เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 3478 ขออนุญาตเรียนถามถึงเรื่องอาชีพของผู้หญิงไทยภาคกลางในสมัยอดีตหน่อยค่ะ
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


 เมื่อ 08 พ.ย. 20, 10:54

คือดิฉันได้ไปดูละครพีเรียดของชาติญี่ปุ่น จีนมาค่ะเห็นว่าคนในชาตินั้นผู้หญิงเขาทำมาหากิน มีอาชีพที่สามารถทำได้อยู่เยอะหลากหลายชนิด จึงทำให้นึกสงสัยไปถึงผู้หญิงไทยภาคกลางในสมัยอดีตเราขึ้นมา เลยขออนุญาตเรียนถามหน่อยค่ะว่า

1 ผู้หญิงไทยภาคกลางในสมัยอยุธยาทำมาหากินอะไรได้บ้างคะ อาชีพที่ผู้หญิงไทยภาคกลางในสมัยอยุธยาสามารถทำได้มีอะไรบ้าง

1 ผู้หญิงไทยภาคกลางในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น-ตอนกลางทำมาหากินอะไรได้บ้างคะ อาชีพที่ผู้หญิงไทยภาคกลางในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น-ตอนกลางสามารถทำได้มีอะไรบ้าง

อย่างไรบอกเท่าที่ทราบก็ได้ค่ะ หรือบอกเป็นแหล่งค้นหาก็ยินดี
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 08 พ.ย. 20, 12:07

คือดิฉันได้ไปดูละครพีเรียดของชาติญี่ปุ่น จีนมาค่ะเห็นว่าคนในชาตินั้นผู้หญิงเขาทำมาหากิน มีอาชีพที่สามารถทำได้อยู่เยอะหลากหลายชนิด

สาวญี่ปุ่นเมืองเอโดะและสาวจีนเมืองฉางอันในละครพีเรียดที่คุณดาวดู ทำมาหากินประกอบอะไรกันบ้างหนอ  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 08 พ.ย. 20, 19:28

จากที่ดูมาและยังจำได้อยู่ก็จะเป็นแม่ค้า แม่ครัว นักวาดรูป ช่างปั้น หมอ คนที่คอยสอบสวนคล้ายๆตำรวจ คนตัดเสื้อ บางเรื่องก็ไม่เชิงอาชีพอย่างไปเป็นซามูไร เป็นจอมยุทธ์อะไรแบบนี้น่ะค่ะ ดิฉันไม่แน่ใจว่าอาชีพที่ว่ามีอยู่จริงไหมในญี่ปุ่น จีนสมัยก่อนแต่ก็เห็นว่าน่าสนใจดี
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 08 พ.ย. 20, 19:42

จากที่ดูมาและยังจำได้อยู่ก็จะเป็นแม่ค้า

แม่ค้าก็ต้องอยู่ในตลาด พาคุณดาวไปชมตลาดสะพานชีกุน  ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 09 พ.ย. 20, 10:49

เมื่อหมดหน้านา   ผู้หญิงทอผ้า  ผู้ชายตีเหล็ก
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 09 พ.ย. 20, 11:17

สมัยอยุธยา,หญิงชาวบ้านมีภาระต้องทำงานหนักเพราะสามีถูกเกณฑ์ ดังที่ลาลูแบร์(เช่นเคย) บันทึกไว้ว่า

           ในระหว่างที่พวกผู้ชายถูกเกณฑ์ไปเข้าเวรยามมีกำหนด 6 เดือนนั้น เป็นงานหลวงที่เขาจะต้องอุทิศถวายเจ้าชีวิต
ทุกปี ก็เป็นภาระของภรรยา, มารดาและธิดาเป็นผู้หาอาหารไปส่งให้

