K ในลักษณะที่พืชจะสามารถดูดซับได้ในอัตราที่เป็นไปตามธรรมชาติบนพื้นฐานของดินที่มีความสมบูรณ์ตามปกติ
โดยนัยนี้ fuller's earth ก็เลยมีความสำคัญในเชิงของความสามารถในด้านที่จะค่อยๆแตกสลาย (disintegrate)เพื่อปล่อยปุ๋ยให้กับพืช ส่วนประกอบของมันก็เลยมีความสำคัญ และก็น่าจะเป็นส่วนสำคัญในเรื่องของราคาต้นทุน อีกทั้งก็น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มีผลต่อการใช้ที่ว่าดีหรือไม่ดีในพื้นที่ต่างๆกัน ทำให้น่าจะพอสรุปได้ในอีกมุมหนึ่งว่า ในบางพื้นที่ ปุ๋ยราคาถูกราคาแพงอาจจะไม่ใช่เรื่องสำคัญ ทั้งหลายทั้งปวงมันก็อยู่ที่การสังเกตของตัวเราเอง
ศาสตร์ของการทำ การผลิต และการใช้ปุ๋ย จึงเป็นเรื่องที่ต้องมีการศึกษา การเรียนรู้ และประสบการณ์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 124 เมื่อ 14 ม.ค. 21, 20:22
|
|
ด้วยที่ปุ๋ยที่ผลิตเพื่อขายในทางการค้าจะต้องผ่านกระบวนการขออนุญาตหลายขั้นตอนในด้านกระบวนการผลิต การตรวจสอบคุณภาพ การจำหน่าย และสถานที่จำหน่าย ? ก็เลยอาจจะเป็นเรื่องที่ไปทำให้เกิดข้อจำกัดในการคิดที่จะทำผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายต่างๆสำหรับเกษตรกรสมัครเล่นรายย่อยเล็กๆ ในทางกลับกันก็อาจจะเป็นโอกาสอันดีของเกษตรกรสมัครเล่นที่จะได้ใช้ความคิดในการผลิตปุ๋ยที่เหมาะสมสำหรับการใช้ในพื้นที่เกษตรกรรมของตนเอง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 125 เมื่อ 15 ม.ค. 21, 19:04
|
|
ลองเอาความรู้ที่พอจะมีเหล่านี้ ผสมผสานกับความรู้ในเรื่องอื่นๆที่เราได้รับรู้มาจากการเรียน จากการได้อ่าน จากการได้ฟัง ตั้งแต่จบภาคการศึกษาเป็นต้นมา ก็น่าจะพอสรุปได้เรื่องหนึ่งว่า พื้นฐานของความมีสุขอนามัยที่ดีของสิ่งมีชีวิตนั้นล้วนแต่เกิดขึ้นจากความสมบูรณ์ของอาหารและสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติที่ดี เมื่อเจ็บป่วยจึงจะใช้อาหารหรือยาที่มีความเข้มข้นของสารประกอบหรือธาตุบางอย่างเพื่อไปรักษา โดยนัยก็คือ เมื่อวัตถุดิบหรือแหล่งทรัพยากรเริ่มจางหายและหมดไป พืชทั้งหลายก็จะมีความไม่สมบูรณ์เท่าที่พึงจะเป็นไปตามปกติ ซึ่งนิยมรักษากันด้วยยาครอบจักรวาล คือ ปุ๋ย N,P,K ในสัดส่วนต่างๆ แต่พืชและสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายต่างก็ต้องการแร่ธาตุหลายชนิดในปริมาณที่น้อยมากๆ เพื่อไปช่วยในกระบวนทำงานของระบบต่างๆให้มีประสิทธภาพ คล้ายกับที่เราก็อาจจะต้องกินมัลติวิตามินหรือกินอาหารเสริมที่มีแร่ธาตุบางอย่างในปริมาณสูง
