เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 5835 ทาสในสยาม
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 24 ก.ค. 20, 16:58

เรียนคุณเทาชมพูู ผมไม่เคยได้ทราบหรืออ่านเกี่ยวกับทาสที่เคยมีในปรเทศไทย ไม่ทราบว่ามีสถานะเหมือนทาสในสหรัฐอเมริกาหรือในยุโรปหรือไม่ ขอความกรุณาเล่าให้ฟังบ้างครับ ขอบพระคุณมาก

มาตั้งกระทู้ใหม่ตามคำขอของคุณ pratab ค่ะ

เช็คชื่อตามระเบียบ
บันทึกการเข้า
pratab
อสุรผัด
*
ตอบ: 29


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 24 ก.ค. 20, 17:30

ขอบพระคุณมากมานั่งแถวหน้ารอฟังครับ
บันทึกการเข้า
ninpaat
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 24 ก.ค. 20, 17:30

มาครับ

วันนี้ วันศุกร์ หยุดยาว แถมฝนตกอีกครับ
บันทึกการเข้า
choo
มัจฉานุ
**
ตอบ: 95


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 24 ก.ค. 20, 18:27

ขอฟังด้วยคนครับ เคยได้ยินคุณตาคุณยายซึ่งท่านทันสมัยมีทาสเล่าให้ฟังบ้างนิดหน่อย เสียดายที่ฟังผ่านๆเลยไม่ได้ซักถามรายละเอียด
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 24 ก.ค. 20, 19:11

มาค่ะ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 24 ก.ค. 20, 21:00



      รายงานตัวเข้าฟังครับ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 25 ก.ค. 20, 09:54

จากอเมริกามาสยาม ครับ

readthecloud.co


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 28 ก.ค. 20, 11:29

ทาสคืออะไร  ทาสก็คือมนุษย์ที่ถูกลดฐานะลงไปเป็นสินค้า   สามารถถูกนำไปซื้อขาย  ใช้แรงงาน โดยไม่ต้องคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล     จะว่าไปก็ไม่ต่างจากสัตว์ที่ถูกจับมาเพื่อใช้แรงงานให้มนุษย์ 
ในยุคที่โลกยังต้องพึ่งพาเกษตรกรรม  ก่อนมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป    แรงงานเป็นสิ่งสำคัญมาก  เพราะสังคมและเศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนด้วยแรงมนุษย์   ยิ่งใช้คนมากเท่าใดผลผลิตที่ได้รับก็มากขึ้นเท่านั้น   เมื่อการว่าจ้างและการใช้แรงคนในครอบครัวมีไม่พอ   ต้องไปหาแรงงานจากที่อื่น   ระบบทาสจึงเกิดขึ้นตอบสนองความต้องการเช่นนี้ 

เมื่อเราเรียนประวัติศาสตร์   มักจะพบว่าอาณาจักรต่างๆมีการรบราขยายอำนาจกันไม่ได้หยุด    เมื่อฝายหนึ่งชนะ ก็มีการกวาดต้อนผู้คนจากฝ่ายแพ้ไปอยู่ในอาณาจักรของผู้ชนะ  เอากันไปเป็นจำนวนมาก   ให้ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในบ้านเมืองของฝ่ายชนะ    ผิดกับสมัยนี้ที่การเข้าออกในประเทศอื่นๆ ต้องกวดขันกันเข้มงวด  มีข้อกำหนดเวลาให้อยู่สารพัดแบบ    เหมือนพยายามผลักดันให้กลับออกมาอยู่ตลอดเวลา
เหตุผลที่ตรงกันข้ามในสองยุค คือยุคก่อน อาณาจักรต้องการแรงงานจากถิ่นอื่นนั่นเอง   สมัยนี้ไม่ต้องการแล้ว

บนผืนแผ่นดินแหลมทอง  มีทาสมาตั้งแต่ยุคใด ยังไม่มีคำตอบชี้ชัดลงไปได้    แต่ที่รู้แน่ๆคือสมัยอยุธยามีทาสแล้ว  7 ชนิดด้วยกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 28 ก.ค. 20, 11:47

