เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 12
  พิมพ์  
อ่าน: 8268 ชาวบ้านกับการทำนาข้าว
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 31 ธ.ค. 20, 20:15

ค่อยต่อกันหลังปีใหม่ครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 31 ธ.ค. 20, 21:11

ก่อนจะสิ้นปีเก่า 

ขอขอบคุณท่านทั้งหลายที่ได้ติดตามเรื่องราวของกระทู้นี้และกระทู้อื่นๆที่ได้ตั้งขึ้นมา เรื่องราวทั้งหลายเหล่านั้นได้มุ่งหวังจะให้เป็นเพียงกระจกที่สะท้อนถึงความมีอยู่จริงในวิถีชีวิตของคนไทย เสี้ยวหนึ่งเท่าที่คนๆหนึ่งได้มีโอกาสได้สัมผัสมา
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 31 ธ.ค. 20, 21:12

เข้าสู่ปีใหม่

เนื่องในวาระเข้าสู่พุทธศักราชใหม่ ก็ขออาศัยอำนาจและบารมีของคุณงามความดีที่ท่านทั้งหลายได้กระทำชอบและได้ประพฤติขอบที่ได้สั่งสมมา ได้ยังผลให้ท่านทั้งหลายได้ประสพแต่ความสุขความสมบูรณ์ทางโลกียสุขและทางใจ ปราศจากทุกข์และโรคภัยทั้งหลาย ตลอด พ.ศ.2021 และตลอดไป
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 04 ม.ค. 21, 18:56

สวัสดีปีใหม่ทุกท่านครับ   

เข้าสู่ปี พ.ศ.ใหม่ ก็หมายความว่าต่างคนต่างก็มีอายุเพิ่มมากขึ้นอีก 1 ปี ต่างคนต่างก็ก้าวเข้าไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่แปลกใหม่ต่างออกไปเดิม ไปในทางที่เพิ่มขึ้นบ้าง ในทางที่ลดลงบ้าง บ้างก็ในเรื่องทางสุขภาพ บ้างก็ในเรื่องเศรษฐกิจ บ้างก็ในเรื่องทางสังคม     

การครองตนอย่างมีสติ อย่างมีความเข้าใจ อย่างมีความเหมาะสมกับสภาพและสภาวะการณ์ต่างๆจึงมีความจำเป็น และมีความสำคัญอย่างยิ่งเพื่อให้เกิดความสุขทางใจ ดีกว่าที่จะไปเอาเรื่องทั้งหลายมาผูกสัมพันธ์กันจนทำให้ให้เป็นเรื่องทุกข์ มืดมนไปเสียทุกๆด้าน

ผมเองอยู่ในวัยครึ่งทางระหว่างเลขเจ็ดกับเลขแปด ยังพอจะเขียนเล่าเรื่องราวอะไรๆที่เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์แก่คนหมู่มากได้ ก็ทำ  อย่างน้อยก็เป็นการบอกเล่าประสบการณ์จริงที่ได้พบมา ซึ่งคิดเอาเองว่าอาจจะมีการจับเอาความในบางเรื่องราวหรือบางจุดเอาไปแสวงหา/ค้นคว้า ขยายเป็นความรู้ในเรื่องอื่นใดเพิ่มเติม   ก็ต้องขออภัยที่อาจจะมีการเขียนผิด/สะกดผิด  ส่วนหนึ่งก็มาจากวัย  สมองส่วนที่เป็น ROM ก็ยังพอใช้งานได้อยู่ แต่ส่วนที่เป็น RAM และ Cache นั้นคงจะทำงานไม่ค่อยจะสมบูรณ์นัก
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 04 ม.ค. 21, 19:30

