เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12
  พิมพ์  
อ่าน: 8273 ชาวบ้านกับการทำนาข้าว
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 22 พ.ย. 23, 19:15

ช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา มีข่าวเกี่ยวกับการช่วยเหลือชาวนาในเรื่องของราคาข้าว ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการใช้อยู่หลายวิธีการ แต่ที่มีเอามาเป็นประเด็นในการวิพากษ์วิจารณ์ถกเถียงกันนั้น มีอยู่ 2 เรื่อง คือ ที่เรียกชื่อสั้นๆว่า ใช้วิธีการจำนำข้าว และ ใช้วิธีการประกันราคาข้าว   

ก็จะไม่ลงไปร่วมวงวิพากษ์ด้วย หากแต่เกิดฉุกนึกขึ้นมาว่า ที่วิพากษ์กันนั้น เกือบทั้งหมดดูจะจำกัดวงอยู่แต่เฉพาะส่วนที่เป็นปลายทางของการเกษตรกรรมของไทยในเรื่องที่ว่าด้วยการปลูกและการขายข้าว และก็ดูจะจำกัดอยู่แต่ในวงของเรื่องในส่วนที่เป็นทางด้านปลายน้ำ ดูจะไม่ค่อยมีการกล่าวถึงในเชิงของมาตรการและกระบวนการต่างๆที่เกี่ยวข้องในระหว่างทางของกระบวนการผลิต ตั้งแต่หว่านข้าว/เพาะกล้าไปจนถึงการเก็บเกี่ยวและการขายเปลี่ยนมือจากชาวนาไปสู่พ่อค้าข้าว tier ต่างๆ

ปีนี้ได้ทำการปลูกข้าวกินเองในผืนนาเล็กๆอีกครั้งหนึ่ง ได้เปลี่ยนไปปลูกข้าวพ้นธุ์ กข.43 ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวที่ให้ผลิตภัณฑ์ข้าวสารประเภทมีปริมาณน้ำตาลต่ำที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องควบคุมการบริโภคน้ำตาล    ก็เลยพอจะมีข้อมูลที่อาจจะน่าสนใจของช่วงต้นทางและกลางทางของการปลูกข้าวมาเล่าสู่กันฟัง    คิดว่าน่าจะพอเป็นพื้นฐานที่พอจะนำไปใช้ประโยชน์ได้บ้างในเรื่องต่างๆ  ก็เลยย้อนกลับไปปลุกชีพกระทู้นี้ให้มีชีวิตขึ้นมาอีก     

ก็อย่างเคยนะครับ ค่อยๆว่ากันไป และก็อาจจะเนิบๆไปหน่อยตามวัย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 22 พ.ย. 23, 19:34

 อยากทราบว่าคุณตั้งปลูกข้าวด้วยตัวเองตั้งแต่ต้นจนจบหรือคะ  หรือว่าต้องจ้างแรงงานบ้าง
 ผลเป็นอย่างไรคะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 22 พ.ย. 23, 22:08

ผมไม่ได้ลงนาด้วยตัวเอง และก็ไม่ได้ทำนาด้วยการจ้างแรงงาน  เป็นเพียงผู้ที่มีผืนดินในพื้นที่สวนที่พอจะทำเป็นผืนนาแปลงเล็กๆได้ 2 แปลงๆละประมาณ 2+ไร่  เป็นแบบนาดอนแปลงหนึ่ง และแบบนาเหมือง(คูส่งน้ำ ระบบชลประทานพื้นบ้าน)แปลงหนึ่ง  คนลงมือทำนาตัวจริงคือคนที่ดูแลสวน ผมเป็นผู้ให้ความเห็น ร่วมในการตัดสินใจ และให้การสนับสนุนด้านพันธุ์ข้าว ปุ๋ย และค่าใช้จ่ายเล็กๆน้อยๆในบางเรื่อง   ผลผลิตข้าวที่ได้มาก็ใช้กินด้วยกัน ส่วนที่เกินพอก็ขายไปได้เป็นเงินในเชิงของค่าลงแรงของเขาและที่เขาจ่ายเล็กจ่ายน้อยสัพเพเหระ เช่นค่าใช้จ่ายของวงแก้เหนื่อยตอนเย็นก่อนกลับบ้านหลังจากเสร็จงานลงแขกตอนดำนาปลูกข้าวหรือตอนเกี่ยวข้าว ....     

