เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 12834 สิ้น "พนมเทียน" นักเขียนศิลปินแห่งชาติ
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 06 พ.ค. 20, 20:17

ในกระบวนการทำงานของผม  จะใช้ภาพถ่ายทางอากาศมาตราส่วน 1:50,000 (ซึ่งปูพรมถ่ายครอบคลุมพื้นที่ในภูมิภาคบ้านเราเมื่อ คศ.1953 (พ.ศ.2496) เพื่อเอาไปทำเป็นแผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:50,000 ที่เรายังใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ ซึ่งมีการปรับปรุงไปตามกาลเวลา เอาไปทำแผนที่ภูมิประเทศมาตราส่วน 1:250,000 เพื่อใช้ในการวางแผนต่างๆและใช้ในการบินในระยะต่ำ และเอาไปทำแผนที่มาตราส่วน 1:500,000 เพื่อใช้ในการบินในระยะสูง)    เพื่อแปลความหมายชนิดหิน(บางชนิดที่ทำได้) แปลความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มหินต่างๆ เพื่อเอามายกร่างแผนที่ทางธรณีฯ วางแผนการเดินสำรวจต่างๆและการเอาชีวิตรอด  เอาเป็นว่า ได้เห็นภาพแบบ 3 มิติในแง่มุมต่างๆ

ประเด็นก็คือว่า สภาพป่าในภาพถ่ายทางอากาศเมื่อครั้งแรกถ่าย เมื่อเปรียบเทียบกับที่ผมได้เดินสำรวจอยู่ในพื้นที่และได้เห็นจริงกับตา เกือบจะไม่มีความแตกต่างกันเลย  ทำให้พอประมวลได้ว่าภาพป่าที่พนมเทียนเห็นเมื่อครั้งยังเดินป่าอยู่นั้นเกือบจะไม่แตกต่างไปจากที่ผมได้เห็นและได้สัมผัสเลย รวมทั้งในเชิงของสัตว์ป่าด้วย

ผมอ่านเพชรพระอุมาแบบกระท่อนกระแท่น  แต่ในบางพื้นที่ บางครั้งก็ทำให้เกิดจินตนาการไปในทำนองเดียวกันกับคำบรรยายในนวนิยาย  

แล้วค่อยว่ากันต่อไปครับ  
บันทึกการเข้า
ninpaat
ชมพูพาน
***
ตอบ: 167


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 07 พ.ค. 20, 07:21

เข้ามาติดตามท่านอาจารย์ครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 07 พ.ค. 20, 19:09

ในช่วงทศวรรษแรกของ พ.ศ.2500 นั้น ได้มีหลายสิ่งหลายอย่างในทางเศรษกิจและสังคมเกิดขึ้นในบ้านเมืองของเรา ทั้งในรูปที่เป็นของอะไรใหม่ๆและที่เป็นพัฒนาการต่างๆ    ซึ่งจะขอหยิบมาเพียง 2 เรื่องที่เกี่ยวข้อง   เรื่องแรกคือ การขยายตัวในด้านของการนำทรัพยากรธรรมชาติออกมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเหมืองแร่ ป่าไม้ และพลังงาน อีกเรื่องหนึ่งก็คือ การเพิ่มการเชื่อมต่อด้านการสื่อสารและการคมนาคมกับชนบทห่างไกล     

ประเด็นจาก 2 เรื่องที่ได้กล่าวถึงนี้  เฉพาะในที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะขยายความก็คือ ก็คือ เส้นทางเข้าป่าและชุมชนในพื้นที่ทุรกันดารหลายเส้นทางได้ถูกเปิดขึ้น โดยเฉพาะเส้นทางที่พุ่งไปทางทิศตะวันตกสู่ป่าเขาและชายแดน   อีกเรื่องหนึ่งคือ การค้าขายนำเข้า-ส่งออกมีการขยายตัว ทำให้มีสินค้าใหม่ๆเข้ามามากขึ้นสำหรับกลุ่มคนที่มีความสนใจเฉพาะทาง

