เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 10411 จาก "หม่อมยิ่ง" ถึง พระศักดาพลรักษ์(เสข)
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 26 ก.ย. 20, 17:43

อ้างถึง
ได้ยินแต่พูดกันว่า มันเป็นตะพาบน้ำและไม่คาดคิดว่าจะเป็นเด็ก

คุณเพ็ญชมพูและท่านอื่นๆเข้าใจว่าหมายถึงอะไรคะ

คำให้การของพระองค์เจ้ากาญจนากร มีว่า

พระองค์ทรงได้จับท้องของหม่อมย่ิง ๒ คร้ังเห็นว่า ก้อนกระเพื่อมข้ึน แต่ไม่ได้สงสัยว่าหม่อมยิ่งมีครรภ์ และทรงเชื่อถือคำพูดของหม่อมยิ่งว่า เป็นโรคท้องมาน มีโลหิตอยู่ข้างใน และมีตะพาบน้ำสามตัวในท้อง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 26 ก.ย. 20, 19:18

คุณเพ็ญชมพูไปหาคำให้การมาอ่านได้แล้ว   ก็ขอให้เว้นบางตอนไว้ก่อนนะคะ
เพราะกระทู้นี้ไม่ได้เน้นเรื่องตั้งครรภ์ 

จากที่คุณเพ็ญชมพูไปหารายละเอียดมาได้  แสดงว่าพระนาภีของเสด็จพระองค์หญิงที่โตขึ้นๆ  ก็เป็นที่รู้กันแพร่หลายในหมู่เจ้านาย    เพียงแต่ไม่มีใครกล้าฟันธงลงไปว่าเป็นลักษณะของการตั้งครรภ์   
จนกระทั่งคลอดทารกชายออกมา   จากนั้นก็คือนำทารกไปซ่อนไว้   แต่ก็ไ่ม่จบแค่นั้น  เพราะมีการหาจนกระทั่งเจอว่าซ่อนอยู่ที่ไหน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 27 ก.ย. 20, 09:57

จนกระทั่งคลอดทารกชายออกมา   จากนั้นก็คือนำทารกไปซ่อนไว้   แต่ก็ไ่ม่จบแค่นั้น  เพราะมีการหาจนกระทั่งเจอว่าซ่อนอยู่ที่ไหน

เรื่องการซ่อนทารกไว้ในกระโถน ไม่ปรากฏในคำให้การของบุคคลต่าง ๆ ในคดีนี้เลย น่าจะเป็น "เรื่องเล่าข่าวกระซิบที่แถวเต๊ง" อย่างที่คุณ Jalito ว่า  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 28 ก.ย. 20, 08:04

     ย้อนไปถึงรัชกาลก่อน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโหราศาสตร์ ทรงผูกดวงพระชะตาของพระราชโอรสธิดาไว้ทุกพระองค์เมื่อประสูติ   แล้วพระราชทานพรให้คลาดแคล้วจากข้อเสียในดวงชะตา และเน้นข้อดีในชะตาเอาไว้ให้หนักแน่นยิ่งขึ้น
     ด้วยเหตุนี้ จึงทรงทำนายได้ว่าจะเกิดเหตุใดขึ้นกับเจ้านายเหล่านั้นในกาลภายหน้า

     จึงมีพระราชกระแสกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็น กรมขุนพินิตประชานาถ ว่า
     "...ถ้าเจ้าได้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ในกระบวนพี่น้องทั้งหมด จะมีพระองค์หญิงหนึ่งองค์ และพระองค์ชายอีกหนึ่งองค์ ทรงกระทำความผิดเป็นมหันตโทษ ขอให้ไว้ชีวิตพระองค์เจ้าพี่น้องทั้งสองพระองค์ด้วย..."

