เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 12
  พิมพ์  
อ่าน: 8217 ชาวบ้านกับการทำนาข้าว
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


 เมื่อ 22 พ.ย. 20, 18:32

กลับมาเข้ากระทู้ครับ

แรกว่าจะคุยกันเรื่องของหวาน แต่บังเอิญไปได้ความรู้เพิ่มเติมค่อนข้างจะละเอียดเกี่ยวกับเรื่องของชาวบ้านกับการทำนาข้าว ก็เลยจะขอขยายความและนำมาเสวนากัน _เท่าที่พอจะรู้ จำได้ และเข้าใจ    คงจะเป็นรูปแบบจำเพาะที่ไม่เหมือนกับพื้นที่ปลูกข้าวย่านอื่นๆ

ชาวบ้านและชาวนาในภาคเหนือปลูกข้าวกันทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียวตามแต่จุดประสงค์ของแต่ละคน ส่วนมากแล้วจะแบ่งผืนนาส่วนหนึ่งเพื่อปลูกข้าวที่ตนเองจะใช้เพื่อการบริโภค การจัดแบ่งพื้นที่จะมากน้อยเพียงใดนั้นจะขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้นที่ทำนาว่าจะเป็นนาน้ำเหมือง (คูหรือร่องส่งน้ำเข้าผืนนา) หรือจะเป็นนาน้ำฟ้า (อาศัยน้ำฝน)   สำหรับส่วนที่เป็นผืนนาที่จะทำเพื่อการขายผลิตผลนั้น ส่วนมากจะเลือกปลูกพันธุ์ข้าว ข้าวหอมมะลิ 105, ข้าวเหนียว กข 6, ข้าวเหนียว กข 10, ข้าวเหนียวสันป่าตอง ข้าวเหนียวเขี้ยวงู ข้าวก่ำ  ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับการคาดสถานะการณ์ในภายหน้าของแต่ละคนในเรื่องของดินฟ้าอากาศ น้ำ ตลาดรับซื้อ นโยบายและภาคปฎิบัติการของรัฐบาลที่เห็นและพอจับต้องได้

คิดได้แล้ว ตัดสินใจได้แล้ว ก็มาถึงเรื่องของภาคปฎิบัติ ซึ่งในเรื่องของภาคการปฎิบัตินี้มีเรื่องที่ต้องมีการคิด มีการวางแผน และมีการบริหารที่สลับซับซ้อนอยู่พอสมควร น่าสนใจอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 22 พ.ย. 20, 19:36

เรื่องแรกเกี่ยวกับ 'การลงแขก'  ซึ่งพอจะจำแนกได้เป็นแบบแต่เก่าก่อน กับ แบบในปัจจุบัน

การลงแขกแต่เมื่อเก่าก่อนนั้นต่างกับการลงแขกในปัจจุบันนี้ค่อนข้างมาก   แต่ก่อนนั้น มันเป็นกิจกรรมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานทางด้านจิตใจที่มีทั้งการให้ การรับ และการต่างตอบแทน  เป็นเรื่องในบริบทของกิจกรรมต่างตอบแทนที่ไม่มีเรื่องของปริมาณและคุณภาพเข้ามาเกี่ยวข้องโดยแท้จริง    ต่างกับในปัจจุบันที่การลงแขกดูจะได้เพิ่มลักษณะของการคิดที่ผนวกเรื่องของปริมาณ และในเชิงของ value เข้าไปด้วย คือมีการบวก ลบ คูณ หาร ในเรื่องต่างๆที่เป็นบวกหรือเป็นลบ ไม่ว่าจะเป็นในเชิงของ tangible หรือ intangible
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 22 พ.ย. 20, 20:43

ขอแยกเป็นกระทู้ใหม่ได้ไหมคะ " ชาวบ้านกับการทำนาข้าว" ? 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 23 พ.ย. 20, 17:09