ซึ่งนักนิยมไพรก็มีสองเรื่องที่ชอบและทำกัน คือ ซื้อหรือสะสมปืนรุ่นใหม่ๆ และการออกไปเข้าป่าผจญกับความยากลำบากและลองยิงทดสอบปืนที่ได้มาใหม่    ซึ่งการจะกระทำเช่นนี้ได้ก็จะต้องเป็นกลุ่มคนที่มีรายได้ค่อนข้างดี จะต้องไปเป็นคณะ ด้วยที่ค่าใช้จ่ายในการเดินทางค่อนข้างจะสูงมาก นอกจากนั้นแล้วก็จะต้องนัดกันในช่วงที่มีวันหยุดหรือตนเองสามารถหยุดงานได้ประมาณสัปดาห์หนึ่ง

ด้วยสภาพดังกล่าวนี้ พื้นที่ป่าที่จะไปเข้ากัน ก็ควรจะต้องไม่ไกลจากกรุงเทพฯ การเดินทางก็ไม่ควรจะต้องมีการค้างแรมในเมืองก่อนที่จะเข้าถึงชายป่า มิฉะนั้นก็อาจจะมีปัญหาในเรื่องของการขนพาอาวุธและเครื้องกระสุนต่างๆ   ผืนป่าที่มีน้ำ มีสัตว์ และห่างไกลจากชุมชน ที่จะเข้าถึงได้ตามข้อจำกัดดังกล่าวก็เลยดูจะมีอยู่ไม่กี่พื้นที่ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 08 พ.ค. 20, 18:43

ก็จะมีป่าที่เป็นไปได้ ผนวกกับข้อมูลที่พอจะมีของผมที่ได้จากการบอกเล่าและการสอบถามชาวบ้านที่เราจ้างทำงานนำทางและแบกหาม   ซึ่งเราไม่ทราบว่าคณะบุคคลเหล่านั้นใครเป็นใครนะครับ เป็นเพียงแต่รู้ข้อมูลและใช้การประเมินเอาจากองค์ประกอบต่างๆเช่น จำนวนคน รถที่ใช้ ปืนที่พกพากันมา ลักษณะของบุคคลและลักษณะทางกายภาพของเขา อุปกรณ์ครื่องใช้ต่างๆ ฯลฯ    อีกส่วนหนึ่งก็ได้จากการได้พบคณะบุคคลเหล่านั้นในพื้นที่จริงๆ

ผืนป่าที่ดูจะเป็นที่สนใจของนักนิยมไพรในสมัยนั้นก็ดูจะมี   ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่,   ป่าแม่วงก์ จ.กำแพงเพชร,  ป่าทับเสลา-ซับฟ้าผ่า จ.อุทัยธานี,   ป่าห้วยขาแข้งตอนบน (เข้าทางห้วยทับเสลาและ อ.บ้านไร่),  ป่าเขาอึมครึม-เขาโจด-ห้วยแม่พลู (เข้าทาง อ.หนองปรือ หรือ บ.หนองรี จ.กาญจนบุรี),  ป่าทุ่งนานางหรอก-สลักพระ และพื้นที่ชายเขาฝั่งตะวันตกของลำตะเพิน ช่วง อ.หนองปรือ ถึง บ.ลาดหญ้า จ.กาญจนบุรี),  ป่าศรีสวัสดิ์ (อ.ศรีสวัสดิ์และ อ.ทองผาภูมิ) ตามเส้นทางเข้าสู่แหล่งแร่ตะกั่ว หนันยะ บ่อน้อย เนินสวรรค์ สองท่อ ทุ่งนางครวญ ลำเขางู บ่อใหญ่),  ป่าบ้องตี้ล่าง ใช้เส้นทางข้ามแควน้อยที่แก่งระเบิดเข้าเหมืองเต่าดำ,  ป่าโป่งกระทิง-สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ใช้เส้นทางเข้าเหมืองตะโกปิดทองและเจิงเจ้ย, ป่าหนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี 

