เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
อ่าน: 5063 เจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ์ (จัน) คือใครครับ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 27 ก.ค. 20, 16:10

อ่านแล้วยังไม่เข้าใจ
คุณเพ็ญชมพูกรุณาอธิบายอีกทีได้ไหมคะ ว่าทำไมเจ้าพ่อหอกลองจึงเป็นสมเด็จพระชนกาธิบดี (ทองดี)   เจ้าพ่อหอกลองที่สร้างในรัชกาลที่ 1  เป็นเทพารักษ์  ไม่ใช่มนุษย์
เจ้าพ่อหอกลองท่านที่ 2 ในรัชกาลที่ 9 ต่างหาก สร้างเป็นมนุษย์  แต่ไม่มีชื่อระบุไว้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 27 ก.ค. 20, 17:22

รูปหล่อเจ้าพ่อหอกลองที่ศาลในบริเวณกรมรักษาดินแดนที่สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ ได้เกจิอาจารย์ตรวจดูรูปลักษณ์ แต่ไม่เป็นที่กระจ่างว่า เกจิอาจารย์ท่านบอกว่าเป็นผู้ใดในอดีตหรือไม่ จะเป็น เจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ์ (จัน), เจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา), สมเด็จพระชนกาธิบดี (ทองดี) หรือบุคคลอื่น

สำหรับท่านแรกและท่านที่สอง ผู้กล่าวอ้างให้เหตุผลว่าเป็นผู้ชื่นชอบในการตีกลองศึก ส่วนท่านที่สาม ไม่มีเหตุผลใดรองรับ

เรื่องการได้มาซึ่งรูปลักษณ์ของเจ้าพ่อ อาจจะพูดได้ว่าเป็น "ประวัติศาสตร์จากโลกวิญญาณ" (โดยผ่านการรับรองจากกองทัพ) ได้เหมือนกัน  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 27 ก.ค. 20, 18:21


เรื่องการได้มาซึ่งรูปลักษณ์ของเจ้าพ่อ อาจจะพูดได้ว่าเป็น "ประวัติศาสตร์จากโลกวิญญาณ" (โดยผ่านการรับรองจากกองทัพ) ได้เหมือนกัน  ยิงฟันยิ้ม
ขอบคุณค่ะ
วิชานี้ เรือนไทยไม่ได้เปิด    นักเรียนทั้งหลายไม่ต้องมาจองแถวหน้าหรือแถวหลังนะคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 28 ก.ค. 20, 08:42

การที่เราค้นหาข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง แต่อาจเป็นการไปกระทบกับความเชื่อเดิมว่าเจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ์มีตัวตนจริง แล้วก็กราบไหว้เคารพบูชากันมาจนถึงปัจจุบัน คุณเทาชมพูมีข้อคิดเห็นประการใดมั้ยครับ หรือว่าควรปล่อยไปตามกระแสของสังคมนั้น ๆ

หากความเชื่อเรื่องเจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ์ (จัน) เป็นประวัติศาสตร์จากโลกวิญญาณ หรือ ประวัติศาสตร์ฉบับนั่งทางใน  อาจารย์คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ให้คำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้

เวลาเราพูดถึง “ความจริง” คล้าย ๆ มันมีหลายระดับ เช่น ระดับ fact คือระดับข้อเท็จจริง หมายถึงสิ่งที่พิสูจน์ได้ในทางประสาทสัมผัสและสามารถโต้แย้งถกเถียงกันได้หากมีหลักฐานที่ถูกต้องหรือดีกว่า ระดับ reality หรือความจริงที่ไม่เกี่ยวกับมุมมองของเรา เพราะเป็นความจริงนอกตัวเราที่จริงอยู่อย่างนั้น เรื่อยไปจนถึงระดับ truth หรือสัจธรรมอันเป็นความจริงนิรันดร คล้าย ๆ ความจริงสูงสุดที่มีลักษณะนามธรรมยิ่งกว่าทุกระดับ

ในชีวิตประจำวันดูเหมือนเราใช้ความจริงระดับ “ข้อเท็จจริง” มากกว่าระดับอื่น ส่วนศาสนาและปรัชญานั้นล่วงล้ำเข้าไปถึงเขตแดนความจริงระดับสัจธรรม ทว่าปรัชญาต่างกับศาสนาตรงที่ไม่ได้อ้างสัจธรรมหนึ่งเดียวโดยอาศัยความเชื่อ แต่ถือว่าแม้แต่การพูดถึงสัจธรรมก็อยู่ในข่ายแห่งการถกเถียงโต้แย้งด้วยเหตุผลได้

เดิมทีนักปรัชญาพยายามหาเส้นแบ่งระหว่าง “ความจริง” กับ “ความเชื่อ” ให้ชัดเจน ต่อมาดูเหมือนจะให้ความสนใจความสัมพันธ์ระหว่างสองสิ่งนี้มากกว่า เพราะเส้นแบ่งที่ว่านี้พร่าเลือนลงหลังยุคโพสต์โมเดิร์น