อาจจะดูแปลกๆและมีข้อสงสัยมากมาย           
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 22 พ.ย. 23, 23:06

อ้างถึง
อาจจะดูแปลกๆและมีข้อสงสัยมากมาย   
รอขยายความค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 24 พ.ย. 23, 18:28

ขอบอกกล่าวเสียแต่แรกว่า สาระที่เขียนต่อไปทั้งหมดนี้ เป็นความรู้ที่ได้มาจากการประมวลข้อมูลที่ได้อ่านสะสมมา และจากการได้ลงไปคลุกคลีในทางปฏิบัติการปลูกข้าวกินเอง 

ก็ทราบกันอยู่แล้วว่า ข้าวนั้นมีการจำแนกอย่างหลากหลายบนพื้นฐานต่างๆ เช่น ข้าวเหนียว ข้าวเจ้า ข้าวเมล็ดสั้น ข้าวเมล็ดยาว ข้าวไร่ ข้าวนาดอน ข้าวนาลุ่ม ข้าวนาตม ข้าวไวแสง ข้าวไม่ไวแสง ข้าวสังข์หยอด ข้าวไรซ์เบอรี่ ข้าวหอม ข้าวขาว ..... 

ข้าวที่จำแนกบนพื้นฐานต่างๆดังที่ยกตัวอย่างมา แต่ละชนิดก็ยังมีความแตกต่างกันที่พันธุ์และสายพันธุ์  ซึ่งก็มีทั้งประเภทที่เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมือง(พื้นถิ่น)และข้าวพันธุ์ผสมที่พัฒนาขึ้นมาบนฐานความรู้ทางวิชาการ   

ข้าวพันธุ์พื้นเมืองของไทยเรานั้นมีมากกว่า 100 พันธุ์  เชื่อว่าทุกพันธุ์ได้มีการศึกษาเพื่อหาข้อดีและข้อด้อยแล้วทั้งหมด  ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นได้ถูกนำไปพัฒนาข้าวสายพันธุ์ใหม่ที่มีความแข็งแรง ปลอดโรค ให้ผลิตพลดีทั้งคุณภาพและปริมาณ   ข้าวสายพันธุ์ใหม่เหล่านี้ทั้งหมดดูจะได้ชื่ออยู่ในตระกูลชื่อ กข. (กรมการข้าว ?) ที่มีตัวเลขกำกับ  ซึ่งดูจะได้จัดให้เลขคู่เป็นของกลุ่มพันธุ์ข้าวเหนียว  และเลขคี่เป็นพวกข้าวเจ้า (กข 6 คือสายพันธุ์ข้าวเหนียวหอม กข 105 คือข้าวหอมมะลิ)     แล้วก็ยังมีชื่อแปลกๆอีก เช่น พันธุ์ กข - แม่โจ้ 2 เป็นต้น แต่จะขอละไว้เพียงเท่านี้ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 24 พ.ย. 23, 19:12

ภาพแรกเป็นเรื่องของสายพันธุ์ข้าวที่มีตัวตนอยู่   ภาพนี้จะเป็นภาพในเป็นเรื่องของการเลือกพันธุ์ข้าวที่จะนำมาปลูก

การตัดสินใจในเรื่องนี้มีความเกี่ยวข้องไปถึงผลที่ต้องการจากการทำนาปลูกข้าว  ผลที่ว่าถึงนี้ เกือบทั้งหมดคงหนีไม่พ้นในเรื่องของปริมาณเงินตราที่จะได้รับเมื่อได้ขายข้าวไปแล้ว  การปลูกข้าวส่วนมากจึงต้องมุ่งไปอยู่ที่ปริมาณมากกว่าในด้านคุณภาพ และก็ควรจะต้องเป็นข้าวพันธุ์ที่มีผู้บริโภคนิยมที่มีราคาซื้อขายสูงทั้งในตลาดการผลิต ตลาดส่งออก และตลาดผู้บริโภคทั่วไป