ในความเห็นของผมนะครับ ผืนป่าหลักที่เป็น governing image สำหรับ content ของนวนิยายนั้น ดูจะอยู่ในพื้นที่ของป่าศรีสวัสดิ์เสียเป็นส่วนใหญ่
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 08 พ.ค. 20, 20:25

ในช่วงทศวรรษ พ.ศ.2500+นั้น วงการปืนมีการนำเข้าปืนรุ่นต่างๆหลายๆขนากและหลายยี่ห้อ  ถนนอุณากรรณซึ่งอยู่ด้านหลังของวังบูรพานั้นเป็นแหล่งค้าขายปืนที่สำคัญ 

ก็จะขอรวบรัดเอาว่าผมมีความสนใจและรู้จักปืนต่างๆอยู่พอสมควร (ในด้านรู้น้อย)   เอาเป็นว่า ในช่วงสองทศวรรษต่อมานั้น ปืนที่ขายดีเป็นที่ต้องการของชาวบ้านก็คือ ปืนลูกซองเดี่ยว และเป็นแบบ full choke  ส่วนนักนิยมไพรและนักสะสมก็จะเลือกซื้อปืนลูกซองแบบแฝดคู่ขนาน แถมยังเลือกผู้ผลิตปืนและผู้ผลิตลูกกระสุนอีกด้วย ปืนลูกซองนี้ใช้เป็นปืนหากินและป้องกันตัว ใช้ยิงไก่ป่า เก้ง กวาง งู ฯลฯ     สำหรับปืนลูกเดี่ยวของนักนิยมไพรที่จะเลือกใช้ก็จะมีที่ใช้กระสุนขนาด 30-06 springfield ขนาดพอคว่ำช้างได้ แต่ก็ยังอยากได้ขนาดใหญ่กว่านั้นอีกเป็นขนาด .375 magnum ประเภทนัดเดียว ช้างหรือกระทิงอยู่หมัดเลย ทั้งสองขนาดนี้เลือกไว้ใช้เป็นปืนป้องกันตัว   ปืนอีกขนาดก็คือลูกกรดเอาไว้ใช้หากิน ใช้ยิงนก กระรอก ฯลฯ     นอกจากปืนยาวก็คือปืนพก ที่พยายามหันไปหาปืนขนาดเล็กกว่า .45 ของทหารที่ใช้ในสงครามโลก และเปลี่ยนจากแบบกึ่งออโตเมติกเป็นแบบลูกโม่ 

ขยายความเรื่องปืนมาเพียงเพื่อจะกล่าวว่า หากไม่เข้าป่าแล้วจะมีที่ใหนที่จะสามารถทดสอบการยิงปืนยาวได้   สนามยิงปืนสั้นในยุคนั้นมีอยู่แล้วที่เรียกว่าสนามยิงปืนของ รด. ซึ่งอยูในพื้นที่ของวังสราญรมบ์ 

ก็เลยกล้อมแกล้มเอาว่า ก็จะต้องไปหาที่ทดสอบการยิงและการใช้ปืนกับเครื่องกระสุนที่ออกแบบมาให้มีความเหมาะสมในการใช้งานที่มีความแตกต่างกัน  พื้นที่ป่าที่จะใช้ในการทดสอบเรื่องเกี่ยวกับปืนจึงไม่น่าจะไกลนักจาก กทม.   

แล้วค่อยว่ากันต่อไปในเรื่อง governing image    ว่าแล้วก็ชักจะเสียวใส้ว่าจะถูกยำจนเละเสียก่อน  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 09 พ.ค. 20, 10:34

ไปเจอวิกิ รวบรวมปืนชนิดต่างๆในเพชรพระอุมาค่ะ   เลยนำมาลงให้คุณตั้งและท่านอื่นๆได้อ่านกัน

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B8%98%E0%B8%9B%E0%B8%B7%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%B2