     ในหนังสือกราบบังคมทูลเมื่อชำระความเสร็จแล้ว พิจารณาโทษว่าทั้งคู่ประพฤติการชั่วอย่างอุกฤษฏ์ เป็น "มหันตโทษ" ตามกฎมณเฑียรบาล จึงต้องรับโทษตามนี้
    ๑. ให้ริบราชบาตรเป็นของหลวง
    ๒. ให้ถอดจากยศและบรรดาศักดิ์
    ๓. ให้ลงพระราชอาญา ๙๐ ที (เฆี่ยน) แล้วประหารชีวิตเสีย
    แต่พระราชกระแสในอดีตของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้ช่วยชีวิตเสด็จพระองค์หญิงยิ่งเยาวลักษณ์ให้รอดมาได้ ดังที่จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ตรงกับวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2429 บอกว่า
    “๔ ทุ่มเศษ เสด็จออกทรงสั่งเรื่องคลอดลูก ว่าด้วยพระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ประพฤติการชั่วอย่างอุกฤษฎ์ อย่างนี้เป็นมหันตโทษ ควรริบราชบาตรเป็นหลวง ถอดจากยศบรรดาศักดิ์ลงพระราชอาญา ๙๐ ที ประหารชีวิต แต่ทรงพระมหากรุณาอยู่ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ริบราชบาตรสวิญญาณกทรัพย์อวิญญาณกทรัพย์เป็นของหลวง สำหรับจ่ายซ่อมแปลงพระอารามแลสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าทรงสร้างไว้ แลให้ยกโทษเฆี่ยน ๙๐ ประหารชีวิต ให้ออกจากยศบรรดาศักดิ์ลงเป็นหม่อม เอาท้ายชื่อคือเยาวลักษณ์อรรคราชสุดาออกเสีย เรียกแต่หม่อมยิ่งคำเดียว...”
 
    สรุปว่าเสด็จพระองค์หญิงถูกริบทรัพย์ ถอดออกจากเจ้าเป็นสามัญชน เรียกชื่อเพียงว่า "หม่อมยิ่ง" แต่ไม่ได้รับโทษเฆี่ยนและประหาร เพียงแต่ถูก "จำสนม" คือถูกขังไว้ในที่ใดที่หนึ่งในเขตพระราชฐานชั้นใน จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในปีต่อมา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 28 ก.ย. 20, 08:05

      ในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ตรงกับวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2429 เช่นกัน มีข้อความอีกตอนหนึ่งว่า
      "เวลาบ่าย ๔ โมงเศษ เสด็จออกรับสั่งเรื่องหม่อมยิ่ง ซึ่งลูกขุนปรึกษาวางบทลงโทษ หม่อมยิ่ง อ้ายโต อีเผือก ผู้ล่วงพระราชอาญามีความผิดเป็นมหันตโทษ ให้ริบราชบาตรสวิญญาณกทรัพย์อวิญญาณกทรัพย์เป็นของหลวง ให้ลงพระอาญา ๓ ยก ๙๐ ที เอาตัวไปประหารชีวิตอย่าให้ผู้ใดดูเยี่ยงอย่างนั้น หม่อมยิ่งแลอีเผือกผู้ชักสื่อ ให้งดโทษประหารชีวิต นอกนั้นให้ทำตามลูกขุนปรับแล้วเสด็จขึ้น"

      สรุปคืออีเผือกถูกเฆี่ยน 90 ทีแต่รอดตัวไม่ถูกประหาร แต่ถูกเฆี่ยนด้วยหวายขนาดนี้ ไม่ตายก็สาหัส อาจจะพิการไปตลอดชีวิตก็ได้ ถึงรอดตายมาได้ไม่พิการ อนาคตของอีเผือกก็มืดมนอยู่ดี ไม่มีใครกล้ารับไปเลี้ยงแน่นอน
ส่วนอ้ายโตถูกประหาร ว่ากันว่าพูดจาโอหังมากจึงถูกตบปากด้วยกะลาทั้งขน ก่อนนำไปตัดศีรษะที่วัดพลับพลาไชย (ปัจจุบันคือบริเวณข้างธนาคารกรุงเทพจำกัด สาขาพลับพลาไชย)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 28 ก.ย. 20, 15:22

    ย้อนไปถึงรัชกาลก่อน   พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโหราศาสตร์ ทรงผูกดวงพระชะตาของพระราชโอรสธิดาไว้ทุกพระองค์เมื่อประสูติ
     แล้วพระราชทานพรให้คลาดแคล้วจากข้อเสียในดวงชะตา และเน้นข้อดีในชะตาเอาไว้ให้หนักแน่นยิ่งขึ้น
     ด้วยเหตุนี้ จึงทรงทำนายได้ว่าจะเกิดเหตุใดขึ้นกับเจ้านายเหล่านั้นในกาลภายหน้า

     จึงมีพระราชกระแสกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็น กรมขุนพินิตประชานาถ ว่า
     "...ถ้าเจ้าได้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ในกระบวนพี่น้องทั้งหมด จะมีพระองค์หญิงหนึ่งองค์ และพระองค์ชายอีกหนึ่งองค์ ทรงกระทำความผิดเป็นมหันตโทษ ขอให้ไว้ชีวิตพระองค์เจ้าพี่น้องทั้งสองพระองค์ด้วย..."

