เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 2980 ขออนุญาตเรียนถามถึงเรื่องการเลือกคู่ของคนไทยภาคกลางในสมัยอยุธยาค่ะ
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


 เมื่อ 04 ส.ค. 20, 16:16

ขออนุญาตเรียนถามถึงเรื่องการเลือกคู่ของคนไทยภาคกลางในสมัยอยุธยาค่ะ พอดีได้ไปอ่านบทความเรื่องพิธีเสี่ยงทายคู่ของอีสานในสมัยโบราณมาค่ะเลยสงสัยว่าแล้วของคนไทยภาคกลางในสมัยอยุธยาจะมีบ้างไหม เลยอยากมาเรียนถามถึงเรื่องการเลือกคู่ พิธีเสี่ยงทายคู่ของคนไทยภาคกลางในสมัยอยุธยาหน่อยค่ะ

1 คนไทยภาคกลางในสมัยอยุธยามีคำเรียกคู่ครองที่เป็นเนื้อคู่กัน อยู่กินกันมาหลายภพ หลายชาติ แบบภาษาไทดั้งเดิมก่อนนำภาษาบาลี สันสกฤตมาใช้เรียกว่าบุพเพสันนิวาสไหมคะ

2 คนไทยภาคกลางในสมัยอยุธยามีความเชื่อในเรื่องความรักเกิดจากเทวดาเป็นผู้กำหนดถึงความเหมาะสมของคนสองคนไหมคะก่อนหน้าที่ศาสนาฮินดู พราหมณ์จะบอกว่าพระพรมเป็นเทพที่มีหน้าที่จับคู่ให้

3 คนไทยภาคกลางในสมัยอยุธยามีพิธีกรรมถามสิ่งศักดิ์สิทธิ์เสี่ยงทายเพื่อดูความสมพงษ์ของผู้หญิง ผู้ชายว่าเป็นคู่แท้กันก่อนที่ทั้งสองจะแต่งงานกันไหมคะ

4 นอกจากพิธีกรรมถามสิ่งศักดิ์สิทธิ์เสี่ยงทายเพื่อดูความสมพงษ์ของผู้หญิง ผู้ชายว่าเป็นคู่แท้ ยังมีพิธีทั่วๆไปของคนธรรมดาเพื่อนยืนยันผลการเสี่ยงทายไหมคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 04 ส.ค. 20, 17:17

การมีคู่ของชาวอยุธยาเกิดได้ 2 ประการคือชอบใจกันก็เลือกเป็นคู่กันเอง   กับอีกอย่างคือพ่อแม่จัดการให้ 
หญิงชาวบ้านในกรุงศรีอยุธยามีผัวตั้งแต่อายุน้อย จะเห็นว่านางเอกในวรรณคดีทุกเล่ม แต่งงานอายุไม่เกิน 15 ส่วนผู้ชายก็ราวอายุ 18 การกินอยู่กันอย่างเสรีโดยไม่ได้แต่งงานถือเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่เรื่องอับอาย เมื่อได้อยู่กินกันก็เสมือนว่าได้แต่งงานกันแล้ว โดยฝ่ายชายจัดพิธีขอขมาต่อพ่อแม่ของฝ่ายหญิงเท่านั้นเองค่ะ

https://www.silpa-mag.com/history/article_23036
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 04 ส.ค. 20, 17:56

คุณดาวเคยถามเรื่องเดียวกันนี้ที่ พันทิป

ในสมัยอยุธยา คนอยุธยาเขามีวัฒนธรรมการเสี่ยงทายเนื้อคู่ การเลือกเนื้อคู่ว่าจะเป็นใคร เหมาะสมไหมของชาย หญิงกันไหมคะ

ตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน วิธีที่จะทราบว่าดวงสมพงศ์เป็นเนื้อคู่กันหรือไม่ก็ต้องอาศัยหมอดู ลาลูแบร์เล่าไว้ดังนี้


เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับการแต่งงาน บิดามารดาของฝ่ายชายก็จัดหญิงเฒ่าแก่ผู้มีชื่อเสียงดี ไปดำเนินการสู่ขอต่อบิดามารดาของฝ่ายหญิง ถ้าบิดามารดาของฝ่ายหญิงพอใจ ก็จะให้คำตอบในทางเอื้อเฟื้อ แม้กระนั้นก็ยังสงวนท่าทีขอผลัดไปปรึกษาหารือรับทราบเจตนารมณ์ของธิดาของตนก่อน ในขณะเดียวกันนั้นก็สอบถามเวลาตกฟากของฝ่ายชาย และให้เวลาตกฟากของฝ่ายหญิงแก่เฒ่าแก่ไป ทั้งสองฝ่ายจะนำไปให้หมอดู เพื่อขอทราบเป็นประการสำคัญว่า อีกฝ่ายหนึ่งนั้นมั่งมีศรีสุขหรือไฉน และจะอยู่กินกันไปจนวันตายไม่หย่าร้างหรือประการใด ด้วยคนทั้งหลายย่อมซ่อนทรัพย์สินของตนอย่างหวงแหน เพื่อปกปิดไว้มิให้ตกเป็นเหยื่อแห่งการขูดรีดของพวกสุภาตุลาการและการริบราชบาตรโดยพระมหากษัตริย์ ฉะนั้นจึงต้องหันไปพึ่งหมอดูเพื่อให้รู้ว่าครอบครัวนั้น ๆ มั่งมีศรีสุขหรือหาไม่ แล้วก็ตัดสินใจเอาตามคำที่หมอดูแนะให้นั้น

จากหนังสือจดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม บทที่เจ็ด ว่าด้วยการแต่งงานและการหย่าร้างของชาวสยาม เขียนโดย มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 04 ส.ค. 20, 22:06

ของพระคุณมากค่ะ สรุปว่าคนไทยภาคกลางในสมัยอยุธยาไม่มีพิธีกรรมในการเลือกคู่แท้ ไม่มีพิธีกรรมในการเสี่ยงทายหาเนื้อคู่แท้ มีแต่การไปดูหมอเรื่องฐานะว่าต่อไปคู่ตัวเองจะรวยไหมถูกต้องไหมคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 05 ส.ค. 20, 19:02

การไปดูหมอเรื่องฐานะว่าต่อไปคู่ตัวเองจะรวยไหมถูกต้องไหมคะ

ไปดูหมอเพื่อต้องการทราบว่าครอบครัวของอีกฝ่ายหนึ่งมั่งมีศรีสุขหรือไฉน เพราะเศรษฐีสมัยอยุธยามักจะไม่อวด "ความรวย" ด้วยว่าจะนำ "ความซวย" มาเยือน  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 06 ส.ค. 20, 21:18

ขออนุญาตถามต่อเลยนะคะ

1 คนไทยภาคกลางในสมัยอยุธยามีความเชื่อเรื่องคู่ครองที่เป็นเนื้อคู่กัน อยู่กินกันมาหลายภพ หลายชาติ กันบ้างไหมคะทั้งชนชั้นสูง ชนชั้นล่าง หรือจะออกแนวรักกันก็แต่ง เบื่อกันก็เลิก ไม่ก็อาจแต่งกันเพื่อผลประโยชน์ซะมากกว่า

2 คำว่าบุพเพสันนิวาสที่คนไทยใช้เรียกคู่ครองที่เป็นเนื้อคู่กัน อยู่กินกันมาหลายภพ หลายชาติ (ดิฉันเข้าใจความหมายถูกใช่ไหมคะ) พอจะบอกได้ไหมคะว่าคำนี้มีขึ้นในยุคสมัยไหน

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 07 ส.ค. 20, 20:00

คนไทยภาคกลางในสมัยอยุธยามีความเชื่อเรื่องคู่ครองที่เป็นเนื้อคู่กัน อยู่กินกันมาหลายภพ หลายชาติ กันบ้างไหมคะทั้งชนชั้นสูง ชนชั้นล่าง