อาวุธปืนในเพชรพระอุมา เป็นการรวบรวมรายละเอียดของปืนที่ใช้ในเรื่องเพชรพระอุมา จากความรู้และทักษะความสามารถทางด้านอาวุธปืนของพนมเทียน ในการนำเอาอาวุธปืนประเภทต่าง ๆ และกระสุนที่ใช้จากประสบการณ์จริง มาผูกเสริมเติมแต่งให้แก่ตัวละครในเพชรพระอุมา รวมทั้งกำหนดลักษณะและผลของการใช้ของปืนแต่ละประเภท ซึ่งปืนที่ใช้ในเพชรพระอุมานั้น มีจำนวนมากมายหลากหลายขนาด รวมทั้งยี่ห้อและรุ่น เช่นปืนไรเฟิล วินเชสเตอร์ .375 โมเดล 70 ปืนลูกซอง ปืนสั้นกึ่งออโตแมติกหรือแม้แต่ปืนเอ็ม 16 ที่ใช้ในการสงคราม รวมทั้งรายละเอียดและความรู้ทางด้านปืนของแต่ละกระบอก เช่น วิถีกระสุนในการปะทะเป้าหมาย แรงปะทะของปืน ฯลฯ อาวุธปืนที่ใช้ในเพชรพระอุมา มีดังนี้
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 09 พ.ค. 20, 18:32

ไปเจอวิกิ รวบรวมปืนชนิดต่างๆในเพชรพระอุมาค่ะ   เลยนำมาลงให้คุณตั้งและท่านอื่นๆได้อ่านกัน

ขอบคุณมากครับ  เป็นข้อมูลที่น่าสนใจ ทำให้ได้เห็นภาพอะไรหลายอย่างมากขึ้นครับ

ปืนยาวขนาด .375 นั้น ผมเคยเอาปืนของพ่อเข้าป่าและเคยยิงเป้าเล่นโดยใช้กระสุนเก่าเก็บ   ในครั้งกระนั้นเป็นการเดินสำรวจเส้นทางผ่านป่าลึก โดยเดินตัดป่าจากห้วยขาแข้งไปทางทิศตะวันตกเข้าหาแม่น้ำแควใหญ่ในพื้นที่เหนือจากปากลำขาแข้งขึ้นไป  ในพื้นที่ย่านนั้นมีช้างป่าและหมีควายอยู่มากมาย ซึ่งเป็นสัตว์ป่าประเภท charge คนได้ ก็เลยเอาปืนขนาดใหญ่หน่อยไปด้วยเพื่อป้องกันตัว ทำให้มีความรู้สึกปลอดภัยและมีความมั่นใจมากขึ้น    ปืนยาวขนาด .375 Magnum นั้น มีขนาดค่อนข้างใหญ่และน้ำหนักค่อนข้างมาก ไม่เหมาะที่จะใช้พกพาเข้าป่าด้วยการสะพายหรือแบกเมื่อเป็นการการเดินป่าแบบยาวต่อเนื่อง ไม่เหมาะที่จะใช้ในลักษณะของการตั้งรับ(ด้วยความเทอะทะของมัน) แต่เหมาะที่จะใช้ในลักษณะของการเฝ้าและซุ่มยิงในเวลากลางวัน ในระยะไกล และในพื้นที่โล่ง เพราะจะต้องประทับให้แน่นให้ดีๆมิฉะนั้นจะถูกพานท้ายตบแก้มและปืนหลุดมือ   ด้วยที่แรงถึบของมันสูงมาก ปืนขนาดนี้จึงไม่เหมาะที่จะใช้ในการนั่งห้างและส่องสัตว์ อาจทำให้พลัดตกจากห้างส่องสัตว์หรือห้างพังก็ได้   แรงถีบจะมากมายเพียงได ?  ก็ขนาดตัวผมน้ำหนักใกล้ 70 กก. ประทับใหล่ยืนยิงยังต้องถอยหลังเป็นก้าว 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 09 พ.ค. 20, 19:06

