เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 2937 พงศาวดารไทยมีความน่าเชื่อถือแค่ไหน?
ภศุสรร
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


 เมื่อ 19 ต.ค. 20, 16:57

ผมอยากจะเรียนถามท่านผู้รู้ท้่งหลายว่า บันทึกพงศ์ศาวดารโบราณของไทยตั่งแต่สมัยอยุธยา (พงศาวดารเจิม เป็นต้น) มีความหน้าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด? สาเหตุมาจากช่วงนี้โรงเรียนปิดเทอม ผมจึงใช้เวลาว่าค้นคว้าประวัติศาสตร์ไทยอย่างเครงครัด บวกกับได้มารู้จักเวบนี้(ซึ่งสำรับผู้รักประวัติศาสตร์อย่างผมไม่รู้ว่าจะเป็นบุญวาสนาจากชาติปางก่อนหรืออย่างไร) (ในที่นี้เนื่องจากเป็นการตั้งกระทู้ครั้งแรก กระผม นาย ภศุสรรขอกราบสวัสดีท่านสมาชิกแอดมินทุกท่านด้วย) มาเข้าเรื่องกันต่อนะครับแนะนำตัวเองซะนานเป็นกับเป็นกัลป์เลย ยิงฟันยิ้ม

ในระหว่างการศึกษาประวัติศาสตร์นั้นกระผมได้พบว่าข้อมูลที่บันทึกไว้ในพงศาวดารของไทยหลายชบับนั้นมีความคลาดเคลื่อนหรือขัดแย้ง
กับบันทึกและประวัติของเหตุการณ์และบุคคลเดียวกันที่ระบุไว้ในบันทึกของประเทศอื่น พอดีเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลนั้นมีความน่าเชื่อถือผมได้นำพงศาวดารของไทยและประเทศอื่นมาเปรียบเทียบข้อมูลกัน ทั้งบันทึกต้นฉบับภาษาจีนของราชวงศ์ชิง(ผมรู้ภาษาจีนครับ อ่านออก เขียนได้) ที่กล่าวถึงประเทศ 暹罗หรือสยาม และพงศาวดารของเมียนม่า และ อังกฤษมาเทียบ พบว่าข้อมูลและประวัติบุคคลนั้นคลาดเคลื่อนขัดแยงกันไม่น้อย ยกตัวอย่างเช่นประวัติของพระสุพรรณกัลยาในอาณาจักรพม่าเป็นต้น วันที่ปีเดียนในบางแห่งก็ไม่ตรงกัน จึงอยากจะถามท่านผู้รู้ทั่งหลายว่า พงศาวดารไทยเมื่อเทียบกับต่างชาติมีความน่าเชื่อถือแค่ไหนกัน หรือจะมีการกุเรื่องแต่งเติมอยู่บ้างก็ไม่ทราบ ในที่นี้ผมขอขอบพระคุณท่านทั้งหลายเป็นอย่างสูงด้วยนะครับ ผมเองอายุยังน้อย ความรู้ยังด้อยจึงต่องมารบกวนทุกท่านน่ะครับ ขอบคุณทุกท่านด้วยนะครับ (ป.ล ที่เขียนข้อความยาวเฟ้อก็เพราะว่าเป็นการโพสต์ครั่งแรกของผมน่ะครับจึงอยากนะแนะนำตัวไปด้วย ต้องขอโทษอย่างสูงที่ ทำให้ทุกท่านปวดตานะครับ)! อย่างไงก็ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับ! ขอขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างสูงอีกครั้งนะครับ ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 19 ต.ค. 20, 17:30

