เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 1790 ขออนุญาตเรียนถามถึงไวยกรณ์ของภาษากัมพูชากับภาษามอญหน่อยค่ะ
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


 เมื่อ 27 ต.ค. 20, 20:34

คือดิฉันอยากจะขออนุญาตเรียนถามถึงไวยกรณ์ของภาษากัมพูากับภาษามอญหน่อยค่ะว่า

1 ไวยกรณ์ของภาษากัมพูชากับภาษามอญ มีความเหมือนและความแตกต่างจากไวยกรณ์ของภาษาไทยกลางอย่างไรบ้างคะ

2 เป็นไปได้ไหมคะที่ภาษาไทยกลางจะมีไวยกรณ์ที่เหมือนของภาษากัมพูชากับภาษามอญมากกว่าไวยกรณ์ของจีน ไวยกรณ์ภาษาของชาติพันธ์ไทกลุ่มอื่นๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 28 ต.ค. 20, 08:13

ไม่รู้จักไวยากรณ์ทั้งสองภาษาค่ะ  ใครทราบ่ช่วยตอบด้วยนะคะ
บันทึกการเข้า
CrazyHOrse
แขกเรือน
นิลพัท
*******
ตอบ: 1899



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 28 ต.ค. 20, 15:08

ไวยากรณ์ไทยเหมือนไทกลุ่มอื่นๆและมอญ-เขมรครับ

ต่างจากจีนเล็กน้อยตรงที่เอาคำวิเศษณ์ไว้ข้างหลังคำนาม จีนส่วนมากจะเอาไว้หน้าคำนาม ยกเว้นทางใต้บางกลุ่มเช่นจีนกวางตุ้งซึ่งมีร่องรอยการวางคำวิเศษณ์ไว้หลังคำนาม ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจเพราะจีนกวางตุ้งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกับพื้นที่ที่เชื่อกันว่าเป็นแหล่งกำเนิดของกลุ่มภาษาไท-กะได และนักวิชาการบางกลุ่มสังสัยว่าจีนกวางตุ้งไม่ใช่ภาษากลุ่มจีนมาแต่ต้นครับ
บันทึกการเข้า

"Postel's Law": "be conservative in what you do, be liberal in what you accept from others"
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 28 ต.ค. 20, 15:24

คุณม้าเคยขยายความเรื่องนี้ไว้

มีประเด็นที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือ สองข้างของไทยโบราณกระหนาบอยู่โดยมอญทางตะวันตก และขอมทางตะวันออก (หรืออาจรวมญวน*เข้าไปด้วยก็ได้) มอญ-ขอม-ญวน สามชาตินี้ใช้ภาษาตระกูลเดียวกัน ในขณะที่ภาษาไทยเป็นภาษากลุ่มเดียวกับจีน

กางแผนที่ออกดู จะเห็นว่ากลุ่มที่ใช้ภาษามอญเขมรเคลื่อนที่อยู่ในแนวตะวันออก-ตะวันตก แต่พวกไทยเคลื่อนที่ในแนวเหนือใต้

รูปการณ์นี้ แสดงว่าพวกไทยเคลื่อนที่จากทางเหนือลงมาในเขตอิทธิพลมอญเขมรเดิม ผ่ามอญเขมรแยกขาดจากกัน

ถึงตรงนี้ ขอแวะข้างทางออกไปดูภาษาญวนก่อนครับ
ภาษาญวนเป็นภาษาที่แปลก ถึงที่สุดแล้วนักภาษาศาสตร์ลงความเห็นว่าญวนเป็นภาษากลุ่มมอญเขมร โดยพิจารณาจากศัพท์พื้นฐานที่ใช้(มีงานวิจัยรองรับนะครับ แต่ขี้เกียจค้น  ยิงฟันยิ้ม) แต่ภาษาญวนก็มีลักษณะแปลกจากภาษากลุ่มมอญเขมรตรงที่มีการใช้วรรณยุกต์เหมือนภาษาตระกูลไทยจีน พิจารณาในแง่ว่าทางภูมิศาสตร์พื้นที่ของญวนอยู่ตรงรอยต่อของวัฒนธรรมมอญเขมรกับไทยจีนพอดี พอจะสรุปได้ว่าภาษาญวนนั้นเป็นภาษามอญเขมรที่รับเอาอิทธิพลของภาษากลุ่มไทยจีนที่เพื่อนบ้านกันเข้าไป

เรื่องนี้มีประเด็นที่น่าสนใจให้พิจารณาอย่างหนึ่ง คือไทยอยู่ปนเปในดินแดนแหลมทองนี้ร่วมกับเขมรและมอญ แต่ผมไม่เคยเห็นว่ามีการกลายลักษณะนี้ในละแวกนี้ (อาจจะมีแต่ผมไม่รู้ ดังนั้นขอคิดจากเท่าที่รู้ก่อนนะครับ) นั่นหมายความว่าคนไทยเข้ามาในภูมิภาคนี้เมื่อภาษามีอัตตลักษณ์ของตัวเองชัดเจนแล้ว เป็นการสนับสนุนข้อสันนิษฐานเรื่องถิ่นกำเนิดไตอยู่ทางใต้ของจีน-เวียดนามตอนเหนืออีกประการหนึ่งด้วยครับ

บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 30 ต.ค. 20, 09:08

ขอบพระคุณสำหรับคำตอบค่ะ ขอถามเพิ่มเติ่มนิดนะคะคือดิฉันทราบมาว่าเขาจัดกลุ่มภาษาไทยกับภาษาของไทกลุ่มอื่นๆเป็นกลุ่มหนนึ่ง ภาษามอญ-เขมรเป็นกลุ่มหนึ่ง ครงนี้ไม่มีผลที่ทำให้ระบบไวยกรณ์ต่างกันใช่ไหมคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.042 วินาที กับ 19 คำสั่ง