           เมื่อพ้นกำหนดเกณฑ์แล้วและกลับมาถึงบ้าน ผู้ชายส่วนมากก็ไม่รู้ที่จะทำงานอะไรให้เป็นล่ำเป็นสัน เพราะไม่ได้
ฝึกงานอาชีพอย่างใดไว้ให้เชี่ยวชาญเป็นพิเศษสักอย่างเดียว ด้วยพระเจ้าแผ่นดินได้ทรงใช้ให้พวกนี้ทำงานหลายอย่างต่างๆ กัน
แล้วแต่พระราชประสงค์
           เช่นนี้จึงพออนุมานได้ว่าชีวิตตามปกติของชาวสยามนั้นดำเนินไปด้วยความเกียจคร้านเป็นประมาณ เขาแทบจะไม่ได้
ทำงานอะไรเลยเมื่อพ้นจากราชการงานหลวงมาแล้ว เที่ยวก็ไม่เที่ยว ล่าสัตว์ก็ไม่ไป ได้แต่นั่ง, เอนหลัง, กิน, เล่น, สูบยา
สูบแล้วก็นอนไปวันหนึ่งๆ เท่านั้น
           ภรรยาจะปลุกให้เขาตื่นขึ้นราว 7 โมงเช้า เอาข้าวปลาอาหารมาให้บริโภค เสร็จแล้วก็ลงนอนต่อไปใหม่ พอเที่ยงวัน
ก็ลุกขึ้นมากินอีก แล้วก็มื้อเย็นอีกคำรบหนึ่ง
           ระหว่างเวลาอาหารมื้อกลางวันกับมื้อเย็นนี้ เขาก็เอนหลังลงพักผ่อนเสียพักหนึ่ง เวลาที่เหลืออยู่นอกนั้นก็หมดไปด้วย
การพูดคุยและเล่นการพนัน
           พวกภรรยานั้นไปไถนา ไปขายของหรือซื้อของที่ในเมือง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 09 พ.ย. 20, 13:41

สมัยอยุธยา,หญิงชาวบ้านมีภาระต้องทำงานหนักเพราะสามีถูกเกณฑ์ ดังที่ลาลูแบร์(เช่นเคย) บันทึกไว้
           พวกภรรยานั้นไปไถนา ไปขายของหรือซื้อของที่ในเมือง

ผู้หญิงจึงเป็นกำลังสำคัญในระบบการค้าขายสมัยอยุธยา ด้วยประการฉะนี้แล  ยิงฟันยิ้ม

http://old-book.ru.ac.th/e-book/h/HI322(48)/hi322(48)-2-6.pdf
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 09 พ.ย. 20, 21:39

ขอบพระคุณสำหรับคำตอบและคำอธิบายค่ะ 

ขอถามเพิ่มเติมเรื่องออกค้าขายหน่อยซิคะว่าผู้หญิงส่วนใหญ่ค้าขายอะไร ดิฉันเคยได้ยินว่าคนไทยภาคกลางในสมัยอยุธยาไม่ค่อยนิยมค้าขายเท่าไรส่วนใหญ่จะเป็นชาติพันธ์อื่นๆเช่นลาว เขมร จีน ฝรั่ง แขก มาค้าซะส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าถูกต้องแค่ไหน

และนอกจากค้าขายแล้วผู้หญิงไทยภาคกลางในสมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น-ตอนกลางสามารถทำอาชีพอะไรได้อีกบ้าง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 10 พ.ย. 20, 08:11

ขอถามเพิ่มเติมเรื่องออกค้าขายหน่อยซิคะว่าผู้หญิงส่วนใหญ่ค้าขายอะไร

ในคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรมยังได้พรรณนาภูมิสถานพระนครศรีอยุธยา อันประกอบไปด้วยท่าเรือจ้างรอบกรุง ตะพาน และตลาดของกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีความคึกคักด้วยสินค้าและผู้คนอย่างมาก ถึงแม้ว่าจะไม่ได้กล่าวถึงชีวิตของผู้หญิงอยุธยาโดยตรง แต่สินค้าและการค้าต่าง ๆ ย่อมทำให้นึกถึงบรรยากาศที่แม่ค้าต่าง ๆ เก็บเกี่ยวผลผลิตและผลิตสินค้าออกมาค้าขาย เช่น

