เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 7427 ขยะสีดำใต้พรมทำเนียบขาว
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 28 มิ.ย. 20, 08:36

 เศร้า


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 29 มิ.ย. 20, 09:06

   ความเป็นอยู่ของนายผิวขาวและทาสผิวดำในอาณาเขตบ้านเดียวกัน แตกต่างกันเหมือนสวรรค์และนรก    นายผิวขาวมีความเป็นอยู่อุดมสมบูรณ์  ฟุ่มเฟือย  มีคนรองมือรองเท้าทุกกระดิก   คุณนายมาร์ธาเองมีบริวารหญิงเป็นโหลคอยทำงานบ้านให้ทุกชนิด รวมทั้งเลี้ยงคุณหนูน้อยๆ 4 คน   ไม่เคยรู้ว่าความลำบากลำบนเป็นอย่างไร
   ผิดกับทาสผิวดำที่ต้องทำงานสายตัวแทบขาดตั้งแต่ก่อนสว่างไปจนค่ำมืดดึกดื่น    ต้องพลัดพรากจากพ่อแม่ผัวเมีย แล้วแต่นายจะสั่ง    ความกดดันจึงเพิ่มขึ้นมหาศาลในความรู้สึกของคนดำ
    หนึ่งในจำนวนนั้นเป็นหญิงผิวดำชื่อโอน่า จัดจ์   เธอไม่ใช่ผิวดำแท้ แต่เป็นลูกครึ่ง เรียกว่า Mulatto  มาจากภาษาสเปนแปลว่า "เลือดผสม"   เด็กมูลัตโตมักจะเกิดจากพ่อซึ่งเป็นชาวยุโรปผิวขาว  พวกนี้เดินทางมาอเมริกาแล้วได้ผู้หญิงผิวดำเป็นนางบำเรอ    เด็กเกิดออกมาเป็นลูกครึ่ง ซึ่งไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผิวขาวตามพ่อ แต่ถูกตัดสินว่าเป็นผิวดำตามแม่   
      พ่อของโอน่าเป็นช่างตัดเสื้อชื่อแอนดรูว์ จัดส์  ว่ากันว่าเขาเป็นช่างเสื้อประจำตัวของจอร์จ วอชิงตัน เป็นคนตัดเครื่องแบบให้    เมื่อได้นางทาสผิวดำเป็นนางบำเรอ จนเกิดลูกออกมา   แอนดรูว์ก็ไม่เคยดูดำดูดีลูกเมีย และไม่เข้ามาข้องแวะใดๆกับลูกสาวนอกกฎหมายของเขาตลอดชีวิต
      กฎหมายสมัยนั้นกำหนดให้ลูกทาสต้องเป็นทาส  ไม่ว่าพ่อจะเป็นอิสรชนหรือไม่ก็ตาม   แม่ของโอน่าเป็นทาสของแดเนียล ปาร์ค เคอร์ติส  สามีคนแรกของมาร์ธา วอชิงตัน ดังนั้นโอน่าจึงตกเป็นทรัพย์สินของนายของแม่   และตกทอดมาเป็นทรัพย์สินของมาร์ธา วอชิงตัน ภรรยาม่ายนายอีกทอดหนึ่ง
     เมื่อมาร์ธาแต่งงานกับจอร์จ วอชิงตัน โอน่าก็กลายมาเป็นทาสของตระกูลวอชิงตัน   
    เมื่อโตเป็นสาว  โอน่าตัดสินใจหนีออกจากบ้านของนาย ลงเรือหนีข้ามรัฐไปอยู่ที่นิวแฮมป์เชียร์   ณ ที่นั้นมีครอบครัวคนผิวดำที่เป็นไทแก่ตัวอาศัยอยู่มากพอจะเป็นที่พึ่งพิงของเธอได้   
     เมื่อรู้ว่าทาสหนีไป   ประธานาธิบดีผู้ประกาศอิสรภาพแก่คนผิวขาวก็ส่งคนมาไล่ล่าเอาตัวเธอกลับไปบ้านด้วยกลอุบายต่างๆ หลายครั้งหลายหน   แต่โชคดีทำไม่สำเร็จ   โอน่าจึงมีชีวิตเป็นไทแก่ตัว อยู่จนกระทั่งแก่ชราถึงแก่กรรม  แม้ยากจนค่นแค้นสาหัส เธอก็ไม่เคยอยากจะกลับไปเป็นทาส  ทั้งที่ชีวิตในบ้านนาย อย่างน้อยถึงลำบากแต่ทาสก็ไม่ถึงกับอดตาย   
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 29 มิ.ย. 20, 12:00