อาจารย์แยกกระทู้ให้แล้ว ก็ OK ครับ  ยิงฟันยิ้ม    แต่ต้องขอออกตัวเสียก่อนว่า ไม่ได้มีความรู้อะไรเป็นแก่นสารมากนักนะครับ

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 23 พ.ย. 20, 18:28

ขอเริ่มต้นเรื่องราวกันดังนี้

แต่ก่อนนั้น ชาวบ้านส่วนมากจะมีที่นาของตนเอง   ชาวบ้านบางคนใช้การทำนาเพื่อเป็นการหารายได้หลักสำหรับการเลี้ยงครอบครัวในแต่ละปี โดยหารายได้เสริมจากทำงานในเรื่องอื่นๆ การเรียกกลุ่มคนที่ทำมาหากินในลักษณะนี้ว่ามีอาชีพ 'ชาวนา' น่าจะเป็นถูกต้องมากที่สุด     แต่ชาวบ้านบางคนหารายได้หลักจากการทำงานในด้านอื่นๆ การทำนาก็เลยกลายเป็นอาชีพเสริมหรือเป็นการทำกินเอง หากได้ผลมากเกินพอก็จะขายเพื่อเสริมรายได้ กลุ่มคนพวกนี้น่าจะเรียกว่ามีอาชีพ 'อิสระ' หรือมีอาชีพ 'รับจ้าง' 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 23 พ.ย. 20, 19:11

ลองมาดูชื่อเรียกของนาต่างๆ  ที่คุ้นหูกันจริงๆสำหรับคนในเมืองก็ดูจะเป็นนาปรัง ซึ่งก็คือข้าวที่ปลูกนอกฤดูกาลของการทำนาประจำปีที่เรียกว่านาปี ซึ่งจะทำกันในช่วงฤดูฝน  นาปรังทำได้ในเขตพื้นที่ชลประทาน สำหรับนาปีนั้นก็มีชื่อเรียกกันแผลงๆออกไปเช่น นาน้ำฝน นาน้ำฟ้า    ส่วนนาดำกับนาหว่านนั้น ไปเกี่ยวกับเรื่องของวิธีการปลูกข้าว ซึ่งหากใช้วิธีการเอาต้นกล้าข้าวมาปลูกก็เรียกว่านาดำ หากใช้วิธีการหว่านเมล็ดข้าวก็เรียกว่านาหว่าน     แต่ในปัจจุบันนี้ดูจะมีวิธีการปลูกแบบอื่นๆเพิ่มเติมเข้ามา เช่น ด้วยวิธีการการหยอดเมล็ดข้าว เรียกว่านาหยอด และด้วยวิธีการโยนกล้าข้าว เรียกว่านาโยน    การทำนาด้วยวิธีการหยอดเมล็ดข้าวนี้ หากเป็นการทำนาในพื้นที่ลาดเอียงเชิงเขาและใช้ข้าวพันธุ์เมล็ดสั้น(คล้ายข้าวญี่ปุ่น) ก็จะเรียกว่าการปลูกข้าวไร่ 

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 24 พ.ย. 20, 18:12

วิธีการทำนาแบบต่างๆที่กล่าวถึงนั้น ไปเกี่ยวข้องกับลักษณะของพื้นที่ๆใช้ทำนาด้วย  นอกจากนั้นแล้ว แต่เดิมก็อาจจะเป็นการทำนาแบบหนึ่ง แต่ต่อมาสิ่งแวดล้อมต่างๆที่เอื้อต่อการทำนาได้เปลี่ยนไป วิธีการทำนาก็เลยเปลี่ยนไปด้วย ซึ่งเท่าที่ผมได้เคยเห็นพัฒนาการต่างๆตลอดช่วงระยะเวลาของการเดินทางทำงาน เห็นว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดพัฒนาการต่างๆก็คือเรื่องของน้ำและการชักน้ำเข้าพื้นที่ทำนา ซึ่งก็เป็นที่ทราบดีกันอยู่แล้ว   เพียงแต่ผมคิดว่าได้เห็นภาพในอีกมิติหนึ่งในด้านการเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดระหว่างเรื่องราวของธรรมชาติกับระบบเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละชุมชนท้องถิ่น



บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 24 พ.ย. 20, 18:54

ขอเริ่มด้วยการปูพื้นด้วยเรื่องราวเชิงวิชาการสักเล็กน้อย

พื้นที่ๆใช้ทำนาข้าวนั้นน่าจะพอจำแนกออกได้เป็น 5 กลุ่มพื้นที่ คือ กลุ่มแรก คือพื้นที่ๆน้ำท่วมถึง (flood plain) ของแม่น้ำสายใดสายหนึ่งหรือเป็นพื้นที่ร่วมกันของแม่น้ำหลายสาย   กลุ่มที่สอง คือพื้นที่ๆเรียกว่าตะพักลำน้ำระดับต่ำ (lower terrace) ของแม่น้ำสายใดๆ  กลุ่มที่สามคือพื้นที่ๆเรียกว่า ตะพักลำน้ำระดับสูง (higher terrace) ของแม่น้ำสายใดๆ  กลุ่มที่สี่ คือพื้นที่ๆเรียกว่าที่ราบในหุบเขา (upland)  และกลุ่มที่ 5 ก็คือพื้นที่ลาดเอียงเชิงเขา (slope land)   

ตะกอนดินทรายและเศษวัตถุอินทรีย์ต่างๆที่น้ำพัดมามาตกทับถมกันจนเป็นพื้นที่ราบเหล่านี้ เรียกกันรวมๆว่า alluvial deposits  ก็เลยเรียกพื้นที่ราบที่เกิดขึ้นในลักษณะนี้ในองค์รวมว่า alluvial plain   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 24 พ.ย. 20, 19:23

จะขอกล่าวถึงอีก 2 เรื่อง คือ ลักษณะการแผ่กระจายของการตกตะกอนที่ทับถมกันจนเป็นดินในบริเวณต่างๆ  และองค์ประกอบของเนื้อดินในบริเวณต่างๆใน alluvial plain     

จากนั้นจึงจะผูกเรื่องราวที่ดูกระท่อนกระแท่นมาตั้งแต่แรกเข้าด้วยกัน  ก็อาจจะได้เห็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่น่าสนใจ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 25 พ.ย. 20, 18:27

ตะกอนที่มากับน้ำนั้น จะมีขนาดใหญ่หรือขนาดเล็กเช่นใดก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของน้ำที่พัดพามันมา เรียกกันว่า river competence  แต่จะไม่เล่าขยายความลึกลงไป   เอาแต่เพียงหลักว่า น้ำแรงก็สามารถพัดพาตะกอนกอนขนาดใหญ่ให้เคลื่อนที่ลงไปตามน้ำได้  น้ำขุ่นก็คือน้ำมีตะกอนขนาดเล็กแขวนลอย (suspend particle) อยู่มาก ยิ่งมีความขุ่นมากขึ้นตัวมันเองก็จะกลายเป็นน้ำที่มีความหนาแน่น (dense) สูงมากขึ้น ยังผลให้มันสามารถอุ้ม/พัดพาตะกอนที่มีน้ำหนักมากกว่าปกติได้มากขึ้น  และเมื่อมีมากจนมีลักษณะเป็นของเหลวที่เรียกว่าโคลน มันก็จะสามาถอุ้ม/พัดพาของชิ้นใหญ่ๆหนักๆให้ลงมาทำลายสิ่งที่ขวางอยู่ข้องหน้ามัน ก็เรียกว่า mud slide ดังเช่นที่เคยเกิดที่กะทูน อ.พิปูน นครศรธรรมราช (แถวๆ พ.ศ.2530 ??)   

