เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 3909 ขออนุญาตเรียนถามถึงคำที่บอกระดับความละเอียดของอีกคำในภาษาไทยหน่อยค่ะ
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


 เมื่อ 20 ต.ค. 20, 13:51

ขออนุญาตเรียนถามถึงคำที่บอกระดับความละเอียดของอีกคำภาษาไทยหน่อยค่ะ  คือดิฉันได้ไปอ่านเจอในเรื่องคำที่บอกระดับการใช้ของอีกคำนั้นโดยละเอียด มีการแบ่ง แยกย่อยของอีกคำในภาษาญี่ปุ่น กับ ภาษาอีสานมาค่ะ

เช่น ของภาษาอีสานคำว่าเงียบที่ใช้คำว่ามิดแบ่งออกได้เป็น

"มิดจั๊ด" หมายถึง ความเงียบฉับพลันทันใด
"มิดอิมซิม" หมายถึง ความเงียบที่เงียบเหงาเศร้าซึม
"มิดจ้อย" หมายถึง ความเงียบหายไม่เห็นหน้า
"มิดสี่หลี่" หมายถึง ความเงียบงันมีแต่เสียงลมพัด

ของภาษาญี่ปุ่นคำว่าฝนแบ่งออกได้เป็น

ฝนในฤดู... เรียกว่า...
ฝนในเดือน... เรียกว่า...
ฝนที่ตกติดต่อกันหลายวัน เรียกว่า...
ฝนเบาๆ ที่ตกเรื่อยๆ ไม่หยุด เรียกว่า...
ฝนที่ตกๆ หยุดๆ วนไปมา เรียกว่า...

1 อยากทราบว่าในภาษาไทยมีคำที่ใช้แบ่งชนิดของอีกคำโดยละเอียดแบบในตัวอย่างนี้ไหมคะ ถ้ามีเราจะเรียกคำลักษณะนี้ว่าอย่างไร

2 พอจะช่วยแนะนำหน่อยได้ไหมคะว่าในภาษาไทยเองมีคำไหนบ้างที่สามารถเอามาแบ่งแยกย่อยได้แบบในตัวอย่างนี้ และคำลักษณะนี้มีอยู่เยอะหรือไม่

3 เราจะสามารถค้นหาคำที่บอกรายละเอียดของอีกคำแบบตัวอย่างได้ที่ไหนบ้างคะ ทั้งจากเว็บไซต์ แอพพลิเคชั่นที่เก็บรวบรวมไว้ พอจะแนะนำแหล่งค้นหาให้ได้ไหมคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 20 ต.ค. 20, 16:18

ของภาษาญี่ปุ่นคำว่าฝนแบ่งออกได้เป็น

ฝนในฤดู... เรียกว่า...
ฝนในเดือน... เรียกว่า...
ฝนที่ตกติดต่อกันหลายวัน เรียกว่า...
ฝนเบาๆ ที่ตกเรื่อยๆ ไม่หยุด เรียกว่า...
ฝนที่ตกๆ หยุดๆ วนไปมา เรียกว่า...

ไทยเราก็มีคำเรียกการตกของฝนเหมือนกัน

ฝนที่ตกน้อย ๆ เห็นเป็นละอองฝอย เรียกว่า ฝนตกเป็นเยี่ยวจักจั่น เรียกละอองฝอยนั้นว่า ละอองฝน ถ้าตกมากขึ้นเป็น ฝนโปรย
ฝนที่ตกหนักมาก ใช้คำขยายว่า ฝนตกจั้ก ๆ เรียกว่า ฝนตกอย่างฟ้ารั่ว หรือฝนตกไม่ลืมหูลืมตา
ฝนตกเม็ดใหญ่ ที่ตกลงมาอย่างแรงและเร็วซู่เดียว เรียกว่า ฝนไล่ช้าง
ฝนที่ตกเบา ๆ นาน ๆ เรียกว่า ฝนพรำ
ฝนที่ตกในฤดูที่ไม่ใช่ฤดูฝน เรียกว่า ฝนหลงฤดู
ฝนที่ตกในช่วงเดือน ๓ ซึ่งใกล้ฤดูนวดข้าวของชาวนา ชาวนาเรียกว่า ฝนชะลาน  ส่วนชาวสวนจะเรียกว่า ฝนชะช่อมะม่วง
ฝนที่ตกหนักมากตอนท้ายฤดูฝน เรียกว่า ฝนสั่งฟ้า
ฝนที่ตกหนักแล้วเบาลง เรียกว่า ฝนซา และเมื่อหยุดตกเรียกว่า ฝนหยุด