1.       ทาสสินไถ่- เป็นทาสจำนวนมากที่สุดในบรรดาทาสทั้งหมด   เป็นทาสเกิดจากบุคคลสมัครใจเข้าสู่ระบบทาส  คือขายตัวเป็นทาส   จะเป็นการขายตัวเอง หรือขายคนในครอบครัวเช่นลูกเมียก็ตาม   
         สาเหตุส่วนใหญ่ก็มาจากความยากจน ไม่พอเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง  หรือมีหนี้สินรุงรัง  ไม่มีเงินใช้เจ้าหนี้  พ่อก็ขายลูกเป็นทาส  หรือผัวขายเมีย เพราะสังคมอยุธยาถือว่าผู้หญิงเป็นทรัพย์สินของสามี และลูกเป็นทรัพย์สินของพ่อแม่   ไม่ต่างจากวัวควายม้าลาในบ้านที่เจ้าของจะนำออกขายได้
        แต่ทาสประเภทนี้ไม่ต้องเป็นทาสจนตาย   ถ้าหาเงินมาใช้หนี้นายเงินได้ ก็หลุดเป็นไทแก่ตัว
        ในเรื่องขุนช้างขุนแผน   คงจำได้ว่าเมื่อขุนแผนปีนขึ้นเรือนขุนช้าง  ไปเจอนางแก้วกิริยาเข้า    นางเป็นลูกสาวเจ้าเมืองสุโขทัยที่พ่อขาดเงิน ไม่มีส่งให้หลวง(หมายถึงราชการ) จึงต้องขายลูกสาวมาให้ขุนช้าง  นางอยู่ในฐานะทาส  แต่ขุนช้างปรานีเลี้ยงดูเหมือนน้อง ไม่ได้กดต่ำลงเป็นบ่าวหรือเอาเป็นเมียน้อย      เมื่อขุนแผนรู้ ก็ถอดแหวนให้นางไปจ่ายใช้หนี้ให้ขุนช้าง    นางแก้วกิริยาจึงไถ่ตัวเองได้เป็นอิสระ 
        2.  ทาสในเรือนเบี้ย-  เมื่อนางทาสคลอดลูกออกมา ต่อให้พ่อเด็กไม่ใช่ทาส เป็นอิสรชน  แต่เด็กจะกลายเป็นทาสตามสภาพของแม่โดยอัตโนมัติ    ทาสชนิดนี้ไม่สามารถไถ่ถอนตนเองได้
        3.       ทาสที่ได้รับมาด้วยมรดก - ทาสนับเป็นมรดกตกทอด เหมือนที่ดิน ข้าวของ บ้านช่อง   เมื่อนายคนเก่าใกล้ตาย ก็สามารถยกทาสของตนให้ทายาทรับเป็นเจ้าของสืบต่อไปได้ 
       4.       ทาสท่านให้ - ทาสที่ได้รับมาจากผู้อื่น คล้ายกับข้อ 3  คือนอกจากยกทาสเป็นมรดกตกทอดแล้ว    ถึงเจ้าของยังไม่ตาย แต่ใจดียกทาสตัวเองให้ญาติพี่น้องเพื่อนฝูงเอาไปใช้ต่อ ก็ทำได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 28 ก.ค. 20, 11:55