ตอบสั้นๆก่อนนะคะ  เดี๋ยวคงมีท่านอื่นมาขยายความ

พงศาวดารไทยมีหลายฉบับ ไม่ใช่ฉบับเดียว  ความน่าเชื่อถือก็แตกต่างกันไป   ต้องตรวจสอบเทียบกันด้วยถึงจะพอบอกได้  ว่าฉบับไหนมีความน่าเชื่อถือขนาดไหน
ระบบการบันทึกประวัติศาสตร์ของไทย เป็นคนละอย่างกับจีน   จีนใช้ระบบเก็บหลักฐานข้อมูล(documentary system)  มีการบันทึกที่ละเอียดลออแม่นยำ และการเก็บรักษาก็ดีกว่า   คนจีนรุ่นหลังจึงรู้เรื่องในอดีตของประเทศตนได้มาก
 
การจดจำบันทึกเรื่องในอดีตของไทย มักปะปนระหว่างตำนานกับข้อเท็จจริง      นอกจากนี้ข้อเท็จจริงที่รู้กันนั้นก็แตกต่างกันไปเสียอีก  แล้วแต่ว่าจะไปได้หลักฐานมาจากไหน วิเคราะห์กันอย่างไร

เกริ่นแค่นี้ก่อนค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 19 ต.ค. 20, 17:31

ยนามพระราชพงศาวดารไทย
พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์
พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม)
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด)
พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียน
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ภาษามคธ แล คำแปล
พระราชพงศาวดาร ฉบับหมอบรัดเล
พระราชพงศาวดารเหนือ ฉบับ พระวิเชียรปรีชา (น้อย)
พระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม กรุงลอนดอน
พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา
พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค)
พงศาวดารโยนก ฉบับ พระยาประชากิจกรจักร(แช่ม บุนนาค)
บันทึกการเข้า
ภศุสรร
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 19 ต.ค. 20, 18:35

ขอบพระคุณอาจารย์เทาชมพูเป็นอย่างสูงครับ (กระผมยังวัยรุ่นจะเรียกคุณก็เห็นจะไม่สุภาพน่ะครับ) ผมเองก็เห็นด้วยกับอาจารย์นะครับ ปัญหาใหญ่ที่สุดของการ บันทึกประวัติศาสตร์ของประเทศไทยเราก็คือพงศาวดารส่วนใหญ่ไม่ได้ระบุถึงแหล่งอ้างอิงเลย บางฉบับแม้กระทั่งชื่อนามของผู้เขียนก็ไม่ได้ระบุไว้
บางแห่งอย่างมีข้อความขาดหายอีกต่างหาก น่าเสียดายจริงๆครับ อีกทั้งพงศาวดารหลายฉบับก็อย่างเขียนหลังจากเหตุการณ์ที่เกล่าถึงเป็นหลายร้อยปี จึงไม่ใช้
Contemporaneous document ความน่าเชื่อถือจึงหยิ่งลดถดถอยหลงไปอีก ผมจึงคิดว่านี้แหละคือสาเหตุที่บันทึกประวัติศาสตร์โบราณของเรานิยมนำเอา
เหตุการณ์ บุคคลจริง และตำนานความเชื่อมาเชี่ยมโยงผูกพันผสมปนเปกันอย่างแยกไม่ออก ซึ่งในความคิดของผมเองน่าจะเป็นเพราะว่าตัวผู้เขียนเองไม่ได้
อยู่ในช่วงเวลาเดียวกันกับเหตุการณ์ที่ตนเองบันทึกลงในพงศาวดาร แต่กลับนำเอาเรื่องเล่าและตำนานที่ตนเองได้ยินมาอย่างปากต่อปากลงมาบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรหลายร้อยปีให้หลังตั่งหาก ยกตัวอย่างเช่นประวัติของ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ซึ่งศิลาจารึกเดิมไม่ได้กล่าวถึงวันเดียนปีพระราชสมภพเลย แต้กลับถูก พระรัตนปัญญาเถระแห่งลานนาบันทึกไว้ห้ารอยปีให้หลัง ความเป็นประวัติศาสตร์จึงไม่ชัดเจนเท่าไหร่หนัก ส่วนเอกสารบันทึกดั้งเดิมที่พงศาวดารนำมาอ้างอิงนั้น
เช่นบันทึกจากในหวังหลวงพระราชสำหนักแห่งอยุธยา สุโขทัย นั้น ผมสันนิษฐานเอาเองว่าน่าจะเคยมีอยู่นะครับ เนื่องจากท่าสังเกตจากประวัติศาสตร์โลกนั้น จะพบว่า อาณาจักร ราชวงค์ส่วนมากที่ได้ประดิษฐ์คิดค้นมีอักษรการเขียนใช้แล้วนั้นล้วนแต่จะนิยมบันทึกประวัติและรายพระนามกษัตริย์ของอตนเองเป็นส่วนมาก
ประเทศไทยก็ของไม่ไช้กรณีพิเศษอะไร เสียแต่ประเทศชาติของเรามีสงครามภัยธรรมชาติอยู่บ่อยครั้งบันทึกตันฉบับคงจะถูกทำลายหรือสูณหายไปไม่น้อย สุดทาย
ก็เรือนรางหายไปตามกาลเวลาอย่างไม่มีโอกาสหวนกลับน่าสลดใจอยู่เหมือนกันนะครับ ขอขอบพระคุณอาจารย์เทาชมพูและทุกท่านอีกครั้งนะครับ!
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 20 ต.ค. 20, 08:25

