เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 5880 ทาสในสยาม
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 29 ก.ค. 20, 13:41

ใช่ค่ะ   หมายถึงชาวบ้านทั่วไป
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 29 ก.ค. 20, 14:22

มีทาสอีกหนึ่งกรณีพิเศษ อาจจะเรียกว่า ทาสโสเภณี

(ดัดแปลงจาก นิตยสาร ศิลปะวัฒนธรรม ว่า)

          จากจดหมายเหตุ ลา ลูแบร อัครราชทูตจากราชสำนักฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีในแผ่นดิน
สมเด็จพระนารายณ์ฯ
          บันทึกว่า กรุงศรีฯ มีโสเภณี ๖๐๐ คน “ล้วนแต่เป็นบุตรีขุนนางที่ขึ้นหน้าขึ้นตาทั้งนั้น” นอกจากนี้
                     หัวหน้าซ่อง “ยังรับซื้อภรรยาที่สามีขายส่งลงเป็นทาสีด้วยโทษคบชู้สู่ชาย” มาเป็นโสเภณี
          สามีกรุงศรีฯ นั้นเป็นผู้ทรงอำนาจเด็ดขาดสามาถขายบุตรและภรรยาได้ ยกเว้นภรรยาหลวงแต่ผู้เดียวที่จะทำได้เพียง
ขับไล่ไปเสียให้พ้นเท่านั้น การลงโทษเมียและลูกสาวที่ “ขุนนาง” ไม่พอใจคือ ขายเข้าซ่อง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 29 ก.ค. 20, 14:34

ยิงฟันยิ้ม

ในหนังสือ จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม เขียนโดย มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร ตอนที่ ๒ บทที่ ๑๕ เขียนถึงที่มาของหญิงโสเภณีสมัยอยุธยาไว้ว่า

ถ้าบุตรีคนใดกระทำชั่ว ขุนนางผู้บิดาก็ขายบุตรีส่งให้แก่ชายผู้หนึ่งซึ่งมีความชอบธรรมที่จะเกณฑ์ให้สตรีที่ตนซื้อมานั้น เป็นหญิงแพศยาหาเงินได้ โดยชายผู้มีชื่อนั้นต้องเสียเงินภาษีถวายพระมหากษัตริย์ กล่าวกันว่าชายผู้นี้มีหญิงโสเภณีอยู่ในปกครองของตนถึง ๖๐๐ นาง ล้วนแต่เป็นบุตรีขุนนางที่ขึ้นขึ้นตาทั้งนั้น อนึ่ง บุคคลผู้นี้ยังรับซื้อภรรยาที่สามีขายส่งลงเป็นทาสี ด้วยโทษคบชู้สู่ชายอีกด้วย
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 29 ก.ค. 20, 14:36

ในสมัยอยุธยา (ผมเข้าใจว่าตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถกระมังครับ) สังคมอยุธยากำหนดชนชั้นของบุคคลออกเป็น พระมหากษัตริย์ - พระบรมวงษานุวงศ์ - ขุนนาง - ไพร่ - ทาส
และยังมีชนชั้นพิเศษอยู่ 1 ชนนั้น คือ ภิกษุ ครับ (ดังนั้น หากทาสได้รับอนุญาตให้บวช ความเป็นทาสก็สิ้นสุดลงทันทีครับ)

คำว่า ไพร่ จึงหมายถึงบุคคลธรรมดา เป็นชนชั้นที่เป็นไทแก่ตัว มีสิทธิถือครองทรัพย์สินต่างๆได้ ไพร่ มีหน้าที่รับใช้มูลนาย ตามแต่กรม-กองที่ตนสังกัด คำว่ารับใช้ ก็หมายถึงการช่วยเหลือดูแลในยามปกติ และการเป็นกำลังรบในเวลาสงคราม การช่วยเหลือดูแลมูลนายนี้ ไม่มีค่าตอบแทน ระบบการคุมคนในสมัยนั้น จึงกำหนดให้ไพร่ ต้องเข้าเวรรับใช้มูลนาย 1 เดือน และกลับไปทำมาหากิน ดูแลครอบครัวของตน 1 เดือน สลับกันไป เรียกว่าการ "เข้าเดือนออกเดือน" (ระบบนี้ยกเลิกไปพร้อมกับการปฏิรูประบบราชการในสมัยรัชกาลที่ 5)