ปืนยาวขนาด .30-06 นั้น เป็นปืนลูกเดี่ยวอเนกประสงค์จริงๆ ถูกต้องแล้วที่พนมเทียนจัดให้เป็นปืนประจำตัวของรพินทร์ ไพรวัลย์  ปืนนี้มีน้ำหนักไม่มาก กระสุนหาได้ง่ายเพราะว่าใช้ขนาดและชนิดเดียวเดียวกันกับปืนของทางราชการทหารที่นักศึกษาวิชาทหารใช้ในการฝึก (ปลยบ. 88)  ใช้ยิงได้ทั้งระยะใกล้และไกล แรงปะทะดีพอได้กับสัตว์ขนาดใหญ่ หัวกระสุนทะลุเป้า ไม่ตีแกว่งจนเป้าเละ    จึงใช้ได้ในทั้งสถานการณ์ไล่ล่าหากินหรือตั้งรับ และใช้ได้กับสัตว์หลายขนาดตั้งแต่นกจนถึงช้าง   ก็เป็นปืนที่ผมพกพาเข้าป่าใหญ่ตลอด ซึ่งก็จะแบกสะพายเองเมื่อต้องเดินสำรวจแยกเดี่ยว(นำหน้าหรือรั้งท้ายในพื้นที่ๆมีช้างป่า) เสียอย่างเดียวที่มันเป็นปืนลูกเดี่ยวเลยใช้ป้องกันอย่างอื่นได้ยากหน่อย 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 09 พ.ค. 20, 19:11

อาวุธปืนทั้งหมดในเรื่องเพชรพระอุมา สำหรับผู้ที่สนใจ

https://thaiammo.com/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B8%98%E0%B8%9B%E0%B8%B7%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD/
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 09 พ.ค. 20, 20:05

สำหรับปืนลูกซองนั้น คงจะไม่ไปกล่าวถึง เรื่องของมันมีค่อนข้างจะมาก  มันเป็นปืนอเนกประสงค์ที่ดีมากๆสำหรับชาวบ้านและคนทั่วๆไป มันครอบคลุมการใช้งานทั้งในเชิงตั้งรับ ขับไล่ และในเชิงรุก    ส่วนปืนยาวลูกเดี่ยวขนาดอื่นๆนั้น ดูจะนิยมใช้กันในต่างประเทศและในซาฟารี จัดเป็นพวก Collection ของนักสะสมปืนและนักท่องไพรซาฟารี

ที่ดูจะแปลกใจอยู่นิดนึงก็คือ ปืนสั้นขนาด .44 Magnum,  .45 Long Colt, และ .357 Magnum  ซึ่งทั้งหมดจะเป็นปืนแบบลูกโม่ 6 นัด      ขนาด .357นั้น เป็นแบบ double action มีการใช้โดยทั่วๆไป   แต่ขนาด .44 Magnum และ .45 Long Colt ที่กล่าวถึงนั้น เป็นปืนพกพวก single action เป็นปืนแบบคาวบอย ดูจะไม่เหมาะเลยที่จะใช้พกพาเป็นปืนประจำตัวเข้าป่าดง มือมีเหงื่อชื้นๆที่มือก็ทำให้จับด้ามปืนลื่น ยิงแล้วปืนอาจจะสะบัดหลุดออกจากมือหรือทำให้ง่ามมือฉีกได้ง่ายๆ   การคัดปลอกกระสุนก็ไม่รวดเร็ว  

ก็ว่าไปตามความเห็นส่วนตัวนะครับ มิได้มีวัตถุประสงค์จะลบหลู่ด้วยประการใดๆทั้งสิ้น นวนิยายก็คือนวนิยาย ครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 10 พ.ค. 20, 19:19

กลับไปเรื่องของผืนป่าอีกเล็กน้อยครับ   พนมเทียนเป็นคนใต้ ซี่งเมื่อยิ่งชอบเข้าป่าดงด้วย ก็จึงได้สัมผัสกับป่าดิบชื้นมากมายในพื้นที่ภาคใต้ที่รองรับด้วยดินอันอุมดมสมบูรณ์จากการผุพังย่อยสลายของหินปูน ซึ่งทำให้ได้ผืนป่าที่เขียวชอุ่มและทึบแน่นไปด้วยไม้ทั้งประเภทเรือนยอดสูง กลาง และไม้คลุมดิน