คิด(มาก)ในเรื่องเช่นนี้แล้ว ก็เลยเห็นว่า จะดีใหมหนอ หากปุ๋ยที่ทำขายกันอยู่นั้น ในส่วนที่เป็น fuller's earth จะใช้วัสดุที่เป็นผลิตผลจากการแปรสภาพวัสดุอินทรีย์ทั้งหลาย เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษไม้ใบหญ้า กระดูกสัตว์ เปลือกหอย เปลือก crustacean อีกทั้งพวกขี้นก(นางแอ่น พิราบ ..)ที่ต้องคอยกวาดทิ้ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 126 เมื่อ 15 ม.ค. 21, 20:30
|
|
ก็เลยเห็นว่า มีช่องทางพอที่จะทำให้ดินมีความสมบูรณ์เพื่มขึ้นได้โดยให้มีการใช้ปุ๋ยน้อยที่สุด
เรารู้อยู่ว่าพืชในตระกูลถั่วสามารถเพิ่มปริมาณไนโตรเจนในดินได้ แต่ไม่ได้มีการบอกเล่าให้หมดว่า นอกเหนือจากไนโตรเจนแล้ว มันยังให้แร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อพืชได้อีกหลายตัว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 127 เมื่อ 17 ม.ค. 21, 19:19
|
|
เช่นเดียวกัน พืชผักผลไม้ต่างๆก็ล้วนมีแร่ธาตุอยู่ในตัวเองชนิดและปริมาณที่แตกต่างกันไป เรื่องของแร๋ธาตุในพืชนี้มีปรากฎอยู่ในการเรียนตั้งแต่เด็ก ในข้อเขียนที่เกี่ยวกับเรื่องของสุขภาพในสื่อทั่วๆไป รวมทั้งในโฆษณาอาหารเสริมและผลิตภัณฑ์คุณภาพต่างๆ เมื่อเจ็บป่วยก็ยังได้ฟังจากปากของคุณหมออีก ก็คงไม่ต้องขยายความ
เป็นเรื่องน่าคิดว่า ในพื้นที่ช่วงว่างจากทำนา ในพื้นที่ป่าชุมชน และในพื้นที่ว่างสาธารณะประโยชน์ต่างๆนั้น เราสามารถจะปลูกพืชไร่ พืชสวน ไม้ผล หรือไม้ใบ ประเภทที่ดูแลรักษาน้อยหรือไม่ต้องดูแลเลย คือปล่อยให้เทวดาเลี้ยง ปลูกแบบไม่หวังผลด้านรายได้ แต่หวังผลในด้านประโยชน์ใช้สอย แล้วก็ไปเก็บกิ่ง ใบและผลที่หักร่วงลงมา เอามารวมกันไปเป็นวัตถุดิบเพื่อการทำปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยคอกต่างๆ หรือเอาไปใส่ในพื้นที่ทำนา ราดด้วยน้ำ EM ก็น่าจะได้ปุ๋ยที่มีประโยชน์ แม้จะมีปริมาณไม่มากก็ตาม
ที่จริงเคยคิดว่า น่าจะมีการศึกษาเรื่องธุรกิจรับจ้างตัดแต่งกิ่งต้นไม้ในสวนผลไม้ต่างๆ รวมทั้งการเก็บทำความสะอาดสวน เอาพวกเศษกิ่ง ใบและผลที่ร่วงลงมาเหล่านั้นไปเข้าเครื่องย่อยให้ออกมาเป็นชิ้นเล็ก แล้วเอามาหมักทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ อาจจะใส่แม่ปุ๋ยบางอย่างเพิ่มลงไปก็ได้ (ในรูปของเหลวหรือผง) คลุกให้เข้ากันดี แล้วนำไปใช้ในกิจกรรมทางเกษตรอินทรีย์ต่างๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 128 เมื่อ 17 ม.ค. 21, 20:39
|
|
แนวคิดที่ว่านั้นเกิดมาจากเมื่อครั้งไปประจำการอยู่ในประเทศออสเตรีย เมื่อชาวบ้านได้เรียกเมืองให้เขามาช่วยตัดแต่งต้นไม้ต่างๆในที่ดิน ตัดเสร็จเขาก็เอากิ่งก้านที่ย่อยเป็นชิ้นเล็กๆแล้ว (จากต้นไม้ที่ใหนก็ไม่รู้) เอาลงให้เราสองสามถุง นัยว่าเป็นเศษวัสดุของเธอ ฉันช่วยย่อยให้เป็นชิ้นเล็กๆแล้ว เธอก็เอาคืนไป เอาไปถมที่โคนต้นไม้ให้มันช่วยเก็บความชุ่มชื้นและแปรสภาพเป็นปุ๋ยต่อไป ท่านที่เดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศในเขตหนาวคงจะเคยเห็นกองเศษไม้เช่นนี้ตามโคนต้นไม้ในพื้นที่ทางแยก/ทางตัดกันของถนนหลวงสายต่างๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 129 เมื่อ 18 ม.ค. 21, 18:59
