เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 12
  พิมพ์  
อ่าน: 8264 ชาวบ้านกับการทำนาข้าว
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 08 ธ.ค. 20, 19:22

ก็อาจจะเป็นเรื่องแปลกอยู่นิดนึงที่บรรดาผานของคันไถต่างๆ ไม่ว่าจะที่เป็นชุดติดอยู่ท้าย farm tractor หรือที่หัวคันไถที่ใช้พรวนดินต่างๆนั้น จะถูกจัดทำหรือติดตั้งให้พลิกดินไปทางด้านขวา
จึงทำให้การพรวนดินในผืนนามักจะเริ่มต้นโดยการหมุนวนไปทางขวาตามเข็มนาฬิกาตามขอบคันนา ซึ่งจะทำเฉพาะเมื่อเริ่มการไถนา โดยนัยก็คือกำหนดขอบเขตของผืนนาแต่ละบิ้งและการจัดคันนา  จากนั้นก็จึงจะไถหมุนวนไปทางซ้ายทวนเข็มนาฬิกา ซึ่งโดยนัยก็คือจะได้ไม่ต้องไปเหยียบย่ำดินที่ได้รับการพรวนแล้ว  ส่วนคำว่าปัดเข้าและปัดออกนั้นมันอยู่ในเรื่องของเทคนิคในการไถนาซึ่งมีอยู่หลากหลายที่ชาวบ้านเขาจะเลือกใช้ตามลักษณะและสภาพของผืนนา รวมทั้งอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการไถ   หาข้อมูลต่างๆได้จากเน็ตมากมายเยอะแยะเลยครับ

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 09 ธ.ค. 20, 18:33

ปัดเข้า กับ ปัดออก โดยพื้นฐาน   การไถปัดออกก็คือ การไถให้ดินพลิกออกห่างไปจากตัวคันนา  ส่วนไถปัดเข้าก็คือ การไถพลิกดินไปในทิศทางของคันนา
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 09 ธ.ค. 20, 19:27

การไถนาของชาวบ้านแต่ก่อนโน้น จะใช้แรงงานวัวหรือแรงงานควาย ก็เป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับสภาพของพื้นที่ ซึ่งส่วนมากแล้วจะนิยมใช้วัวกัน   ส่วนควายนั้นจะมีใช้กันเฉพาะในพื้นที่ๆค่อนข้างจะลุ่ม คือมีบริเวณใกล้ๆที่เป็นแอ่งน้ำหรือมีจุดที่ดินฉ่ำน้ำ ควายสามารถจะลงไปแช่ตัวและคลุกโคลนได้  ควายไม่ทนแดดเท่าวัว ในขณะที่วัวที่ไม่ชอบพื้นที่ดินฉ่ำน้ำ  ที่เคยเห็นแปลกออกไปก็แถว จ.ตาก ในพื้นที่บนเส้นทางรถสาย ตาก - สุโขทัย ซึ่งเป็นพื้นที่ค่อนข้างจะแห้งแล้ง แต่ชาวบ้านใช้ควายทั้งในการเทียมเกวียนและไถนา     และที่เคยเห็นแปลกที่สุดก็คือการใช้แรงงานช้าง เคยเห็นก็อยู่ในพื้นที่ของ จ.กาญจนบุรี เป็นหมู่บ้านชาวกะเหรี่ยง   ซึ่งเท่าที่รู้ก็มีอีกแห่งหนึ่งในพื้นที่ของ จ.แม่ฮ่องสอน

การใช้แรงงานวัวในการไถนา ก็มีอยู่ 2 รูปแบบ คือ ใช้วัวตัวเดียวหรือใช้วัวคู่ 2 ตัว  สำหรับแรงงานควายนั้นจะเป็นการใช้ควายตัวเดียว   ทั้งหลายนี้ก็เลยทำให้มีรูปทรงของแอกและความยาวของก้านคันไถที่แตกต่างกันออกไป  รวมทั้งการใส่ art work ลงไปสำหรับรูปร่างและความอ่อนช้อยต่างๆ ไม่นับรวมถึงการเลือกใช้ไม้ชนิดใด 

