เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 4932 อยากทราบที่มาของนามสกุลวงศ์ท้าวเทพกระษัตรี พญาถลางเทียน ประทีป ณ ถลาง คะ
warunee2020
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


 เมื่อ 22 ส.ค. 20, 15:45

อยากทราบที่มาของนามสกุลวงศ์ท้าวเทพกระษัตรี พญาถลางเทียน ประทีป ณ ถลาง คะ ทราบมาว่าเป็นนามสกุลพระราชทานในล้นเกล้าฯรัชกาลที่6 อยากเห็นใบพระราชทานนามสกุลต้นฉบับคะ หาไม่เจอเลยคะ
ขออนุเคราะห์จากท่านผู้รู้ในที่นี้ด้วยนะคะ ขอบพระคุณมากค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 22 ส.ค. 20, 19:42

นามสกุล ประทีป ณ ถลาง เขียนเป็นอักษรโรมันว่า    Pradip na Thala^ng 
สกุลนี้สืบเชื้อสายมาจากพระยาถลาง(เทียน) ผู้ซึ่งเป็นบุตรของท้าวเทพกระษัตรี  เกิดจากสามีคนแรก ชื่อหม่อมภักดีภูธร   ค่ะ
พระยาถลางมีบุตรหลานสืบต่อกันมาจนถึงชั้นเหลน  ชื่อหลวงราชอาณัติ (กล่อม) เป็นผู้พิพากษาศาลจังหวัดตะกั่วป่า  เป็นผู้ทำหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานนามสกุลค่ะ

ส่วนใบพระราชทานนามสกุล  ไม่เคยเห็นค่ะ  ส่วนใหญ่ลูกหลานเก็บรักษาไว้  หรือไม่ก็ถ่ายรูปลงในหนังสืองานศพเป็นส่วนหนึ่งของประวัติ จึงจะเห็นกัน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 22 ส.ค. 20, 19:54

จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2460/D/860.PDF


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 22 ส.ค. 20, 20:49

ประกาศข้างบนนี้ พอจะใช้ดูแทนใบพระราชทานนามสกุลได้ไหมคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 22 ส.ค. 20, 21:04

ใบพระราชทานนามสกุล ประทีป ณ ถลาง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 22 ส.ค. 20, 21:17

หลวงราชอาญัติ (กล่อม ประทีป ณ ถลาง) และ นางราชอาญัติ (แดง ประทีป ณ ถลาง)

ภาพจาก https://www.facebook.com/535236742/posts/10157484420201743/


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 23 ส.ค. 20, 11:16

คำว่า"พญาถลาง" ที่ถูกต้องคือ พระยาถลาง ค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 23 ส.ค. 20, 12:29

ในสมัยนั้นเขียนว่า พญาถลาง แต่เป็นการเขียนแบบโบราณ ดังตัวอย่างในจดหมายฉบับนี้

จดหมายท่านผู้หญิงจัน(ท้าวเทพกระษัตรี)เขียนถึงกัปตันฟรานซิส ไลท์(พญาราชกปิตัน) เจ้าเมืองปีนัง ให้เมืองภูเก็จ(พญาเทียน-พระยาถลางเทียน ต้นสกุลประทีป ณ ถลาง) ไปเจรจากับพญาราชกปิตันที่บ้านท่าเรือ (ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง) ขอผ่อนผันดีบุกค่าผ้าที่ค้างอยู่และขอให้ช่วยสู้รบกับยี่หวุ่น แม่ทัพเรือพม่าที่ได้ยกพลมา ๓ พันคน ในปี พ.ศ. ๒๓๒๘ ท่านผู้หญิงจันไปพบเองไม่ได้เพราะพญาพิมลอัยาขันผู้สามีป่วยหนักอยู่