ไพร่ จำแนกได้เป็น 3 พวก ได้แก่
ไพร่หลวง ก็คือไพร่สังกัดกรมกองต่างๆ เทียบกับข้าราชการส่วนกลาง ก็คงพอจะได้
ไพร่สม ก็คือไพร่ที่สังกัดมูลนาย เทียบกับราชการส่วนท้องถิ่น ก็ไม่ค่อยคล้ายเท่าไหร่ แต่ขอเทียบอย่างนี้ไปก่อนละกันครับ (ฮ่า)
ไพร่ส่วย ก็คือ ไม่ไพร่หลวง ก็ไพร่สม นั่นแหละครับ แต่มีเหตุบางประการ เช่นอยู่ห่างไกล มาเข้าเวรไม่สะดวก ทางการจึงผ่อนผันให้เสียเงินแทนการมาเข้าเวร

มี "คนธรรมดา" อยู่สองพวก ที่ไม่ได้อยู่ในระบบไพร่ คือ ข้าพระ และ เลกวัด ซึ่งก็คือไพร่ที่พระเจ้าแผ่นดินมอบหมายหน้าที่ให้ดูแลรักษาพระพุทธรูปสำคัญ หรือดูแลพระ หรือดูแลวัด เรียกรวมๆว่า เป็น ไพร่ในกิจการพระศาสนาก็ได้ครับ บุคคลใดได้รับมอบหมายให้เป็นข้าพระ หรือเลกวัดแล้ว ก็ไม่ต้องเข้าเวรอีก มีหน้าที่ทำนุบำรุงวัดหรือพระภิกษุส่วนที่ตนได้รับมอบหมายนั้นอย่างเดียวก็พอ

อ่อ มีไพร่อีกพวกหนึ่ง ไม่ต้องเข้าเวร คือพวก "ชาวด่าน" คือ ประชาชนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเมืองที่เป็นด่านสำคัญ เช่น ทองผาภูมิ ศรีสวัสดิ์ ปากน้ำประสบ พวกนี้ จะได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ลาดตระเวนอยู่ในพื้นที่ของตน จึงไม่ต้องมาเข้าเวรยามเหมือนไพร่อื่นๆ ครับ

อาจจะนอกเรื่องทาสไปบ้าง แต่การแสดงให้เห็นว่า เป็นไพร่ ต้องทำอะไรบ้าง ก็พอจะสอดคล้องกับหัวข้อก่อนหน้าที่ว่า เป็นไพร่อาจสบายน้อยกว่าเป็นทาสได้กระมังครับ    
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 29 ก.ค. 20, 14:45

สำหรับ ทาสโสเภณี ของ อาจารย์ SILA ผมไม่มั่นใจจริงๆว่า จะเป็นอย่างที่บันทึกไว้นั้นหรือเปล่า เพราะโดยปกติของขุนนาง ถึงอย่างไรก็คงไม่ขาย บุตรี ลงเป็นหญิงโสเภณีแน่ แต่ที่น่าสงสัย (ผมสงสัยเองแหละครับ) คือ บุตรขุนนาง มีได้สารพัดแบบ ก็อย่างที่ว่า เมียขุนนาง ก็มีได้ทั้ง เมียพระราชทาน เมียกลางใน เมียกลางนอก และเมียทาส