การแยกแยะหาเส้นแบ่งระหว่างความเชื่อกับความจริงยังคงเป็นเรื่องจำเป็นมากโดยเฉพาะในสังคมไทยที่ดูเหมือนความเชื่อจะนำความจริงไปซะทุกเรื่อง ถึงขนาดแม้จะมี “ข้อเท็จจริง” ที่ขัดแย้งกับความเชื่อนั้นก็ตาม ยิ่งหากความเชื่อนั้นถูกตอกย้ำจนกลายเป็นศรัทธาแล้วมีธงความดีหรือ “เจตนาดี” นำไปด้วย คนก็จะยิ่งละเลยทั้งข้อเท็จจริงหรือความจริงออกไปอีก

ประวัติศาสตร์ถกเถียงกันด้วย “หลักฐาน” เท่าที่มี แต่แน่นอนว่าหลักฐานอาจไม่สมบูรณ์หรือขัดแย้งกัน มันจึงถูกตีความหรือโต้แย้งได้ การสร้างเรื่องราวขึ้นมาลอย ๆ โดยอำนาจวิเศษจึงไม่ควรถูกเรียกว่าประวัติศาสตร์ด้วยซ้ำ เพราะมันอยู่ในฟากของความเชื่อเต็ม ๆ ใครอยากจะเชื่ออะไรก็เชื่อไป เป็นสิทธิของท่าน หากความเชื่อนั้นมันไม่ไปละเมิดสิทธิของคนอื่น แต่ท่านเชื่ออะไร คนอื่นก็มีสิทธิที่จะไม่เชื่ออย่างท่าน แล้วก็ไปบังคับเขาไม่ได้ รวมทั้งหากเขาจะโต้แย้งวิพากษ์วิจารณ์ก็เป็นสิทธิของเขาด้วย

การเลือกเอาศรัทธาและความดีเป็นข้ออ้าง เราก็ได้สร้างสังคมที่ปฏิเสธความรู้ขึ้นมา แม้ความรู้นั้นอาจสร้างขึ้นจากข้อเท็จจริงและหลักฐานก็ตาม สังคมเราจะเป็นอย่างไร มันจะไม่กลายเป็นสังคมแห่งความรู้หรือสังคมแห่งปัญญาในความหมายที่ควรเป็น เพราะสุดท้ายความรู้บางอย่างจะถูกปฏิเสธหากมันขัดกับความศรัทธาหรือความดี ในขณะเดียวกัน ความรู้ที่เหลืออยู่จะถูกเอาไว้รับใช้ความเชื่อหรือความดีเท่านั้น

ตัวแปรสำคัญอีกอย่างในการก่อรูปสังคมที่ปฏิเสธความรู้คือบรรดาผู้วิเศษนี่แหละ การอ้างคุณวิเศษที่พิสูจน์ไม่ได้เป็นอำนาจอย่างหนึ่งของสังคมที่ถูกฝึกไม่ให้พึ่งตัวเอง เราต่างถูกฝึกให้พึ่งผู้วิเศษอยู่เสมอโดยไม่รู้ตัว พึ่งในครอบครัว ในระบบการศึกษา ในศาสนา ในการเมือง ไปจนระดับรัฐ

จากบทความเรื่อง ประวัติศาสตร์ฉบับนั่งทางใน บนเส้นแบ่งของความรู้-ความจริง-ความเชื่อ กับข้ออ้างแห่งศรัทธาในสังคมอุดมผู้วิเศษ โดย คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง

https://www.matichonweekly.com/column/article_325686
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 28 ก.ค. 20, 11:18

ดิฉันจบแล้วนะคะ เรื่องเจ้าพ่อหอกลอง    ยิ่งออกความเห็นมากเดี๋ยวจะกลายเป็นข้อขัดแย้งระหว่างศรัทธากับความเชื่อในเรื่องที่อธิบายไม่ได้
ไม่มีอะไรทำให้คนทะเลาะกันง่ายเท่ากับคุยกันเรื่องการเมืองและศาสนา
ก็ขอจบแค่นี้ค่ะ
บันทึกการเข้า
boringgob
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 29 ก.ค. 20, 08:28

คุณเพ็ญชมพูครับ เจ้าพ่อหอกลองที่ผมกล่าวถึง เป็นเจ้าพ่อหอกลองที่ตั้งอยู่ในกระทรวงกลาโหมครับ ซึ่งรูปปั้นนั้นอ้างถึงเจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ์ ทหารในสมัยกรุงธนบุรี
ไม่ใช่เจ้าพ่อหอกลองที่ตั้งบริเวณด้านหลังหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน ซึ่งรูปปั้นนั้นอ้างถึงเจ้าพ่อหอกลองเดิมที่เป็นเทพารักษ์ แต่แปลงมาเป็นมนุษย์โดยการนำเรื่องจิตวิญญาณมาพิจารณาครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 10 ส.ค. 20, 20:40

คุณเพ็ญชมพูยังไม่เข้ามาตอบ   ดิฉันตอบแทนให้ก็แล้วกัน
ไม่ว่าจะเป็นเจ้าพ่อหอกลององค์ไหนก็ตาม คำตอบยังคงเดิม คือเจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ์(จัน) ไม่ปรากฏตัวตนในพงศาวดารฉบับไหนๆ ที่เล่าถึงสมัยธนบุรี ทั้งสิ้น ค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.073 วินาที กับ 20 คำสั่ง