naitang
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 27 พ.ย. 20, 18:08
|
|
ขอบพระคุณสำหรับภาพประกอบครับ
ในภาพเราจะเห็นว่าแม่น้ำแกว่งไปมาซ้าย-ขวา เห็นพื้นที่สีอ่อนๆที่อยู่ใต้ร่มแดด บริเวณนี้ดูคล้ายกับจะเป็นตะพักลำน้ำ(terrace) ซึ่งก็คือพื้นที่ alluvial plain ก่อนที่แม่น้ำจะกัดลึกลงไปและสร้างพื้นที่น้ำท่วมบริเวณใหม่ของมัน
ที่ด้านข้างของตัวแม่น้ำบริเวณที่เป็นหัวคุ้งน้ำ จะเห็นหาดทรายสีขาวๆ ด้านนี้แผ่นดิน(ตลิ่ง)จะงอกออกไป เป็นด้านที่เรียกว่า convex side ภาษาเดินเรือของชาวบ้าน ดูจะเรียกว่า คุ้งใน อีกด้านหนึ่งเป็นด้านที่แผ่นดิน(ตลิ่ง)ถูกกัดเซาะเรียกว่า concave side หรือคุ้งนอก
แล้วก็จะเห็นว่ามีถนนที่ทอดตัวไปตามความคดโค้งของแม่น้ำ ถนนเหล่านี้จะทำอยู่บนสันคันคลองตามธรรมชาติของแม่น้ำ (natural levee) ถนนสามเสนและถนนจรัญสนิทวงศ์ก็เป็นถนนที่สร้างอยู่บน natural levee เช่นกัน หากเป็นพวกคลองที่ขุดขึ้นมาก็จะไม่มี levee
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 16 เมื่อ 27 พ.ย. 20, 19:13
|
|
ขยายความให้ละเอียดมากจนเกินไปก็อาจจะกลายเป็นการบรรยายวิชาและศาสตร์ทาง Geomorphology เพียงเท่านี้ก็น่าจะพอสำหรับใช้กับเรื่องราวของกระทู้นี้แล้วครับ
แล้วก็ต้องขอออกตัวไว้เสียแต่แรกว่า แม้ว่าตนเองจะได้เดินทางไปทำงานในหลากหลายพื้นที่ ได้พบผู้คน/ชาวบ้านที่มีกระบวนการคิดทางสังคมและเศรษฐกิจบนปรัชญาจำเพาะบางอย่าง ผนวกกับที่ได้พบและได้เห็นเชิงประจักษ์ รวมทั้งการได้สนทนา สอบถาม เรียนรู้ เหล่านั้น มิได้หมายความว่าตนเองจะมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในชุดกระบวนทัศน์ของเขาเหล่านั้น เป็นแต่เพียงความพยายามที่จะนำมาถ่ายทอดสู่กันฟัง นะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 17 เมื่อ 27 พ.ย. 20, 19:22
|
|
ขอเริ่มด้วยการจำแนกพื้นที่เพื่อการทำนาและการทำเกษตรกรรมต่างๆ(ของไทยเรา)ออกเป็น 4 กลุ่มลักษณะพื้นที่ คือ พื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง (flood plain) ซึ่งแยกออกเป็นราบลุ่มตอนบนและตอนล่าง พื้นที่ราบระหว่างเทือกเขาต่างๆ (inter mountain basin) ซึ่งอยู่ในภาคเหนือและภาคตะวันตก พื้นที่ราบสูง (plateau) ซึ่งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพื้นที่ราบชายทะเล (Coastal plain) ซึ่งส่วนมากจะอยู่ในพื้นที่ภาคใต้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 28 พ.ย. 20, 18:57
|
|
ก็มาถึงเรื่องของดิน
เป็นความรู้ทั่วไปของคนที่นิยมปลูกต้นไม้จะพูดว่า ดินปลูกต้นไม้ที่ดีจะต้องเป็นดินที่มีความชุ่มชื้น ร่วนซุย มีปุ๋ยและธาตุอาหารอยู่มาก โดยเฉพาะเป็นดินดำซึ่งมักจะมีสารอินทรีย์ปะปนอยู่มาก (humus) และมี pH กลางๆ (ไม่เป็นกรดหรือด่างด้านหนึ่งด้านใดมากเกินไป)