เมียพระราชทาน หรือบุตรที่เกิดจากเมียพระราชทาน ใครที่ไหนจะกล้าขายเข้าซ่อง ส่วนเมียกลางใน กลางนอก ซึ่งตัวสู่ขอมาตามประเพณี เขาก็มีพ่อมีแม่ของเขา จะเอาลูกเอาหลานเขาไปขาย ก็มีหวังได้ทะเลาะกับตายายเป็นเรื่องเป็นราวกันแน่นอน ลูกสาวที่เกิดจากเมีย ที่หากไม่พอใจก็ขายได้ ก็น่าจะมีเฉพาะแต่ลูกเมียทาสนี่แหละครับ

ดังนั้น ถ้า "เด็กเชียร์แขก" สมัยอยุธยา จะแนะนำท่านราชฑูตว่า โอ้ยท่าน เด็กๆพวกนี้ เมีย (หรือลูกสาว) ขุนนางทั้งนั้น งืม มันก็ถูกแหละครับ แต่ก็ไม่ Noble เท่าไหร่อ่ะครับ  
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 29 ก.ค. 20, 16:24

ที่เรียกว่า"ไพร่" ในที่นี้หมายถึงประชาชนคนทั่วไปที่ไม่ได้เป็นทาสใช่ไหมครับ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 29 ก.ค. 20, 16:40

   ถ้าเทียบระหว่างทาสสยามกับทาสในอเมริกา ทาสสยามมีโอกาสดีกว่า ที่จะหลุดพ้นจากภาวะทาส  ตามที่กฎหมายเปิดช่องให้
   อย่างแรกคือเมื่อทาสสามารถนำเงินมาไถ่ถอนตัวเองได้  นายก็ต้องปล่อยเป็นอิสระ    จะมาทำไม่รู้ไม่ชี้ผูกขาดทาสอยู่ตามเดิมไม่ได้
   อย่างที่สองคือค่าตัวทาสนั้นไม่ได้คงที่เหมือนตอนแรกที่มาขายตัวเป็นทาส   เพราะกฎหมายบัญญัติให้มีการลดค่าตัวทาสลงตามระยะเวลาของการเป็นทาส ทำให้ทาสมีค่าตัวลดน้อยลง เปิดโอกาสให้ทาสหาเงินมาไถ่ตัวเป็นอิสระได้ง่ายขึ้น
   กฎหมายอยุธยาก็ดูจะเห็นอกเห็นใจ เปิดช่องทางให้ทาสหลุดพ้นจากสภาพทาสได้  ในหลายกรณีด้วยกัน
   1   ถ้าทาสสมัครใจบวช และนายอนุญาตให้บวช  ไม่ว่าบวชเณร บวชพระ หรือบวชชี    ทาสคนนั้นจะพ้นภาวะทาสทันที 
   ข้อนี้ดิฉันไม่รู้รายละเอียดว่าการลาบวชนั้นต้องบวชแล้วไม่สึก  หรือบวชไประยะหนึ่งก็สึกได้    ที่จริงข้อนี้ก็จำเป็น เพราะคนที่จะบวชเป็นพระจะต้องไม่มีหนี้สินทางโลกผูกมัดรุงรังอยู่      แต่ถ้าบวชเพื่อหนีความเป็นทาส  สามวันเจ็ดวันสึกหรือพรรษาเดียวสึก อย่างนี้นายเห็นท่าทีว่าจะหนี  คงไม่อนุญาตเสียตั้งแต่แรก
   2   ถ้านายเงินหรือลูกหลานนายเงินได้ทาสเป็นภรรยา และหญิงนั้นมีลูกก็ถือว่าหญิงนั้นเป็นไท  คือเลื่อนฐานะจากอีเย็นเป็นคุณนายลำดับท้ายของบ้าน
    3  เมื่อเกิดศึกสงคราม     นายมีหน้าที่ต้องเข้ากองทัพไปรบ แต่ทาสไปรบแทนนาย   ชนะศึกกลับมา  ทาสนั้นก็เป็นอิสระ
   นอกจากนี้ยังมีประเด็นปลีกย่อยอีก ที่หลายท่านอาจออกความเห็นได้เพิ่มเติม  คือ
   -ทาสขายฝากที่นายใช้ให้ไปรับโทษแทน
   - ทาสที่นายใช้งานจนได้รับอันตรายถึงพิการ   
   - ทาสที่มีเมียแล้วนายเป็นชู้กับเมีย   ทาสผู้เป็นสามีจะได้เป็นไท
   - ทาสขายฝาก ถูกนายเงินกล่าวหาว่าไปทำชู้กับคนของนายเงิน เมื่อพิสูจน์แล้วไม่เป็นความจริง ทาสคนที่ถูกใส่ความนี้เป็นอิสระ
    - ข้อนี้ กฎหมายให้ทาสช่วยสอดส่องพฤติกรรมนาย แทนที่จะเป็นกำลังซ่องสุมร่วมกับนาย     คือถ้านายเป็นกบฏ  ทาสเอาความไปฟ้องร้องต่อทางการบ้านเมือง   และผลออกมาว่าเป็นความจริง   ทาสคนนั้นเป็นอิสระ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 03 ส.ค. 20, 08:57