ได้กล่าวถึงภาพที่เมื่อนำมาผนวกกันแล้วจะเป็นภาพในองค์รวมได้ว่า ในการทำนาแต่ละปีนั้น คุณภาพของดินในท้องนาก็จะเปลี่ยนไป  นาที่อยู่ในพื้นที่รับน้ำ(catchment area)ของต้นทางแม่น้ำจะสูญเสียปุ๋ยธรรมชาติในทุกๆปี ซึ่งก็จะถูกนำพาไปตกตะกอนเพิ่มเติมให้กับนาในพื้นที่ราบลุ่ม(floodplain area)ในทุกๆปี    ด้วยสภาพดังกล่าวนี้ ก็จึงควรจะต้องมีการปรับปรุงดินที่ใช้ทำนาในพื้นที่ๆดินท้องนามีสภาพเสื่อมโทรมลง     

ลองนึกถึงวิธีการว่าจะทำเช่นใดได้บ้าง 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 05 ม.ค. 21, 19:05

การปรับปรุงหรือการฟื้นฟูสภาพดินนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ง่ายนักและก็เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา คนส่วนมากก็จึงคิดไปถึงการใช้ปุ๋ย ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายที่สุด     ก็น่าเสียดายที่เรื่องการปรับปรุงดินนี้มีการศึกษาอย่างมากมายในทุกระดับปริญญา แล้วก็มีเอกสารเผยแพร่อยู่ในสื่อที่เป็นสาธารณะอยู่มากมายเช่นกัน  หากแต่เพียงนักวิชาการจะมีความพยายามในการแปลความหรือย่อยความให้ออกมาเป็นภาษาและเรื่องราวแบบง่ายๆสำหรับผู้คนที่มีข้อจำกัดในเชิงของการสื่อสารทางวิชาการ ก็จะเป็นเรื่องที่จะมีผู้นำไปสู่ปฎิบัติ อันจะยังผลให้เกิดการเกษตรที่มีความสมดุลย์ระหว่างการใช้กระบวนการทางธรรมชาติ(เป็นหลัก) กับการใช้วัสดุทางวิทยาศาสตร์เพียงน้อยนิดเพื่อช่วยสนับสนุน  และเปลี่ยนตรรกะจากเป้าประสงค์ในทางปริมาณไปเป็นในทางคุณภาพ     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 05 ม.ค. 21, 19:16

แท้จริงแล้ว ในปัจจุบันนี้ การทำนาในหลายพื้นที่ในระดับตำบลหรือหมู่บ้านก็มีการเปลี่ยนแปลงตรรกะจากเพื่อการทำให้ได้ปริมาณมากๆไปเป็นการทำให้ได้ข้าวที่มีคุณภาพสูงขึ้นและมีมาตรฐาณที่คงที่มากขึ้น    แต่จะขอขยายความเรื่องการปรับปรุงหรือการฟื้นฟูสภาพดินที่ค้างไว้เสียก่อน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 05 ม.ค. 21, 20:44

ผมมิใช่นักวิชาการเรื่องดิน แต่ต้องมีความรู้ส่วนหนึ่งเกี่ยวพันในส่วนที่เกี่ยวกับการหาแหล่งทรัพยากรเพื่อใช้ในการทำปุ๋ย NPK   เมื่อรู้น้อยและแก่วัดมากขึ้นในเรื่องของ Geochemistry  การรู้แต่เพียงว่าให้มันมีอยู่แต่ในดินก็เพียงพอแล้วมันก็มิใช่ มันก็ต้องมีต่อไปว่ามันควรจะต้องอยู่ในรูปของอินทรีย์เคมีหรืออนินทรีย์เคมี รวมไปถึงกระบวนการต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่นการสลับสับเปลี่ยนของธาตุที่มีขนาดของอะตอมใกล้ก้น การแปรเปลี่ยนของสารประกอบในสภาวะการณ์ต่างๆ (EH, pH, Temp.)   ต่างๆเช่นนี้ที่อยากจะเห็นมีการอธิบายแบบง่ายสุดๆให้กับชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน  ซึ่งก็เชื่อว่าหากรู้จริงอย่างค่อนข้างจะถ่องแท้ ก็จะเป็นเรื่องที่ไม่ยากนักในการถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 06 ม.ค. 21, 09:58