แล้ว...
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 26 พ.ย. 23, 18:27

ก็มาถึงการหาพันธุ์ข้าว

โดยพื้นๆแล้ว เราน่าจะคิดคล้ายๆกันว่า พันธุ์ข้าวที่ชาวนาใช่ปลูกกันนั้น ก็คือข้าวเปลือกที่คัดและเก็บไว้ใช้เป็นพันธุ์ข้าวสำหรับการปลูกในฤดูกาลต่อไป ซึ่งเป็นเรื่องที่ใช่เมื่อครั้งกระโน้น   แต่ในปัจจุบันนี้ ข้าวที่เราบริโภคและว่าอร่อยกันนั้น ดูล้วนจะเป็นข้าวพันธุ์ที่ได้ถูกปรับปรุงและพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมาใหม่  จะมียกเว้นก็น่าจะเป็นแต่เฉพาะพวกข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่ยังคงใช้วิธีการคัดหาแม่พันธุ์จากผลผลิตของหลายแหล่งผลิค (??)

ประเด็นของเรื่องมาอยู่ที่ว่า ข้าวสายพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่เหล่านี้มันกลายพันธุ์หากเอามันมาใช้ปลูกซ้ำต่อเนื่องกันสามสี่ครั้ง ก็คือทุกๆประมาณ 3 ปีก็จะต้องเปลี่ยนแม่พันธุ์ใหม่ครั้งหนึ่ง    เมื่อพอทราบมาว่ามันเป็นเช่นนี้ ก็เลยพอจะเข้าใจว่า เหตุใดจึงต้องมีศูนย์ผลิต... ศูนวิจัย... ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว .... กระจายอยู่ในแต่ละภูมิภาคทั่วไทย 

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 26 พ.ย. 23, 19:04

ก็มามีความรู้เพิ่มเติมเมื่อคิดจะปลูกข้าว กข.43  ก็เป็นไปตามปกติคิด การหาซื้อพันธุ์ข้าวก็ควรจะต้องเล็ดพันธุ์ที่ต้องการที่เชื่อถือได้ว่าเป็นพันธุ์นั้นจริงๆ   

หาข้อมูลในเบื้องต้นก็พอจะรู้ว่าข้าวพันธุ์นี้มีปลูกกันมากในภาคกลางในพื้นที่แถบ จ.ชัยนาท และใกล้เคียง  ก็หาข้อมูลผู้จำหน่าย  เริ่มต้นค้นหาจากข้อมูลของกรมการข้าว พบว่าร้านขายเมล็ดพันธุ์ข้าวจะต้องมีใบอนุญาตให้เป็นสถานที่จำหน่าย ค้นหาต่อไปก็ได้พบรายชื่อร้านต่างๆในจังหวัดต่างๆทั่วไทย  ก็พยายามสุ่มติดต่อไปยังร้านในพื้นที่ๆเป็นแหล่งปลูก สรุปว่าไม่มีผู้ใดมีข้าวสายพันธุ์นี้จำหน่าย   ก็เลยเถิดหาข้อมูลที่้เกี่ยวข้องต่างๆอยู่พักหนึ่ง เลยได้ความรู้ใหม่เพิ่มเติมว่า เมล็ดพันธุ์ข้าวมันมีระดับเหมือนกัน ภาษาทางราชการ/วิชาการ เรียกว่าชั้นพัธุ์ แบ่งออกเป็น 4 ชั้น  คือชั้นพันธุ์คัด ชั้นพันธุ์หลัก ชั้นพันธุ์ขยาย และชั้นพันธุ์จำหน่าย   

จะซื้อชั้นพันธุ์ใหนไปปลูกดี ?   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 27 พ.ย. 23, 18:14