ในปัจจุบันนี้ คันไถที่ทำด้วยไม้ ได้เปลี่ยนสภาพมาเป็นของสะสมสำหรับผู้นิยมสะสมของเก่า ซึ่งก็ดูแปลกๆที่มักจะไม่มีผานไถที่ทำด้วยเหล็กหล่อติดอยู่ด้วย นัยว่าถูกถอดแล้วแยกขายเป็นของอีกชิเก่าอีกชิ้นหนึ่ง   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 10 ธ.ค. 20, 18:21

แต่ก่อนโน้น การทำนาของชาวบ้านกะเหรี่ยงที่อยู่ห่างไกลและที่อยู่รวมกันเป็นหมู่บ้านเล็กๆนั้น จะใช้พื้นที่ราบเท่าที่มีอยู่ใกล้ๆหมู่บ้าน เป็นลักษณะของนาผืนใหญ่ผืนเดียว ไม่กระจายไปเป็นแต่ละหย่อม หัวคันไถ(ผาน)ก็เป็นไม้หัวแหลมคล้ายหัวลูกกระสุนปืน  การไถจึงดูจะเป็นลักษณะของการพรวนดินแบบตื้นๆเสียมากกว่าจะเป็นการไถเพื่อการพลิกดินมาตาก  น่าเสียดายที่การทำงานในพื้นที่ห่างไกลของผมเป็นลักษณะของการเดินสำรวจไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง แต่ละจุดอาจจะแวะพักค้างแรมได้วันหรือสองวัน  ก็เลยไม่มีโอกาสได้เห็นว่ากิจกรรมอื่นใดอย่างต่อเนื่อง ที่ขยายความมาได้นี้ก็เป็นเพียงเอาสิ่งที่ได้เห็นในแต่ละช่วงมาผูกกันให้เป็นภาพเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม มันก็มีกระบวนความรู้เพื่อที่จะให้ได้ผลผลิตที่ดีที่สุด  การทำนาในพื้นที่ลักษณะดังกล่าวดูจะเรียกว่าเป็นการทำนาดอน อาศัยน้ำฝนและความชุ่มชื้นของดินเป็นหลัก  การปลูกข้าวก็ใช้วิธีการหยอดเมล็ดข้าวลงหลุมแล้วกลบ การทำหลุมก็ใช้ไม้ไผ่กระทุ้งให้เป็นหลุม หยอดลงไปแล้วก็ใช้เท้าเกลี่ยดินปิด ข้าวที่ปลูกจะเป็นข้าวเมล็ดสั้นที่เรียกว่าข้าวไร่ (ของอร่อย คล้ายกับข้าวญี่ปุ่น แต่มีความหอมน้อยกว่า ยกเว้นแต่ว่าจะเป็นข้าวใหม่จริงๆ)   ในด้านของผลผลิตนั้น ผมก็เห็นว่ามีกินกันอย่างพอเพียง ไม่เคยได้ยินคำว่าได้ข้าวไม่พอกิน (หรือจะมีแต่ไม่ทราบก็ได้)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 10 ธ.ค. 20, 19:11

ผมเคยเห็นชาวบ้านทำทางน้ำยกระดับข้ามบางช่วงของหุบหรือพื้นที่ต่ำ (aqueduct) พบมากในภาคเหนือแถวลำปาง แพร่ เชียงราย ซึ่งส่วนมากจะใช้ไม้กระดานทำ  พวกบ้านป่าและกะเหรี่ยงก็ทำกัน แต่ใช้ไม้ไผ่เป็นโครงและใช้ดินเป็น lining      ที่เคยเห็นและค่อนข้างจะคุ้นเคยอีกวิธีการหนึ่งในการนำน้ำเข้าพื้นที่เกษตร ก็คือ การใช้ หลุก (ระหัดวิดน้ำ ?) จะพบได้เฉพาะในพื้นที่ๆมีแม่น้ำและน้ำไหล  มีการใช้กันทั้งในภาคเหนือและอิสาน       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 10 ธ.ค. 20, 19:28

จะเห็นว่า ที่ขยายความมาเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ทำด้วยตัวเองคนเดียวไม่ได้    ที่ทำเองด้วยตัวเองคนเดียว(และครอบครัว)ได้จริงๆก็คือเมื่อแรกจับจองและบุกเบิกพื้นที่ให้มีสภาพเป็นพื้นที่ทำนา

พอดีไข้กำลังขึ้น เลยขอจบเอาดื้อไว้เพียงนี้ก่อนครับ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 11 ธ.ค. 20, 19:20