ขยิบตา


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 01 ก.ค. 20, 07:57

   ย้อนกลับมาที่ จอร์จ วอชิงตัน  เกี่ยวกับการเลิกทาส
   มีหลักฐานเอกสารว่าจอร์จ วอชิงตันเคยเขียนจดหมาย แสดงความเห็นอกเห็นใจชะตากรรมของบรรดาทาสผู้รับใช้  มองเห็นความทารุณและอยุติธรรม   มีท่าทีเหมือนจะเป็นหนึ่งในผู้รณรงค์นโยบายยกเลิกทาส  แต่..เปล๊า  เอาเข้าจริงแล้วท่านประธานาธิบดีก็หาได้แตะต้องประเด็นนี้จริงจังไม่
   ที่เห็นชัดคือโดยส่วนตัวเขาก็ยังเป็นนายงานตัวใหญ่ที่ปกครองทาสกลุ่มมหึมา    ยังซื้อขายแลกเปลี่ยนทาส ไม่ต่างจากนายทุนอื่นๆ  ยังไล่ล่าทาสของเขาที่หลบหนี    ตามกฎหมายสมัยนั้นอีกด้วย   ความจริงกฎหมายไล่ล่าทาสที่หลบหนีออกมาเมื่อปี 1793  สมัยเขาเป็นประธานาธิบดี   เขาจะใช้สิทธิ์ยับยั้งก็ได้ แต่ก็ไม่ทำ   เอออวยให้กฎหมายนี้ผ่านออกมาใช้  เมื่อรัฐเพนซิลเวเนียส่งร่างกฎหมายยกเลิกทาสของ เมื่อปี 1790  ประธานาธิบดีก็ปล่อยให้โดนตีตกไป  ไม่สนับสนุน
   มองได้ในแง่หนึ่งว่า เอาเข้าจริงจอร์จ วอชิงตันก็ทุ่มเทอุทิศแรงกายแรงใจให้ประเทศ   เพียงแต่ว่าประเทศอย่ามาทำให้เขาเสียผลประโยชน์ส่วนตัวเท่านั้นก็พอ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 01 ก.ค. 20, 08:15