     ในหนังสือกราบบังคมทูลเมื่อชำระความเสร็จแล้ว พิจารณาโทษว่าทั้งคู่ประพฤติการชั่วอย่างอุกฤษฏ์ เป็น "มหันตโทษ" ตามกฎมณเฑียรบาล จึงต้องรับโทษตามนี้
๑. ให้ริบราชบาตรเป็นของหลวง
๒. ให้ถอดจากยศและบรรดาศักดิ์
๓. ให้ลงพระราชอาญา ๙๐ ที (เฆี่ยน) แล้วประหารชีวิตเสีย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 28 ก.ย. 20, 15:23

     แต่พระราชกระแสในอดีตของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ได้ช่วยชีวิตเสด็จพระองค์หญิงยิ่งเยาวลักษณ์ให้รอดมาได้ ดังที่จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ตรงกับวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2429 บอกว่า
    “๔ ทุ่มเศษ เสด็จออกทรงสั่งเรื่องคลอดลูก ว่าด้วยพระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ประพฤติการชั่วอย่างอุกฤษฎ์ อย่างนี้เป็นมหันตโทษ ควรริบราชบาตรเป็นหลวง ถอดจากยศบรรดาศักดิ์ลงพระราชอาญา ๙๐ ที ประหารชีวิต แต่ทรงพระมหากรุณาอยู่ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ริบราชบาตรสวิญญาณกทรัพย์อวิญญาณกทรัพย์เป็นของหลวง สำหรับจ่ายซ่อมแปลงพระอารามแลสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าทรงสร้างไว้ แลให้ยกโทษเฆี่ยน ๙๐ ประหารชีวิต ให้ออกจากยศบรรดาศักดิ์ลงเป็นหม่อม เอาท้ายชื่อคือเยาวลักษณ์อรรคราชสุดาออกเสีย เรียกแต่หม่อมยิ่งคำเดียว...”
     สรุปว่าเสด็จพระองค์หญิงถูกริบทรัพย์ ถอดออกจากเจ้าเป็นสามัญชน เรียกชื่อเพียงว่า "หม่อมยิ่ง" แต่ไม่ได้รับโทษเฆี่ยนและประหาร เพียงแต่ถูก "จำสนม" คือถูกขังไว้ในที่ใดที่หนึ่งในเขตพระราชฐานชั้นใน จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในปีต่อมา

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 28 ก.ย. 20, 19:02

    จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ จ.ศ. 1245 (พ.ศ. 2429) บันทึกถึงทารกไว้ว่า
    "เกิดเป็นที่เสื่อมเสียพระเกียรติยศ คือพระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ซึ่งเดิมว่าเป็นโรคท้องมานนั้น ปวดครรภ์แลคลอดออกมาเป็นลูกชาย ที่เรือนภายในพระบรมมหาราชวัง สมเด็จกรมพระภาณุพันธุ กรมหมื่นนเรศร กรมหมื่นอดิศร กรมหลวงเทวะวงศ์ ได้จัดการที่จะชำระพิจารณาที่ได้เกิดขึ้นต่อไป แต่ลูกนั้นเอาออกไปไว้วังกรมหมื่นอดิศรอุดมเดช"
   
      หลังจากนั้น ก็ไม่มีการกล่าวถึงทารกชายผู้นี้อีก ชะตากรรมของนายโตคือถูกประหาร ส่วนหม่อมยิ่งคือถูกถอดและจำสนม จนถึงแก่กรรมในเวลาอีกไม่นาน คือถ้าไม่ใช้ปี 2429 ที่เกิดเหตุ ก็ปีถัดมาคือ 2430
      จากนั้นเรื่องของหม่อมยิ่งก็ถูกปิดสนิทจากปากของคนรอบด้าน แม้แต่พระนามก็กลายเป็นของต้องห้าม มิให้ใครเอ่ยถึงต่อมานับร้อยปี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 28 ก.ย. 20, 19:03