เรื่องนี้อยู่ในคำสอนในพุทธศาสนา สังคมสมัยอยุธยาเป็นสังคมพุทธ ย่อมซึมซับคำสอนเรื่องนี้ ปรากฏพระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎก  ดังนี้แล

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เภสกฬามฤคทายวันใกล้บ้านสุงสุมารคีระ แคว้นภัคคะ ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของนกุลบิดาคฤหบดี แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้งนั้นแล คฤหบดีผู้นกุลบิดาและคฤหปตานี ผู้นกุลมารดา เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้ว คฤหบดีผู้นกุลบิดาได้กราบทูลกะพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นับแต่เวลาที่ตระกูลนำคฤหปตานีผู้นกุลมารดาซึ่งยังเป็นสาวมา เพื่อข้าพระองค์ผู้ยังเป็นหนุ่ม ข้าพระองค์มิได้รู้สึกจะประพฤตินอกใจคฤหปตานีผู้นกุลมารดาแม้ด้วยใจเลย ที่ไหนจะประพฤตินอกใจด้วยกายเล่า ข้าพระองค์ทั้งสองปรารถนาพบกันและกันทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ

แม้คฤหปตานีผู้นกุลมารดา ก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นับแต่เวลาที่ตระกูลนำหม่อมฉันซึ่งยังเป็นสาวมา เพื่อคฤหบดีผู้นกุลบิดาซึ่งยังเป็นหนุ่ม หม่อมฉันมิได้รู้สึกจะประพฤตินอกใจคฤหบดีผู้นกุลบิดาแม้ด้วยใจเลย ที่ไหนจะประพฤตินอกใจด้วยกายเล่า หม่อมฉันทั้งสองปรารถนาพบกันและกันทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรคฤหบดีและคฤหปตานี ถ้าภรรยาและสามีทั้งสอง หวังจะพบกันและกันทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพไซร้ ทั้งสองเทียวพึงเป็นผู้มีศรัทธาเสมอกัน มีศีลเสมอกัน มีจาคะเสมอกัน มีปัญญาเสมอกัน ภรรยาและสามีทั้งสองนั้น ย่อมได้พบกันและกันทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ ฯ

ภรรยาและสามีทั้งสองเป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์ของผู้ขอ มีความสำรวม เป็นอยู่โดยธรรม เจรจาคำที่น่ารักแก่กันและกัน ย่อมมีความเจริญรุ่งเรืองมาก มีความผาสุก ทั้งสองฝ่ายมีศีลเสมอกัน รักใคร่กันมาก ไม่มีใจร้ายต่อกัน ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว ทั้งสองเป็นผู้มีศีลและวัตรเสมอกัน ย่อมเป็นผู้เสวยกามารมณ์ เพลิดเพลินบันเทิงใจอยู่ในเทวโลก ฯ

จาก สมชีวิสูตรที่ ๑ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=21&A=1642&Z=1669
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 17 ส.ค. 20, 21:55

ขอบพระคุณคำตอบด้วยนะคะ ขอบโทษที่ไม่ได้เข้ามาขอบคุณเสียนานค่ะ

ในตอนแรกดิฉันนึกว่าคนไทยภาคกลางสมัยก่อนจะมีความเชื่อในแนวโรแมนติกบ้าง อย่างเช่นเรื่องด้ายแดงของจีนที่คนจีนเขาเชื่อว่าถ้าเป็นคู่แท้กันเทพจะเอาเส้นด้ายมาพันนิ้วเอาไว้ทั้งคู่อะไรแบบนี้

แล้วเรื่องภาษาอย่างคำว่าบุพเพสันนิวาส พรหมลิขิต พอจะทราบไหมคะว่าเกิดขึ้นมาในสมัยไหน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 18 ส.ค. 20, 11:13

อยุธยาค่ะ
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 19 ส.ค. 20, 12:21

ขอบพระคุณค่ะคุณเทาชมพูู อย่างไรรบกวนแนะนำบทความในอยุธยาที่มีเขียนถึงเรื่องบุพเพสันนิวาสและพรหมลิขิตให้หน่อยได้ไหมคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 20 คำสั่ง