เข้ามาสวัสดีปีใหม่ค่ะ  คุณตั้ง  ปีใหม่ปีนี้คงไม่มีพรอะไรดีกว่าขอให้สุขภาพแข็งแรง ปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บทุกชนิดนะคะ

catchment area


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 06 ม.ค. 21, 17:59

สวัสดีปีใหม่ครับ อาจารย์  ขอให้อาจารย์มีสุขภาพที่แข็งแรงและปราศจากโรคภันทั้งหลายเช่นกัน และขอให้ประสบแต่ความสุขและความสวัสดีมีชัยในเรื่องต่างๆทั้งหลาย ครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 06 ม.ค. 21, 19:41

การปรับปรุงดินน่าจะแยกออกได้เป็นในสองเรื่องใหญ่ๆ คือการปรับปรุงในเชิงกายภาพ และการปรับปรุงในเชิงของความอุดมสมบูรณ์ของดิน (ปุ๋ยและแร่ธาตุ)   ในเชิงของกายถาพนั้นจะไม่ค่อยจะเห็นว่ามีการทำกันมากนักด้วยเหตุว่า ผืนดินที่ทำเกษตรกรรมอยู่นั้นได้มีการเลือกและมีการปรับให้เหมาะสมตั้งแต่ช่วงแรกๆของการใช้ประโยชน์แล้ว  หากจะมี ที่เด่นชัดก็จะเป็นเรื่องของการเปลี่ยนรูปแบบของการใช้ประโยชน์ เช่น เปลี่ยนไปเป็นการปลูกพืชไร่ หรือพืชสวน

สำหรับการปรับปรุงในเชิงของความอุดมสมบูรณ์นั้น ดูจะจำแนกออกได้เป็นสามรูปแบบ คือแบบแต่เก่าก่อน แบบผสมผสานกลางเก่ากลางใหม่ และแบบพึ่งพาสารเคมี 

แบบแต่เก่าก่อนนั้น มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไปตามกระบวนการของธรรมชาติ   เมื่อทำนาเสร็จแล้วก็เลี้ยงวัวเลี้ยงควายในพื้นที่นา ให้มันกินตอซังข้าวและฟางข้าวที่ได้นวดกันในพื้นที่นาภายหลังที่ได้เก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว ก็จะได้ปุ๋ยจากมูลของวัวควายเหล่านั้นตามสมควร  เมื่อถึงฤดูกาลจะทำนาครั้งใหม่ ก็จะเผาตอซังข้าว ได้เถ้าถ่านที่มีฤทธิเป็นด่างไปช่วยปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินในนา   ก็เลยมีประเด็นน่าสนใจโยงเข้ามาสู่เรื่องของ amorphous silica ที่มีอยู่ในแกลบและซังข้าว ฮืม  ก็จะค่อยๆว่ากันไปนะครับ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 06 ม.ค. 21, 20:47

เรื่อง Rice Husk Silica หรือ Rice Hulls Silica หรือเรื่องของแกลบและขี้เถ้าของแกลบข้าวซึ่งมี Amorphous Silica นี้  ได้มีการศึกษาวิจัยกันอย่างกว้างขวาง มีเอกสารรายงานทางวิชาการเผยแพร่อยู่มากมายทั้งในห้องสมุดของมหาวิทยาลัยชั้นนำและตามสื่อ on line ต่างๆ  มีทั้งเอกสารการศึกษาแบบ hard core  แบบในเชิงวิชาการง่ายๆ   และในเชิงทางเศรษฐกิจ      เรื่อง Amorphous Silica จากแกลบนี้ ดูเผินๆก็ไม่น่าจะมีความสำคัญใดๆเลย แต่มันก็มีมากพอที่ทำให้เคยมีนิติบุคคลในยุโรปสนใจสอบถามและเข้ามาประเมินปริมาณโดยรวมที่มีในแต่ละปีของเรา   ก็ลองหาอ่นดูนะครับและลองส่องเข้าไปดูในเรื่องของ Material Sciences ด้วย

