เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
อ่าน: 5837 ทาสในสยาม
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 04 ส.ค. 20, 15:46

            วัด ดูจะเป็น ที่ไป(พึ่งได้) สำหรับไพร่และทาสในสมัยอยุธยา ที่น่าไปมากกว่า ป่า มากนัก หากจะหลบเลี่ยง
การไม่ถูกเกณฑ์เดือน ไม่ต้องรับใช้มูลนาย ไม่ต้องถูกเกณฑ์ไปรบ และ เพื่อเป็นไท

ข้อมูลหลักจาก  การบวชในสมัยอยุธยา
พระมหาทศพล จนฺทวํโส (มาบัณฑิตย์)

             เมื่อมีการสร้างวัดของราชสำนักจะมีการพระราชทานไพร่หลวง,ไพร่สมให้ไปรับใช้ดูแลพระในวัดเรียกว่า
เลกวัด(จากคําว่า สักเลก - การทําเครื่องหมายที่ข้อมือของชายฉกรรจ์ที่ถูกเกณฑ์แรงงานไพร่)
             ส่วนทาสจะมีโอกาสได้เป็น ข้าพระ เมื่อเจ้านาย,ขุนนาง หรือคหบดีสร้างวัดก็จะถวายทาสในเรือนให้เป็นแรงงานวัด
             อ.ศรีศักร วัลลิโภดม ได้วิเคราะห์ว่า "การสร้างวัดให้ลูกเล่นอีกด้านหนึ่งเป็นทางออกของสามัญชนที่เป็นขุนนางใหญ่
หรือ ผู้ดีเศรษฐีมีทรัพย์มหาศาล แต่สร้างเรือนชานที่อยู่ให้ใหญ่โตมโหฬารไม่ได้ เพราะเท่ากับทาเทียมวังพระเจ้าแผ่นดินและ
เจ้านายมีโทษหนักถึงตัดหัว บรรดาผู้ดีเศรษฐี มีทรัพย์เหล่านี้เลยพากันสร้างวัดอวดกัน วัดเลยมีจำนวนมากมาย"
      
(นอกจากนี้ ยังมีอีกที่หนึ่งซึ่งเป็นส่วนน้อย นั่นคือ โบสถ์คริสต์ ตามสัญญาทางศาสนาที่ว่าด้วยการให้มิชชันนารีรับคนไทย
ไว้ในโบสถ์เหมือนเป็นข้าวัด)

              เลกวัดและข้าพระ เป็นสมาชิกของ สมณครัว ที่ต่อมาน่าจะแปรเรียกเป็น สำมะโนครัว


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 04 ส.ค. 20, 15:51

            การบวชเป็นพระ ก็เป็นอีกโอกาสของการเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางสังคม ทำให้ไพร่ไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน
และ ทาสเป็นไทหากนายทาสอนุญาตให้บวช แต่ต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติผ่านพุทธบัญญัติและข้อห้าม  
           - ห้ามบวชคนของราชการ,ทาส,ไพร่ต้องสังกัดมูลนาย เมื่อจะบวชต้องขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากมูลนายที่
สังกัด นายบางคนในตอนแรกยินยอมให้บวช แต่ต่อมาเสียดายผลประโยชน์ที่สูญเสียไป ก็เรียกร้องหรือบังคับให้ไพร่หรือทาส
นั้นสึก ถ้าไพร่,ทาสไม่ยอมสึกจะมีการเรียกร้องให้ชดใช้เงินทอง ซึ่งในกรณีบังคับให้ลาสิกขานี้อาจจะเกิดขึ้นได้น้อยมากเพราะ
ผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมไทยเชื่อกันว่าการบวชนั้น ตัวเองจะบวชเองหรือจะให้ผู้อื่นบวชนั้นได้อานิสงส์ใหญ่
           - คนเป็นหนี้(ต้องได้รับการอนุญาตจากเจ้าหนี้ก่อน), บุรุษผู้ถูกเฆี่ยนด้วยหวาย(แล้วแผลยังไม่หาย) และผู้เป็นโรคติดต่อ
บางชนิด