ในทางวิชาการ ดินที่ปลูกต้นไม้ดี ก็คือดินที่เรียกว่า loam เป็นดินที่มีส่วนผสมของ sand sized particles (ขนาดประมาณ 50 ไมครอน ถึงประมาณ 2 มม.) มี silt sized particles ขนาดเล็กกว่า 50 ไมครอนลงไป และมีพวกขนาดเล็กมากๆที่เรียกว่า clay sized particles ซึ่งมีขนาดเม็ดเล็กกว่า silt ลงไปอีก เป็นแร่ธาตุและเป็นอินทรีย์วัตถุ (inorganic / organic) ทั้งหมดนี้ผสมรวมอยู่โดยมีสัดส่วนแตกต่างกันไป ก็เลยมีชื่อเรียกขยายความคำว่า loam แตกต่างกันออกไป เช่น sandy loam, silt loam, sandy clay, silty clay, clay ฯลฯ
เมื่อจะปลูกต้นไม้จริงๆ ก็ยังมีเรื่องที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติมลงไปอีก เช่น พืชนั้นๆต้องการดินที่อุ้มน้ำหรือไม่อุ้มน้ำ พืชนั้นๆชอบดินที่มี pH เป็นกรดหรือเป็นด่าง พืชนั้นๆที่จะให้ผลผลิตที่สมบูรณ์และรสชาติดีนั้นชอบดินนั้นชอบดินที่มีธาตุใดๆสูงเป็นพิเศษหรือไม่ (ดินภูเขาไฟ ดินจากหินแกรนิต ดินจากหินปูน ดินที่เคยอยู่ในอิทธิพลของทะเล ฯลฯ) ฯลฯ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 28 พ.ย. 20, 19:24
|
|
นำพามาสู่เรื่องความสามารถของชาวบ้านในการบริหารจัดการกิจกรรมทางเกษตรกรรมที่มีการพัฒนาให้สอดคล้องไปกับพัฒนาการทางเทคโนโลยีและระบบเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 29 พ.ย. 20, 18:55
|
|
ออกตัวอีกครั้งว่า เรื่องที่จะขยายความต่อจากนี้ไป เป็นความเห็นของผมบนพื้นฐานความรู้ทางวิชาการธรณีวิทยา ซึ่งเป็นศาสตร์เกี่ยวข้องกับการกระบวนการกำเนิด กระบวนการเปลี่ยนแปลง กระบวนการนำพาไปอยู่รวมกัน และผลที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น เป็นศาสตร์ที่เน้นหนักไปในด้านทาง physical และ chemical aspect มากกว่าทางด้าน biological aspect ส่วนความเห็นทางด้านเศรษฐกิจและสังคม หรือทางมานุษยวิทยาสังคม _social anthropology นั้นมาจากประสบการณ์ในการเดินทางไปทำงานในพื้นที่ต่างๆ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 29 พ.ย. 20, 19:23
|
|
เคยสังเกตไหมครับว่า ดินในผืนนาทั้งหลายนั้น ในฤดูแล้งก็จะแห้งและแตกระแหง หากแล้งนานมากดินก็จะแข็งมากและระแหงก็เป็นร่องใหญ่ สภาพนี้เป็นสภาพปกติโดยทั่วไปสำหรับนาน้ำฟ้าหรือนานอกระบบชลประทาน และก็เกิดกับนาในระบบชลประทานที่เลิกการทำนาไปด้วย การแตกระแหงดังกล่าวนี้จะถูกมองว่าพื้นที่นั้นๆเป็นพื้นที่แล้งหรือได้รับภัยแล้ง ซึ่งก็มีทั้งถูกและผิด ถ้าจะให้แน่ชัดลงไปก็จะต้องนำองค์ประกอบอื่นๆมาประกอบการพิจารณาด้วย (คงจะทำให้นึกถึงวลีสามัญประจำปี 'แล้งซ้ำซาก' แล้ว แล้วค่อยว่ากันครับ)
ข้าวเป็นพืชที่ต้องการดินที่มีความชุ่มชื้นสูงมาก สำหรับน้ำที่แช่อยู่ในนาข้าวนั้น นอกจากจะทำให้ดินมีความชุ่มชื้นคงที่แล้วก็ยังทำหน้าที่อื่นอีกด้วย ก็คือการคุมต้นหญ้ามิให้ขี้นมาแข่งกับต้นข้าว
