ด้วยที่ผมไม่ได้ติดตามอ่านเพชรพระอุมาจนจบและจำได้ถึงเหตุการณ์ต่างๆ ผมจึงมีข้อสังเกตเพียงเล็กๆน้อยๆจากการที่ได้อ่านบ้าง ได้ฟังบ้าง และมีประสบการเดินทางเข้าป่าเช่นกัน ซึ่งอาจจะเป็นผืนป่าต่างๆเหมือนๆกันก็ได้ ข้อสังเกตที่มีก็คือ การใช้ชื่อสถานที่ การเรียกชื่อคน และการบรรยายสภาพต่างๆทางธรรมชาติ ฯลฯ มีลักษณะคละกันระหว่างคำที่ใช้ในภาษาเหนือและกลาง (และอาจจะมีใต้และอิสานด้วย ?) ลักษณะเช่นนี้ในสมัยนั้น ดูจะพบว่ามีอยู่แต่เฉพาะในพื้นที่เลาะทิวเขาด้านตะวันตกของไทยเรา
ทั้งหมดที่ผมได้ต่อกระทู้มานี้ เป็นความเห็นที่สังเคราะห์มาจากประสบการณ์ที่มีของผม ซึ่งคิดว่าจะพอทำให้การกลับไปอ่านเพชรพระอุมาได้มีความสุนทรีเพิ่มขึ้น และอาจจะทำให้นึกถึงการออกไปท่องเที่ยว ไปค้นหาเส้นทางตามรอยเพชรพระอุมาก็ได้
ผิดพลาด ผิดที่ผิดทางประการใด ก็ขออภัยด้วยครับ
