เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 5015 เจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ์ (จัน) คือใครครับ
boringgob
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 24 ก.ค. 20, 18:58

ขอบพระคุณที่กรุณาตอบคำถามและให้คำแนะนำครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 24 ก.ค. 20, 19:16

ช่วยเปิดคลิปในความคิดเห็นที่ ๑๔  ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 24 ก.ค. 20, 19:25

กลาโหมคงมีความรู้เรื่องนี้มากกว่าดิฉัน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 25 ก.ค. 20, 08:16

คงจะต้องไปสอบถามรายละเอียดจากผู้เขียนบทความนี้  ยิงฟันยิ้ม

จาก ปกิณกะกระทรวงกลาโหม ๖๐ ปี เจ้าพ่อหอกลอง โดย พลตรี ชัยวิทย์ ชยาภินันท์ วารสารหลักเมือง สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พฤศจิกายน ๒๕๖๒ หน้า ๑๗

https://www.yumpu.com/xx/document/read/62918599/62



บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 25 ก.ค. 20, 08:46

เป็นไปได้หรือไม่ครับ ที่ท่านอาจเป็นแค่พระยา แต่มีคนเพิ่มให้เป็นเจ้าพระยา มีเพื่อนแนะนำให้สืบค้นใน พงศาวดารฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ) แต่ผมจนปัญญาที่จะหาเอกสารดังกล่าว

ผมสืบค้นจากพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ) รัชกาลที่ ๑ รวมถึงหลักฐานอื่นๆ ในสมัยธนบุรีถึงรัชกาลที่ ๑  และเอกสาร "เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์" ไม่มีชื่อของ เจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ์ (จัน) หรือ  พระยาสีห์สุรศักดิ์  แต่อย่างใดครับ


ผมเห็นตรงกับคุณเทาชมพูและคุณเพ็ญชมพูว่าประวัติน่าจะถูกแต่งเติมโดยคนสมัยหลังครับ  เพราะข้อมูลคลาดเคลื่อนกับหลักฐานประวัติศาสตร์อยู่หลายประเด็นดังที่คุณเทาชมพูอธิบายมาแล้ว


สันนิษฐานว่าอาจจะนำเอาตำแหน่ง เจ้าพระยาสุรสีห์  ของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ซึ่งเป็นทหารเอกของพระเจ้ากรุงธนบุรีมาเป็นต้นแบบดัดแปลงอีกต่อหนึ่งครับ


มีขุนนางผู้ใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๑ อีกท่านที่อาจจะเป็นต้นแบบคือ  เจ้าพระยาสุรินทราชา (จันทร์)  เป็นบุตรชายเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ (อู่) ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ  ในช่วงเสียกรุงเจ้านครศรีธรรมราชตั้งเป็นอุปราชเมืองนคร  ภายหลังพระเจ้ากรุงธนบุรีตีเมืองนครศรีธรรมราชแตกจึงถูกจับเป็นเชลย มารับราชการในกรุงธนบุรีได้เป็นที่พระยาอินทรอรรคราช  ต่อมาในรัชกาลที่ ๑ ได้เป็นที่พระยาราชวังเมือง สมุหพระคชบาลขวา  แล้วเลื่อนเป็น พระยาสุรินทราชานราธิบดีศรีสุริยศักดิ์ สมุหพระคชบาลจางวางซ้าย   ได้ออกไปอยู่เมืองถลางเป็นจางวางผู้สำเร็จราชการหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันตกแปดหัวเมือง แล้วได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยาสุรินทราชาฯ   ภายหลังเมื่อเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (ปลี) สมุหพระกลาโหม สิ้นชีพในสงครามเมืองทวายเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๖  จึงมีตราเรียกไปที่กรุงเทพฯ จะแต่งตั้งเป็นที่อรรคมหาเสนาแทน  แต่เจ้าพระยาสุรินทราชาฯ ทำเรื่องกราบทูลไปว่าตัวชราแล้ว ขอรับราชการอยู่หัวเมืองจนถึงแก่อสัญกรรม

น่าสังเกตว่า เจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ์ (จัน) มีประวัติใกล้เคียงกับเจ้าพระยาสุรินทราชา (จันทร์) อยู่หลายส่วน  คือมีชื่อจริงเหมือนกัน  เป็นคนกรุงศรีอยุทธยาเหมือนกัน  ได้รับราชการที่กรุงธนบุรี มีชีวิตอยู่จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๑ และเป็นเจ้าพระยา เหมือนกัน  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 25 ก.ค. 20, 09:57