ย่านป่าขนม มีขนมชะมด กงเกวียน สามเกลอหิน ฝนทอง ขนมกรุบ ขนมพิมพ์ถั่ว ขนมสาปะนี ย่านป่าชมพูมีร้านขายผ้าชมพู ผ้าชมพูเลว ผ้าตีพิมพ์เลว ย่านป่าฟูกมีร้านขายฟูกเบาะเมาะหมอนมุ้ง ตลาดเสาชิงช้าที่ศาลาริมเสาชิงช้าขายของสดเช้าเย็นเป็นตลาดใหญ่ ตลาดใหญ่ท้ายพระนครย่านในไก่ มีตึกกว้านร้านจีน ขายกระเบื้องถ้วยโถชาม แพรจีน ไหมจีนสีต่าง ๆ อาหารจีนและผลไม้จากจีน เป็นตลาดสดเช้าเย็น ขายสุกรเป็ดไก่ และทั้งปลาทะเล ปลาน้ำจืด ที่ถนนบ้านลาวมีร้านขายของสรรพดอกไม้สด ชื่อ ตลาดดอกไม้ ถนนย่านฉะไกรใหญ่มีไม้ไผ่ทำเป็นฝาเรือนหอขาย มีร้านขายผ้าลายสุรัศ ผ้าขาวแลผ้าฉลาง มีร้านขายของเช้าเย็น ชื่อตลาดผ้าลาย เป็นต้น

ย่อมเข้าใจได้ว่าในกิจการการค้าในเขตพระนครศรีอยุธยานี้ มีหญิงสามัญหรือไพร่เป็นแม่ค้าแม่ขายและเป็นผู้จับจ่ายเสียโดยมาก
 
จาก ภาพสะท้อนของสตรีที่ปรากฏในเอกสารสมัยอยุธยา โดย นายอาษา ภาคอารีย์ หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ แผน ข ระดับปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา ๒๕๖๑
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 10 พ.ย. 20, 08:54

คุณดาวและชาวเรือนไทยอาจสนใจรายละเอียดเรื่องตลาดและการค้าขายในคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม

- ว่าด้วยเรือจ้างรอบกรุง

- ว่าด้วยที่ค้าขายนอกกรุง

- ว่าด้วยตลาดในพระนครศรีอยุธยา

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 10 พ.ย. 20, 09:58

         "นิยาย" อิงยุคพระนารายณ์ เรื่อง ลายกินรี ตอนแรก เปิดตัวละครคนแรกเป็นป้าวางเบ็ดตกปลาเพื่อนำไปขายที่ตลาด
ตามต่อมา, ตัวเอก เป็นหมอหญิง ที่ได้วิชาแพทย์มาจากบิดาและพิสูจน์ฝีมือทำการรักษาปรุงยาจนเป็นที่ยอมรับจากผู้คน
(กล่าวไว้ว่า สมัยนั้น,ไม่มีข้อกำหนด ห้ามผู้หญิงเป็นหมอ แต่หมอ = ผู้ชาย)
 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 10 พ.ย. 20, 11:33

หมอนวดน่าจะเป็นอีกอาชีพหนึ่งของผู้หญิงสมัยอยุธยา

ในทำเนียบศักดินา ข้าราชการฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนที่ตราขึ้นในปี พ.ศ. ๑๙๙๘  ซึ่งเป็นสมัยของพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. ๑๙๙๑-๒๐๓๑) ปรากฏความใน กฎหมายตราสามดวง “นาพลเรือน” ได้กล่าวถึงการแบ่งส่วนราชการให้มีกรมหมอนวดเป็นกรมใหญ่ เจ้ากรมและปลัดกรมมีศักดินามากกว่ากรมอื่น ๆ  จำแนกตำแหน่งเป็น หลวง ขุน หมื่น พัน และมีศักดินา เช่นเดียวกับข้าราชการสมัยนั้น คือเจ้ากรมหมอนวดมีตำแหน่งหลวงรักษาและแบ่งการบริหารเป็นปลัดกรมหมอนวดฝ่ายขวา คือหมอนวดฝ่ายผู้ชาย มีขุนภักดีองค์เป็นปลัดกรมหมอนวดฝ่ายขวา  