พื้นที่ๆแผ้วถางเพื่อทำเป็นนานั้น จำเป็นจะต้องมีความลาดเอียงค่อนข้างต่ำมากและจะต้องมีตะกอนดินทรายที่เหมาะสมอีกด้วย   สำหรับในพื้นที่ๆเป็นที่ราบลุ่มระหว่างเขา ดินตะกอนที่ดีส่วนมากจะอยู่ที่บริเวณที่เป็นสบห้วย ซึ่งได้มาจากการนำพามาของน้ำในลำห้วยห้วยสาขา (tributary stream) นำมาตกตะกอนร่วมกับตะกอนของลำห้วยหรือแม่น้ำสายหลักที่ไหลอยู่ในร่องเขานั้นๆ

หากมีโอกาสได้เดินทางไปในพื้นที่ภาคเหนือ ก็ลองสังเกตดูป้ายชื่อหมู่บ้านต่างๆ จะมีคำนำหน้าชื่อว่า สบ.... ซึ่งเกือบทั้งหมดจะจะตั้งอยู่ในพื้นที่ๆเป็นสบห้วยของลำห้วยสาขากับลำห้วยสายหลัก หรือเป็นบริเวณที่ห้วยสาขาสองห้วยมาบรรจบกัน  และหากมีโอกาสลงไปเดินในพื้นที่หมู่บ้านเหล่านั้น ก็จะเห็นว่าเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งไร่นาและพืชสวนต่างๆ   ซึ่งแต่ก่อนโน้น จะเห็นว่าทางเข้าแต่ละบ้านมีสะพานไม้เพื่อข้ามลำเหมืองที่มีน้ำไหลผ่านอยู่หน้าบ้าน มักจะมีการปลูกต้นมหาหงส์ประด้บอบู่ที่ริมรั้วหน้าบ้าน เดินผ่านบ้านต่างๆในช่วงเวลาเย็นที่มีอากาศเย็นๆ จะได้กลิ่นหอมของดอกมหาหงส์อ่อนๆโชยมาตลอดเวลา  ครั้งสุดท้ายที่เห็นภาพเช่นนี้อยู่ในเขต อ.แม่ทา จ.ลำพูน ภาพเช่นนี้คงจะไม่มีให้เห็นและสัมผัสได้อีกแล้ว

มหาหงส์หรือสะเลเต เป็นพืชที่มีลักษณะลำต้นคล้ายพวกต้นขิง เป็นพืชที่บ่งชี้คุณภาพของน้ำเหมือนกัน ปลูกง่ายครับเอาเหง้ามันมาปลูกในกระถางก็ได้  ไปเที่ยว ตจว.ในภาคเหนือ ลองขอแบ่งเหง้าจากชาวบ้านมาสักแง่งหนึ่งก็น่าจะได้  กลิ่นหอมของมันมีความนุ่มนวล ให้ความรู้สึกที่เย็นและมีความความสงบ  ผมชอบมาก  สำหรับผมนั้นมีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า ต้นมหาหงส์นี้มักจะเห็นมีปลูกอยู่ตามหมู่บ้านนอกเมืองที่มีความสงบสุข ผู้คนมีจิตใจที่โอบอ้อมอารี มีชีวิตที่ค่อนข้างจะเรียบง่าย เพียงพอ และพอเพียง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 11 ธ.ค. 20, 20:32

ลองนึกออกมาเป็นภาพง่ายๆว่า แม่น้ำหรือลำห้วยสายหลักนั้นมันก็คือสายพานรางเลื่อน (conveyer belt) ที่ลำเลียงเอาส่วนผสมดีๆจากธรรมชาติที่ถูกใส่ผสมเข้ามาในระหว่างการขน แล้วนำมาปล่อยทิ้งสะสมไว้ที่ปลายทาง  