    หลังจากนั้นอีกหนึ่งร้อยกว่าปี เมื่อ พ.ศ. 2547 มีหนังสือชื่อ ฟ้าสูงแผ่นดินต่ำ เขียนโดยคุณ เทพ สุนทรศารทูล เล่าไว้ตอนหนึ่งว่า
    “ทั้งพระองค์เจ้าหญิงยอดยิ่งเยาวลักษณ์อรรควรสุดา พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๔ และนางเผือก นางข้าหลวงคนสนิทที่ชักนำมหาโตเข้าวัง มิได้ถูกประหารชีวิต มิได้ถูกเฆี่ยนหลัง ๙๐ ทีในคราวนั้น อาจเป็นไปได้ว่าเมื่อท่านถูกปลดลดยศลงเป็นหม่อมยอดแล้วท่านคงออกมาอยู่กับญาติของท่าน (ส่วนโอรสของท่าน)หลวงเทววงศ์วโรประการ(แสน) เจ้ากรมในกรมหลวงเทววงศ์วโรประการ รับเป็นบิดา เมื่อเติบโตจึงได้รับราชการเป็นนายพันตรี หลวงศักดาพลรักษ์(เสข) ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลทหารบก ต่อมาได้รับพระราชทานนามสกุลในรัชกาลที่ ๖ ว่า"ธรรมสโรช" พ.ศ. ๒๔๕๗ อายุ ๔๘ ปี
      ต่อเมื่อพระศักดาพลรักษ์(เสข) ได้รับพระราชทานนามสกุลแล้ว ในวงญาติของพระสำราญหฤทัย(อ้าว) บิดาของเจ้าจอมมารดาแพ มารดาของพระองค์เจ้าหญิงยอดยิ่งเยาวลักษณ์อรรควรสุดา จึงใช้นามสกุลพระราชทานร่วมกันต่อมาทั้งตระกูล ตระกูลนี้จึงมีพระศักดาพลรักษ์(เสข) เป็นต้นตระกูล"
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 29 ก.ย. 20, 07:23

    หนังสือของคุณเทพ เม่ืออ่านแล้ว ดิฉันก็เกิดความสงสัยหลายข้อ จึงเรียบเรียงมาให้พิจารณากันตามนี้ ทีละข้อ
    1 ทารกชายผู้นี้ แม้เป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของเสด็จพระองค์หญิง แต่อย่าลืมว่าอีกครึ่งหนึ่งคือสายเลือดของนายโต ซึ่งถูกประหารในข้อหาล่วงละเมิดพระราชวงศ์ฝ่ายในอย่างรุนแรง
     ถ้าคุณหลวงเทววงศ์วโรประการ(เสนหรือพิมเสน) เจ้ากรมในกรมหลวงเทววงศ์วโรประการ (พระยศในขณะนั้น ต่อมาคือสมเด็จกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ ต้นราชสกุล เทวกุล ) เกิดเมตตารับเป็นบุตรบุญธรรม ก็ต้องแน่ใจว่าเจ้านายของตนเห็นชอบ หรืออาจจะเป็นฝ่ายประทานเด็กมาให้เลี้ยงเสียด้วยซ้ำ
     ไม่งั้นคุณหลวงเทวะวงศฯ คงไม่เอาหน้าที่การงานมาเสี่ยงกับเรื่องราชภัยร้ายแรงอย่างยิ่งเรื่องนี้

     อย่าลืมอีกข้อหนึ่งว่า เจ้านายพระองค์นี้เป็นหนึ่งในสี่พระองค์ที่ต้องทรงเหนื่อยยากจากความเสียหายที่เกิดขึ้น ทรงรู้เห็นรายละเอียด ทรงทราบความวุ่นวายที่เกิดในพระบรมวงศานุวงศ์ และทรงทราบดี่ว่าพระเจ้าอยู่หัวเสียพระราชหฤทัยขนาดไหน
เป็นไปได้อย่างไรที่จะทรงสนับสนุนรับเด็กคนนี้มาให้ข้าราชบริพารของพระองค์เลี้ยงดูเป็นบุตรบุญธรรม ให้เติบโตขึ้นมามีการศึกษาดี มีเกียรติ มีบรรดาศักดิ์ โดยไม่นึกถึงที่มาของเด็ก และไม่นึกถึงพระเจ้าแผ่นดินและพระราชวงศ์ด้วยกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 29 ก.ย. 20, 07:25

    2 สังคมคนไทยในยุคนั้น และแม้แต่ในยุคนี้ นับการสืบสายเลือดทางบิดาเป็นหลัก ไม่ใช่ทางมารดา
    กฎหมายและประเพณีก็ถือหลักนี้เช่นกัน เห็นได้จากเด็กทั่วไปเกิดมาก็ใช้นามสกุลของบิดา ไม่ใช่มารดา เพิ่งมาเลือกได้เมื่อไม่กี่ปีนี้เอง
    ดังนั้นทารกชายผู้นี้ สังคมสมัยนั้นจึงนับว่าเป็นลูกของนายโต ไม่ได้นับว่าเป็นพระโอรสเสด็จพระองค์หญิง
    
   3 คุณเทพเล่าว่า เด็กคนนี้เติบโตขึ้นได้บรรดาศักดิ์เป็นพันตรีพระศักดาพลรักษ์ (เสข) ได้ทำเรื่องขอพระราชทานนามสกุลในรัชกาลที่ 6
    แต่คุณเทพไม่ได้อ้างหลักฐานรายละเอียดในหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานนามสกุล

    ข้อเท็จจริงคือหลวงศักดาพลรักษ์(ไม่ใช่พระศักดาพลรักษ์) ได้อธิบายละเอียดถึงเทือกเถาเหล่ากอของตน ว่าท่านเป็นบุตรของหลวงเทวะวงศวโรปการ (เสน หรือพิมเสน) อันเป็นบุตรของจมื่นสรสิทธิราช (จุ้ย) กับท่านไม้จีนบุตรของท่านคล้าย(ข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ ๒)
     ส่วนทางมารดา พระศักดาฯระบุว่าท่านศิลาเป็นบุตรีของท่านทันและเป็นหลานตา ของพระยาอุทัยธรรม (นุด) ผู้เป็นบุตรของเจ้าฟ้าชายนเรนทรราชกุมารหรือพระนเรนทรราชา' (ต้นสกุลรุ่งไพโรจน์) ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๑๘ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๓ ในกรมบริจาภกดีศรีสุดารักษ์ (เจ้าหญิงฉิม) ซึงเป็นพระราชธิดาของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 ก.ย. 20, 11:10 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 29 ก.ย. 20, 20:08

พันตรีหลวงศักดาพลรักษ์ (เสข) ได้ทำเรื่องขอพระราชทานนามสกุลในรัชกาลที่ 6  

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2457/D/1033_1.PDF



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 30 ก.ย. 20, 07:40

ขออนุญาตลบทิ้งข้อความของคุณเพ็ญชมพูนะคะ
มันทำให้เรื่องที่ดิฉันค่อยๆลำดับความ  เสียขั้นตอนหมดค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 30 ก.ย. 20, 11:06

     ถ้าหากว่าคุณหลวงศักดาฯเป็นบุตรบุญธรรมของหลวงเทวะวงศ และภรรยา ก็ไม่สามารถจะกราบบังคมทูลได้ว่าตนเองเป็นเชื้อสายของจมื่นสรสิทธิราชบิดาคุณหลวงเทวะวงศ และยิ่งไม่่่มีสิทธิ์เข้าไปใหญ่ที่จะอ้างบรรพชนทางสายคุณนายศิลา ภรรยาหลวงเทวะวงศ ที่สามารถสืบเชื้อสายย้อนขึ้นไปได้ถึงเจ้าฟ้านเรนทร พระราชโอรสสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
    
    4 ถ้าหากว่าคุณเทพ ผู้เกิดทีหลังเรื่องนี้หลายสิบปียังสามารถสืบทราบได้ว่า หลวงเทวะวงศฯ รับบุตรของหม่อมยิ่งไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม เรื่องนี้ก็ย่อมไม่ใช่ความลับสำหรับคนสมัยรัชกาลที่ 5
     ยิ่งคนในวังเทวะเวสม์ ตลอดจนญาติๆของคุณหลวงเทวะวงศฯ ก็ต้องรู้กันหมด
     พันตรีหลวงศักดาฯคงไม่สามารถอ้างได้ว่าตนเองเป็นเชื้อสายคุณหลวงเทวะวงศ์และภรรยา จนเขียนหนังสือกราบบังคมทูลแบบนี้ได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 30 ก.ย. 20, 11:08

ในเมื่อหลวงศักดาพลรักษ์ทำหนังสือกราบบังคมทูล โดยแจกแจงบรรพชนได้โดยละเอียดเช่นนี้ ก็หมายความได้อย่างเดียวว่า พันตรีหลวงศักดาพลรักษ์คือบุตรที่แท้จริงของหลวงเทวะวงศฯ และคุณนายศิลา จึงเขียนไปตามข้อเท็จจริงที่บิดามารดาเล่าให้ฟัง
5 หลักฐานสำคัญที่สุดที่แสดงว่า พันตรีหลวงศักดาพลรักษ์ หรือต่อมาเลื่อนขึ้นเป็นพลตรีพระยาวิบุลอายุรเวท มิใช่บุตรของหม่อมยิ่งและอ้ายโต
ก็คือในหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ แสดงประวัติของท่านไว้ว่า พลตรีพระยาวิบุลอายุรเวช (เสข ธรรมสโรช)เกิดเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2426 ส่วนหม่อมยิ่งตั้งครรภ์เมื่อพ.ศ. 2429 สามปีหลังพระยาวิบุลฯ เกิด
พูดอีกทีคือตอนบุตรชายหม่อมยิ่งคลอดออกมา หลวงศักดาพลรักษ์หรือพระยาวิบุลอายุรเวท อายุ 3 ขวบแล้ว
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 20 คำสั่ง