            เมื่อพระสงฆ์มีจำนวนมากเกิน ในแผ่นดินพระนารายณ์จึงทรงโปรดให้มีการสำรวจสมณครัว และ การสอบไล่
            โดยให้คณะสงฆ์จัดการศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างเป็นระบบจริงจัง กำหนดว่าภิกษุที่บวชมากี่พรรษาจะต้องมีภูมิความรู้
ในธรรมะและภาษาบาลีขั้นไหน และจัดการสอบไล่
            ลาลูแบร์ได้บันทึกถึง การสอบไล่ของพระสงฆ์ตามนโยบายของสมเด็จพระนารายณ์เพื่อให้คนที่บวชหนีส่วย,เกณฑ์แรงงาน
แล้วไม่ผ่านสอบไล่ต้องลาสิกขาและถูกสักเลกให้สังกัดมูลนายว่า
            ตอนที่เขาเข้ามา (พ.ศ.๒๒๓๐) มีพระสงฆ์ถูกจับสึกหลายพันรูปเพราะสอบตก และคนที่เป็นแม่กองสอบพระสงฆ์ฝ่ายคามวาสี
ก็คือ ออกหลวงสุรศักดิ์ หรือพระเจ้าเสือในอนาคตนั่นเอง
            ส่วนมองซิเออร์ คอนซตันซ์ ฟอลคอน บันทึกเล่าว่า “...เคยเห็นพระเจ้าแผ่นดิน (สมเด็จพระนารายณ์) ให้พระสงฆ์สึกในวันเดียว
ตั้ง ๗๐๐ และให้ลูกศิษย์ออกจากวัดตั้ง ๑๐,๐๐๐ คนก็มี"


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 06 ส.ค. 20, 08:50

ถ้าเทียบกับทาสในอเมริกาก่อนมีกฎหมายเลิกทาส   ทาสในสยามดูจะมีทางออกมากกว่า   และกฎหมายก็คุ้มครองว่านายงานไม่อาจจะลงโทษถึงตายได้
ระหว่างอิสรภาพที่จะเป็นไพร่  มาทำงานให้หลวงในบางเดือน  กับเป็นทาส  อะไรดีกว่ากันคงยากจะชี้ชัดลงไปได้  เพราะเราไม่อาจเอาความคิดของคนปัจจุบันไปชี้วัด  แต่หลังจากเสียกรุงครั้งที่ 2   การเข้าเวรแรงงานของไพร่ลดน้อยลงเมื่อมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์  ขณะที่ทาสกลับมีจำนวนมากขึ้น   จนในรัชกาลที่ 3  พบว่าทาสมีจำนวนถึง 1 ใน 3 ของประชากร

   
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 06 ส.ค. 20, 21:28

 เห็นคุณเทาชมพูบอกว่า "อย่างที่สองคือค่าตัวทาสนั้นไม่ได้คงที่เหมือนตอนแรกที่มาขายตัวเป็นทาส   เพราะกฎหมายบัญญัติให้มีการลดค่าตัวทาสลงตามระยะเวลาของการเป็นทาส ทำให้ทาสมีค่าตัวลดน้อยลง เปิดโอกาสให้ทาสหาเงินมาไถ่ตัวเป็นอิสระได้ง่ายขึ้น"

พอจะมีรายละเอียไหมคะว่าส่วนใหญ่เขาซื้อขายทาสกันด้วยจำนวนเงินเท่าไร แล้วจำนวนเงินที่ลดลงตามระยะเวลาเขาคิดกันอย่างไง ลดเงินให้มากไหม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 10 ส.ค. 20, 20:14

เมื่ออาณาจักรรัตนโกสินทร์สถาปนาขึ้น จนถึงรัชกาลที่ 5 ระบบทาสก็มีอยู่ในสังคมไทยแบบเดียวกับสมัยอยุธยา  จำนวนทาสนั้นมีถึง 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด   
กฎหมายที่ใช้กันอยู่  ตีราคาลูกทาสในเรือนเบี้ย ชาย 14 ตำลึง หญิง 12 ตำลึง แล้วไม่มีการลด ต้องเป็นทาสไปจนกระทั่งชายอายุ 40 หญิงอายุ 30 จึงมีการลดบ้าง
คำนวณการลด  อายุทาสถึง 100 ปี ก็ยังมีค่าตัวอยู่ คือชาย 1 ตำลึง หญิง 3 บาท แปลว่า ผู้ที่เกิดในเรือนเบี้ย ถ้าไม่มีเงินมาไถ่ตัวเองแล้ว ก็ต้องเป็นทาสไปตลอดชีวิต