     ธุรกิจการเกษตรของจอร์จต้องพึ่งแรงงานทาสเป็นหลัก      ดังนั้นต่อให้จอร์จทำตัวเป็นนักอุดมคติ ปลดปล่อยทาสทั้งหมดเพื่อมนุษยธรรม    ก็ต้องเจอแรงปะทะอย่างหนักจากลูกเมียอยู่ดี    โดยเฉพาะมาร์ธา  เพราะมันหมายถึงการล้มละลายของครอบครัว     จอร์จจึงตัดสินใจเก็บอุดมคติไว้ในลิ้นชัก  แล้วใช้แรงงานทาสต่อไป
    ทาสของจอร์จ วอชิงตันแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 1  ทาสดั้งเดิมที่เขาได้รับเป็นมรดกตกทอดจากพ่อและพี่ชาย  ทาสพวกนี้เป็นสินส่วนตัว   2  ทาสที่ได้มาเมื่อสมรส คือเป็นทาสของมาร์ธาที่เธอนำมาด้วยเมื่อมาอยู่ที่บ้านเขา  3 ทาสที่เขาซื้อหามาเพิ่มเติมในภายหลัง
     ทาสของวอชิงตันประเภท 1 และ 3  เกือบทั้งหมดไปแต่งงานอยู่กินตั้งครอบครัวกับทาสประเภทที่ 2  ดังนั้นจอร์จจึงไม่อาจปล่อยทาสของเขาเป็นอิสระได้ทันที เนื่องจากความพัวพันอีรุงตุงนังในสภาพสมรสนี่เอง     เขาก็เลยปล่อยทาสได้คนเดียวคือคนรับใช้ส่วนตัวของเขา   ส่วนทาสของเขาคนอื่นๆนั้นเขาตั้งเงื่อนไขไว้ในพินัยกรรมว่า ให้เป็นอิสระได้หลังจากมาร์ธา ภรรยาของเขาตายไปแล้ว   
     จอร์จตายไปก่อนมาร์ธา     เขาไม่มีลูกกับเธอ  ส่วนลูกทั้งสี่จากสามีเก่านั้นล้วนแต่อายุสั้น ตายไปก่อนแม่   ดังนั้นเมื่อจอร์จตายจากไปก่อน   ในบ้านเหลือแต่นายผู้หญิง  กล่าวกันว่ามาร์ธากลัวมากว่าทาสจะลุกฮือขึ้นมาเมื่อไม่มีนายผู้ชายให้ยำเกรง   เธอก็เลยปล่อยทาสของจอร์จประเภทที่ 1 และ 3 เป็นอิสระ   ไม่รอให้เธอตายก่อนตามที่จอร์จสั่งไว้ในพินัยกรรม   
     แต่ทาสประเภทที่ 2  เป็นทาสมรดกตกทอดของตระกูลสามีเก่าของมาร์ธา    ตามกฎหมายจะต้องส่งต่อไปให้ทายาทรุ่นต่อๆไป    มาร์ธาไม่มีสิทธิ์ปล่อย   ทาสกลุ่มนี้ก็เลยไม่มีโอกาสรับอิสรภาพอย่างทาสอื่นๆ ยังต้องก้มหน้าก้มตาเป็นทาสของหลานย่าหลานยายของมาร์ธา วอชิงตัน ต่อไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 02 ก.ค. 20, 08:53

 รายต่อไปที่เข้าคิวอยู่ในกระทู้นี้คือประธานาธิบดีแอนดรูว์ แจ๊คสัน   ผู้นำลำดับที่ 7 ของสหรัฐอเมริกา  ได้รับเกียรติให้มีภาพอยู่ในธนบัตรใบละ 20 ดอลล่าร์จนปัจจุบัน
  แอนดรูว์เกิดในยุคที่อเมริกายังเป็นอาณานิคม    พ่อแม่เป็นชาวไอริสกับสก๊อต อพยพมาจากไอร์แลนด์    เติบโตมาด้วยความยากจนค่นแค้น  แต่มานะสร้างตัวเองขึ้นมาจนได้ด้วยการเป็นนักกฎหมาย จากนั้นเข้าสู่การรบกับอังกฤษ เพื่อปลดเปลื้องอาณานิคมให้เป็นอิสระ    แล้วก็เข้าสู่วงการเมือง ตั้งพรรคเดโมแครตขึ้นจนยั่งยืนมาถึงทุกวันนี้   ในที่สุดก็ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 7
ผลงานของแอนดรูว์ แจ๊คสันมีหลายเรื่อง ล้วนเป็นเกียรติประวัติให้เด็กนักเรียนอเมริกันได้เรียนกันจนถึงปัจจุบัน   อย่างหนึ่งคือสนับสนุนเสรีภาพของประชาชน    และอีกเรื่องคือสนับสนุนให้ชาวอาณานิคมไม่กระจุกตัวอยู่แค่ 13 รัฐ  แต่อพยพไปตั้งถิ่นฐานทางตะวันตกของอเมริกาให้มากขึ้น
เขาบอกว่าดินแดนทางตะวันตกนั้นกว้างใหญ่ไพศาล อุดมสมบูรณ์    มีพื้นที่มากมายที่จับจองได้ตามใจชอบ     ผู้คนก็เลยเฮละโลเดินทางไปตะวันตกกันยกใหญ่  ทำให้ดินแดนของประเทศกว้างใหญ่ขึ้นทันตาเห็น