ลุ่มเจ้าพระยาก็เป็นเช่นนั้น มีแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ที่ช่วยนำดินและแร่ธาตุดีๆที่ได้จากบรรดาแม่น้ำและลำห้วยสาขาที่อยู่ในระบบ catchment ของตน ที่ไปเก็บเกี่ยวมาจากบรรดาห้วยเล็กห้วยน้อยต่างๆที่กัดเซาะอยู่ในพื้นที่ป่าเขาต่างๆ   แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำหลังสวนและสายอื่นๆก็เช่นกัน   ก็คงจะพอเห็นได้ว่าการบริหารจัดการพื้นที่ลุ่มน้ำ (catchment management) นั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญ แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าและดูเหมือนว่าจะถูกละหรือให้ความสนใจค่อนข้างจะน้อยก็คือในเรื่องของพวก subcatchment ของพวกลำน้ำสาขา โดยเฉพาะลำน้ำสาขาที่มีเส้นทางไหลผ่านพื้นที่หรือบริเวณที่เป็นหินบางอย่าง ซึ่งจะให้ทั้งดินและแร่ธาตุจากกระบวนการแปร(alteration)ของแร่และเนื้อหินในรูปแบบต่างๆที่มีความเป็นจำเพาะ  
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 12 ธ.ค. 20, 18:38

สำหรับการทำนาข้าวในพื้นที่ราบลุ่มที่เกิดจากการกระทำของแม่น้ำสายใหญ่  ก็นิยมจะเลือกพื้นที่คุ้งน้ำฝั่งคุ้งในหรือฝั่งด้านในโค้ง (convex side) ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการตกตะกอน มีที่ดินงอกเพิ่มออกไป และเป็นบริเวณที่ค่อนข้างราบ มีส่วนผสมของดินดี ดินมีความชุ่มชื้นดี   ในขณะที่อีกฝั่งตรงกันข้ามจะเป็นจุดที่แม่น้ำกัดเซาะตลิ่ง ตลิ่งพัง และเนื้อที่ดินหายไป     และหากเปิดภาพถ่ายจากดาวเทียมของอากู๋ดู ก็จะเห็นภาพแปลงนารูปสี่เหลี่ยมทรงยาวอยู่ต่อจากถนนที่ทำอยู่บนสันคันคลองตามธรรมชาติ ต่อจากนั้นจึงจะเป็นพวกแปลงนารูปสี่เหลี่ยมที่มีขนาดเล็กต่างขนาดกันไป วางตัวเป็นจิ๊กซอจนเต็มพื้นที่ราบลุ่มนั้น     

รูปทรงและขนาดของแปลงนาหรือของแต่ละบิ้งนา บอกเรื่องราวอะไรๆให้เราได้รู้บ้างใหม ?   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 12 ธ.ค. 20, 20:35

สำหรับตัวผม มันบอกเรื่องราวได้มากโขอยู่ทีเดียว 

ดังที่ได้กล่าวมาว่าการเปิดพื้นที่ทำนา มันเริ่มต้นด้วนการหักร้างถางพงด้วยคนในระดับครอบครัว ซึ่งต่อมาก็จะมีการพัฒนาที่เป็นไปตามวิถีทางตามธรรมชาติของมนุษย์ เกิดมีการเข้ามาใช้พื้นที่ชายขอบ  เกิดการร่วมมือกันทำสิ่งต่างๆที่จะต้องใช้ร่วมกัน(infrastructure) เช่น ร่องน้ำ(เหมือง)...  เกิดการช่วยกัน (ปลูก เก็บเกี่ยว)  เกิดการช่วยกันปกป้องพื้นที่จากการถูกสัตว์และแมลงมาทำลาย ฯลฯ   จากพื้นฐานของแนวคิดในเชิง qualitative หรือในเชิง intangible ก็แปรไปเป็นบนพื้นฐานในเชิง quantitative หรือในเชิง tangible  จนในที่สุดก็เข้าสู่แนวคิดในเชิงของ supremacy

นาใหม่ส่วนมากจะเป็นนาที่ยังมีตอไม้ มีโคกดิน หรือมีจอมปลวก ให้เห็น ใช้เวลานานหลายๆปีกว่าจะเป็นผืนนาที่ไม่ปรากกฎสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้    ในอีกภาพหนึ่ง พื้นที่ทำนาที่เก่าแก่ก็มักจะเห็นบิ้งนาที่มีขนาดต่างๆกันมาวางต่อเนื่องเป็นจิ๊กซอกันอยู่ ซึ่งมันบอกเรื่องราวที่สำคัญอยู่สองเรื่องคือ เกิดมาจากการปรับระบบน้ำ หรือการปรับระดับท้องนาให้เหมาะสม  และอีกเรื่องราวหนึ่งมาจากเรื่องของการแบ่งทรัพย์สินมรดก    กระทั่งเข้าสู่ยุดของการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร เงิน อำนาจ รวมทั้งการมีระบบที่ดีด้านการชลประทานและระบบการใช้น้ำบาดาล ผืนนาชิ้นเล็กน้อยก็ถูกซื้อเอามารวบรวมเข้าเป็นแปลงนาผืนใหญ่ดังที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน

ขออภัยหากเป็นความเห็นที่ก้าวล่วงเข้าไปในศาสตร์ทางมานุษยวิทยามากจนเกินไป ครับ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 13 ธ.ค. 20, 18:38

ที่เล่าเรื่องราวมาในลักษณะเป็น frame บ้าง เป็น clip บ้าง ก็น่าจะพอนำพาไปสู่ภาพทั้งหมดที่เกิดขึ้นในแต่ละสภาพสิ่งแวดล้อมทางกายภาพของพื้นที่และของกระบวนการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ รวมทั้งสภาพทางสังคมของชุมชน     

และ ที่เลือกจะเล่าเรื่องในลักษณะดังกล่าวนี้ ก็ด้วยเห็นว่ามันมีจุดที่ต้องขยายความในเชิงวิชาการอยู่หลายประเด็น ซึ่งต้องเลือกเอาระหว่างการปูพื้นในเบื้องแรก หรือแยกขยายความในลักษณะเป็น footnote เป็นจุดๆไป   และที่ไม่ได้เลือกที่จะเล่าเป็นเรื่องแบบต่อเนื่องกันไป (ไม่ตะกุกตะกัก) ก็ด้วยเพราะเห็นว่ามันจะให้ความรู้สึกที่ออกไปเป็นในทางการจินตนาการเสียมากกว่าการเป็นเรื่องที่มีข้อมูล

คืดมากไปหรือเปล่าก็ไม่รู้  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 13 ธ.ค. 20, 19:16

ก่อนจะเล่าความกันต่อไป จะขอขั้นด้วยชื่อหมู่บ้านหรือชุมชนที่ขึ้นต้านด้วยคำว่านา ก็มีทั้งที่เป็นหมู่บ้านขนาดเล็กขนาดใหญ่ เป็นระดับตำบลก็มี เป็นระดับอำเภอก็มี 

นาไร่เดียว แต่ก่อนมีอยู่หลายแห่งในภาคเหนือ ในปัจจุบันไม่รู้ว่ายังคงมีเหลืออยู่บ้างหรือไม่   นาบ่อคำ นาปลากั้ง นากลาง นาลาว นามอญ นายายอาม นาหวาย นาสวน นาสาร นาขวัญ นางิ้ว นาขาม นาหว้า นาหวาย นาป่าบง นาป่าหนาด นาบอน นาบึง นาหนอง นาหว้า นาหล่ม ..... เท่าที่พอจะนึกออก ครับ

ชื่อชุมชนหรือหมู่บ้านเช่นที่กล่าวถึงเหล่านี้ พอจะสื่อเรื่องอะไรๆให้เราพอได้รู้บ้างใหม ?   

สำหรับผมแล้ว ชื่อเหล่านี้ได้ให้ข้อมูลพอสมควรเพื่อการทำงานสำรวจทางธรณีฯ อย่างน้อยก็เป็นสิ่งที่ชี้แนะอะไรบางสิ่งบางอย่าง บ้างก็ในทางชุมชน บ้างก็ในทางกายภาพ... และหากนำชื่อสถานที่อื่นๆในละแวกนั้นๆมาพิจารณาประกอบด้วย บางทีก็ทำให้ได้เห็นภาพว่าควรจะต้องเลือกเส้นทางใดในการสำรวจเพื่อให้ได้ข้อมูลมากที่สุด
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 14 ธ.ค. 20, 18:15

