เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 3465 ขออนุญาตเรียนถามถึงเรื่องอาชีพของผู้หญิงไทยภาคกลางในสมัยอดีตหน่อยค่ะ
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 12 พ.ย. 20, 08:35

สมัยน้้น หมอตำแย ก็ผู้หญิงนะคะ เรียกหมอไม่เรียกตำแยเฉยๆ ที่พอจำได้ในเอกสารเก่า ๆ มีหมอผู้หญิง คิดว่าน่าจะเป็นหมอในราชสำนัก ที่ไม่ให้หมอผู้ชายเข้าวัง ขนาดออกพระแพทย์โอสถ หมอฝรั่ง พระสนมป่วยยังต้องออกไปหานอกวัง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 12 พ.ย. 20, 16:35

ไม่ทราบว่าผู้หญิงไทยภาคกลางในสมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น-ตอนกลาง มีนิยมอาชีพที่ไปทางศิลปะอะไรคล้ายๆแบบบ้างไหมคะ ดิฉันนึกออกแต่รำไทย ส่วนเล่นดนตรี ร้องเพลงไม่แน่ใจว่าผู้หญิงทำอาชีพนี้ได้ไหม
อาชีพที่ค่อนไปทางศิลปะ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือเขียนกลอนขายค่ะ   ในประวัติคุณพุ่มเล่าว่าเมื่ออายุมากขึ้น ท่านตกยากต้องเขียนกลอนขาย  ก็แสดงว่าเขียนกลอน (จะเป็นนิทานหรือเพลงยาวโต้ตอบกับผู้ชาย) ก็ทำเป็นอาชีพ มีคนมาว่าจ้างได้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 12 พ.ย. 20, 17:07

นางละครก็เป็นอาชีพทางศิลปะอีกอย่างหนึ่ง แต่ในสมัยอยุธยา ธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้นจะแสดงแต่ในรั้วในวังเท่านั้น

ละครที่แสดงในราชสำนักเรียกว่า 'ละครใน' ใช้ผู้หญิงล้วน ห้ามไม่ให้ชาวบ้านเล่น เรื่องที่นิยมมาแสดงมี ๓ เรื่องคือ อิเหนา รามเกียรติ์ อุณรุท ส่วน 'ละครนอก' ชาวบ้านจะแสดง ใช้ผู้ชายล้วนดำเนินเรื่อง

ในสมัยกรุงธนบุรี มีตัวละครผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งเคยเป็นนางเอกละครหลวงมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา และได้มาเป็นครูละครครั้งกรุงธนบุรี มีชื่อว่า “จัน” ในเพลงยาวความเก่าเรียกไว้ว่า “จันอุษา” ซึ่งคงจะหมายความว่า หญิงชื่อจันคนนี้ เคยแสดงละคอนเป็นตัวนางอุษา นางเอกในเรื่องอุณรุท และแสดงดีมีชื่อเลียงจนคนทั้งหลายขนานนามในตัวละครเป็นสร้อยติดชื่อตัวมาด้วย เช่นเดียวกับที่เรียก “แย้มอิเหนา” “อิ่มย่าหรัน” “ทองใบทศกรรฐ์” และ “ทองดีพระราม” เป็นต้น ซึ่งมีประเพณีนิยมเรียกกันมาจนในชั้นหลังนี้

https://vajirayana.org/บทละครเรื่อง-อุณรุท/ที่มาของอนิรุทธคำฉันท์และบทละคอนเรื่องอุณรุท-ของ-ธนิต-อยู่โพธิ์
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 14 พ.ย. 20, 16:59

ขอบพระคุณที่มาตอบเพิ่มเติมให้ค่ะ ดิฉันพึ่งนึกขึ้นได้ถึงอาชีพจำพวกหนึ่งที่ซีรีส์จีนพีเรียดมักจะให้ผู้หญิงทำคือหมดดู ร่างทรง คนที่ติดต่อกับเทพเจ้า ผีต่างๆ แต่พอมาดูละครไทยพีเรียดถ้าเป็นแบบนี้มักจะให้ผู้ชายทำ อันนี้สมัยก่อนผู้หญิงไทยเขามีทำบ้างไหมคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 14 พ.ย. 20, 19:04