ขอต้อนรับคุณศรีสรรเพชญค่ะ  ดีใจที่แวะเข้ามาร่วมวงอีกครั้ง   ไม่ได้ข่าวคราวเสียนานจนลืมไปเลยว่าใน Facebook มีคุณที่จะพึ่งพาอาศัยได้อีกคนเรื่องประวัติศาสตร์ไทย

ดิฉันก็สงสัยอย่างคุณศรีฯ ว่า คือชื่อเจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ์น่าจะดัดแปลงมาจากชื่อขุนนางไทยสมัยธนบุรี  ให้มีเค้าชื่อโบราณ  และราชทินนามก็ฟังดูสง่างามสมเป็นเจ้าพระยานักรบ  
ดิฉันนึกไว้ 2 ชื่อว่านำมาบวกไว้ด้วยกัน คือเจ้าพระยาสุรสีห์ กับเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีสมัยรัชกาลที่ 5  
ส่วนชื่อเดิม เอามาจากเจ้าพระยาสุรินทราชา ก็เป็นไปได้

ส่วนที่มาของเจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ์  ดิฉันสันนิษฐานว่าต้นกำเนิดมาจากตรงนี้

 ต่อมาในปี พ.ศ.2509 ท่านเจ้ากรมรักษาดินแดน พล.ท.ยุทธ สมบูรณ์ จึงได้มอบหมายให้ พ.ต.ฟื้น แสงรักษ์ เป็นผู้ดำเนินการในการจัดสร้างศาลเจ้าพ่อหอกลองขึ้น โดยได้สร้างแบบจตุรมุข และมีมณฑปแบบของเดิม ส่วนองค์เจ้าพ่อหอกลองนั้น ไม่ได้อัญเชิญองค์เดิม มาจากศาลหลักเมือง เพราะเกรงว่าจะผิดพระราชประสงค์ขององค์รัชการที่ 5 จึงได้สร้างองค์เจ้าพ่อหอกลองขึ้นมาใหม่ โดยคณาจารย์ที่ทรงคุณวุฒิวิทยาคมหลายท่าน ช่วยตรวจดูพระรูปลักษณะของเจ้าพ่อหอกลอง พระคณาจารย์ได้เห็นพ้องต้องกันว่า ให้สร้างพระรูปเจ้าพ่อหอกลองเป็นแบบคนโบราณนุ่งผ้ากระโถงผ้าขาวม้าพาดไหล่ซ้าย นั่งขัดสมาธิ มือทั้งสองข้างวางบนเข่า ทั้งซ้ายและขวา องค์หล่อด้วยทองเหลือง หน้าตักกว้าง 29 นิ้ว ประทับนั่งบนแท่นแปดเหลี่ยม


  หลักฐานตรงนี้ ระบุว่า พระคณาจารย์ (น่าจะหมายถึงเกจิอาจารย์ ที่เป็นบรรพชิต หลายรูปด้วยกัน) เห็นพ้องกันว่าให้สร้างรูปเจ้าพ่อหอกลองให้เป็นคน แทนที่จะเป็นเทวดาอย่างเทพารักษ์ประจำหอกลององค์แรกในสมัยรัชกาลที่ 1
แต่ในประวัติตอนนี้ไม่ได้ระบุว่า รูปหล่อที่สร้างขึ้นมาเป็นรูปหล่อของใคร
  ก็คงจะมีใครในยุคหลังจากปี 2509  เพิ่มประวัติเจ้าพ่อหอกลองเข้ามา ให้มีชื่อเสียงเรียงนามและหน้าที่การงาน เพื่อเพิ่มความขลัง
   น่าสังเกตว่า รูปหล่อเจ้าพ่อหอกลองที่สร้างขึ้นมา ไม่มีอะไรบ่งชี้ว่าเป็นนักรบ   แต่งกายแบบสามัญชนธรรมดา  ไม่มีการแต่งกายแบบออกศึก   ไม่มีหอก  หรืออาวุธอื่นใดที่สอดคล้องกับประวัติเจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ์  
  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 25 ก.ค. 20, 10:04