ก็ต้องค้นหา หาความรู้เพื่อความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องต่างๆ   สรุปความได้ว่า ชั้นพันธุ์คัดนั้นเป็นเรื่องของการวิจัยพัฒนา  ชั้นพันธุ์หลัก เป็นชั้นพันธุ์ที่ใช้ปลูกเพื่อขยายปริมาณเมล็ดพันธุ์ต้นทางที่ได้วิจัยพัฒนาขึ้นมานั้นๆ  เมล็ดพันธุ์ชั้นนี้จะถูกกระจายไปปลูกตามหน่วยงานที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคต่างๆเพื่อขยายการผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อการกระจายพันธุ์ ผลผลิตที่ได้เรียกว่าชั้นพันธุ์ขยาย   สำหรับชั้นพันธุ์จำหน่ายนั้น เป็นเมล็ดพันธุ์ของชั้นพันธุ์ขยายที่นำมาปลูกแล้วเก็บเป็นเมล็ดพันธุ์เพื่อจำหน่ายแก่ชาวนาทั่วไป   ชั้นเมล็ดพันธุ์เหล่านี้ มีระบบการความคุมและตรวจสอบในเชิงคุณภาพโดยส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

ชั้นพันธุ์ขยาย สามารถหาซื้อได้ทั้งจากร้านค้าที่มีใบอนุญาต(สถานที่จำหน่าย) และจากศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวของกรมการข้าว ส่วนชั้นพันธุ์จำหน่ายนั้น ดูจะมีขายเฉพาะที่ร้านค้าเท่านั้น

ก็ดูจะเป็นภาพที่ไม่สลับซับซ้อน ตรงไปตรงมา และดูง่ายดีในเชิงของการเข้าถึงเมล็ดพันธุ์ข้าวต่างๆที่ต้องการจะนำไปปลูก  แต่ในภาคปฏิบัติจริงที่ตัวเองได้ประสบมานั้นเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก  ทำให้นึกถึงข้อจำกัด ขีดจำกัด และโอกาสของชาวบ้านและชาวนารายเล็กรายน้อยต่างๆ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 27 พ.ย. 23, 18:53

ด้วยที่เป้นการปลูกข้าวกินเอง ก็เลยเลือกที่จะใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวชั้นพ้นธุ์ขยาย แต่หาที่ซื้อด้วยตนเองไม่ได้ดังที่เล่ามาแล้ว ก็เลยสอบถามข้อมูลกับกรมการข้าว ได้ทราบว่าข้าว กข.43 นี้ ศูนย์ที่ อ.วังทอง จ.พิษณุโลก เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายข้าวพันธุ์นี้ ไม่มีบริการส่งของ ต้องไปซื้อและขนเอง ปริมาณที่เมล็ดพันธุ์ที่ต้องการใช้เพียง 2 ถุงๆละ 25 กก. สุดท้ายเลยต้องใช้บริการออนไลน์ ได้ของตรงตามที่ต้องการ

เรื่องที่ดูง่ายๆ เพียงต้องการปลูกข้าวพันธุ์อื่นเพื่อใช้บริโภคเองในพื้นที่ๆเขานิยมปลูกข้าวพันธุ์ กข.105 และ กข.6 เท่านั้นเอง 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 28 พ.ย. 23, 18:15

ได้พันธุ์มาก็เพาะเมล็ดข้าวเตรียมการลงปลูกเลย เพราะเป็นเป็นห่วงเรื่องน้ำสำหรับทำนา และคิดว่าเมื่อถึงวาระเก็บเกี่ยวก็จะได้ไม่ไปชนกับช่วงเวลาที่ทั้งพื้นที่กำลังเก็บเกี่ยวกัน ทุกอย่างผ่านมาด้วยดี ข้าวก็เจริญงอกงามดีจนถึงวาระเก็บเกี่ยว