แนะนำให้ติดตามงานของคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย   เข้าไปได้ที่นี่ค่ะ

https://www.lungthong.com/product/5595/%E0%B9%81%E0%B8%96%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A-2554
บันทึกการเข้า
ภศุสรร
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 20 ต.ค. 20, 11:30

ต้องขอบพระคุณท่านอาจารย์และท่านสมาชิกทุกท่านเป็นอย่างสูงนะครับ ที่อุตส่าห์สงต่อความรู้และข้อมูลประวัติศาสตร์อันประเมินค่ามิได้เช่นนี้ไห้คนรุ่นใหม่ได้นำมาศึกษาสอนลูกหลานต่อไป ช่างเป็นสิ่งที่น่าเชิดชูยิ่งหนัก นับเป็นบุญของผมเองนะครับที่ได้มาเจอเว็บนี้และท่านอาจารย์ท่านสมาชิกทุกท่าน ส่วนหนังสือของคณะกรรมการนั้นผมตั้งใจจะนำไปศึกษาต่อ ท้ายแล้วกระผมก็อย่างจะขอขอบพระคุณทุกท่านอีกครั้งนะครับ ต่อไปหากมีคำถามด้านประวัติศาสตร์ก็คงต้องมารบกวนท่านทั้งหลายอีกครั้งนะครับ ขอบคุณท่านอาจารย์เทาชมพูมากนะครับ!
บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 21 ต.ค. 20, 09:52


การถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นมาของชนชาติ  บ้านเมืองและบรรพบุรุษไทย ในรูปแบบของพงศาวดารเกิดขึ้นในราชสำนัก
จึงเป็นเรื่องราวของราชวงศ์และผู้ปกครอง ซึ่งอาจมีการแก้ไขต่อเติม  ปรับเปลี่ยนใจความได้ตามบริบทในขณะที่มีการชำระพงศาวดาร

เรื่องในพงศาวดาร  ถ้าตรงกับเอกสารประวัติศาสตร์อื่นๆ
ก็ถือว่าเชื่อได้  เช่น  ฉบับหลวงประเสริฐที่ค่อนข้างแม่นยำ
และไม่ค่อยมีพรรณาสำนวนโวหารเกินจริงมากนัก

เรื่องของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ไม่ได้บันทึกไว้ในพงศาวดาร แต่มาจากจารึกหลักที่สอง  และหลักที่หนึ่ง  แลมีบันทึกพระนามในจารึกอีกบางหลัก นอกนั้นเป็นเรื่องตำนานที่อาจเกี่ยวข้อง เช่น  พระร่วง เป็นต้น
บันทึกการเข้า
ภศุสรร
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 21 ต.ค. 20, 12:47

ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงนะครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 19 คำสั่ง