  ในทางปฏิบัติ   ทาสในอยุธยาน่าจะมาถึงจุดสิ้นสุด เมื่อเสียกรุงครั้งที่สองในพ.ศ. 2310  เพราะในเวลานั้น ระบบต่างๆในสังคมพังทลายลงไปโดยอัตโนมัติ   ไม่มีเจ้า ไม่มีนาย  ไม่มีข้า  ไม่มีทาส   ทุกคนถ้าไม่หนีเอาตัวรอดก็ถูกจับเป็นเชลย   เมื่อหนีเอาตัวรอดไปได้ ก็ไปรวมกับชุมชนที่ตัวเองเลือก  จะเป็นชุมชนในป่าในเขา หรือในเมืองใดเมืองหนึ่งก็ตามแต่
  ดังนั้น หลังจากกรุงแตก ถ้าไม่สมัครใจติดตามนายไปเอง   ทาสก็เป็นไทแก่ตัว     ส่วนระบบไพร่ก็จบลงไปเหมือนกัน เพราะไม่มีเจ้าขุนมูลนายไว้เกณฑ์แรงงานอีกแล้ว
  อย่างไรก็ตาม  เมื่อมีการสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นมา   ระบบทาสและระบบไพร่ก็กลับมาอีกครั้ง  เรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์
 
 
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 03 ส.ค. 20, 15:12

ท่านอาจารย์ใหญ่ครับ แล้วคุณภาพชีวิตของทาสในอเมริกานี่มีมากแค่ไหน นายทาสสามารถทำร้ายหรือฆ่าทาสได้โดยไม่มีความผิดเหมือนทาสเป็นสิ่งของหรือเปล่าครับ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 03 ส.ค. 20, 15:52

    ในหลายรัฐของอเมริกา ก่อนปี 1830 ซึ่งเป็นปีที่ประกาศอิสรภาพของทาส    นายงานมีสิทธิ์ฆ่าทาสของตนได้โดยกฎหมายไม่เอาเรื่องด้วยค่ะ
    ขึ้นชื่อว่า "ทาส" ไม่ว่าประเทศไหนก็คงคล้ายๆกัน  คือมนุษย์ที่เป็นทาสถูกลดฐานะลงไปต่ำกว่ามนุษย์ด้วยกันที่ไม่ใช่ทาส    สภาพพอๆกับสัตว์ที่ถูกนำมาใช้แรงงาน   ถูกซื้อขายแลกเปลี่ยนได้   เฆี่ยนตีได้   ทารุณได้  ละเลยทอดทิ้งก็ได้  หรือแม้แต่สังหารก็ได้   โดยไม่ถือว่าเป็นความผิดทางกฎหมาย 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 03 ส.ค. 20, 16:07