          5.       ทาสที่ช่วยไว้จากทัณฑ์โทษ -  ในกรณีที่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ทำผิดกฎหมายไม้ว่าเรื่องอะไร และต้องจ่ายค่าปรับ  แต่เขาหาเงินมาไม่ได้       หากมีผู้ใจดียื่นมือมาช่วยเหลือจ่ายค่าปรับให้  คนนั้นก็จะกลายเป็นทาสของผู้ให้ความช่วยเหลือในการชำระค่าปรับ
          6.       ทาสที่ช่วยไว้ให้พ้นจากความอดอยาก - ในช่วงข้าวยากหมากแพง บ้านเมืองเดือดร้อน   ผู้คนอดอยากทำมาหากินเลี้ยงตัวเองไม่ได้  ก็สามารถขายตัวเองเป็นทาสเพื่อจะได้ทำงานให้นาย  ก็จะมีข้าวปลากิน มีที่ให้อยู่ ไม่อดตาย
          7.       ทาสเชลย - ผู้แพ้จากการทำสงคราม  จะถูกกวาดต้อนไปอยู่ในบ้านเมืองผู้ชนะ  เรียกว่า "เชลย"    ผู้ชายก็ไปเป็นแรงงาน  ผู้หญิงก็จะกลายเป็นนางบำเรอของฝ่ายชนะ  พวกนี้ก็จะกลายเป็นทาสประเภทหนึ่ง
          ส่วนจะได้รับการปฏิบัติอย่างไร ดีหรือเลว   ก็แล้วแต่ความเมตตาปรานีของนาย
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 29 ก.ค. 20, 09:25

แอบๆ ย่องๆ กระเถิบๆ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 29 ก.ค. 20, 09:32

ในสมัยอยุธยา ทาสเป็นเครื่องหมายแห่งเกียรติยศ ผู้ที่มียศถาบรรดาศักดิ์หรือผู้ที่มีความมั่งคั่งเท่านั้นจึงจะมีทาส  ทาสมีหน้าที่รับใช้พวกเจ้านายภายในบ้าน และหน้าที่ในการผลิตซึ่งส่วนใหญ่เป็นการทำงานในภาคเกษตรกรรม อีกทั้งยังมีบทบาทเป็นฐานอำนาจในแง่จำนวนของกำลังคนภายในรัฐ

สำหรับทาสเชลย อันเป็นทาสที่ถูกกวาดต้อนมายังอยุธยาในวาระต่างกัน มีปรากฏในพงศาวดารหลายฉบับ บางส่วนพระมหากษัตริย์เก็บไว้เป็นของส่วนพระองค์ บางส่วนแจกจ่ายเป็นรางวัลแก่ข้าราชการ หรือแม่ทัพนายกอง การจับคนมาเป็นทาสจงมีนัยยะสำคัญทางการเมืองและเศรษฐกิจ ในแง่นามธรรมหมายถึงเกียรติยศ ส่วนรูปธรรมเจ้าของทาสก็ได้แรงงานบริการรับใช้ และหน้าที่ในการผลิตด้านเกษตรกรรม

ในทางกฎหมายเจ้าของทาสต้องเลี้ยงดูทาส การทอดทิ้งทาสจะทำให้เจ้าทาสสิ้นสุดการเป็นเจ้าของในตัวของทาสนั้น นอกจากนี้ กฎหมายก็ยังให้เจ้าของทาสสามารถลงโทษทาสได้ แต่หากกระทำรุนแรงมากไป เจ้าของทาสต้องจ่ายค่าตัวทาส หรือหากทำให้ทาสเสียชีวิต เจ้าของทาสจะต้องรับโทษถึงชีวิต

กิจกรรมการขายตัวเป็นทาสในอยุธยาดูเหมือนว่าจะเป็นกิจกรรมที่แพร่หลาย ซึ่งเรื่องนี้พบในบันทึกของชาวต่างชาติ การแพร่หลายดังกล่าวทำให้รัฐต้องออกมาควบคุมโดยออกกฎหมายพระไอยการทาส มีรายละเอียดอันรอบคอบเพื่อคุ้มครองทาส และควบคุมเกี่ยวกับการซื้อขายทาส พันธะของทาส และบทลงโทษต่าง ๆ

ภาพชีวิตของทาสอยุธยาที่กล่าวมาอาจดูสวยหรู แต่ความเป็นจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้น เพราะคงเป็นไปได้ยากที่ทาสจะไม่โดนกดขี่หรือถูกทำร้ายร่างกายเลย

