เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 4515 ขออนุญาตเรียนถามถึงการแต่งงานของชาวบ้านทั่วไปในสุโขทัย-อยุธยาของไทยค่ะ
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


 เมื่อ 27 เม.ย. 20, 20:51

ขออนุญาตเรียนถามถึงการแต่งงานของชาวบ้านทั่วไปในสมัยสุโขทัย-อยุธยาของไทยค่ะ

1 การแต่งงานของชาวบ้านทั่วไปในสมัยสุโขทัย-อยุธยาของไทยแต่ดั้งเดิมมีธรรมเนียมที่ต้องมีเพื่อนเจ้าบ่าว เพื่อนเจ้าสาวไหมคะหรือธรรมเนียมนี้เป็นของฝรั่งที่เรารับเข้ามา เพราะของไทยพิธีแต่งงานมีคนมาช่วยงานเยอะไม่น่าจะต้องกำหนดคนกับงานอะไร

2 การแต่งงานของชาวบ้านทั่วไปในสมัยสุโขทัย-อยุธยาของไทยแต่ดั้งเดิมมีธรรมเนียมการทำบายศรีมาตั้งในพิธีไหมคะ ดิฉันดูในละครไทยที่ย้อนไปในสมัยสุโขทัย-อยุธยาไม่เห็นมีบายศรีมาเข้าฉากพิธีแต่งงานเลย จึ่งสงสัยว่าภาคกลางเขามีธรรมเนียมนี้เหมือนภาคอีสาน ภาคเหนือไหม

3 การแต่งงานของชาวบ้านทั่วไปในสมัยสุโขทัย-อยุธยาของไทยแต่ดั้งเดิมมีธรรมเนียมการหมั้นหมายไว้ก่อนแต่งไหมคะ ดิฉันไม่แน่ใจว่าธรรมเนียมนี้เป็นของฝรั่งที่เรารับเข้ามาหรือของไทยเองก็มีด้วยเพราะคิดว่าชาวบ้านทั่วไปถ้ารักกันก็คงแต่งกันเลยง่ายๆกันไม่น่าจะต้องหมั้นอย่างคนชั้นสูง

4 การแต่งงานของชาวบ้านทั่วไปในสมัยสุโขทัย-อยุธยาของไทยแต่ดั้งเดิมธรรมเนียมการผูกข้อมือด้วยด้ายขาวถือว่าสำคัญแค่ไหนคะ ดิฉันดูในละครไทยที่ย้อนไปในสมัยสุโขทัย-อยุธยาก็ไม่ค่อยเห็นฉากนี้เหมือนกับเรื่องบายศรีเลย ในชีวิตจริงก็เห็นพิธีแต่งงานของภาคกลางมีการผูกแขนบ้างแต่ก็เหมือนจะเป็นพิธีที่คนต่างจังหวัดทำ ทำเฉพาะคนในที่รู้จักกัน ต่างจากภาคอื่นที่ธรรมเนียมนี้จะสำคัญ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 28 เม.ย. 20, 09:26

  สมัยอยุธยา ถ้ามีการกล่าวถึงการแต่งงานของคนไทยก็คงมีในจดหมายเหตุของทูตฝรั่ง   คุณเพ็ญชมพูคงจะหามาได้ค่ะ
  ดิฉันรู้จักแต่ประเพณีแต่งงานแบบไทยในขุนช้างขุนแผน 
  ส่วนสุโขทัย   นึกไม่ออกจริงๆค่ะ 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 28 เม.ย. 20, 10:51

1 การแต่งงานของชาวบ้านทั่วไปในสมัยสุโขทัย-อยุธยาของไทยแต่ดั้งเดิมมีธรรมเนียมที่ต้องมีเพื่อนเจ้าบ่าว เพื่อนเจ้าสาวไหมคะหรือธรรมเนียมนี้เป็นของฝรั่งที่เรารับเข้ามา เพราะของไทยพิธีแต่งงานมีคนมาช่วยงานเยอะไม่น่าจะต้องกำหนดคนกับงานอะไร