มีค่ะ ในวรรณคดีลิลิตพระลอ
เมื่อนางรื่นนางโรยไปหาหมอเสน่ห์ให้มาทำเสน่ห์พระลอ  เพื่อจะได้ทิ้งเมืองมาหาพระเพื่อนพระแพง     ตอนแรกนางรื่นนางโรยไปหาหมอเสน่ห์เป็นผู้หญิงแก่   เรียกว่า "ยายมด"

จึ่งแสวงหายายมด ไปจรดผู้ยายำ จำเอาแต่ผู้สิทธิ์ รู้ชิดใช้กลคล่อง บอกทำนองทุกอัน ครัน ธ ช่วยลุไซร้ ตูจะให้ ลาภจงครัน จะให้รางวัลจงพอ ครั้นะพระลอสมสองแล้ว อยู่ช่างยายมดแก้ว อะคร้าวใครปาน เปรียบเอย ฯ
ยายฟังสารยายสั่นหัว ยายเคยแต่ตัวชั่วตัวช้า
ยายจักลองเจ้าหล้า บ่ได้หลานเอย ฯ

ทำไมถึงเรียกว่า ยายมด  คำว่ายายพอเข้าใจได้ว่าหมายถึงหญิงแก่  แต่คำว่า "มด" นึกไม่ออกว่ามาจากภาษาอะไร คำนี้หายไปจากความเข้าใจของคนไทย 
แต่มีคำที่คล้ายคลึงกัน จนน่าจะมาจากรากศัพท์เดียวกัน คือ "แม่มด"
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 14 พ.ย. 20, 21:22

แม่มด มีกล่าวถึงในกฎหมายสมัยอยุธยาโบราณ ในตอนท้ายของ "พระอายการเบดเสรจ" ลงมหาศักราช ๑๑๔๖ ตรงกับ พ.ศ. ๑๗๖๘ ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๓ เป็นเวลา ๑๒๕ ปี

อาจกล่าวได้ว่ากรุงศรีอยุธยาเก่าแก่กว่ากรุงสุโขทัยด้วยซ้ำไป จึงมีวรรณคดีที่ใช้ภาษาไทยก่อนใคร วรรณคดีเก่าแก่เล่มนั้นยังเหลือร่องรอยชื่อ กฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ (ตอนท้าย) เก่ากว่าจารึกสุโขทัยเกือบ ๑๐๐ ปีทีเดียว

กฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ เป็นชื่อเรียกตามความเข้าใจปัจจุบัน แต่ตัวเขียนในสมุดข่อยมีว่า "พระอายการเบดเสรจ" หมายถึง พระไอยการเบ็ดเสร็จ คำว่า "เบ็ดเสร็จ" ตรงกับ "เบ็ดเตล็ด" ทุกวันนี้

เหตุที่เรียกชื่อกฎหมายฉบับนี้ว่า "เบ็ดเสร็จ" หรือ "เบ็ดเตล็ด" ก็เพราะเป็นกฎหมายต่าง ๆ หลายเรื่องเอามารวมไว้ในที่เดียวกัน และไม่อาจให้ความสำคัญเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ถนัด อันเนื่องเพราะเป็นเรื่องย่อย ๆ เบ็ดเตล็ดทั้งนั้น

กฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ มี ๒ ตอน คือ

ตอนต้น ลงศักราช ๑๒๖๓ ปีมะแม ตรงกับ พ.ศ. ๑๘๘๖ ก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา ๗ ปี ว่าด้วยลักษณะวิวาท เรื่องกระหนาบคาบเกี่ยวให้เป็นเสนียดแก่กัน

ตอนท้าย ลงศักราช ๑๑๔๖ ปีมะแม ซึ่งเป็นตอนเก่าแก่ที่สุด ว่าด้วยลักษณะวิวาทเรื่องกระทำกฤติยาคุณ มีฉมบ จะกละ กระสือ กระหาง เป็นต้นเหตุ

กฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ (ตอนท้าย) มีเนื้อหาเป็นเรื่องความเชื่อเกี่ยวกับลักษณะ ผีร้าย มีชื่อเรียกในกฎหมายนี้ว่า "ฉมบ จะกละ กระสือ กระหาง" กับเรื่อง หมอผี ที่เรียกชื่อในกฎหมายนี้ว่า "แม่มดพ่อหมอ" คือคนผู้เรียนรู้เวทวิทยาคมและกฤติยาคุณอันทำให้ถึงตายฉิบหายด้วยอุบายต่าง  ๆ