ผืนป่าในพื้นที่ๆกล่าวถึงทั้งในฝั่งตะวันตกของภาคกลางและในพื้นที่ภาคใต้นี้ ล้วนแต่มีเอกลักษณ์ของตนบางประการ ทั้งในเชิงของ landscape, vitality, legend, reaching และ adventure challenge   ผมก็เลยมีความเห็นว่า ลักษณะจำเพาะของผืนป่าแต่ละป่าจึงน่าจะถูกนำมาใช้เป็นแรงดลใจในการเขียนเรื่องของแต่ละตอนหรือแต่ละช่วงของเหตุการณ์ของเรื่องราวในนวนิยายของพนมเทียนนี้

สภาพป่าเหล่านี้ในปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนไปหมดแล้ว บ้างก็กลายเป็นชุมชน บ้างก็กลายเป็นไร่เป็นสวน บ้างก็ได้กลายเป็นอุทธยาน กลายเป็นวนอุทธยาน หรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าก็มี   การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่เกิดขึ้นในผืนป่าเหล่านี้ดูจะเริ่มต้นเมื่อประมาณปี 2514  เมื่อได้เกิดการขัดแย้งและต่อสู้ทางอุดมการณ์ทางการเมือง ทำให้นักนิยมไพรต้องหยุดกิจกรรม เลิกราไป และไม่ย่างกายเข้าป่าในเกือบจะทุกพื้นที่ (โดยเฉพาะในด้านตะวันตกของภาคกลาง)     คงเหลือแต่ข้าราชการกลุ่มเดียวที่เป็นนักสำรวจเช่นพวกอาชีพผมที่ยังคงเดินทำงานอยู่ในป่าดงพงไพร  กลุ่มหนึ่งเป็นพวกที่สำรวจหาและเจาะน้ำบาดาลช่วยแก้ไขการขาดแคลนน้ำและช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ของชาวบ้านให้รอดพ้นจากความลำบากยากเข็น  อีกลุ่มหนึ่งก็พวกสำรวจทำแผนที่ทางธรณีฯและทรัพยากร เพื่อนำไปสู่การค้นพบแหล่งทรัพยากรเพื่อความมั่นคงของประเทศทั้งแหล่งแร่และปิโตรเลียม และเป็นสายใยเชื่อมต่อความอาทรระหว่างรัฐและชาวบ้านในพื้นที่ห่างไกล
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 10 พ.ค. 20, 19:44

เคยไปอุทัยธานีนานมาแล้ว  ผ่านต.พุเตยด้วยค่ะ  ยังนึกถึงกะเหรี่ยงพุเตยในเพชรพระอุมาอยู่เลย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 10 พ.ค. 20, 20:21

สรุปความ

คิดว่าหลายท่านได้เคยอ่านเรื่องเพชรพระอุมา หลายท่านอาจจะกำลังเริ่มต้นอ่าน หลายท่านได้อ่านแบบกระท่อนกระแท่น    เอาเป็นว่า หากท่านทั้งหลายได้มีโอกาสไปท่องเที่ยวในพื้นที่ป่าที่เป็นอุทธยานแห่งชาติต่างๆในพื้นที่ๆผมได้กล่าวครอบคลุมถึง รวมทั้งหมู่บ้านหรือชุมชนที่อยู่ใกล้หรืออยู่ชายขอบอุทธยานเหล่านั้น  ก็อยากจะให้ลองนึกถึงความเป็นป่าของพื้นที่เหล่านั้นเมื่อสมัยทศวรรษ 2500 +/-  ดูทิวทัศน์ไกลๆ ดูไปให้รอบๆ คุยกับชาวบ้านดั้งเดิมถึงประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน เรื่องเล่า นิยายที่เกี่ยวข้องและความเชื่อมโยงกับ geomorphology ต่างๆที่ปรากฎอยู่ในพื้นที่   บวกกับจินตนาการเข้าไปอีกหน่อย ก็อาจจะทำให้เห็นภาพมโนของเรื่องราวของนวนิยาย ซึ่งอาจจะทำให้เห็นความลึกซึ้งในกระบวนถ้อยความคำบรรยายต่างๆ และ in ไปกับเรื่องราว    
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 11 พ.ค. 20, 18:23