จะเก็บเกี่ยวโดยวิธีการลงแขกก็ทำไม่ได้ เพราะชาวบ้านแต่ละคนต่างก็กำลังดูแลข้าวในนาของตนเอง ด้วยเป็นช่วงที่ข้าวกำลังจะตกท้องออกรวง  ไม่มีช่องเวลาที่จะปลีกตัวมาช่วย  จะใช้วิธีการจ้างก็เกือบจะไม่มีแรงงานเลย แถมค่าแรงยังสูงในระดับ 400 บาทต่อวัน ยังไม่รวมงานที่จะต้องทำหลังที่เกี่ยวข้าวมาพักไว้เพื่อทำการนวดข้าวต่อไป    คิดไปคิดมา สู้การไปจ้างรถเกี่ยวข้าวไม่ได้ ทั้งเร็วและทั้งประหยัดกว่ามาก

ก็ดูจะง่ายดี แต่ก็ไม่เป็นดังที่คิดนัก   คนที่ทำนาในลักษณะแนวคิดแบบผมและพวกที่มีผืนนาอยู่ในจุดที่มีน้ำท่าดีนั้น ส่วนมากจะเป็นผืนนาที่ไม่ใหญ่และจะค่อนข้างกระจายห่างกัน    รถเกี่ยวข้าวในแต่ละพื้นที่มีไม่มากนัก อาจมีเพียงคันเดียวสำหรับหลายตำบล  ในการปฏิบัติการ เขาจะมาเป็นชุด มีรถสิบล้อเพื่อบรรทุกรถเกี่ยวข้าวมา 1 คัน มีรถขนข้าว 1 หรือ 2 คัน หรือมากกว่านั้น (ขึ้นอยู่กัยระยะทางและปริมาณข้าวเปลือกที่ประเมินไว้ เพื่อขนข้าวเปลือกที่ได้มาจากการเกี่ยวข้าว) ทำให้ต้องมีการนัดหมาย วันและเวลาที่จะเข้าไปดำเนินการเกี่ยวข้าว       
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 28 พ.ย. 23, 18:37

ข้าวหอมมะลิ 105


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 29 พ.ย. 23, 18:02

การณ์ก็ดูจะไม่มีอะไรที่ต้องกังวลต่อไป   แต่มันก็มีเรื่องให้ต้องมีความเครียดบ้างตามธรรมชาติของการทำงาน 

ในระบบของการเกี่ยวข้าวด้วยเครื่องจักรกลนี้  ผู้รับจ้างจะดูจะมีลักษณะเป็นกลุ่มคน คนหนึ่งเป็นเจ้าของรถเกี่ยวข้าว อีกคนหนึ่งหรืออีกสองสามคนเป็นเจ้าของรถบรรทุกแต่ละคัน  ก็อาจจะมีอีกคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ประสานระหว่างผู้จ้างกับผู้รับจ้างและกับผู้รับซื้อข้าวเปลือกเมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว

ภาพของงานในองค์รวมจะเป็นดังนี้ เมื่อถึงวันและเวลานัด รถสิบล้อจะบบรทุกรถเกี่ยวข้าวมาที่นาน้าว รถบรรทุกขนข้าวก็จะมาพร้อมด้วยกัน เมื่อเกี่ยวข้าวได้เต็มอุ้ม (bin, container) ก็จะถ่ายให้รถบรรทุกขนออกจากนาไปยังลานตากข้าว หรือไปยังโกดังของผู้ซื้อข้าว  หนึ่งอุ้มข้าวเปลือกจะมีน้ำหนักน่าจะอยู่ระหว่าง 1-2+ ตัน   ค่าใช้จ่ายจะแยกคิดออกเป็น 3 หมวด คือค่าเกี่ยวข้าว คิดเป็นต่อไร่ ดูจะอยู่ในเกณฑ์ 700++บาท ซึ่งดูจะขึ้นอยู่กับความยากง่ายของงาน เช่น ความไกลและความแห้งของดินผืนนา เป็นข้าวพันธุ์ต้นสูงหรือต้นเตี้ย และต้นข้าวล้มหรือไม่ ...  ค่ารถขนข้าวเปลือก ซึ่งคิดในลักษณะราคาเหมา จะถูกหรือแพงไปขึ้นอยู่กับระยะทางและปริมาณเที่ยวรถที่จะใช้ขนข้าวไปลานตากหรือโกดังข้าว    ในกรณีที่จะไม่ใช้วิธีตากข้าว แต่จะใช้วิธีอบแห้งแทน  ก็จะต้องเสียค่าอบประมาณ 1.50 บาท ต่อกิโลกรัม และจะต้องมีค่าจ้างรถขนกลับ       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 29 พ.ย. 23, 18:39