ทาสกับไพร่ ในอีกมุมหนึ่ง
https://pantip.com/topic/31831188


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 04 ส.ค. 20, 09:32

แก้ไข, ลบบทความซ้ำคห. ๑๑
 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 04 ส.ค. 20, 09:39

คุณศิลาอ่าน ความคิดเห็นที่ ๑๑ แล้วหรือยัง  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 04 ส.ค. 20, 10:45

ละครดังแห่งยุคเรื่องบุพเพสันนิวาส นอกจากจะให้ความบันเทิงแล้ว ยังให้ความรู้ถึงผู้คนสมัยอยุธยาว่ามีความมั่นคงในชีวิตมากน้อยเพียงใด

ชีวิตไพร่

ในกระแสที่คนไทยบางส่วนนิยมแต่งตัวย้อนยุคในปัจจุบัน แต่เราก็แทบไม่เห็นคนไทยย้อนยุคไปแต่งตัวเป็นไพร่ แม้ว่า “ไพร่” จะเป็นประชากรส่วนใหญ่ของอยุธยาก็ตาม

นั่นเป็นเพราะชีวิตของ “ไพร่” ในอยุธยาก็ไม่น่าภิรมย์สักเท่าไรนัก

แม้ว่า “ไพร่” จะไม่ใช่ชนชั้นล่างสุดของสังคมอยุธยา และถือกันว่า “ไพร่” เป็นชนชั้นที่มี “อิสระ” ต่างจากทาสที่ปราศจากอิสระ

แต่การเป็นอิสระนั้นไม่ใช่ความเป็นอิสระอย่างสมบูรณ์ แต่ต้องแลกมาด้วยการทำงานให้ราชการที่เรียกว่า การเกณฑ์แรงงาน ไปทำงานในสภาพการทำงานที่ไม่ค่อยปลอดภัยนัก หรือไม่ก็ต้องส่งส่วยให้กับขุนนาง เจ้านาย หรือกษัตริย์

ในละครเราจะเห็นว่า ไพร่บางคนพยายามหลีกหนีการเกณฑ์แรงงานไปสร้างป้อมปราการ เมกะโปรเจ็คท์แห่งยุคขุนหลวงนารายณ์ ด้วยการมาขายตัวเป็นทาสที่บ้านออกญาโหราธิบดี เช่นเดียวกับผู้ที่ไม่สามารถหาส่วยมาให้ขุนนาง (เช่น ออกญาโกษาธิบดี) ก็ยอมขายตัวเพื่อมาเป็นทาสเช่นกัน

นี่ยังไม่นับรวมการไร้ซึ่งสวัสดิการจากรัฐในยุคนั้น ไพร่บางคนจึงยอมขายอิสรภาพมาเป็นทาสในบ้านออกญาโหราธิบดี เพียงเพื่อจะได้รับมุ้ง เพื่อลดความเสี่ยงของตนและครอบครัวที่จะติดเชื้อไข้ป่านั่นเอง

ชีวิตทาส

ดังนั้น อิสรภาพในยุคอยุธยาจึงมีต้นทุนที่ต้องจ่าย และหากไม่สามารถจ่ายได้ การยอมเสียอิสรภาพและกลายมาเป็นทาสก็เป็นทางเลือกที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

เพราะการเป็นทาสก็ยังมีหลักประกันที่จะมีข้าวปลาอาหารทาน (แม้จะไม่สมบูรณ์) แต่นั่นก็ต้องแลกมาด้วยอิสรภาพของตนเอง

ต้นทุนที่หนักที่สุดของการสูญเสียอิสรภาพไม่ใช่การทำงานหนัก แต่เป็นการถูกลงโทษลงทัณฑ์จากผู้เป็นนาย โดยไม่ต้องไถ่ถามความเป็นธรรม ดังเช่น แม่ปริก พี่ผิน พี่แย้ม จะต้องถูกแม่หญิงการะเกด (คนเดิม) ตบตี ด่าทอ ถูกใช้ให้ไปล่มเรือแม่หญิงจันทร์วาด