เคยไปอุทัยธานีนานมาแล้ว  ผ่านต.พุเตยด้วยค่ะ  ยังนึกถึงกะเหรี่ยงพุเตยในเพชรพระอุมาอยู่เลย

พุเตย เป็นชื่อเรียกสถานที่ๆค่อนข้างจะใช้กันมาก ปรากฎอยู่ในหลายๆพื้นที่  ลักษณะประจำตัวของชื่อนี้คือเป็นสถานที่ๆมีน้ำผุดออกมาจากใต้ดินกลายเป็นแอ่งน้ำขังขนาดไม่ใหญ่นัก จะมีเนินหรือโหนกหินปูนโผล่ให้เห็นอยู่ใกล้ๆและมีต้นเตยป่าขึ้นอยู่   แต่หากมีน้ำไม่มาก มีแต่เพียงทำให้พื้นดินฉ่ำแฉะก็จะไปใช้คำว่า ซับ  ซึ่งลักษณะประจำตัวของซับต่างๆก็คือ จะมีพวกพืชมีหัวปกคลุมอยู่ค่อนข้างแน่น (พวกต้นบอนและอื่นๆที่มีลักษณะคล้ายกัน)  ก็มีข้อสังเกตอยู่หน่อยนึงว่า พุ มักจะอยู่ในพื้นที่ป่าเขา  ส่วน ซับ มักจะอยู่ในพื้นที่ราบลอนคลื่น

เมื่อป่าไม้ถูกทำลายไปมากเข้า ผืนดินแห้ง ระดับน้ำผิวดินลดระดับลงไปอยู่ลึกมากขึ้น น้ำที่จะเข้ามาหล่อเลี้ยงความเป็น พุ และ ซับ ก็หายไป หายไปพร้อมๆกับการขยายตัวของชุมชนที่เข้ามาทำกินในพื้นที่ๆเหล่านี้เมื่อครั้งยังมีความชุ่มชื้น  ก็เลยตั้งชื่อกันใหม่ด้วยความไม่เข้าใจในธรรมชาติ เปลี่ยนจาก พุ ไปเป็น ภู ที่ให้ความหมายที่ไม่ตรงกับสภาพทางภูมิประเทศหรือภูมืสัณฐาณอันเป็นธรรมชาติดั้งเดิมของเขา    ภู หลายๆแห่งในภาคเหนือที่มีการตั้งชื่อกันอย่างเพราะพริ้งก็เช่นกัน จาก พุ เป็น ภู    จาก ดอย ก็เป็น ภู   และจาก ม่อน ก็เป็น ภู เช่นกัน 



บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 11 พ.ค. 20, 18:59

นึกถึงอีก 2 คำ คือคำว่า หนอง กับ บึง    หนอง เป็นคำที่ใช้กันในภาษาไทย-ลาว  มีลักษณะเป็นแอ่งน้ำตลอดปีที่พบได้ในทุกระดับความสูง ก็คือ sink hole (หลุมยุบ) ส่วนมากจะเกิดจากยุบตัวของโพรงหินใต้ดิน    บึง เป็นคำที่ใช้ในพื้นที่ๆเป็นแอ่งน้ำขังในพื้นที่ราบ     ก็ยังมีอึกคำหนึ่งที่เป็นคำเก่าแก่แต่โบราณที่ใช้ก้นเฉพาะในคนในพื้นที่ลุ่มภาคกลาง คือคำว่า ตะลุก ก็คือแอ่งน้าที่เกิดมาจากการขังตกค้างอยู่ในส่วนที่คดเคี้ยวของลำน้ำสายใหญ่

แล้วก็นึกเลยเถิดไปถึงคำว่า หนาน กับ ทิด    หนาน เป็นภาษาไทย-ลาวที่ใช้เรียกคนที่ผ่านการบวชเรียนมาแล้ว  ทิด เป็นภาษาไทยภาคกลางที่เรียกคนที่บวชเรียนมาแล้วเช่นกัน 

แล้วใง ?
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.091 วินาที กับ 19 คำสั่ง