หมอผี หรือ "แม่มดพ่อหมอ" อาจารย์ศรีศักรอธิบายว่า "คนพวกนี้คือพวกที่รู้ในเรื่องไสยศาสตร์ (magic) แต่ว่าเป็นไสยดำ (black magic) คือการนำเอาไสยศาสตร์ไปใช้ในทางที่ผิดและชั่วร้าย เช่น การปล่อยคุณ เสกหนังควายเข้าท้องคน ทำเสน่ห์ยาแฝด รวมทั้งทำยาเบื่อยาสั่งด้วย การประพฤติในทำนองนี้ พวกนักมานุษยวิทยาเรียกรวมๆกันว่า ซอสเซอรี่ (sorcery)"

สุจิตต์ วงษ์เทศ อ่านแผ่นดินฯ มติชนสุดสัปดาห์ วันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๑๒๐๐


อ่านเพิ่มเติมได้ใน ภาพสะท้อนของกฎหมายตราสามดวงในเรื่องเวทย์มนต์และอาถรรพ์ต่างๆ



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 15 พ.ย. 20, 09:39

คำว่า "มด" นึกไม่ออกว่ามาจากภาษาอะไร

ศ.จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต เขียนบทความชื่อ "มดหมอ" ความตอนหนึ่งว่า มีคำในภาษาไทยอยู่คู่หนึ่งซึ่งไม่ทราบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร คือ คำว่า “มด” กับ “หมอ” ที่ชาวบ้านมักพูดเข้าคู่กันเป็น “มดหมอ” ท่านให้ความเห็นว่า มด มาจากบาลีว่า มะตะ แปลว่า ตาย โดยอิงคำว่า "พ่อมดหมอผี" ผี ก็ต้องหมายถึง คนที่ตายไปแล้ว

ศ.ดร.บรรจบ พันธุเมธา ให้เบาะแสที่ชัดเจนกว่า ท่านชี้ว่า คำว่า มด มาจากภาษาเขมร เขียนว่า "มต" แปลว่า หมอ

"มด" จากภาษาเขมรว่า ม็วต หรือ ม็วด ถูกกร่อนด้วยลิ้นคนไทยกลายเป็น มด

ม็วด (มด) คือ ร่างทรง  มะม็วด (แม่มด) คือ หญิงคนทรง

พิธีกรรมทรงเจ้าเข้าผีเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บ เรียกว่า  "ปัญโจลมะม็วด" หรือ "โจลมะม็วด”
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 17 พ.ย. 20, 07:55

ู^

ありがとうございました


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 17 พ.ย. 20, 07:58

วรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนฉบับหอพระสมุด แต่งขึ้นสมัยรัตนโกสินทร์  แต่การสะท้อนภาพสังคมก็ไม่ไกลจากอยุธยาตอนปลาย   พออนุโลมได้ว่าอาชีพค้าขายที่นางแก้วกิริยาทำ น่าจะมีผู้หญิงอยุธยาค้าขายแบบนี้มาก่อนเช่นกัน

จะกล่าวถึงนางแก้วกิริยา            แต่ได้เงินสิบห้าขุนแผนให้
ไถ่ตัวออกจากขุนช้างไป            อยู่ในกรุงศรีอยุธยา
อาศัยอยู่เรือนเพื่อนบ้านเก่า            เขาก็ช่วยบำรุงรักษา
ชายใดได้เห็นก็ต้องตา            นางอุตส่าห์เจียมตัวว่าผัวมี
ซื้อขายวายล่องแต่ของถูก            ลูกไม้ขนมส้มลิ้นจี่
ร้านชำทำฉลากหมากฝาดดี            ยาบุหรี่เพชรบูรณ์ใบตองนวล
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 17 พ.ย. 20, 11:20

ありがとうございました

どういたしまして。

บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 17 พ.ย. 20, 19:25

ขอบพระคุณทุกท่านที่มาช่วยตอบคำถามและช่วยอธิบายให้ค่ะ

ถ้าท่านไหนมีเพิ่มเติมอีกก็เชิญได้เรื่อยๆค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 19 คำสั่ง