|
|
มีอีกเรื่องหนึ่งที่อยากจะกล่าวถึง เป็นเรื่องเกี่ยวกับระบบการเก็บรักษาธัญพืช (ยุ้ง ฉาง) เป็นรายงานการศึกษาของหน่วยงานในระบบ UN ซึ่งผมได้อ่านเมื่อนานมาแล้ว (คงจะประมาณ 20 ปี) ไม่แน่ใจว่าจะเป็นการศึกษาของ UNDP หรือ FAO
มีอยู่เรื่องหนึ่งเกี่ยวกับข้อดีกับข้อเสียของระบบการเก็บรวมไว้ในไซโลใหญ่ กับระบบแยกกันเก็บเป็นรายย่อย บ้านใครบ้านมันหรือกลุ่มใครกลุ่มมัน ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจอยู่ว่า ของที่เก็บในระบบไซโลนั้น จะต้องมีกระบวนการจัดการในเรื่องของการระบายความชื้น การใช้สารเคมีเพื่อการต่างๆ ฯลฯ ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาคุณภาพให้มีความเป็นหนึ่งเดียวกันตลอดอายุของการเก็บและการทะยอยจำหน่ายออกไป ในขณะที่การแยกเก็บเป็นรายย่อยนั้น แม้จะมีการเสียหายไปบ้าง แต่ก็เป็นไปแบบธรรมชาติ และเป็นไปตามวิทยาการและความรู้พื้นบ้านที่ได้มีการถ่ายทอดส่งต่อกันมา ทั้งนี้ ก็เพียงอาจจะเข้าไปช่วยไปเพิ่มเติมเสริมแต่งในบางเรื่องก็เพียงพอ
แนวคิดเรื่องการเก็บรักษาในรูปแบบรายย่อยนี้ คิดว่าน่าจะรวมอยู่ในแนวของเกษตรอินทรีย์ด้วย จึงจะมีความสมบูรณ์ในองค์รวมของคำว่าเกษตรอินทรีย์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 130 เมื่อ 18 ม.ค. 21, 20:38
|
|
ผลิตผลแบบ organic products กับผลิตผลแบบ farm-to-table ดูคล้ายกับว่าจะมีความเหมือนกัน แต่มันก็มีความแตกต่างกัน farm-to-table นั้น เน้นประเด็นไปในเรื่องของความสดใหม่ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ สินค้าที่มีการผลิตและจำหน่ายอยู่ในพื้นที่ชุมชนละแวกนั้นๆ organic products ทั้งหลายก็จึงเป็นผลิตภัณฑ์แบบ farm-to-table ได้ ในกรณีที่เป็นการซื้อกินทำกินในละแวกพื้นที่ๆมีการผลิตนั้นๆ
นำเรื่องมาก็เพียงจะเสนอความเห็นว่า ผลิตผลทางการเกษตรทั้งพืชและสัตว์ของชาวบ้านที่เอามาขายกันในตลาดพื้นบ้านนั้น ส่วนมากจะเป็นผลิตผลแบบอินทรีย์ หรือมีการใช้สารเคมีน้อยมาก เป็นของที่ไม่สวยงามดูน่ากินนัก แต่ก็เป็นผลิตผลในลักษณะของ farm-to-table ในกรณีข้าว หากเป็นไปได้ก็ลองขอปันซื้อจากชาวบ้านที่ทำนาเพื่อความอยู่รอด (ได้ข้าวมากก็ขาย ได้ข้าวน้อยก็เก็บ) แล้วขอให้เขาช่วยนำไปสีเป็นข้าวสาร เราก็อาจจะได้พบข้าวชั้นดีจากบางผืนนา อาจจะแปรเป็นขาประจำกันไป ได้ทั้งการช่วยเขา ได้ทั้งของกินชั้นดี และก็อาจจะได้มีอะไรๆที่เป็น signature ของเรา (ในปัจจุบันนี้ ระบบ logistic ดีมากขึ้นแล้ว อาจจะเป็นลักษณะของการส่งมาเป็นข้าวเปลือกให้เราสีเองด้วยเครื่องสีข้าวเสียบปลั๊กไฟฟ้าขนาดเล็กก็ได้ สีแต่ละครั้งก็ได้ข้าวใหม่พอกินไปได้ไปสองสามวัน ...