น้ำที่มีความหนาแน่นสูงในธรรมชาติก็เกิดได้จากปริมาณสารที่ละลายอยู่ในตัวของมันอีกด้วย เช่น น้ำทะเลก็จะมีพวกเกลือ sulfate, chloride, carbonate และอื่นๆละลายอยู่ในตัวมัน น้ำทะเลมีเกลือละลายอยู่ในตัวมันประมาณ 35 กรัมต่อลิตร   แต่น้ำของ dead sea มีเกลือละลายอยู่ในตัวของมันประมาณ 342 กรัมต่อลิตร คนจึงลอยตัวได้  เช่นกันการลอยคอในน้ำทะเลซึ่งมีความหนาแน่นสูงก็จะออกแรงน้อยกว่าลอยคอในน้ำจืด
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 25 พ.ย. 20, 19:23

ตะกอนที่มากับน้ำนั้น ยิ่งมาจากต้นกำเนิดที่ไกล แต่ละชิ้นก็จะยิ่งเล็กลงและมีความมนมากขึัน  และยิ่งมาจากต้นตอที่เป็นหินเนื้อไม่สด ก็จะยิ่งได้ตะกอนแต่ละชิ้นที่มีความเป็นแร่แต่ละตัวมากขึ้น โดยเฉพาะแร่ quartz หรือเขี้ยวหนุมาณ   แร่ feldspar หรือหินฟันม้า   แร่ micas (พวกที่มีลักษณะเป็นเกล็ดวาว)   และพวก clay minerals หรือแร่ดินต่างๆ   ไม่นับรวมพวกที่เป็นอินทรีย์เคมีทั้งหลาย (organic matters) หรือจะเรียกว่าพวก hydrocarbon ก็ได้

ที่ต้องขยายความเรื่องนี้ก็เพราะ ตะกอนเหล่านี้ (ผนวกกับบริเวณที่ตะกอนเหล่านี้ตกทับถม ซึ่งจะได้เสวนาต่อไป) ก็คือองค์ประกอบของตะกอนที่ไปตกสะสมจนทำให้เกิดเป็นดินที่มีลักษณะจำเพาะและมีคุณภาพเพียงพอที่จะใช้ในการทำนา     ภาพ (portrait) ที่แสดงรูปทรงของผืนนาในพื้นที่ต่างๆที่เราเห็นในภาพถ่ายดาวเทียมของอากู๋และเรื่องอื่นๆทางสังคมและเศรษฐกิจอีกหลากหลายก็มีส่วนเกี่ยวโยงด้วย 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 25 พ.ย. 20, 20:15

แร่ quartz ในบางโครงสร้างก็ให้ silica ซึ่งเป็นที่ต้องการของพืช   แร่ feldspar มีหลายชนิด เป็นแร่ที่มีธาตุ magnesium potassium และ sodium   แร่ mica มีหลายธาตุอยู่ในตัวมัน     สำหรับ clay minerals นั้นก็ทำตัวคล้ายเป็นฟองน้ำค่อยๆคายแร่ธาตุให้แก่พืช 

ลองลงลึกไปดูแร่ดินกัน เรื่องของแร่ดินนั้นมีมากเสียจนต้องเรียนกันเป็นอีกวิชาหนึ่งแยกออกไปเลย    แต่เอาแบบง่ายๆเพียงว่าแร่ดินแบ่งได้ออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 2 พวกตามคุณสมบัติทางกายภาพ คือพวกที่ไม่ขยาย(พอง)ตัวเมื่อชื้น กับพวกที่ขยายตัว (พองตัว)   สำหรับพวกที่พองตัวได้นั้นก็ยังแยกออกเป็น 2 พวก คือ พวกที่ขยายตัวได้สูงสุดประมาณ 8 เท่า กับพวกที่ขยายได้ถึงประมาณ 14 เท่า 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 26 พ.ย. 20, 19:21