ตอบเอ๋ยตอบถ้อย

พูดถึงขุนช้างขุนแผน ในเสภาตอนพลายแก้วแต่งนางพิม ก็มีพูดถึง เพื่อนเจ้าบ่าว และ เพื่อนเจ้าสาว อยู่เหมือนกัน ถึงแม้เสภาตอนนี้กวีจะช่วยกันชำระตกแต่งใหม่ในรัชกาลที่ ๒ แต่ก็คงอิงประเพณีการแต่งงานที่มีมาในสมัยอยุธยา (แต่คงไม่ถึงสมัยสุโขทัยดอก)
 ยิงฟันยิ้ม

ครั้นรุ่งเช้าขึ้นพลันเป็นวันดี   ทองประศรีจัดเรือกัญญาใหญ่
เอาขันหมากลงบรรทุกขลุกขลุ่ยไป   หามโหรีใส่ท้ายกัญญา
ขันหมากเอกเลือกเอาที่รูปสวย   นุ่งยกห่มผวยจับผิวหน้า
ก็ออกเรือด้วยพลันทันเวลา   ครู่หนึ่งถึงท่าศรีประจัน
จึ่งจอดเรือเข้าหน้าสะพานใหญ่ ตาผลวิ่งไปเอาไม้กั้น
เสียเงินทองให้ขึ้นไปพลัน   ขนขันหมากขึ้นบนบันได
ยายเป้าเถ้าแก่อยู่บ้าน   ก็นับขานเงินตราและผ้าไหว้
ครบจำนวนถ้วนที่สัญญาไว้   ให้ขนเข้าไปในเรือนพลัน
แถมพกยกของมาเลี้ยงดู   ครั้นกินอยู่อิ่มดีขมีขมัน
ก็กลับเรือมาพร้อมหน้ากัน   ถึงพลันจอดท่าพากันไป
....

ครั้นพระสุริยาเวลาบ่าย    พลายแก้วย่างกรายมาจากบ้าน
ลงเรือพร้อมกันมิทันทาน   รีบมายังบ้านศรีประจัน
กับเพื่อนบ่าวก็ก้าวขึ้นบนหอ   พระมารอสวดมนต์สำรวมมั่น
เพื่อนสาวเข้าห้อมล้อมกัน   ออกจากเรือนั้นมาทันใด

นั่งลงตรงหน้าท่านสมภาร   แล้วท่านจึงส่งมงคลให้
ขุนช้างเห็นพิมกระหยิ่มใจ   ตะลึงไปตาเพ่งเขม็งดู
หยิบพานมาว่าจะกินหมาก   มันผิดปากส่งไพล่ไปรูหู
เคี้ยวเล่นไบ่ไบ่ได้แต่พลู   เพื่อนบ่าวเขารู้หัวเราฮา
พระสงฆ์สวดมนต์ร่ำกระหน่ำไป   เอาน้ำซัดสาดให้อยู่ฉานฉ่า
นางมั่นรันหัวลงต้ำเปาะ   พ่อเงาะวางฉันอย่าดันดื้อ
ขุนช้างฉุนผ้าคว้าจิ้มดือ   ไม่วางหรือไอ้ถ่อยต่อยแขกลง
สวดมนต์ฉับพลันมิทันช้า   เอาน้ำชามาประเคนให้พระสงฆ์
ฉันแล้วลาไปดังใจจง   ลุกลงบันไดไปกุฎี
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 28 เม.ย. 20, 13:38

          สมัยก่อน,ชายหญิงจะ "อยู่ก่อนแต่ง" เสมือนว่า ได้แต่งงานกันแล้วเมื่อทางบ้านฝ่ายหญิงยอมรับฝ่ายชายๆ
จึงจัดพิธีขอขมาพ่อแม่ฝ่ายหญิงภายหลัง

ตามบทความของคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ

               ดินแดนถิ่นอุษาคเนย์ มี การอยู่ก่อนแต่ง เป็นประเพณีดั้งเดิม ตามคติ “หญิงเป็นนาย ชายเป็นบ่าว”
ที่เป็นคำคล้องจองของตระกูลไทกะได (หรือไทย-ลาว) มีมาแต่ยุคดั้งเดิมดึกดำบรรพ์
               ชายจะเข้ามาอยู่บ้านฝ่ายหญิงเป็นบ่าวรับใช้เพื่อหวังจะแต่งงานเป็นผัวเมียต่อไปในวันหน้า เมื่อเครือญาติ
ฝ่ายหญิงยอมรับ ซึ่งจะใช้เวลานานเป็นปีหรือหลายปีก็ได้ สังคมยุคนั้นยอมให้ “อยู่ก่อนแต่ง” แล้วมีลูกก็ได้

                กฎหมายลักษณะผัวเมีย ยุคต้นอยุธยา มากกว่า 500 ปีมาแล้ว ยอมรับ “อยู่ก่อนแต่ง” อย่างเป็นทางการ
ถ้าชายขี้เกียจทำงาน ฝ่ายหญิงก็เฉดหัวออกจากบ้าน แล้วเลือกชายคนใหม่เป็นบ่าวต่อไป แล้ว “อยู่ก่อนแต่ง” กับคนใหม่
โดยไม่ถือเป็นผิดทำนองคลองธรรมอันใด

                บันทึกของลาลูแบร์ (ราชทูตจากฝรั่งเศส) ระบุว่าการอยู่กินกันอย่างเสรีโดยไม่ได้แต่งงานถือเป็นเรื่องปกติ
ไม่ใช่เรื่องน่าอับอาย เมื่อได้อยู่กินกันก็เสมือนว่าได้แต่งงานกันแล้ว โดยฝ่ายชายจัดพิธีขอขมาต่อพ่อแม่ของฝ่ายหญิง
เท่านั้น

                หญิงชาวบ้านในกรุงศรีอยุธยามีผัวตั้งแต่อายุน้อย จะเห็นว่านางเอกในวรรณคดีทุกเล่ม แต่งงานอายุไม่เกิน 15
ส่วนผู้ชายก็ราวอายุ 18 การกินอยู่กันอย่างเสรีโดยไม่ได้แต่งงานถือเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่เรื่องอับอาย เมื่อได้อยู่กินกันก็เสมือน
ว่าได้แต่งงานกันแล้ว โดยฝ่ายชายจัดพิธีขอขมาต่อพ่อแม่ของฝ่ายหญิงเท่านั้น

ส่วนนี้คือซีนงานแต่งในละครหลังข่าวสุดฮิท

               
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 28 เม.ย. 20, 13:41

          ในกัมพูชา โจวต้ากวน บันทึกไว้ว่า  หญิงชายส่วนมากได้เสียกันมาแล้วจึงได้แต่งงานกันตามขนบธรรมเนียมและ
ประเพณีของเขาไม่ถือเป็นสิ่งที่น่าละอายและไม่ถือเป็นเรื่องประหลาด
          วรรณกรรมโบราณยืนยันว่าสาวหนุ่มแต่ก่อนมีเพศสัมพันธ์กันได้ก่อนแต่งงาน แล้วเป็นที่รับรู้ทั่วไป ไม่ถูกประณาม
(เหมือนสมัยนี้) แต่เรียกด้วยศัพท์แสงชั้นสูงให้ดูดีมีระดับว่า “เทพอุ้มสม” และ
          เป็นที่รู้ทั่วกันอย่างยกย่องว่านิทานสำคัญเรื่องนี้ คือ “อนิรุทธ์สมอุษา” หมายถึงเทพอุ้มพระอนิรุทธ์ไปสมสู่นางอุษา
โดยต่างไม่เคยรู้จักกันมาก่อน และยังไม่แต่งงาน
          อนิรุทธ์คำฉัน วรรณคดียุคต้นอยุธยา ราวหลัง พ.ศ. 2000 ไม่รู้ชื่อกวีนิพนธ์ เพราะไม่มีเขียนบอกไว้บนสมุดข่อยต้นฉบับ
          อนิรุทธ์สมอุษาของราชสำนักลุ่มน้ำเจ้าพระยา แพร่หลายถึงสองฝั่งโขง เป็นนิทานเรื่องอุสาบารส (หมายถึงนางอุสากับ
ท้าวบารส) บอกเล่าภูมิสถานธรรมชาติบนภูพระบาท (อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี) ยกย่องกันว่าคลาสสิคอย่างยิ่ง