เพ้อฝันไปครับ)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 131 เมื่อ 19 ม.ค. 21, 20:22
|
|
ก็มาถึงเรื่องของการเก็บรักษา
แบบชาวบ้าน ใช้วิธีการเก็บรักษาข้าวเปลือกที่ได้มาจากการทำนา เมื่อต้องการจะกิน ก็จะเอาไปสีในปริมาณพอสมควร อาจจะครั้งละถังหรือสองถังก็สุดแท้แต่ความต้องการในช่วงเวลานั้นๆ คือไม่เก็บข้าวในรูปของข้าวที่ทำการสีแล้ว ข้าวที่สีได้โดยตรงจากข้าวเปลือกนี้มักจะเรียกกันว่าข้าวขาว เหตุที่เก็บในรูปของข้าวเปลือกนี้ก็เพราะว่ามีความเสียหายจากมอดแมลงน้อยกว่าการเก็บข้าวที่สีแล้ว และก็ยังสามารถจะใช้ข้าวเปลือกเป็นอาหารสำหรับการเลี้ยงสัตว์ได้อีกด้วย สำหรับข้าวสารที่สีได้แต่ละครั้งนั้นก็จะเก็บไว้ในภาชนะที่ใส่ใบมะกรูดสดลงไปเพื่อไล่มอดแมลง ซึ่งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ใช้แล้วได้ผลจริงๆ
แบบอุสาหกรรม ดูจะเก็บในรูปของข้าวที่สีแล้วมากกว่าการเก็บในรูปของข้าวเปลีอก (ไม่แน่ใจนัก) เป็นการสีในระบบการทำให้ข้าวมีความชื้นที่สูงมากขึ้นแล้วจึงทำการสีให้เป็นข้าวสาร (เรียกกันว่าสีแบบข้าวนึ่ง) ระบบนี้ทำให้ได้ข้าวสารที่มีไม่มีเม็ดหักปนอยู่ (หรือมีน้อยมากๆ) และสามารถทำให้ได้ข้าวสารที่มีสีนวลสวยงามต่างๆกันไปได้อีกด้วย การเก็บรักษาข้าวสารจะเป็นไปแบบอุตสาหกรรมที่ต้องมีการใช้กระบวนการและการจัดการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 132 เมื่อ 19 ม.ค. 21, 20:56
|
|
คิดว่ากระทู้นี้น่าจะมีสาระชวนให้คิดในเรื่องต่างๆอยู่บ้างพอสมควร อย่างน้อยก็ในมุมมองว่า การทำนานั้นมันเป็นศิลปะของการประยุกต์ใช้ความเข้าใจในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและกระบวนการทางธรรมชาติ น่าเสียดายที่เป็นกิจกรรมที่ดูจะถูกบดบังด้วยการดูแคลนจนเกินไป ชาวบ้านและชาวนารู้อะไรมากมายกว่าที่เราคิดว่าเขาไม่รู้เยอะมาก ก็จะขอลงจากกระทู้นี้แต่เพียงเท่านี้ ขอขอบคุณทุกท่านที่ได้ติดตามให้ความสนใจ ครับ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 133 เมื่อ 22 ม.ค. 21, 11:17
|
|
ขอบคุณสำหรับกระทู้ดี หาอ่านยากแบบนี้ค่ะ หวังว่าคุณตั้งคงจะมีกระทู้ใหม่มาลงในเรือนไทยในเร็ววันนะคะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 134 เมื่อ 22 ม.ค. 21, 20:45
|
|
ขอบพระคุณครับ _/\_
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|