ผมไม่มีความรู้มากพอที่จะลงไปในเรื่องของพันธุ์ข้าว  มีความสามารถเพียงเล็กน้อยพอที่แยกพันธุ์ออกได้เมื่อได้เห็นเมล็ดข้าวที่สีแล้ว เช่น ระหว่างข้าวเหนียว ข้าวเจ้า ข้าวเหนียวเขี้ยวงู ข้าวดอกข่า ข้าวสังข์หยด (น่าจะเป็น สังข์หยอด มากกว่า สังข์หยด ?) ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอรี่ เป็นต้น   และก็พอจะแยกได้ว่าใช่หรือไม่ใช่สำหรับข้าวที่หุงสุกแล้ว เช่น ระหว่างข้าวหอม(หอมปทุม)กับข้าวหอมมะลิ ข้าวใหม่กับข้าวเก่า  ซึ่งเชื่อว่าทุกท่านก็คงจะมีความสามารถพอๆกันในเรื่องที่กล่าวมาเพราะค่อนข้างจะเป็นเรื่องพื้นฐาน แล้วก็เชื่อว่าหลายๆท่านมีความสามารถที่จะจำแนกความต่างต่างๆได้มากกว่าที่ได้กล่าวมา ตั้งแต่เห็นต้นข้าวอยู่ในนาจนถึงเมื่อสีเป็นเมล็ดข้าวสารแล้ว หรือดูจากเมล็ดข้าวสารย้อนกลับไป ซึ่งก็มีเมล็ดข้าวแบบอ้วนป้อม มีแบบเมล็ดใหญ่สมส่วน มีแบบเมล็ดเล็กทรงยาวรี  หรือมีลักษณะของผิวที่ต่างกัน (luster) 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 14 ธ.ค. 20, 18:37

ข้าวสุขภาพอย่างไรซ์เบอรี่ กำลังเป็นที่นิยม


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 14 ธ.ค. 20, 19:41

ในปัจจุบันนี้ ผมเชื่อว่าผู้คนชาวเมืองที่ทำงานใน office และมีครอบครัว ส่วนมากจะซื้อข้าวสารบรรจุถุงสำเร็จรูปขนาดบรรจุ 5 กก. ราคาต่อถุงก็จะมีตั้งแต่ร้อยกว่าบาทไปจนถึงสองร้อยกว่าบาม(แก่ๆ)  คงจะต้องอ่านฉลากกันให้ดีก่อนที่จะซื้อ  ป้ายชื่อข้าวหอมนั้นอาจจะหมายถึงถึงข้าวหอมใดๆก็ได้ หากจะเลือกซื้อข้าวหอมมะลิก็ต้องมีระบุให้ชัดเจนว่าเป็นข้าวหอมมะลิ   ก็มีอีกคำว่า 100 เปอร์เซนต์ คำนี้อาจจะมีความหมายอยู่หลายนัย คือ หมายถึงข้าวสายพันธุ์นั้นๆปลูกในพื้นที่ย่านนั้นๆ 100 % หรือข้าวสายพันธุ์นั้นๆแต่รวบรวมมาจากหลายพื้นที่  หรือข้าวสารที่ไม่มีเมล็ดข้าวที่หักปะปนมา  

สำหรับตัวผมนั้น เคยเลือกที่จะซื้อข้าวหอมมะลิจากร้านขายข้าวสารที่ตวงออกมาจากกระสอบ ซื้อครั้งละ 1 ถัง (15 กก) ซึ่งเป็นข้าวที่เรียกว่า ข้าว 5%  ก็คือข้าวสารที่มีเมล็ดข้าวหักปนอยู่ในระดับประมาณ 5%  ที่เลือกใช้วิธีก็เพราะ รู้จักและคุ้นเคยกับผู้ขายมากพอและผู้ขายเองก็เคยเป็นผู้ค้าข้าวคนกลาง   ประกอบกับที่ผมเป็นคนที่จะเรื่องมากสักนิดนึง ด้วยได้เคยสัมผัสกับความลุ่มลึกในความอร่อยและความหอมหวลของข้าวสวยประเภทที่มีข้าวเมล็ดหักผสมอยู่ด้วย    เมื่อโลกเปลี่ยนไป ทุกอย่างเปลี่ยนไป ก็เลยหนีไม่พ้นที่จะต้องหันเข้าไปหาซื้อข้าวสารบรรจุถุงสำเร็จรูป ซึ่งก็จะต้องเป็น 100% ในด้านใดด้านหนึ่ง   แต่ก็ยังพอมีทางที่จะเลือกอยู่บ้างด้วยการเลือกซื้อของผู้ผลิตในท้องถิ่น  

ความสุขที่เกิดขึ้นจากการกินข้าวที่เป็นผลผลิตของนาของตนเองจึงเป็นอะไรที่บอกเล่าได้ยาก ด้วยว่ามันเป็นของจริงที่เกิดขึ้นและสัมผัสได้ในทุกระดับของการพัฒนาการและขั้นตอนที่ผ่านมา
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 12
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 19 คำสั่ง