ประวัติเดิม
          เจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ์ (จัน) ในรัชกาลที่ ๑ เกิดที่กรุงศรีอยุธยา เป็นทหารเอกในพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นพลรบฝ่ายซ้าย ต่อมาได้เลื่อนเป็นพลรบฝ่ายขวา แทนเจ้าพระยาพิชัยดาบหัก ซึ่งถึงแก่กรรม เจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ์ได้ติดตามพระเจ้าตากสินมหาราชออกรบ มีความเชี่ยวชาญในทางหอก และชอบให้ทหารตีกลองศึกในเวลาออกรบ ทหารทั้งหลายในสังกัด จึงพร้อมใจกันตั้งชื่อว่า "เจ้าพ่อหอกลอง" ท่านเป็นกำลังสำคัญในการกอบกู้เอกราชของชาติไทย ต่อมาป่วยเป็นโรคลำไส้ สิ้นชีวิตที่พระราชวังเดิม จังหวัดธนบุรี เมื่อ พ.ศ.๒๓๔๑ อายุ ๕๘ ปี

สมัยเมื่อตั้งกรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวง ได้แสดงอภินิหารต่าง ๆ เรื่อยมา เมื่อสร้างศาลาว่าการกลาโหม พ.ศ.๒๔๒๕ ได้สร้างหอกลองขึ้นไว้บนปลายสุดของยอดชั้นที่ ๓ ด้านสะพานช้างโรงสี ต่อมาตึกร้าวจึงรื้อออก เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐ แล้วสร้างศาลเจ้าพ่อหอกลองขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๒
http://baanjompra.com/webboard/thread-6911-1-1.html

" ตีกลอง" กับ "หอกลอง" คนละความหมาย คนละเรื่องกันนะคะ

ดิฉันยังสงสัยอีกว่า ในการรบสมัยธนบุรี  เขาเอาทหารไปตีกลองให้จังหวะในการรบที่จะต้องประชิดติดพัน แบบไหนอย่างไร  
ทหารกลองยืนอยู่ตรงไหน  จึงจะหลบอาวุธพ้น โดยไม่เสียจังหวะตี   
ในความชุลมุนวุ่นวายของการประจัญบาน แม่ทัพได้ยินเสียงกลองด้วยหรือ
คุณศรีสรรเพชญพอจะนึกออกไหมคะ
บันทึกการเข้า
ศรีสรรเพชญ์
พาลี
****
ตอบ: 205



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 25 ก.ค. 20, 13:56

ดิฉันยังสงสัยอีกว่า ในการรบสมัยธนบุรี  เขาเอาทหารไปตีกลองให้จังหวะในการรบที่จะต้องประชิดติดพัน แบบไหนอย่างไร  
ทหารกลองยืนอยู่ตรงไหน  จึงจะหลบอาวุธพ้น โดยไม่เสียจังหวะตี   
ในความชุลมุนวุ่นวายของการประจัญบาน แม่ทัพได้ยินเสียงกลองด้วยหรือ
คุณศรีสรรเพชญพอจะนึกออกไหมคะ


เรื่องนี้ไม่ทราบเลยครับ ในพระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) มีเขียนเหตุการณ์ตีกลองตอนรบกับพม่าที่ปากน้ำโจ้โล้ หลังจากเสด็จหนีจากพระนครไม่นานไว้สั้นๆ เพียงว่า

        "ครั้นเพลาบ่ายโมงเศษพะม่ายกกองทัพมาถึง จึงเสด็จนำหน้าพลทหารด้วยหลวงชำนาญไพรสณฑ์ พระเชียงเงิน นายบุญมี นายทองดี นายแสง ทหาร ยกออกรับล่อพม่านอกปืนใหญ่น้อยซึ่งตั้งดาไว้ประมาณ ๖-๗ เส้น พะม่ายกทัพเรียงเรื่อยมาจำเพาะในพงแขม ครั้นเข้ามาใกล้ได้ทีแล้ว ก็ยิงปืนใหญ่น้อยพร้อมกันถูกพะม่าล้มตายเป็นอันมาก พะม่าที่ยังเหลืออยู่นั้นอุดหนุนกันเข้ามาอีก จึงล่อให้ไล่เข้ามาแล้วยิงปืนใหญ่น้อยถูกพะม่าล้มตายทับกันเป็นอันมาก พะม่าหนุนเข้ามาอีก วางปืนตับคำรบ ๓ ครั้ง พะม่าแตกกระจัดกระจายไป จึงรับสั่งให้พลทหารโห่ร้องตีฆ้องกลองสำทับ พะม่าแตกจะคุมกันเข้ามิได้ จึงให้ยกพลนิกายมาประทับตามลำดับ"