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 03 ก.ค. 20, 08:41

  แอนดรูว์สร้างตัวจนเป็นเศรษฐีขึ้นมาได้ นอกจากด้วยอาชีพนักกฎหมาย   เขายังทำธุรกิจการเกษตรเช่นเดียวกับจอร์จ วอชิงตัน   เขามีคฤหาสน์หลังงามบนที่ดินผืนมหึมา เป็นไร่ฝ้ายที่ทำรายได้มหาศาล      ด้วยเหตุนี้จึงต้องอาศัยแรงงานทาสจำนวนหลายร้อย    แอนดรูว์นอกจากใช้แรงงานทาสแล้ว เขายังซื้อขายแลกเปลี่ยนทาสซึ่งเป็นการค้าที่ได้ผลกำไรงาม
  ในเมื่อกฎหมายระบุว่าเด็กที่เกิดจากทาสต้องเป็นทาสโดยกำเนิด     ดังนั้นการซื้อทาสเอาไว้ จึงไม่ต่างอะไรกับซื้อม้า วัวหรือแกะ  เพราะระบบทาสทำให้เกิดการผลิตลูกไว้ให้ขายได้ต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด     นายทาสอย่างแอนดรูว์ก็เลยมั่งคั่งอู้ฟู่ขึ้นมาจากการค้าทาสนอกเหนือจากค้าฝ้าย  ว่ากันว่าตลอดชีวิตเขามีทาสไม่ต่ำกว่า 300 คน
  แอนดรูว์เลี้ยงทาสของเขาค่อนข้างดีเมื่อเทียบกับนายงานอื่นๆในยุคนั้น     ทาสมีที่อยู่อาศัยเป็นสัดเป็นส่วนในกระท่อมรายรอบคฤหาสน์ของนาย    ได้รับเครื่องมือสำหรับเลี้ยงชีพ เช่นปืนไว้ล่าสัตว์  เครื่องมือจับปลา เป็นต้น  แต่เขาก็เป็นนายงานที่เข้มงวด  ทาสต้องทำงานหนักโงหัวไม่ขึ้นเพื่อให้ได้ผลผลิตตามเป้าหมาย     ใครก็ตามที่ทำงานไม่เป็นที่พอใจจะถูกโบยตี    ทาสที่หนีจะถูกประกาศไล่จับตัวด้วยรางวัลงาม และมีรางวัลแถมให้ด้วยสำหรับคนจับได้แล้วเฆี่ยนตีซ้ำ

ภาพข้างล่างคือคฤหาสน์ The Hermitage ของแอนตรูว์ แจ๊คสัน   ปัจจุบันเปิดให้เข้าชมได้

 


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 03 ก.ค. 20, 08:42

ภาพวาดแสดงถึงคฤหาสน์ในยุคของเขา


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 06 ก.ค. 20, 11:36

คั่นรายการด้วย รายงานข่าวจาก nbcnews.com

            Trump denounces statue toppling during July Fourth celebration at Mount Rushmore


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 09 ก.ค. 20, 09:06

หน้า 1 ใน 4  ที่เมาท์รัชมอร์ ที่เผลอๆอาจถูกโจมตีเข้าบ้าง คือประธานาธิดีคนที่ 3  โธมัส เจฟเฟอร์สัน

เล่าข้ามคนนี้ไปค่ะ ขอย้อนกลับมาอีกครั้ง
โธมัส เจฟเฟอร์สันได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งใน"บิดาผู้ก่อตั้งประเทศ"  เขาเป็นคนร่างคำประกาศอิสรภาพ  เคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศคนแรก และก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำสูงสุด   ได้รับความนิยมยกย่องในผลงานให้เด็กนักเรียนเรียนกันมาจนทุกวันนี้

โธมัสเกิดในเวอร์จิเนียสมัยเป็นอาณานิคม  พ่อแม่เป็นเศรษฐีเจ้าของไร่เกษตรกรรม  ลูกชายจึงได้รับการศึกษาอย่างดีตามแบบกุลบุตรสมัยนั้น   มีครูมาสอนที่บ้านตั้งแต่เล็กจนกระทั่งโตก็ไปศึกษาด้านกฎหมาย แล้วเข้ารับราชการในรัฐเวอร์จิเนีย
เส้นทางของเขาก้าวสูงขึ้นเรื่อยๆจนได้เป็นผู้ว่าการรัฐเวอร์จิเนีย     ด้วยความปราดเปรื่องระดับนักปราชญ์ รอบรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์ การเมือง การต่างประเทศ และเขียนอะไรต่อมิอะไรได้เฉียบแหลมลึกซึ้ง    โธมัสเกือบจะได้เป็นประธานาธิบดีคนที่ 2  แต่ไปแพ้คะแนนจอห์น อดัมส์ ก็เลยต้องรอมาจนได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนที่สาม



