เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 1880 ถนนบ้านดินสอ
dukedike
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


 เมื่อ 06 พ.ย. 20, 21:48

อยากทราบว่า ถนนบ้านดินสอนี้ อยู่ตรงไหนครับ ใช่ถนนดินสอตรงศาลากทม.มั้ยครับ ถ้าใช่เหตุใดถึงเปลี่ยนจากถนนบ้านดินสอ มาเป็นถนนดินสอครับ หาข้อมูลไม่เจอ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 07 พ.ย. 20, 09:12

ที่เดียวกันละค่ะ   เมื่อก่อนนี้ มีการเรียก“ถนนดินสอ” ว่า  “ถนนตรอกดินสอ” และ “ถนนบ้านดินสอ” แต่ต่อมาทางการตัดคำเหลือแต่ "ดินสอ"
คำว่า "บ้าน" ในสมัยโน้น หมายถึงละแวกที่ขึ้นชื่อในผลิตและขายสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง     บ้านบาตร ก็เป็นแหล่งผลิตและขายบาตรพระ
ดินสอ เป็นดินชนิดหนึ่ง สีขาว   มีเอาไว้กินกับหมาก หรือกินเปล่าๆก็ได้    แม่พลอยในสี่แผ่นดินก็กินดินสอ เมื่อแพ้ท้องลูกคนแรก
บันทึกการเข้า
dukedike
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 07 พ.ย. 20, 09:45

ที่เดียวกันละค่ะ   เมื่อก่อนนี้ มีการเรียก“ถนนดินสอ” ว่า  “ถนนตรอกดินสอ” และ “ถนนบ้านดินสอ” แต่ต่อมาทางการตัดคำเหลือแต่ "ดินสอ"
คำว่า "บ้าน" ในสมัยโน้น หมายถึงละแวกที่ขึ้นชื่อในผลิตและขายสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง     บ้านบาตร ก็เป็นแหล่งผลิตและขายบาตรพระ
ดินสอ เป็นดินชนิดหนึ่ง สีขาว   มีเอาไว้กินกับหมาก หรือกินเปล่าๆก็ได้    แม่พลอยในสี่แผ่นดินก็กินดินสอ เมื่อแพ้ท้องลูกคนแรก

ขอบคุณสำหรับข้อมูลมากครับผม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 07 พ.ย. 20, 12:00

ภาพนี้เป็นผลงานของช่างภาพชาวญี่ปุ่น 土井九郎 (โดอิ คุโระ) ที่เดินทางถ่ายรูปท่องเที่ยวไปในหลาย ๆ ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗

https://lifestyle.campus-star.com/picpost/277.html
บันทึกการเข้า
dukedike
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 07 พ.ย. 20, 12:26

ภาพนี้เป็นผลงานของช่างภาพชาวญี่ปุ่น 土井九郎 (โดอิ คุโระ) ที่เดินทางถ่ายรูปท่องเที่ยวไปในหลาย ๆ ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗

https://lifestyle.campus-star.com/picpost/277.html

ใช่ครับ
บันทึกการเข้า
pratab
อสุรผัด
*
ตอบ: 29


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 07 พ.ย. 20, 12:50


........ดินสอ เป็นดินชนิดหนึ่ง สีขาว   มีเอาไว้กินกับหมาก หรือกินเปล่าๆก็ได้    แม่พลอยในสี่แผ่นดินก็กินดินสอ เมื่อแพ้ท้องลูกคนแรก

"ดินสอ" ที่ว่านี้คือดินสอพอง (marl)ใช่ไหมครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 07 พ.ย. 20, 14:59

ส่วนดินสอซึ่งใช้เขียนหนังสือบนกระดานดำ อย่างที่ข้าพเจ้าใช้สมัยโน้น ไม่ใช่ดินสอหินอย่าปัจจุบัน แต่เบ็นดินสอดิน ซึ่งทำด้วยดินดาน ผสมกับดินสอพองและขมิ้นผง ผึ่งแดดให้แห้ง แล้วตัดเบ็นแท่ง ๆ ขนาดต่าง ๆ ตามที่ต้องการ ดินสอดินซึ่งกล่าวนี้ไม่ต้องทำเองเหมือนอย่างกระดานดำ ซึ่งต้องทำเอง เพราะมีผู้ทำขาย ทั้งนี้ ไม่ใช่ว่าสมัยโน้น มีคนเขียนหนังสือกันมาก ถึงกับมีดินสอขาย แท้จริง ดินสอเหล่านี้ ซึ่งมีอยู่หลายชนิด ส่วนมากเขาทำไว้ขายพวกผู้หญิงลางคน สำหรับกินแก้แพ้ท้อง ภายหลัง เมื่อมีดินสอหิน ดินสอขาว (ช็อล์ก) และดินสอดำ เข้ามาขายจากต่างประเทศ ดินสอดินอย่างเก่า ก็ค่อยหมดไป เพราะของใหม่ที่มีเข้ามาดีกว่าของเก่า ของเก่าก็ต้องหมดไปเอง ไม่ช้าก็เร็ว นี่เบีนกฎธรรมดา ไม่ว่าจะเบ็นสิ่งธรรมชาติ หรือเบ็นสิ่งที่คนคิดประดิษฐ์สร้างขึ้น