ระบบทาสมาถึงจุดสิ้นสุดในรัชกาลที่ 5   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้ตราพระราชบัญญัติขึ้น เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2417 ให้มีผลย้อนหลังไปถึงปีที่เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ   พระราชบัญญัตินี้มีใจความสำคัญว่า ลูกทาสซึ่งเกิดเมื่อปีมะโรง พ.ศ. 2411 ให้มีสิทธิได้ลดค่าตัวทุกปี โดยกำหนดว่า เมื่อแรกเกิด ชายมีค่าตัว 8 ตำลึง หญิงมีค่าตัว 7 ตำลึง เมื่อลดค่าตัวไปทุกปีแล้ว พอครบอายุ 21 ปีก็ให้ขาดจากความเป็นทาสทั้งชายและหญิง

ต่อมาถึงปี พ.ศ. 2448 สยามออกพระราชบัญญัติเลิกทาสที่แท้จริงขึ้น เรียกว่า “พระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124” (พ.ศ. 2448) เลิกเรื่องลูกทาส ในเรือนเบี้ยอย่างเด็ดขาด เด็กที่เกิดจากทาส ไม่เป็นทาสอีกต่อไป การซื้อขายทาสเป็นโทษทางอาญา ส่วนผู้ที่เป็นทาสอยู่แล้ว ให้นายเงินลดค่าตัวให้เดือนละ 4 บาท จนกว่าจะหมด
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 10 ส.ค. 20, 20:43

พ.ศ. 2448 สยามออกพระราชบัญญัติเลิกทาสที่แท้จริงขึ้น เรียกว่า “พระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124” (พ.ศ. 2448) เลิกเรื่องลูกทาส ในเรือนเบี้ยอย่างเด็ดขาด เด็กที่เกิดจากทาส ไม่เป็นทาสอีกต่อไป การซื้อขายทาสเป็นโทษทางอาญา ส่วนผู้ที่เป็นทาสอยู่แล้ว ให้นายเงินลดค่าตัวให้เดือนละ 4 บาท จนกว่าจะหมด

พระราชบัญญัติฉบับนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑ เมษายน รัตนโกสินทรศก ๑๒๔ ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ของสยามในขณะนั้น

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2448/001/9.PDF






บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 17 ส.ค. 20, 21:08

ขอบพระคุณคำตอบเรื่องเงินไถ่ตัวทาสด้วยนะคะ ขอบโทษที่ไม่ได้เข้ามาขอบคุณเสียนานค่ะ

เห็นหลานท่านว่าทาสไทยดีกว่าทาสอเมริกา ยุโรป แล้วถ้าเทียบกับชาติในเอเชียด้วยกันอย่างจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ในสมัยก่อนถือว่าไทยดีกว่าเขาไหมคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 18 ส.ค. 20, 11:10

เรื่องทาสในจีน  ขอแนะนำให้เข้าไปอ่านในลิ้งค์นี้ค่ะ
ภาษาง่าย และเล่าได้กระชับค่ะ

https://china.mrdonn.org/slavery.html
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 19 ส.ค. 20, 12:11

ภาพการเลิกทาสในรัชกาลที่ ๕ ค่ะ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 19 ส.ค. 20, 12:24

ขอบคุณสำหรับบทความเรื่องทาสในจีนค่ะ ดิฉันจะไปอ่านดู
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 26 ส.ค. 20, 13:23

ปัจจุบัน เห็นจะเหลือแต่ ทาสแมว ละครับ
มีมากขึ้นทุกวัน ทุกหัวระแหงแล้ว
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.055 วินาที กับ 20 คำสั่ง