ความเครียดที่มีดูจะอยู่ในเรื่องของธรรมชาติเป็นหลัก ก็มีอยู่ 2-3 เรื่อง เรื่องแรกเป็นเรื่องของต้วต้นข้าวที่ช่วงเวลาของความสุกเต็มที่กับการร่วงหล่นของเมล็ดนั้นมันสั้น และยังเป็นช่วงที่ต้นข้าวกำลังแห้งมากพอที่จะถูกลมพัดพาให้ล้มหรือหักได้  ซึ่งหากล้มมากก็มีข้อจำกัดในการใช้รถเกี่ยวข้าว ต้องใช้แรงคนช่วยกันเกี่ยวแทน   เรื่องที่ตามมาต่อเนื่องก็คือ นกหนูจะช่วยกันลงมาแย่งเก็บกินเมล็ดข้าวที่ร่วงหล่น แต่ก่อนนั้นดูจะมีเพียงพวกนกตัวเล็ก เช่น นกกระจอก นกกระจาบ นกกระจิบ แต่ในปัจจุบันนี้มีนกพิราบเข้ามาร่วมวงด้วย   เรื่องที่สามเกี่ยวกับเรื่องของฝนที่ตกลงมาแบบเกินพอ ทำให้น้ำท่วมผืนนาหรือดินแฉะมากเกินไปจนรถเกี่ยวข้าวลงนาไม่ได้ การลุยน้ำเกี่ยวข้าวจึงมีให้เห็น

ทั้งมวลของการปลูกข้าว จะได้ผลดีหรือไม่ดีดูจะวังวนอยู่ในเรื่องของจังหวะเวลา  ช่วงแรกปลูกก็เกี่ยวกับน้ำ เมื่อต้นข้าวโตขึ้นก็เกี่ยวกับการระบาดของโรค เมื่อเก็บเกี่ยวก็ดังที่ขยายความมา
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 30 พ.ย. 23, 18:26

เก็บเกี่ยวแล้วก็มาถึงเรื่องของการขาย   ก็คงมีอยู่ 3 ภาพ คือ เกี่ยวแล้วเอาข้าวไปเก็บไว้ในฉาง หรือเกี่ยวแล้วขายเลยกับผู้รับจ้างเกี่ยวข้าว หรือเกี่ยวแล้วขนไปขายให้พ่อค้ารับซื้อข้าว     

กรณีแรก เกี่ยวแล้วจะต้องตากข้าวหรืออบแห้งก่อนเอาไปเก็บในฉาง เพื่อรอขายในราคาที่เหมาะสม  กรณีนี้จะต้องเสียเงินในการว่าจ้างให้ทำการเกี่ยวข้าว และหากไม่ตากข้าวเองก็จะต้องเสียเงินค่าอบข้าวให้แห้ง ซึ่งทั้งสองวิธีการทำให้ข้าวเปลือกแห้งนี้ มีผลกับน้ำหนักและราคาที่จะซื้อขายกัน (มาตรฐานราคาซื้อขายกำหนดกันที่ความชื้นไม่เกิน 15%)

กรณีที่สอง เกี่ยวแล้วชั่งน้ำหนักแล้วขายไปเลย  กรณีนี้ ชาวนาไม่ต้องมีเรื่องให้วุ่นวายต่อไปหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว แต่จะได้ราคาขายข้าวที่อาจจะต่ำมาก   

กรณีที่สาม เกี่ยวแล้วขนไปขายพ่อค้ารับซื้อข้าว  กรณีนี้ ดูจะพบกับปัญหาในเรื่องของการกดราคาด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น ไม่รับซื้อ เต็มโกดังแล้ว ความชื้นมากไป เมล็ดข้าวไม่สวย ...   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 19 คำสั่ง