ภาพ พระอุณรุท (อนิรุทธ์) สมอุษา จิตรกรรมปลาย ร.3 บนผนังบานแผละในโบสถ์วัดสุทัศน์ กรุงเทพฯ ฟบ. ituibooks


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 28 เม.ย. 20, 13:59

ซีนงานแต่งในละครหลังข่าวสุดฮิท

สุดยอด สุด ๆ ไปเลย (วาทะของแม่หญิงการะเกด-เกศสุรางค์)  ยิงฟันยิ้ม            
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 29 เม.ย. 20, 10:44

ขอบพระคุณสำหรับคำตอบค่ะ แล้วข้อ 2 3 4 ไม่ทราบว่าพอจะมีข้อมูลเรื่องแบบนี้อยู่บ้างไหมคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 29 เม.ย. 20, 13:32

2 การแต่งงานของชาวบ้านทั่วไปในสมัยสุโขทัย-อยุธยาของไทยแต่ดั้งเดิมมีธรรมเนียมการทำบายศรีมาตั้งในพิธีไหมคะ ดิฉันดูในละครไทยที่ย้อนไปในสมัยสุโขทัย-อยุธยาไม่เห็นมีบายศรีมาเข้าฉากพิธีแต่งงานเลย จึ่งสงสัยว่าภาคกลางเขามีธรรมเนียมนี้เหมือนภาคอีสาน ภาคเหนือไหม

ดูงานแต่งงานของแม่หญิงการะเกดกับ "พี่หมื่น" ขุนศรีวิสารวาจา ก็ไม่เห็นบายศรี (ในจดหมายเหตุของลาลูแบร์ก็ไม่ได้กล่าวถึงบายศรีในงานแต่งงาน)  แต่จะปรากฏในเสภาเรื่องขุนช้างขุนช้าง ในพิธีรับขวัญเด็ก

ในตอนกำเนิดขุนช้างขุนแผน นางทองประศรีรับขวัญพลายแก้ว


แล้วเร่งรัดจัดแจงแต่งบายศรี     เงินทองของดีมาผูกให้
กล้วยน้ำแตงกวาเอามาใส่        ธูปเทียนดอกไม้มีหลายพรรณตต
ให้หลานใส่เสมาปะวะหล่ำ        กำไลทองคำงามเฉิดฉัน
บ้าหว่าทองผูกสองข้างแขนนั้น    สายกุดั่นทั้งแท่งดังแกล้งทำ
เอวคาดสร้อยอ่อนซ้อนดอกลอย  ฝังพลอยมรกตสีสดขำ
ผูกลูกพริกเทศด้วยทองคำ        กำไลตีนนากเห็นหลากตา
จัดแจงแขกนั่งเป็นวงกัน           พงศ์พันธุ์พร้อมอยู่ทั้งปู่ย่า
ยกบายศรีแล้วโห่ขึ้นสามลา       เวียนแว่นไปมาโห่เอาชัย ฯ


และในตอนกำเนิดพลายงาม นางทองประศรีรับขวัญพลายงามหลานรัก

ครั้นพลบค่ำย่ำฆ้องทองประศรี    เรียกยายปลียายเปลเข้าเคหา
เย็บบายศรีนมแมวจอกแก้วมา    ใส่ข้าวปลาเปรี้ยวหวานเอาพานรอง
เทียนดอกไม้ไข่ข้าวมะพร้าวพร้อม น้ำมันหอมแป้งปรุงฟุ้งทั้งห้อง
ลูกปะหล่ำกำไลไขออกกอง         บอกว่าของพ่อเจ้าแต่เยาว์มา
เอาสอดใส่ให้หลานสงสารเหลือ   ด้วยหน่อเนื้อนึกรักเป็นหนักหนา
เหมือนพ่อแผนแสนเหมือนไม่เคลื่อนคลา ทั้งหูตาคมสันเป็นมันยับ
พลางเรียกหาข้าคนมาบนหอ      ให้นั่งต่อต่อกันเป็นอันดับ
บายศรีตั้งพรั่งพร้อมน้อมคำนับ    เจริญรับมิ่งขวัญรำพันไป ฯ