ก็มาถึงเรื่องของเส้นทางการไหลของแม่น้ำตามธรรมชาติ 

ขอเปรียบเทียบด้วยการเอาแผ่นไม้อัดทั้งแผ่นมาวางพาดกับขอบโต๊ะ โดยให้ปลายขอบด้านหนึ่งอยู่ที่พื้น อีกขอบด้านหนึ่งวางอยู่ที่ขอบโต๊ะ  เอาเชือกมาเส้นหนึ่ง ผูกปลายด้านหนึ่งไว้ด้วยลูกกุญแจ แล้วค่อยๆหย่อนลูกกุญแจนั้นลงไปบนแผ่นไม้อัด ก็จะเห็นว่าในช่วงแรกเชือกค่อนข้างจะเป็นเส้นตรง จากนั้นก็จะเริ่มคดไปมาบ้าง จนเมื่อลูกกุญแจถึงปลายสุดของแผ่นไม้อัด (ถึงพื้น)เชือกที่เราปล่อยลงไปเรื่อยๆก็จะตวัดไปมา   ก็เป็นภาพคล้ายกับสิ่งที่ทางน้ำในธรรมชาติกระทำ ในช่วงต้นทาง ก็จะกัดเซาะในทางลึก ได้ร่องน้ำที่เป็นรูปตัว V (ของธารน้ำแข็ง_fjord_จะได้เป็นรูปตัว U)  เมื่อความลาดชันลดลง การกัดเซาะก็จะเริ่มออกไปทางด้านข้าง ร่องน้ำก็จะกว้างมากขึ้น  เมื่อเข้าสู่ที่ราบทางน้ำก็จะแกว่งคดโค้งไปมา (meandering) ซึ่งเมื่อปริมาณน้ำในแต่ละปีมีมากน้อยต่างกัน ก็จะทำให้เกิดการกัดเซาะที่มากน้อยต่างกัน บางทีก็เกิดการตัดข้ามคุ้งน้ำ กลายเป็นทางน้ำสายใหม่ (cutoff chute)  แม่น้ำสายเก่ถูกตัดขาดกลายเป็น oxbow lake    เมื่อระดับน้ำทะเลทั่วโลกเกิดการลดระดับลง (eustatic sea-level change) หรือแผ่นดินยกตัวสูงขึ้น  การกัดเซาะของแม่น้ำก็เปลี่ยนไปทั้งการกัดเซาะทางลึกและทางด้านข้าง  ทำให้เกิดแผ่นดินเดิมที่ตกค้างอยู่กลายเป็นที่พื้นที่ราบที่มีระดับสูงกว่าระดับที่ราบในปัจจุบัน ก็เรียกพื้นที่ราบที่มีระดับสูงกว่านั้นว่า terrace   

คิดว่าพอแล้วที่จะเป็นพื้นฐานสำหรับเรื่องอื่นๆครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 26 พ.ย. 20, 20:19

ท้ายนี้ก็เป็นเรื่องของภาพตัดขวางของแม่น้ำที่ไหลอยู่ในพื้นที่ราบ (alluvial plain)

ภาพตัดขวางของแม่น้ำตามธรรมชาติที่ไหลอยู่ในพื้นที่ราบนั้นมีลักษณะคล้ายตัว M ที่เหยียดขากว้างออกไป   ซึ่งพอจะเปรียบเทียบได้ว่า ทรงตัว v ที่อยู่ตรงกลางนั้นคือตัวแม่น้ำ ปลายด้านบนของตัว v คือคันคลอง      เมื่อถึงฤดูน้ำหลากล้นตลิ่ง น้ำจะไหลข้ามคันคลองออกไปทั้งสองด้าน    น้ำในแม่น้ำที่ไหลมาด้วยความแรง พาตะตอนหลากหลายขนาด เมื่อเอ่อไหลข้ามตลิ่ง ความเร็วของกระแสน้ำลดลง พวกตะกอนขนาดใหญ่ก็จะตกอยู่ในบริเวณที่เป็นคันคลอง ยิ่งไหลข้ามไปเป็นระยะทางมากขึ้น ตะกอนดินทรายก็ถูกคัดขนาดมากขึ้น จนในที่สุดก็เหลือแต่ตะกอนขนาดเล็กมากๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 27 พ.ย. 20, 08:13

alluvial plain


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 12
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.039 วินาที กับ 20 คำสั่ง