เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 12896 สิ้น "พนมเทียน" นักเขียนศิลปินแห่งชาติ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 22 เม.ย. 20, 13:04

การวางตัวแสดง เพชรพระอุมา  ที่ยังทำให้แฟนคลับฝันค้างอยู่
https://picpost.mthai.com/view/6565
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 22 เม.ย. 20, 13:08

เพชรพระอุมา เคยสร้างเป็นภาพยนตร์เมื่อปี 2514   ผู้รับบทรพินทร์ ไพรวัลย์ พระเอกของเรื่อง ไม่ใช่ดารา แต่เป็นผู้อำนวยการสร้างเรื่องนี้ ชื่อวิทยา เวสสวัฒน์  รับบทแสดงนำเอง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 22 เม.ย. 20, 13:17

รพืนทร์ ไพรวัลย์คนใหม่ที่ท่าน Cinephile วางตัวไว้เมื่อปี 2550  ชื่อชลัฏ ณ สงขลา


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 22 เม.ย. 20, 13:35

เพชรพระอุมา เคยสร้างเป็นภาพยนตร์เมื่อปี 2514   ผู้รับบทรพินทร์ ไพรวัลย์ พระเอกของเรื่อง ไม่ใช่ดารา แต่เป็นผู้อำนวยการสร้างเรื่องนี้ ชื่อวิทยา เวสสวัฒน์  รับบทแสดงนำเอง

ผู้อำนวยการสร้างตั้งชื่อตัวเองในฐานะนักแสดงว่า รพินทร์ ไพรวัลย์  ประหยัดค่าจ้างผู้แสดงนำได้อีกโข  ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 22 เม.ย. 20, 13:45

เพชรพระอุมา ปี 2514  มีดาราอาชีพรับบทสำคัญกันทั้ง 3 คนคืออดุลย์ ดุลยรัตน์ รับบท ม.ร.ว. เชษฐา วราฤทธิ์
ประจวบ ฤกษ์ยามดี รับบท ไชยยันต์ อนันตรัย
ชนะ ศรีอุบล รับบท แงซาย
ดาราทั้งสามท่านนี้ล่วงลับไปหมดแล้ว


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 22 เม.ย. 20, 18:43

เพชรพระอุมา : The Next Generation  ยิงฟันยิ้ม

ในห้องนี้เห็นมีแฟนเพชรพระอุมาเข้ามาเยือนกันหลายคน   เลยขอตั้งกระทู้นี้ให้มาคุยอะไรก็ได้ค่ะ เกี่ยวกับนิยายเรื่องโปรดของพวกเรา

ขอเริ่มด้วยทางตัวเองก่อน
เคยวาดภาพว่า ถ้ารพินทร์ ไพรวัลย์ ดาริน เชษฐา อนุชา ไชยยันต์ มาเรีย พรานลูกหาบ  แงซายยังอยู่มาจนถึงวันนี้  พวกเขาจะทำอะไร  เป็นยังไง

รพินทร์คงอยู่ที่หนองน้ำแห้งกับดาริน   ที่นั่นกลายเป็นเขตวนอุทยาน อนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า  เจ้าด้วนน่าจะยังอยู่หรือถ้าตายก็คงมีลูกมาแทนตัว
บ้านป่าของรพินทร์คงมีโขลงช้างประจำบ้าน  เท่กว่ามีร็อตไวเลอร์
รพินทร์น่าจะมีลูกชายสักคนที่เก่งเหมือนพ่อ   น่าเสียดายถ้าหากว่าเขาไม่มีทายาทจะสืบเชื้อสายจอมพราน  เพราะฉะนั้นยังไงก็ต้องมี   อาจจะมีลูกสาวอีกสักคนที่สวยและเก่งเหมือนแม่   สองคนนี่ต้องเรียนเมืองนอก  หลายประเทศด้วย  
พระเอกนางเอกของคุณพนมเทียนมักจะจบมหาวิทยาลัยอังกฤษ ฝรั่งเศสหรือเยอรมัน มากกว่ามหาวิทยาลัยเมืองไทย
อาจจะเป็นได้ว่าลูกชายรพินทร์ เรียนเก่ง รู้หมดเกือบทุกสาขา   แต่ไม่จบ  นิสัยเฮี้ยว หัวแข็ง ดื้อดึง มีทิฐิเหมือนพ่อ   อยู่ในเมืองหลวงไม่ได้เพราะทนระบบอะไรหลายๆอย่างไม่ได้
(ถ้าเรียนจบ เดี๋ยวแกจะเข้ารับราชการ เป็นนักวิชาการ ดร. หรือผู้เชี่ยวชาญไป  ไม่มาอยู่หนองน้ำแห้ง)