พี่แย้มจึงบอกกับแม่หญิงการะเกด (คนใหม่) ว่า การเป็นทาสจึงจำเป็นต้องลุ้นว่าจะได้นายที่มีเมตตาหรือไม่? และส่วนใหญ่คำตอบคือ ไม่ (ยึดตามคำพูดของพี่แย้ม)

หากพูดในภาษาปัจจุบันก็ต้องบอกว่า ชีวิตทาสเป็นการนำเอาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไปแลกเพื่อให้ได้ความจำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต

นี่ยังไม่นับทาสเชลยที่ถูกจับมา และทาสในเรือนเบี้ยที่ไม่ได้เกิดจากการเลือกที่ตนเองจะเป็นทาสด้วยซ้ำไป

ชีวิตขุนนาง

ในชนชั้นขุนนาง ซึ่งเป็นตัวละครหลักของเรื่อง ที่ดูน่าจะชิลล์ ๆ เพราะการงานต่าง ๆ ก็มีบ่าวไพร่คอยบริการ แต่ในละครไม่ได้เล่าถึงเงื่อนไขในการเลี้ยงตน (และบ่าวไพร่) ของขุนนางมากนัก

ในอยุธยา ขุนนางมิใช่ได้รับเงินเดือนเช่นในปัจจุบัน แต่กษัตริย์หรือขุนหลวงจะพระราชทาน “เงินปี” ซึ่งก็มิได้มากนัก ดังนั้น การดำรงชีพของขุนนางจึงขึ้นอยู่กับความสามารถในการใช้ตำแหน่งและสิทธิประโยชน์ (หรือศักดินา) ที่ตนมี อันหมายถึง ที่ดิน บ่าวไพร่ และหน้าที่การงาน ในการหาเลี้ยงตนและคนในเรือน

การใช้หน้าที่การงานเพื่อหาประโยชน์ของหลวงและของตนจึงดำเนินควบคู่กันไป (แบบที่ใคร ๆ ในอยุธยา) เขาก็ทำกัน ดังที่ในละคร เราได้เห็นขุนเหล็ก (ออกญาโกษาธิบดี) ได้นำของกำนัลเข้าบ้านเป็นจำนวนมาก

ดังนั้น ความทับซ้อนของผลประโยชน์ส่วนตนกับส่วนรวมจึงเป็นเรื่องที่แบ่งยากมากในสมัยนั้น และน่าจะส่งผลต่อความนึกคิดของเหล่าขุนนาง แม้กระทั่งในยุคหลัง ๆ ที่เวลาล่วงเลยมากว่า ๓๐๐ ปีด้วย

แต่การทำเช่นนั้น ไม่ใช่ไม่มีความเสี่ยง เพราะเส้นแบ่งที่เบลอนั้นเอง ขุนนางก็อาจถูกตัดสินให้มีความผิดได้ไม่ยาก เช่นในละครเราทราบดีว่า ในที่สุดขุนเหล็กก็ถูกลงโทษด้วยการโบยจนเสียชีวิต เพราะรับสินน้ำใจ (ในมุมมองของขุนเหล็ก) จากผู้ที่ไม่ต้องการให้มีการสร้างป้อมปราการ

แม้กระทั่ง ออกพระวิสูตรสุนทร (ขุนปาน) ซึ่งต่อมาก็ก้าวขึ้นมาเป็นออกญาโกษาธิบดี ขุนนางที่สำคัญอันดับ ๒ ของแผ่นดิน ตำแหน่งเดียวกับพี่ชาย สุดท้ายก็ถูกขุนหลวงเพทราชาลงโทษ และขุนปานก็ฆ่าตัวตายในที่สุด