สำหรับเจ้ากรมหมอนวดฝ่ายซ้ายคือหมอนวดฝ่ายหญิง มีหลวงราโชเป็นหัวหน้าและขุนองค์รักษาเป็นปลัดเจ้ากรม  ขณะที่ตำแหน่งหมื่น มีตำแหน่งเท่ากัน ทั้งฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา ได้แก่หมื่นแก้ววรเลือก หมื่นวาโยวาด หมื่นวาโยนาศ และหมื่นวาโยไชย ตามลำดับ ส่วนตำแหน่งอื่น ๆ รองลงไปได้แก่ พัน และนายพะโรง

http://www.facebook.com/100266388128915/posts/171179644370922/

หมอนวดฝ่ายหญิงในกรมหมอนวดฝ่ายซ้ายคงมีหน้าที่ส่วนใหญ่เฉพาะในราชสำนัก แต่หมอนวดหญิงเชลยศักดิ์ก็น่าจะมีบริการสามัญชนทั่วไป
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 10 พ.ย. 20, 12:48

จากคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม  

ตลาดบ้านจีนปากคลองขุนละครไชย มีหญิงละครโสเภณีตั้งโรงอยู่ท้ายตลาด ๔ โรง รับจ้างทำชำเราแก่บุรุษ ตลาดนี้เปนตลาดใหญ่ใกล้ทางเรือแลทางบก มีตึกกว้านร้านจีนมาก ฃายของจีนมากกว่าของไทย

นับเป็นอีกอาชีพหนึ่งของผู้หญิงในสมัยอยุธยา  ขยิบตา
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 10 พ.ย. 20, 21:10

ขอถามคุณ SILA เพิ่มหน่อยค่ะ ถ้าสมัยนั้นไม่มีข้อกำหนดห้ามผู้หญิงเป็นหมอแต่ทำไมหมอต้อง = ผู้ชายหรือคะ หรือรากศัพท์ของคำว่าหมอแปลว่าผู้ชาย

พูดถึงอาชีพโสเภนีดิฉันเลยนึกไปถึงอาชีพเกอิชาของญี่ปุ่น แต่ของญี่ปุ่นเขาจะไม่จำเป็นต้องขายตัว แต่ไปเล่นดนตรี ขับร้อง เต้นรำ ชงชา จัดดอกไม้ เขียน อ่านเรื่องบทกวีและวรรณคดี ให้กับลูกค้าแทน ไม่ทราบว่าผู้หญิงไทยภาคกลางในสมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น-ตอนกลาง มีนิยมอาชีพที่ไปทางศิลปะอะไรคล้ายๆแบบบ้างไหมคะ ดิฉันนึกออกแต่รำไทย ส่วนเล่นดนตรี ร้องเพลงไม่แน่ใจว่าผู้หญิงทำอาชีพนี้ได้ไหม
บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 12 พ.ย. 20, 08:34

สมัยน้้น หมอตำแย ก็ผู้หญิงนะคะ เรียกหมอไม่เรียกตำแยเฉยๆ ที่พอจำได้ในเอกสารเก่า ๆ มีหมอผู้หญิง คิดว่าน่าจะเป็นหมอในราชสำนัก ที่ไม่ให้หมอผู้ชายเข้าวัง ขนาดออกพระแพทย์โอสถ หมอฝรั่ง พระสนมป่วยยังต้องออกไปหานอกวัง
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 20 คำสั่ง