บายศรีนิยมใช้ในงานมงคลสมรสของทางเหนือและอีสานมากกว่า  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
cinephile
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 30 เม.ย. 20, 11:19

แล้วในสมัยร.๕ ล่ะครับ
มีประเพณีอะไรบ้างครับ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 01 พ.ค. 20, 09:32

งานแต่งสมัยร.๕ จากวรรณกรรมอมตะ สี่แผ่นดิน

คู่สมรส - แม่พลอย พ่อเปรม   
สถานที่จัดงานแต่ง - บ้านฝ่ายชาย เนื่องจากบ้านฝ่ายหญิงอยู่คลองบางหลวงแขกเหรื่อไปร่วมงานไม่สะดวก

                   แม่พลอย คุณสาย,แม่ช้อยและคณะออกจากวังยามเช้าไปคฤหาสน์คุณเปรม แต่คณะไปพักที่
เรือนคุณนุ้ย เจ้าสาวแต่งตัวสําหรับขึ้นไปฟังสวดมนต์และใส่บาตรบนตึก กลุ่มเจ้าสาวขึ้นทางบันไดหลัง แล้วไป
ยังห้องปูพรมและตกแต่งเรียบร้อยนั่งลงที่นั่นเพื่อฟังพระสวดจากห้องกลางข้างนอก
                   พระตั้งนโม ให้ศีล และเริ่มสวดพระปริตตามพิธ๊  พระสวดมงคลสูตรจบไปแล้ว ในที่สุดก็ขึ้น
รัตนสูตรและโภชฌงค์
                   หลังพระสวดจบเป็นพิธีตักบาตร
                   คุณเปรมนั่งรออยูํที่เฉลียงใหญ่หน้าตึก มีขันข้าวใสํบาตรเงินตั้งอยูํตรงหน้า บาตรพระสิบใบตั้งอยู่
เป็นแถว คุณสายพาพลอยและเพื่อนเจ้าสาว ตรงเข้าไปที่คุณเปรมนั่งคอยอยู่
                   เสียงช้อยกระซิบว่า  "เวลาจับทัพพีต้องเอามือไว้ข้างบน มือเราจะได้อยูํเหนือมือเขา ต่อไปเขาข่มเหง
เราเล่น ไม่ได้"


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 01 พ.ค. 20, 09:33

              เมื่อเสร็จแล้วก็รีบคลานกลับเข้าห้องที่นั่งฟังพระสวด เมื่อพระฉันเสร็จ จึงกลับออกไปข้างนอก และ
พอพระอนุโมทนายถาสัพพีเสร็จแล้ว พิธีสําหรับตอนเช้าก็เป็นอันเสร็จลง
              พลอยถูกพาตัวกลับลงจากตึกทางด้านหลัง เจ้าคุณพ่อ คุณหลวงและแม่ชั้น มาคอยรับและพากันไป
ที่เรือนแม่นุ้ยเพื่อรับประทานอาหารกลางวัน และพักผ่อนต่อไปจนกว่าจะถึงเวลารดน้ำในตอนบ่าย
              แม่ชั้นสั่งกับพลอยว่า  "แม่พลอยจําไว้ให้ดี รดน้ำแล้วเราต้องถอดมงคลก่อน แล้วลุกจากเตียงก่อน
ต่อไปเขาจะได้กลัวเรา"