เคยสังเกตใหมครับว่าน้ำในนาข้าวจะมีความใสสะอาด ไม่ใช่ลักษณะของน้ำที่แข่ขังไว้จนส่งกลิ่น(เน่า) เป็นลักษณะเป็นน้ำไหลผ่าน บางช่วงเวลาเราก็จะเห็นน้ำในนาแห้งจนเห็นดินพื้นนา บางช่วงเวลาก็จะเห็นว่าในนามีน้ำแช่ขังอยู่ บางช่วงเวลาก็ในระดับที่สูง บางช่วงเวลาก็ในระดับที่ต่ำ แล้วก็จะเห็นว่าจะมีชาวบ้านแบกจอบเดินไปนาข้าวของตน เช้ารอบหนึ่ง เย็นรอบหนึ่ง หรือบางครั้งก็ทั้งวัน และก็มีที่บางครั้งไปนอนค้างที่เถียงนา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 29 พ.ย. 20, 20:21
|
|
จะสรุปอย่างง่ายๆแบบกำปั้นทุบดินว่า น้ำดี ดินดี ก็ทำนาข้าวได้แล้ว ใช่หรือไม่(ตามสำนวนนิยมในปัจจุบัน) จะว่าถูกก็ใช่ แต่มิได้หมายความว่าจะต้องใช่เสมอไป
ก็ดังที่ได้ขยายความมาแล้วว่า ดิน loam นั้นมันก็ยังมีหลากหลายสัดส่วนของการผสมผสานในด้านขนาดเม็ดของแต่ละเม็ดตะกอน หากยิ่งลงไปถึงในระดับ clay sized particles และ/หรือแร่ดินแล้ว คุณสมบัติของแร่ดินที่ว่า พองน้ำไม่ได้ หรือพองน้ำได้มาก/น้อยในกลุ่มใด (Kaolinite group, Smectite group, หรือ Illite group)
แล้วในเรื่องของน้ำนั้น เขาทำระบบกันอย่างไร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 01 ธ.ค. 20, 18:26
|
|
น้ำในนาข้าวที่เห็นแชอยู่นิ่งๆนั้น แท้จริงแล้วจะต้องมีการปรับระดับความสูงต่ำให้มีความเหมาะสมกับการเจริญของต้นข้าวอยู่ตลอดช่วงการทำนา การปรับระดับน้ำให้สูงหรือต่ำไปเกี่ยวข้องกับการควบคุมต้นหญ้าที่จะขึ้นมาแข่งกับต้นข้าว โดยหลักก็คือการใช้น้ำกดให้ต้นหญ้าจมอยู่ใต้น้ำโดยที่ระดับน้ำไม่ท่วมต้นข้าวจนไม่สามารถไม่เหลือใบมากพอที่จะสังเคราหะห์แสงได้ เมื่อใดที่จะใส่ปุ๋ยหรือถอนต้นหญ้าพวกโตเร็ว ก็จะต้องมีการลดระดับน้ำลงที่ระดับต่ำกว่าผิวดินเล็กน้อย มิฉะนั้นปุ๋ยก็จะละลายน้ำและไหลออกจากนาไป อีกทั้งปริมาณน้ำที่ไหลเข้านานั้นมีความไม่คงที่ เช่นในกรณีมีฝนตกลงมาในพื้นที่ ไม่ว่าจะโดยตรงบนผืนนาของเราหรือของผู้อื่นก็ตาม เมื่อจะต้องมีการปรับระดับน้ำกัน ก็หมายความว่า นาแต่ละบิ้งจะต้องมีช่องสำหรับน้ำไหลเข้าและช่องสำหรับน้ำไหลออก ซึ่งก็หมายความต่อไปว่า นาแต่ละบิ้งนั้นจะต้องมีระดับไม่เท่ากัน น้ำจึงจะไหลถ่ายเทจากที่สูงกว่าลงสู่ที่ต่ำกว่าได้ ซึ่งก็ต้องคิดกันต่อไปว่าจะให้น้ำนั้นหมุนเวียนอยู่ในพื้นที่ของนาของเราเป็นเส้นทางเช่นใดจึงจะได้ครบถ้วนทุกบิ้งนาอย่างเสมอภาคกัน แล้วก็ไปเกี่ยวกับดินของผืนนาของเราที่เราไปพัฒนาพื้นที่ในธรรมชาติให้มาเป็นเป็นพื้นที่ทำนา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 01 ธ.ค. 20, 19:11
|
|
นาข้าว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 01 ธ.ค. 20, 19:25
|
|