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 15 ก.ค. 20, 10:55

ผลงานของเจฟเฟอร์สันมีมากมาย รวมทั้งช่วยก่อตั้ง University of Virginia  ด้วย   เขาเป็นนักคิดนักเขียนที่เขียนผลงานไว้มากมาย  ล้วนฉลาดเฉียบแหลม   รวมทั้งข้อความอมตะ  "We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal".
แต่ในด้านส่วนตัว   มีหลายเรื่องที่เจฟเฟอร์สันหาได้ทำตามที่แสดงออกต่อประชาชนไม่    ทั้งๆกล่าวนักกล่าวหนาว่ามนุษย์เกิดมาเท่าเทียมกัน  เขาก็มีทาสรองรับแรงงานถึง 600 คน ในคฤหาสน์และไร่นาสาโทอันไพศาล  ซึ่งนำเงินทองมาให้จนเป็นเศรษฐีระดับแนวหน้าของรัฐ
นอกจากนี้ เขายังให้กำเนิดบุตรลับๆกับนางทาสผิวดำ ชื่อแซลลี่ เฮมมิ่งส์ถึง 6 คน    โดยที่เธอเคยทำหน้าที่สาวใช้มาแต่ต้นยังไงก็เป็นอยู่แค่นั้นตลอดชีวิต

ขอขยายรายละเอียดประวัติของแซลลี่ เพิ่มจากกระทู้ อเมริกาจลาจล ค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 15 ก.ค. 20, 11:17

    แซลลี่ เฮมิ่งส์เป็นลูกเสี้ยว  กล่าวคือมีเลือดผิวขาวอยู่ในตัว 75%  และผิวดำ 25%    เบตตี้ แม่ของเธอเป็นลูกครึ่งเกิดจากยายที่เป็นหญิงผิวดำ และตาที่เป็นกัปตันเรือชาวอังกฤษผิวขาว    ในเมื่อยายเป็นทาส  แม้ว่าได้สามีฝรั่ง แต่ลูกที่เกิดมาไม่ได้ถูกกฎหมายนับว่าเป็นชาวอังกฤษอย่างพ่อ  แต่ถูกนับว่าเป็นทาสอย่างแม่   เบตตี้จึงเป็นนางทาสแต่กำเนิด เช่นเดียวกับยาย
   นายผิวขาวของยายและเบตตี้มีลูกสาวชื่อมาร์ธา  เมื่อมาร์ธาแต่งงานก็พานางทาสทั้งสองมาอยู่บ้านใหม่ของสามี  ชื่อจอห์น เวลส์
   เบตตี้ตกเป็นนางบำเรอของนายผู้ชายเมื่อนายหญิงถึงแก่กรรม   มีลูกด้วยกัน 6 คน แซลลี่เป็นคนสุดท้อง
   ลูกสาวคนโตของจอห์น เวลส์ชื่อมาร์ธาเช่นเดียวกับแม่   พอโตเป็นสาวก็ได้คู่ครองคือโธมัส เจฟเฟอร์สัน   หลังจากบิดาตาย  มรดกก็ตกแก่ลูกสาวและลูกเขย อันได้แก่ทาส 135 คน และ ที่ดินกว้างใหญ่ไพศาลถึง 11,000 เอเคอร์
   ในจำนวนทาสที่กลายมาเป็นสมบัติของเจฟเฟอร์สันผู้เป็นลูกเขย  รวมหนูน้อยแซลลี่ที่ยังเด็กมาก    เธออยู่ในฐานะนางทาสผิวดำเต็มตัว  ทั้งๆมีเลือดยุโรปอยู่ในตัว 3 ใน 4    แต่ในเมื่อเกิดจากทาสก็ต้องเป็นทาสโดยอัตโนมัติ  มีหน้าที่รับใช้นายหญิงมาร์ธาผู้แก่กว่าเธอประมาณ 25 ปี   ทั้งๆโดยสายเลือดแล้ว  มาร์ธาคือพี่สาวต่างแม่ของแซลลี่
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 ก.ค. 20, 13:51 โดย เทาชมพู » บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 16 ก.ค. 20, 11:34