ดังนั้น วิถีทางของความสบายของเหล่าขุนนางในอยุธยาจึงมีความเสี่ยงรออยู่ข้างหน้าเช่นกัน

ชีวิตของขุนหลวง

มาถึงขุนหลวงหรือกษัตริย์หรือเหล่าเจ้านายทั้งหลาย ผู้ซึ่งอยู่บนยอดสุดของปิรามิดและอำนาจในกรุงศรีอยุธยา

หากมองผิวเผินการอยู่บนยอดสุดของสังคมน่าจะมีความมั่นคงมาก แต่ในประวัติศาสตร์ การแย่งชิงอำนาจกันอย่างเข้มข้น ภายใต้กติกาที่คลุมเครือ (นอกจากกติกาที่ว่า ผู้ชนะคือผู้มีอำนาจ) ก็ได้ทำให้กษัตริย์หรือรัชทายาทถูกโค่นล้มและปลงพระชนม์ไปไม่น้อย

ตัวอย่างเช่น ก่อนที่พระเจ้าปราสาททอง (บิดาของขุนหลวงนารายณ์) จะก้าวขึ้นมาเป็นขุนหลวง ก็ต้องโค่นล้มพระเชษฐาธิราช (อายุ ๑๕ พรรษา) และพระอาทิตยวงศ์ (อายุ ๑๐ พรรษา) และก่อนที่ขุนหลวงนารายณ์จะครองราชย์ก็ต้องโค่นล้มเจ้าฟ้าไชย (พี่ชาย) และพระศรีสุธรรมราชา (อา) ก่อนทั้งสิ้น และทุกคนที่ถูกโค่นล้มก็มีจุดจบคือการถูกสำเร็จโทษทั้งสิ้น

เช่นเดียวกับพระปีย์ โอรสบุตรธรรมของขุนหลวงนารายณ์ก็จะถูกพระเพทราชาสำเร็จโทษ เพื่อก้าวขึ้นเป็นขุนหลวง และต่อมาเจ้าพระขวัญโอรสของพระเพทราชาก็ถูกลอบปลงพระชนม์เพื่อให้ออกหลวงสรศักดิ์ได้ก้าวขึ้นเป็นพระเจ้าเสือเช่นกัน

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ชีวิตของขุนหลวงและเจ้านาย จึงวางอยู่บนเส้นด้ายของการแย่งชิงอำนาจในหมู่เจ้านาย (ซึ่งก็คือพี่น้อง) และขุนนางชั้นสูง (ซึ่งก็คือ ลูกน้องคนสนิทหรือเพื่อน) เช่นกัน

ในมุมมองของคนรุ่นหลัง การกำหนดหลักเกณฑ์แห่งความสัมพันธ์ที่เท่าเทียมกัน (มากขึ้น)  และการเคารพในสิทธิที่ทุกชีวิตพึงมี จะสร้างความมั่นคงในชีวิตได้มากกว่า และสร้างความน่าอยู่และความเข้มแข็งของสังคมไปพร้อม ๆ กัน เราจึงเห็นแม่หญิงการะเกด (หรือเกศสุรางค์) ตกใจหลายครั้ง เมื่อทราบถึงกติกาและความสัมพันธ์ของผู้คนในอยุธยา และแม่หญิงก็พยายามสื่อสารกับชาวอยุธยาหลายครั้งว่า คนกับคนนั้นเท่ากัน

จากบทความเรื่อง "ความ (ไม่) มั่นคงของมนุษย์ในยุคอยุธยา โดย อาจารย์ ดร.เดชรัต สุขกำเนิด ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสต
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 04 ส.ค. 20, 15:42

เท่าที่อ่านดูในสมัยอยุธยาจะเป็นไพร่ ทาสก็มีฐานะไม่ต่างกันเลยนะคะ เพราะเป็นไพร่ก็ต้องไปทำงานให้นายและดูเหมือนจะไม่ได้เงินค่าแรงด้วยถูกไหมคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 19 คำสั่ง