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 01 พ.ค. 20, 09:35

            เวลาล่วงเลยไป คุณสายบอกให้พลอยเริ่มแต่งตัว เปลี่ยนเป็นชุดเสื้อผ้า ที่เตรียมไว้แต่งตอนรดน้ำ
พลอยนุ่งม่วงดอก ใส่เกือกถุงตีน สะพายแพรกลัดเข็มกลัด และสวมสายสร้อย ที่เสด็จประทาน และเพื่อเอาใจ
เจ้าคุณพ่อ คุณสายก็บอกให้พลอยผูกจี้ที่ทํานให้ไว้เมื่อโกนจุก
           เมื่อพลอยขึ้นไปถึงบนตึก บรรยากาศทั่วไป และเสียงแขกที่มาพูดกันเบาๆ ทําให้พลอยรู้ได้ว่า
งานวันนั้นได้เข้าถึงขีดสูงสุด พิธีที่พลอยกําลังเข้าสู่เป็นพิธีที่สําคัญที่สุดในวันนั้น
           พลอยถูกนําตัวเข้าไปในห้องที่จัดไว้เป็นที่รดน้ำ  เพื่อนเจ้าสาวนั่งกันเป็นกลุํมข้างเตียง ทางที่พลอยขึ้นไป
หมอบอยู่ คุณเปรมขึ้้นมาหมอบอยู่บนเตียงข้างตัว เจ้านายต่างกรมองค์หนึ่งเสด็จมาสวมมงคลแฝดให้คู่บ่าวสาว เมื่อ
ประทานน้ำสังข์แล้วก็ทรงเจิม จากนั้นก็มีญาติผู้ใหญ่เข้ามารดน้ำ ให้ศีลให้พร
           ตอนจะลุกจากเตียงพลอยเหลือบไปเห็นคุณเปรมคุกเข่าอยู่บนเตียง รอจนพลอยลงจากเตียง แล้วจึงลงทีหลัง
ท่ามกลางเสียงหัวเราะเบาๆของเพื่อนเจ้าบ่าว รดน้ำแล้วพลอยก็ผลัดเครื่องแตํงตัวอีกชุดหนึ่งเสร็จแล้วก็ต้องรีบขึ้นไป
นําผ้าไหว้เซ่นผีบรรพบุรุษ ของทางคุณเปรมที่บนตึก และจะต้องไปทําพิธีเช่นเดียวกันที่บ้านคลองบางหลวงในวันรุ่งขึ้น


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 01 พ.ค. 20, 09:36

            ตอนบ่ายแขกทยอยกันกลับหมดแล้ว คุณเชยแม่ชั้นเข้ามาอยู่เป็นเพื่อนพลอยจนค่ำ ประมาณสักยามหนึ่งแม่ชั้น
ก็ขอตัวหายไป บอกว่าได้ฤกษ์ปูที่นอนแล้ว  และเมื่อถึงเวลาอีกสิบนาทีจะห้าทุ่ม เจ้าคุณพ่อและคุณสายก็พาตัวพลอย
ขึ้นไปบนตึก เพื่อส่งตัวต่อ คุณเปรมที่รออยู่
            เสียงมโหรีดังมาจากชั้นล่าง ผู้คนเบาบางลงไปมาก เมื่อเข้าไปถึงห้องพลอยก็เห็นเตียงนอนแบบจีน คุณเปรมนั่ง
สงบเสงี่ยมอยู่คนเดียวหน้าเตียง
            พอเห็นเจ้าคุณพ่อและคุณสายนําพลอยเข้าไป คุณเปรมก็ลงกราบ เมื่อลงนั่งกันเรียบร้อย เจ้าคุณพ่อก็บอกพลอย
ให้กราบคุณเปรม แล้วก็เริ่มสั่งสอนให้คุ้มครองกัน และให้ศีลให้พร คุณสายก็ให้พรเช่นกัน คุณเปรมนั่งพนมมือ รับพร
เมื่อให้พรส่งตัวเสร็จเจ้าคุณพ่อและคุณสาย ก็เดินออกจากห้องไปเบาๆ
            ประตูห้องนั้นปิดสนิทลง ทิ้งพลอยไว้สองต่อสองกับคุณเปรมเป็นครั้งแรกในชีวิต
            พลอยนั่งก้มหน้าดูพรมสีแดง ทั้งสองคนต่างนั่งนิ่งอยูํอีกนาน ในที่สุดคุณเปรมก็กระถดตัวเข้าใกล้อีกนิดหนึ่ง แล้วถาม
ขึ้นด้วยน้ำเสียงที่เบาเกือบเป็นกระซิบและด้วยถ้อยคําที่พลอยไม่นึกเลยว่า
                       "แม่พลอยจ๋า แม่พลอยเคยขึ้นพระบาทหรือยัง"