ทหารกลองที่ออกศึกในราชการสงครามเห็นจะเป็นทหารใน กรมกลองชนะ ที่เป็นกรมฝ่ายทหารกรมหนึ่ง  ในพระบรมราชาธิบายแก้ไขการปกครองแผ่นดินในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวระบุว่า เป็นหนึ่งในกรมทหารกลางที่ไม่ใช่ทหารหน้า (หมายถึงทหารกรมอาสาหกเหล่าที่เป็นกำลังรบหลัก) ซึ่งสำหรับเกณฑ์ไปรบในการทัพเสมอ และไม่ใช่ทหารรักษาพระองค์ เป็นทหารสำหรับเข้ากระบวนตามเสด็จพระราชดำเนินในราชการสงคราม
บันทึกการเข้า
boringgob
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 25 ก.ค. 20, 15:23

ขอบพระคุณสำหรับทุกความคิดเห็นครับ
บันทึกการเข้า
boringgob
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 25 ก.ค. 20, 15:28

การที่เราค้นหาข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง แต่อาจเป็นการไปกระทบกับความเชื่อเดิมว่าเจ้าพระยาสีห์สุรศักดิ์มีตัวตนจริง แล้วก็กราบไหว้เคารพบูชากันมาจนถึงปัจจุบัน คุณเทาชมพูมีข้อคิดเห็นประการใดมั้ยครับ หรือว่าควรปล่อยไปตามกระแสของสังคมนั้น ๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 25 ก.ค. 20, 16:00

ความเชื่อและศรัทธาบางทีก็อธิบายด้วยเหตุผลได้ยาก     ต่อให้อธิบายได้ ก็ไม่ได้หมายความว่าศรัทธาและความเชื่อนั้นจะหายไป
เรื่องนี้ ดิฉันถือว่าเป็นสิทธิ์ส่วนตัวของแต่ละบุคคล   ใครจะเชื่อก็เป็นสิทธิ์ของคนนั้น   ใครไม่เชื่อก็เป็นสิทธิ์ของเจ้าตัวอีกเช่นกันค่ะ
บันทึกการเข้า
boringgob
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 25 ก.ค. 20, 16:11

ขอบพระคุณครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 26 ก.ค. 20, 17:43

ความเชื่อมีหลายหลาก ผิดถูกมากน้อยต่างกัน  ยิ้มเท่ห์

ต่อมาในปี พ.ศ.2509 ท่านเจ้ากรมรักษาดินแดน พล.ท.ยุทธ สมบูรณ์ จึงได้มอบหมายให้ พ.ต.ฟื้น แสงรักษ์ เป็นผู้ดำเนินการในการจัดสร้างศาลเจ้าพ่อหอกลองขึ้น โดยได้สร้างแบบจตุรมุข และมีมณฑปแบบของเดิม ส่วนองค์เจ้าพ่อหอกลองนั้น ไม่ได้อัญเชิญองค์เดิม มาจากศาลหลักเมือง เพราะเกรงว่าจะผิดพระราชประสงค์ขององค์รัชการที่ 5 จึงได้สร้างองค์เจ้าพ่อหอกลองขึ้นมาใหม่ โดยคณาจารย์ที่ทรงคุณวุฒิวิทยาคมหลายท่าน ช่วยตรวจดูพระรูปลักษณะของเจ้าพ่อหอกลอง พระคณาจารย์ได้เห็นพ้องต้องกันว่า ให้สร้างพระรูปเจ้าพ่อหอกลองเป็นแบบคนโบราณ นุ่งผ้ากระโถงผ้าขาวม้าพาดไหล่ซ้าย นั่งขัดสมาธิ มือทั้งสองข้างวางบนเข่า ทั้งซ้ายและขวา องค์หล่อด้วยทองเหลือง หน้าตักกว้าง 29 นิ้ว ประทับนั่งบนแท่นแปดเหลี่ยม

ตามความเชื่ออีกกระแสหนึ่ง รูปหล่อเจ้าพ่อหอกลองคือ เจ้าพระยาสุรสีห์ (ต่อมาคือ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท)

จากหนังสือ เทพ-เทวะ ศักดิ์สิทธิ์-สักการะ โดย กองบรรณาธิการข่าวสด หน้า ๘๘
 



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 27 ก.ค. 20, 10:05

ถ้าอย่างนั้นก็น่าจะระบุเสียแต่แรกว่า เป็นศาลกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 27 ก.ค. 20, 15:55

ตามความเชื่อของคุณพลาดิศัย สิทธิธัญกิจ รูปหล่อเจ้าพ่อหอกลองคือ สมเด็จพระชนกาธิบดี (ทองดี)  ฮืม

จากบทความเรื่อง ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : ๑๓ มิถุนายน ๒๓๒๕-วันสมเด็จพระชนกาธิบดี (ทองดี) โดย พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันอาทิตย์ที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๒

https://www.naewna.com/lady/418646


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.082 วินาที กับ 20 คำสั่ง