บางคนตั้งข้อสังเกตว่าดูเหมือนว่าเสรีภาพจะเป็นสิ่งที่หน้าเจ็บปวดกว่าการเป็นทาสเสียอีก กล่าวคือ คนที่มีเสรีภาพคือคนที่ไม่ใช่ทาส คนที่ไม่ใช่ทาสส่วนใหญ่เป็นไพร่  “เสรีภาพ” เป็นสิ่งที่เจ็บปวดสำหรับคนที่มีเสรีภาพ เป็นเพราะไพร่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน หรือสิ่งชดเชยให้รัฐหรือกษัตริย์เป็นเวลา ๖ เดือน  บันทึกของชาวต่างชาติที่กล่าวถึงทาสในทางบวก และกล่าวถึงไพร่ในทางลบและน่าสงสาร  ด้วยระบบไพร่ หรือการเกณฑ์ที่ใช้ในสมัยอยุธยาต่อจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์คือระบบที่ทำให้เสรีภาพ เป็นสิ่งที่น่า “เจ็บปวด”

การเกณฑ์แรงงาน ๖ เดือนต่อปีย่อมส่งผลต่อการผลิต โดยเฉพาะในยุคนั้นที่เป็นเศรษฐกิจแบบยังชีพ ประชากรทำนาเป็นหลัก ยิ่งเมื่อถูกเกณฑ์ไปช่วงฤดูทำนาหรือเก็บเกี่ยวก็ยิ่งส่งผลต่อการผลิต ขณะที่การจ่ายเงินแทนเข้าเวรเกณฑ์แรงงาน ๑๒-๑๕ บาทต่อปี ก็ดูเหมือนเป็นทางเลือกหนึ่ง แต่หากพิจารณาอัตราค่าเงินในเวลานั้น เงิน ๑๒ บาทเป็นจำนวนที่คนหนึ่งใช้ดำรงชีพได้ตลอดปี

เงินที่จะจ่ายแทนการเข้าเวรเกณฑ์แรงงานจำนวน ๑๒-๑๕ บาทต่อปี จึงเป็นอัตราที่สูงมาก จนชาวไร่ชาวนาธรรมดาคงยากที่จะหามาจ่ายได้ ในขณะที่ไพร่ชายมีภาระดังกล่าวนี้ ทาสกลับได้รับการยกเว้นจากการเกณฑ์แรงงาน

นี่เอง "เสรีภาพ" จึงเป็นสิ่งที่ "เจ็บปวด" กว่า


เก็บความจากบทความ “ทาสอยุธยาในประมวลกฎหมายรัชกาลที่ ๑" โดย ชาติชาย พณานานนท์ นิตยสารศิลปวัฒนธรรมปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๓๒

https://www.silpa-mag.com/history/article_46652

บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 29 ก.ค. 20, 10:24

เมื่อมองดูดีๆ ทาส ในสยาม มีเพียง 3 ประเภทเท่านั้นครับ
1. ทาสเชลย เกิดจากการทำศึกสงคราม
2. ทาสเงิน เกิดจากความยากไร้ขัดสน จึงต้องขายตัวเองลงเป็นทาส หรือมีผู้อื่นมาช่วยเหลือเมื่อขัดสน หรือเมื่อมีคดีความ จึงต้องเป็นทาส
3. ทาสโดยกำเนิด

สำหรับ ทาสท่านให้ และทาสมรดก ก็มาจากทาส 3 ประเภทดังกล่าวข้างต้น แต่มีการโอนเปลี่ยนตัวนายทาสเท่านั้นเองครับ 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 29 ก.ค. 20, 12:26

ขอบคุณที่สรุปให้ค่ะ
บันทึกการเข้า
pratab
อสุรผัด
*
ตอบ: 29


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 29 ก.ค. 20, 13:36

ที่เรียกว่า"ไพร่" ในที่นี้หมายถึงประชาชนคนทั่วไปที่ไม่ได้เป็นทาสใช่ไหมครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 20 คำสั่ง