คำอ่าน ๐ หนังสือท่านผู้หญิงมาเถิงลาโตก ด้วยมีหนังสือไปนั้น ได้แจ้งแล้ว ครั้นจะเอาหนังสือเรียนแก่พระยาถลาง พระยาถลางป่วยหนักอยู่และซึ่งว่ามาค้าขาย ณ เมืองถลางขาดทุนหนักหนาช้านานแล้วนั้นเห็นธุระของลาโตกอยู่ แต่หากว่าลาโตกเมตตาเห็นดู ข้าเจ้าจึงเปลืองทุนเป็นอันมาก ทนระมานอยู่ด้วยความเห็นดู แลซึ่งว่าแต่งกำปั่นแล้วจะลากลับไป แลมีราวข่าวว่า พม่าจะมาตีเมืองถลาง ท่านพระยาถลางเจ็บหนักอยู่ ถ้าพม่ายกมาจริง ข้าเจ้าจะได้พึ่งลาโตกเป็นหลักที่ยุดต่อไป แลซึ่งว่าจะเอาดีบุกค่าผ้านั้น ท่านพระยาถลางยังเจ็บหนัก มิได้ปรึกษาว่ากล่าว ถ้าท่านพระยาถลางคลายป่วยแล้ว จะได้ปรึกษาว่ากล่าว จักเตือนให้ ซึ่งว่าเจ้ารัดจะไปเยี่ยม ขุ่นท่ามิให้ไปนั้น ข้าเจ้าจะให้ไปว่าหลวงยุกบัตร  และขุนท่า ไม่ให้ยุดหน่วงไว้ ครั้นข้าเจ้าจะลงมาให้พบลาโตกเอง เจ้าคุณยังเจ็บหนักอยู่ จึงให้เมืองภูเก็จลงมา ลาโตกได้เห็นดูงดอยู่ก่อนถ้าเจ้าคุณค่อยคลายขึ้นข้าเจ้าจะลงมาให้พบลาโตก และขันนั้นไม่แจ้งว่าเป็นขันอะไรให้บอก๊ไปแก่เมืองภูเก็จให้แจ้ง ข้าเจ้าจะเอาลงมาให้ อนึ่งคนซึ่งรักษาบ้านเฝ้าค่ายนั้น ขัดสนด้วยยาฝิ่นที่จะกินให้ลาโตกช่วยว่ากปิตันอีกสะกัดให้ ๆ ยาฝิ่นขึ้นมาสักเก้าแท่นสิบแท่น แล้วถ้าพ่อลาโตกจะขึ้นมาได้ ให้ขี่ชื่นมาสักที หนังสือมา ณ วันอังคาร เดือนอ้าย ขึ้น ๕ ค่ำ ปีมะเส็งสัพศก  

https://www.phuketdata.net/main/index.php?option=com_easygallery&act=photos&cid=4338&Itemid=26



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 23 ส.ค. 20, 12:40

การเขียนคำว่า พญา แบบโบราณ

คำว่า พญา ที่เขียนแบบอักขรวิธีโบราณ (คือ พระยา) เป็นการเขียนหวัดเอา พ กับ ญ เขียนต่อกันเป็นตัวเดียว  คำว่า พระ ก็เหมือนกัน  ท่านเขียน พ แล้วลากหยักเพิ่มอีก ๑ เส้น เป็น พ ๓ หยัก ไม่มีสระอะ  แต่อ่านรู้กันว่า คือคำว่า พระ นั่นเอง  สมัยก่อนท่านมักเขียนด้วยอักขรพิเศษอย่างนี้ เมื่อเวลาต้องจดหนังสือสั่งการหรือหมายรับสั่งต่าง ๆ หรือเวลาร่างหนังสือต่างๆ เพื่อให้เขียนได้เร็วขึ้น

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 23 ส.ค. 20, 13:04

https://sites.google.com/site/namskulkhxngkhnthiy/home/-p

๓๙๔๕ ประทีป ณ ถลาง Pradip na Thala^ng หลวงราชอาณัติ (กล่อม) ผู้พิพากษาศาลจังหวัดตะกั่วป่า ปู่ทวดชื่อพระยาถลาง (เทียน) 17/5/17
บันทึกการเข้า
warunee2020
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 23 ส.ค. 20, 14:56

ขอขอบพระคุณคุณเทาชมพู และคุณเพ็ญชมพูมากค่ะสำหรับข้อมูลอันเป็นประโยชน์ทั้งหมดเหล่านี้
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 19 คำสั่ง