ผมออกนอกเรื่องไปไกลอีกแล้ว  ยิงฟันยิ้ม   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 07 ม.ค. 21, 18:37

amorphous silica ก็คือ silica gel ที่ใช้ดูดความชื้นในขวดยาและในกล่องผลิตภัณฑ์สินค้าเครื่องใช้ต่างๆนั่นเอง  แต่หากเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของพืชก็จะเป็นเรื่องในลักษณะที่กลับทางกัน คือเป็นการไปช่วยอุ้มความชื้นให้กับรากและดินให้คงมีอยู่ตลอดเวลา ซึ่งน่าจะเป็นการช่วยทำให้พืชดูดซับอาหารและแร่ธาตุได้ดีขึ้นตลอดเวลา

ก็เลยคงจะไม่แปลกนักที่การเพาะชำพืชต่างๆจึงนิยมใช้ขี้เถ้าแกลบ       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 07 ม.ค. 21, 19:58

amorphous silica อีกแหล่งหนึ่งที่จะได้มา คือได้มาจากมูลของใส้เดือนที่กินพวกซากพืช  ซึ่งเท่าที่ได้เคยอ่านเอกสารทางวิชาการมาพอสมควร นัยว่ามีใส้เดือนบางสายพันธุ์ที่จะย่อยสลายและถ่ายมูลที่มีประโยชน์นี้ได้มากเป็นพิเศษ  ท่านที่ชอบปลูกต้นไม้จะรู้จักดินมูลใส้เดือนนี้และผลของการใช้ได้เป็นอย่างดี    สำหรับชาวบ้านก็เพียงแต่ดูว่า เมื่อขุดดินในนาแล้วพบใส้เดือนอยู่มากน้อยเพียงใด หากอุดมไปด้วยใส้เดือนก็แสดงว่าดินมีความอุดมสมบูรณ์ดี   

ก็น่าเสียดายที่เป้าหมายของการทำนาข้าวดูจะถูกครอบไปด้วยเรื่องในทางปริมาณมากกว่าในด้านคุณภาพ   ถูกวัด ถูกคัดกรอง ถูกจัดเป็นการแข่งขันกันด้วยปริมาณผลผลิต ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าเป็นการแข่งขันกันแบบแยกกันเป็นกลุ่มสำหรับแต่ละสภาพและสภาวะแวดล้อมที่ต่างกันมากน้อยเพียงใด (ในเขต/นอกเขตชลประทาน  นาลุ่ม นาดอน นาดำ นาหว่าน นาหยอด ฯลฯ)    ในทางคุณภาพนั้นก็มีในเรื่องของความสมบูรณ์และขนาดของเม็ดข้าวเป็นเรื่องหลัก   เหล่านี้ ในมุมกลับก็เสมือนเป็นการส่งเสริมหลักนิยมให้ใช้ปุ๋ยและสารเคมีต่างๆ ซึ่งส่งผลให้กระบวนการชีวะเคมีทางธรรมชาติต้องสะดุดลงและเปลี่ยนแปลงไป     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 07 ม.ค. 21, 20:35

สัตว์ที่เกือบจะไม่เห็นในผืนนาอีกเลยในปัจจุบันนี้ ในช่วงทำนาก็จะมีอาทิ ปลิง หอยโข่ง ปลากระดี่ ปลาช่อน หิ่งห้อย แมลงปอ ปูนา นกกระยาง(ขาว/แดง) นกกวัก ฯลฯ   ในช่วงฤดูว่างนาก็จะมีอาทิ ใส้เดือน จิ้งกุ่ง(จิ้งโกร่ง) แมงขี้เบ้า (ด้วงขี้ควาย) นกคุ้ม นกกระทา นกกะปูด นกเขาต่างๆ(เขาใหญ่ เขาเขียว เขาเปล้า เขาไฟ) นกแซงแซว (นานๆจะเห็นสักครั้ง) ฯลฯ     เหล่านี้ดูจะเป็นผลโยงใยมาจากการใช้สารเคมีพวก pesticide และ herbicide
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 12
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 19 คำสั่ง