มานั่งรอเรียนครับ  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 16 ก.ค. 20, 12:10

          เกือบ 30 ปีมาแล้ว,มีหนังเรื่อง Jefferson in Paris เล่าเรื่องราวครั้งเมื่อเป็น US minister to France
ในหนังยังเล่าถึง Sally Hemings ที่ได้ไปปารีสเป็นผู้ติดตามลูกสาว

วิกี้, ในส่วน Historic basis กล่าวว่า

         It was the first portrayal in film of Sally Hemings, and at the time most Jefferson scholars disputed the rumors,
started in 1802 by a vengeful journalist named James Callender, that Jefferson had fathered a child by her.
         Since then, a 1998 Nature study found a match between the male lines of a Jefferson and one descendant of Hemings.
         In 2000, the Thomas Jefferson Memorial Foundation issued its own report on the DNA test results in light of other
historical evidence and said that it was likely that Thomas Jefferson was the father of Eston Hemings, the youngest child of Sally,
and "perhaps" the father of all six, four of whom lived to adulthood, although this claim is heavily disputed.                  


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 16 ก.ค. 20, 14:15

   แซลลี่มาอยู่ที่คฤหาสน์ของเจฟเฟอร์สันตั้งแต่ยังเดินเตาะแตะ    เติบโตขึ้นมาเป็นเพื่อนเล่นและพี่เลี้ยงของมาเรีย ลูกสาวคนเล็กของนาย   
   เธอเป็นหญิงรับใช้อยู่จนกระทั่งอายุ 14   เจฟเฟอร์สันเดินทางไปฝรั่งเศส เอาลูกสาวไปด้วย   แซลลี่ได้รับคัดเลือกให้ติดตามไปรับใช้คุณหนู  อยู่ที่ปารีส 2 ปี  แซลลี่เติบโตเป็นสาววัย 16   เธอก็กลายเป็นนางบำเรอลับๆของนาย
   ในฝรั่งเศสยุคนั้น ไม่มีทาส   กฎหมายฝรั่งเศสเอื้ออำนวยให้แซลลี่เป็นอิสรชนได้ถ้าอยากจะเป็น     แต่แซลลี่ก็เลือกที่จะอยู่กับนายต่อไป โดยนายเสนอเงื่อนไขให้ว่าจะยอมให้เธอและลูกมีสิทธิ์ดีกว่าทาสอื่นๆ  และลูกเธอสามารถเป็นไทแก่ตัวได้   
   ในตอนนั้นแซลลี่เริ่มตั้งครรภ์แล้ว  ก็ไม่น่าสงสัยว่าทำไมเธอเลือกกลับไปอเมริกา  แทนที่จะอุ้มท้องอยู่ตามลำพังในปารีส   แต่เมื่อกลับไปถึงรัฐเวอร์จิเนีย ทารกน้อยคลอดออกมาแล้วตาย    ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับหนูน้อยมากไปกว่านี้   แซลลี่ก็ตกอยู่ในฐานะนางทาสและเมียลับของท่านรัฐบุรุษต่อไป
   แซลลี่ให้กำเนิดบุตรถึง 6 คน    รอดมาจนโต 4 คน เป็นชายสามหญิงหนึ่ง    ไม่มีใครเป็นไทแก่ตัวพ้นจากสภาพทาส  ตลอดเวลาที่เจฟเฟอร์สันยังมีชีวิตอยู่    เรื่องราวของเธอเป็นความลับ ไม่ได้เผยแพร่สู่สังคมภายนอกที่เชิดชูยกย่องสามีเธอกันว่าเป็นวีรบุรุษคนหนึ่งของประเทศ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 20 คำสั่ง