ที่มา รายการ “รู้ รัก ภาษาไทย” สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

แล้วฝนญี่ปุ่นทั้ง ๕ ของคุณดาว เรียกว่าอะไรหนอ  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 21 ต.ค. 20, 06:33

ลม ก็มีนะคะ
ลมอ่อน ลมโชย ลมชาย ลมชวย ลมเฉื่อย ลมโกรก ลมกระโชก (ที่มักจะเขียนผิดเป็นลมกรรโชก) ลมว่าว ลมหนาว ลมตะเภา ลมมรสุม ลมพายุ ลมเพชรหึงส์ ลมสลาตัน ลมสั่งฝั่ง อันนี้เฉพาะลมในอากาศ เท่าที่นึกออก แล้วยังมีลมต่าง ๆ คุณดาวหาได้ไม่ยากค่ะ ในพจนานุกรมน่าจะมี
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 21 ต.ค. 20, 09:10

ลมโชย ลมชาย ลมชวย ลมเฉื่อย* ... ลมเพชรหึงส์**

*   ลมโชย ลมชาย ลมชวย ลมเฉื่อย มีความหมายเหมือนกันคือ ลมที่พัดเรื่อย ๆ พัดช้า ๆ

** ลมเพชรหึงส์ คำที่ถูกต้องคือ ลมเพชรหึง หมายความถึง ลมพายุใหญ่

พระราชโอรสพระองค์หนึ่งในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงพระนามว่า  "พระองค์เจ้าเพชรหึง"

ทั้งนี้เพราะเหตุในวันประสูติ เกิดลมพายุแรงกล้าที่คนโบราณเรียกกันว่า ลมเพชรหึง   แรงขนาดพัดพระตำหนักแพวังหน้าที่ผูกไว้หลุดลอย   ประจวบกับเจ้าจอมมารดาชูเจ็บครรภ์  ประสูติพระองค์เจ้าชายในวันนั้นพอดี   พระราชบิดาจึงพระราชทานพระนามว่า พระองค์เจ้าเพชรหึง  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 21 ต.ค. 20, 10:35

คำบอกความละเอียดในการเคลื่อนไหวของ น้ำ
น้ำไหล         น้ำเคลื่อนไหวในแนวระนาบ หรือเคลื่อนจากสูงลงที่ต่ำในอัตราไม่เร็วไม่ช้า
น้ำริน           น้ำเคลื่อนไหวจากสูงลงต่ำ ช้าๆ
น้ำท่วม         น้ำเคลื่อนไหวจากต่ำขึ้นสูง  หรือน้ำจำนวนมากไหลมารวมบนพื้นที่เดียว
น้ำล้น           น้ำเคลือนไหวขึ้นสูง พ้นจากที่กั้น
น้ำนอง         น้ำล้น  หรือ   น้ำจำนวนมากบนพื้นที่เดียว
น้ำขัง           น้ำหลงเหลืออยู่ในแอ่ง  ไม่เคลื่อนไหว
น้ำแห้ง         น้ำหายไป  ไม่มีน้ำตรงนั้นอีกต่อไป
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 21 ต.ค. 20, 12:04

เพิ่มเติมคำเรียกการเคลื่อนไหวของน้ำ

น้ำพุ     นํ้าใต้ดินที่ผุดพุ่งขึ้นมาเหนือพื้น, นํ้าที่ผุดขึ้นมาในลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น

น้ำตก   นํ้าที่ขังอยู่บนเขาตกลงมาที่หน้าผา, นํ้าที่ทำให้ตกลงมาในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น

น้ำเกิด  น้ำในทะเลและแม่น้ำลำคลองขึ้นและลงมากในช่วงวัน อันเป็นผลจากการที่โลก ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ เรียงอยู่ในระนาบเดียวกัน มักเกิดขึ้นในช่วงเดือนเพ็ญและเดือนดับ

น้ำตาย  น้ำในทะเลและแม่น้ำลำคลองขึ้นและลงน้อยมากในช่วงวัน จนแทบไม่สังเกตถึงความแตกต่าง เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์กับโลก และโลกกับดวงอาทิตย์ตั้งฉากกัน  มักเกิดในช่วง ๗-๘ ค่ำ

น้ำทรง   น้ำในแม่น้ำลำคลองหยุดการขึ้นลงช่วงเวลาหนึ่ง ขณะที่กำลังจะเปลี่ยนระดับ

น้ำนอนคลอง น้ำในคลองซึ่งไหลลงไม่หมด เหลืออยู่ติดก้นคลองเป็นช่วง ๆ

น้ำป่า    น้ำท่วมที่เกิดจากฝนตกชุกในที่สูงบริเวณเทือกเขาหรือในป่า

หมายเหตุ คำใหม่ที่เพิ่งเกิดเมื่อ ๔ ปีมาแล้ว  น้ำรอระบาย  น้ำท่วมในเขตเมืองของ นักการเมือง


บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 21 ต.ค. 20, 13:06

ชุดของแสงอาทิตย์ แสงแดด
แดดกล้า แดดแรง แดดจัด        แสงระหว่างวันท้องฟ้าแจ่มใส                 
แดดชาย                            เวลาบ่าย
แดดรอนรอน  แดดร่มลมตก      ยามเย็น แสงอ่อนลง
แดดผีตากผ้าอ้อม                  แดดเวลาใกล้ค่ำแสงเป็นสีเหลือง
แดดหุบ แดดร่ม                    แสงที่มีเมฆบัง
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 21 ต.ค. 20, 14:44

จากทวิภพ
เครดิทในรูป


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 21 ต.ค. 20, 15:27

แดดนาย แปลว่า แสงแดด  โดยมีคำว่านาย เป็นคำสร้อยเสริมบท แต่คำนี้พบว่ามีที่ใช้ในความหมายว่า แดดแรง แดดจัด ซึ่งคงหมายเอาความว่า นาย มาจากคำว่า เจ้านาย

จาก บทความเรื่อง เวลา ในภาษาสำนวนไทย โดย ดาวรัตน์  ชูทรัพย์ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร
                
http://www.sookjai.com/index.php?topic=82591.0
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 21 ต.ค. 20, 15:42

พจนานุกรมราชบัณฑิตไม่เก็บคำ "นาย" ที่ใช้กับแดด   
เคยเห็นคำนี้ในนิยายเก่าๆ  แดดนาย แปลว่าแดดจ้า แดดระอุให้ความร้อน   ค่ะ  ไม่เกี่ยวอะไรกับน้ำค้าง   
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 21 ต.ค. 20, 16:45

แดดชาย        เวลาบ่าย

เพลาชาย  ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 21 ต.ค. 20, 16:57

เพลาชาย  อ่านว่า เพ-ลา ชาย  แปลว่าเวลาบ่าย   เพ-ลา = เวลา
แต่ถ้าเป็น "เพรางาย" (อ่านว่า เพรา เหมือนพริ้งเพรา)  แปลว่า เวลาเช้า  ค่ะ
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 21 ต.ค. 20, 18:46

ขอบพระคุณทุกท่านที่มาชี้แนะค่ะ ต้องขออภัยตอนที่ยกตัวอย่างภาษาญี่ปุ่นไว้ด้วยที่ยกมาไม่หมดไม่ได้ยกคำเรียกมาด้วย

ขออนุญาตเรียนถามเพิ่มเติมหน่อยค่ะว่า 1 ลักษณะคำที่มาอธิบายรายละเอียดของอีกคำแบบนี้มีเชื่อเรียกไหมคะ 2 พอจะมีแหล่งรวบรวมไว้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำลักษณะนี้นอกจากพจนานุกรมไหมคะ

และถ้าไม่เป็นการรบกวนท่านไหนมีกลุ่มคำลักษณะนี้จะมาแนะนำเพิ่มเติมก็ยินดีค่ะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 21 ต.ค. 20, 19:39

ด้วยความที่ไม่มีความรู้ ก็เลยไปหาอ่าน ก็ได้พบว่า ลักษณะคำที่ได้พูดถึงกันอยู่นี้ 'เป็นคำกริยาที่ไม่ต้องมีกรรม' เรียกว่า 'อกรรมกริยา'   

ไม่ทราบว่าผมมีความเข้าใจถูกต้องหรือไม่ ?

อ้างถึง https://pt-br.facebook.com/KnowledgeThailanguage/posts/244450012377565/
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 21 ต.ค. 20, 20:22


ขออนุญาตเรียนถามเพิ่มเติมหน่อยค่ะว่า 1 ลักษณะคำที่มาอธิบายรายละเอียดของอีกคำแบบนี้มีเชื่อเรียกไหมคะ 2 พอจะมีแหล่งรวบรวมไว้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำลักษณะนี้นอกจากพจนานุกรมไหมคะ

ตอบข้อ 1 ข้อเดียวค่ะ
เป็นคำกริยาก็มี  เช่น น้ำไหล
เป็นคำคุณศัพท์ ก็มี  เช่น น้ำล้น  (คุณศัพท์  เป็นคำขยายคำนาม    ภาษาอังกฤษเรียกว่า adjective ค่ะ)
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 19 คำสั่ง