            สามวันแรกของชีวิตแต่งงาน พลอยมิได้ไปไหน นอกจากไปที่บ้านคลองบางหลวงกับคุณเปรมเพื่อนําผ้าไปไหว้
กระดูกบรรพบุรุษ ในห้องพระที่ตึกเจ้าคุณพ่อ และไหว้เจ้าคุณพ่อ ผู้ซึ่งรับไหว้ด้วยนาฬิกาพกสําหรับคุณเปรม และแหวนอีก
วงหนึ่งสําหรับพลอย


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 01 พ.ค. 20, 09:44

บันทึกงานแต่งของชาวบ้านจาก จดหมายเหตุรายวัน ของ สมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิบดี เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ

วันพฤหัสบดี วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2430
         เราตื่นเช้าก่อนโมงเรือกำลังเดิน สองโมงเรือถึงปากน้ำทอด(สมอ) ที่พระเจดีย์ เราตามเสด็จลงเรือกรรเชียงไป
ประทับทรงนมัสการพระเจดีย์ แล้วเสด็จกลับมาลงเรือกรรเชียง เรือสติมลันซ์ จูงเข้าคลองตาเค็ด ทอดพระเนตรหมู่บ้าน
ตามลำคลอง

         ถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งมีการแต่งงาน บ่าวสาวกำลังจะยกขันหมาก รับสั่งให้หยุดเรือพระที่นั่ง จะทอดพระเนตร ด้วยยัง
ไม่เคยทอดพระเนตร ประทับเรือพระที่นั่งเข้าที่หน้าบ้าน เจ้าของบ้านหลังลงมาเฝ้า รับสั่งถามถึงเงินทุน ว่าไม่มีทุนเพราะเป็น
กำพร้าทั้งสองฝ่าย ทูลหม่อมประทานทุนคนละชั่ง แล้วเสด็จขึ้นประทับทอดพระเนตรยกขันหมาก

         ฝ่ายชายชื่อจีนไชย อายุ 28 ปี ฝ่ายหญิงชื่อเจิง อายุ 25 ปี วิธีแต่งงานเป็นอย่างไทยกับจีนเจือกัน มีเด็กจีนถืออ้อยมัด
ปลอกกระดาษแดงคู่หนึ่ง เด็กจีนถือขวดเหล้าใส่ขันทองเหลืองคู่หนึ่ง จีนผู้ใหญ่ถือม้าล่อคู่หนึ่ง เด็กจีนถือขันมะพร้าวอ่อนคู่หนึ่ง
เด็กไทยแต่งตัวใส่เกี้ยวใส่สร้อยอ่อนถือโต๊ะรองเทียนขี้ผึ้งคู่หนึ่ง

         เด็กไทยถือผ้าขาวสำหรับบูชาผีเรือนผับหนึ่ง ผ้าม่วงจีนหนึ่ง ผ้าตาไหมกับแพรแถบสิ่งละสามสำหรับไหว้ผู้ใหญ่ผู้สาวถือ
แล้วถึงเด็กไทยแต่งตัวถือขันหมากอีกคู่หนึ่ง มีโต๊ะรองผลไม้ และขนมต่างๆ อีก 32 โต๊ะถือตามไปด้วย

          ทูลหม่อมเสด็จเที่ยวทอดพระเนตรบนเรือน เจ้าสาวออกมาเฝ้า มีดอกไม้ธูปเทียนมาถวาย เลี้ยงกันด้วย เราก็กินเลี้ยง…


บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 03 พ.ค. 20, 21:01

ขอบพระคุณสำหรับคำตอบค่ะ แล้วเรื่องในข้อที่ 3 ธรรมเนียมการหมั้นหมายไว้ก่อนแต่ง กับข้อที่ 4 ธรรมเนียมการผูกข้อมือด้วยด้ายขาว ไม่ทราบว่าพอจะมีข้อมูลอะไรบ้างไหมคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 19 คำสั่ง