หวนมากล่าวเล่าต่อเรื่องดินสอ ดินสอ แปลว่าดินขาว สอ แม้เดิมจะเป็นคำเขมร แต่ตกเข้ามาอยู่ในภาษาไทยนมนานแล้ว จึงถือได้ว่าเบ็นคำไทยเชื้อเขมร อย่างเดียวกับคำไทยอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งเป็นคำไทยเชื้ออินเดีย เชื้อฝรั่ง เชื้อมลายูและเชื้อมอญเป็นต้น เมื่อคำว่า สอ ตกมาอยู่เบ็นคำไทย เราก็ไม่ได้ใช้แต่ลำพังคำเดียวเบ็นปรกติ แต่ใช้ประกอบหลังคำอื่น เช่น ดินสอ ปูนสอ ดินสอ หมายความว่า สิ่งสำหรับขีดเขียน เช่น ดินสอดำ ดินสอขาว ดินสอหิน เราจะแปลตามความหมายเดิมว่า ดินขาวดำ ดินขาวขาว ดินขาวหิน ไม่ได้ต่อไปแล้ว ต้องถือว่า สอ เบ็นคำไทยโดยสมบูรณ์ทั้งเสียงและความหมายไม่จำเบ็นจะต้องเหมือนกับคำเดิมในภาษาเขมรทั้งเสียงและความหมาย

สมัยเมื่อข้าพเจ้าเริ่มเรียนหนังสือ กระดานชะนวนและดินสอดำ ดินสอขาวอย่างที่ใช้อยู่ในเวลานี้ จะมีเข้ามาแล้วหรือยัง ข้าพเจ้าก็ไม่ทราบ เข้าใจว่าจะยังไม่มี เพราะนึกไม่ออกว่าเคยเห็น ถ้าจะมีเข้ามาแล้ว ก็เห็นจะยังไม่แพร่หลาย มาถึงคนชั้นสามัญซึ่ง "อยู่ปลายอ้อปลายแขม" ถ้าไม่ใช่เช่นนั้นข้าพเจ้าจะต้องใช้กระดานอย่างเก่าทำไม และก็เข้าใจว่าสิ่งนี้ บิดาคงทำให้เพราะท่านเคยเรียนหนังสือวัดมาก่อน ส่วนดินสอนั้น อาจซื้อได้จากร้านที่เขามีกองไว้ขาย แต่เท่าที่นึกได้ ดูจะมีร้านขายดินสอชนิดนี้น้อยแห่งเต็มที ถ้าต้องการจะซื้อได้เสมอ ก็ต้องไปซื้อที่ตำบลเสาชิงช้าในเมือง เมื่อข้าพเจ้ามีอายุเบ็นเด็กเล็กอยู่ เชื่อแน่ว่าไม่เคยผ่านที่แถวนั้น จนเบ็นเด็กโต มีอายุ ๑๐ ขวบกว่า จึงได้เคยผ่านไปบ่อย ๆ ได้เห็นที่ตลาดเสาชิงช้า เบ็นตึกแถวสองชั้น ล้อมรอบตลาดอยู่ทั้ง ๔ ด้าน มีประตูเข้าออกตลาดด้านละประตู ตอนด้านใต้ตรงข้ามวัดสุทัศน์ ฯ มีเสาชิงช้าตั้งอยู่เห็นตระหง่าน ดังที่เป็นอยู่บัดนี้ ตอนด้านตะวันตก ตรงข้ามกับเทวาลัย ซึ่งเรียกว่าโบสถ์พราหมณ์ มีร้านขายดินสอที่กล่าวนี้อยู่หลายร้าน ข้าพเจ้าเข้าใจว่าถนนดินสอ คงตั้งตามชื่อจากร้านขายดินสอแถวนั้นเป็นแน่ ซึ่งแต่ก่อน เห็นจะมีร้านขายดินสอมากกว่าที่ข้าพเจ้าได้เคยเห็น และร้านขายดินสอเหล่านี้คงอยู่เรี่ยรายตลอดไป อาจจะเบ็นร้านแผงลอยก็ได้ เพราะตรงที่ตลาดเสาชิงช้านี้ เดิมเบ็นที่ตั้งเสาชิงช้าขนาดเล็ก ๆ ยังไม่สูงและใหญ่โตเหมือนดังทุกวันนี้

จาก ฟื้นความหลัง โดย เสฐียรโกเศศ เล่มที่ ๑ พิมพ์ครั้งที่ ๒  ๑ กรกฎาคม ๒๕๑๓ หน้า ๒๒๘-๒๓๑

http://www.openbase.in.th/files/satienbook014.pdf
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.048 วินาที กับ 20 คำสั่ง