ดินเกิดมาจากการตกสะสมของตะกอน ซึ่งพัดพามาได้ทั้งโดยน้ำไหล โดยลม (aeolian processes) และโดยการกลิ้งมาจากที่สูงด้วยแรงโน้มถ่ง (gravity) รวมทั้งจากการผุพังในตัวของมันเอง (in situ weathering) ดินภายในพื้นที่ราบแต่ละหย่อม จึงมีความต่างกันมากน้อยต่างกันไป
ดังที่ว่ามาแล้ว ดินที่เหมาะแก่การทำนาคือดิน loam ที่จะต้องเป็นดินที่สามารถอุ้มน้ำได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อยังความชุ่มชื้นให้แก่ต้นข้าวในช่วงเวลาน้ำบนหน้าดินแห้งเหือด (ไม่ว่าจะโดยธรรมชาติหรือโดยการกระทำของคนก็ตาม) ดินที่เหมาะกับการทำนาประเภทนี้จำเป็นจะต้องมีส่วนผสมที่เหมาะสมของแร่ดิน 3 กรุป หากมีพวก kaolinite มากเกินไปก็จะกลายเป็นดินที่เหนียว หากมีพวก illite มากเกินไปก็จะเป็นดินร่วน จำเป็นจะต้องมีดินพวกที่บวมน้ำ/อุ้มน้ำพวก smectite อยู่มากพอสมควร ก็จึงไม่แปลกนักที่ในฤดูแล้ง ดินในผืนนาจะต้องมีการแตกระแหง
แร่ดิน clay minerals มีโครงสร้างเป็นแผ่นๆ เรียกกันว่าเป็นพวก phyllosilicates mineral หรือ sheet silicates เปรียบเทียบง่ายๆคล้ายกับเอากระดาษ A4 มาวางซ้อนๆกันจนเป็นรีม ซึ่งเมื่อเอากระดาษทั้งรีมนั้นไปแช้น้ำ ก็จะเห็นว่ามันพองหนาขึ้นมา แต่ละแบรนด์หรือแต่ละขนาดน้ำหนัก จะบวมพองไม่เท่ากัน ซึ่งเมื่อเอาไปตากให้แห้ง ก็จะเห็นว่ามันยุบลงและมีความแห้งไม่เท่ากันในแต่ละช่วงเวลา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นางมารน้อย
พาลี
   
ตอบ: 306
ทำงานแล้วค่ะ
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 02 ธ.ค. 20, 08:28
|
|
เข้ามาอ่านค่ะ ถึงตรงควบคุมระดับน้ำในนาข้าวแล้ว การทำนานี่ไม่ง่ายเลยนะคะ
ต้องควบคุมระดับน้ำทั้งหมดให้ทั่วถึงกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 02 ธ.ค. 20, 08:42
|
|
ประเภทของดิน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 02 ธ.ค. 20, 17:53
|
|
เข้ามาอ่านค่ะ ถึงตรงควบคุมระดับน้ำในนาข้าวแล้ว การทำนานี่ไม่ง่ายเลยนะคะ
ต้องควบคุมระดับน้ำทั้งหมดให้ทั่วถึงกัน
ครับ ไม่ง่ายอย่างที่คิด เป็นความรู้ที่ถ่ายทอดกันต่อๆมานาน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 02 ธ.ค. 20, 18:14
|
|
ประเภทของดิน
ดูภาพแบบผิวเผินแล้วจะแยกกันไม่ออกเลย วิธีการทดสอบคุณสมบัติให้ลึกลงไปอย่างหนึ่งก็คือ การเอาดินมาสักกำมือหนึ่ง เอาน้ำหยดลงไป ค่อยๆเพิ่มปริมาณน้ำ กำมือขยำๆบีบให้ดินแน่นเป็นก้อน ก็จะเห็นว่า ณ ที่ปริมาณน้ำจุดหนึ่ง ดินจะยังร่วนอยู่ตลอด หรือดินก็จะจับตัวเป็นก้อนดี จากนั้นดินก็จะเละไม่ทรงรูป บางทีก็ไหลเป็นโคลนเลย ก็ใช้เป็นวิธีการพิจาณาแบบง่ายๆเพื่อจำแนกว่าเป็นดินร่วน เป็นดินแบบน้ำผ่านได้ดี (well drained soil) หรือ ... ฯลฯ แล้วก็เลือกใช้ให้เหมาะกับพืชที่เราจะปลูก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|