เชษฐากับอนุชาน่าจะยังเป็นโสดนะคะ    ดูรูปการณ์ถูกวางเอาไว้ให้เป็นเจ้าของวังกันโดดเดี่ยวมาแต่แรก  หานางเอกไม่ได้เลยทั้ง ๓ ภาค ก็คงจะหาไม่ได้ต่อไป

ไชยยันต์มีลูกชายกับมาเรีย  เจ้าหนูไพรวัลย์คนนี้ต่อไปคงจะมาคลุกคลีกับลูกของรพินทร์  ท่าทางจะหล่อเหมือนวิลลี่  เพราะเป็นลูกครึ่งตรงตามสมัยนิยม

แงซายต้องมีลูกชายแน่ ไม่งั้นบัลลังก์เทพหมดรัชทายาทสืบต่อ   แต่ลูกชายจะเรียนศิลปวิทยาการอยู่ที่มรกตนครอย่างเดียวคงไม่พอ  เสด็จพ่อคงจะเนรมิตลูกแก้วเป็น IE หรือ Netscape  ให้องค์ชายได้เล่นเน็ต  เรียนรู้ความเป็นไปในโลกภายนอกให้ทันยุคทันสมัย
เผลอๆลูกชายแงซายก็คงจะแวบมาชกกับลูกชายรพินทร์เป็นครั้งคราว  สืบทอดความเป็นเสือสองตัวในถ้ำเดียวกัน
ถ้าจะให้ดีแงซายน่าจะมีลูกสาวอีกสักคน  สวยเหมือนเมยานี    เผื่อลูกชายรพินทร์บุกป่าฝ่าดงไปพบ  จะได้ปิ๊งกันบ้าง

ตาบุญคำ คงยังอยู่ที่หนองน้ำแห้ง แก่ชราแต่ยังสวมดีหมีหัวใจเสือ   หนานอินอาจจะตายไปแล้ว  เกิด เส่ย และจัน กลายเป็นชายวัยกลางคนมีลูกชายคนละหนึ่ง เหมือนพ่อ ติดสอยห้อยตามลูกชายจอมพราน  คะหยิ่นแก่ชราปลดเกษียณแต่มีหลานชายลูกเจ้ามุกับนางอั้ว มาเป็นตัวแทนความมุทะลุของปู่  แล้วมาเป็นลูกน้องมือขวาของลูกชายรพินทร์

ยิ่งเขียนก็ยิ่งคิดถึง...
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 22 เม.ย. 20, 18:47

ไม่มีโอกาสจะรู้ชีวิตหนุ่มสาว ลูกๆของตัวละครเอกในเพชรพระอุมาอีกแล้ว


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 24 เม.ย. 20, 07:47

มงกุฎวรรณกรรม

๏ ฉัตรชัย ชัยประโชติน้อม   พนมเทียน
   วิเศษ สุวรรณศิลป์เสถียร  สถิตแล้ว
สุวรรณ วิจิตรผจงเจียน    ใจสลัก
              ภูมิ อักษราวุธแกล้ว        มกุฎแก้วผกายสมัย

๏ พนมเทียน พนมธรรม
พนมคารวาลัย
ฉัตรชีพคือฉัตรชัย
มกุฎแก้วแห่งวรรณกรรม
๏ วิเศษศักดิ์สุวรรณศิลป์
สุวรรณภูมิคือภูมิธรรม
สร้อยอักษราคำ
จำหลักแล้วนิรันดร
๏ ประทับไว้ ณ ใจชน
บนบัลลังก์แห่งอักษร
พนมทิพยาภรณ์
ต่างพานพนม "พนมเทียน" ๚ะ๛

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
อังคาร ๒๑ เมษายน ๒๕๖๓
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 24 เม.ย. 20, 14:07

Chamaiporn Bangkombang
21 เมษายน เวลา 15:33 น. ·

คารวาลัย ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ “พนมเทียน”

ใจจรดกลางฟ้ามืด.........รอฝน

จู่ฟาด ณ กมล.... ........อัดเปรี้ยง

ฉัตรชัยหักบัดดล............พับดับ

ใจอกตกดินเกลี้ยง..........เกลื่อนก้องปฐพิน

.........เขาคือฉัตรปักชัย............ท่ามสมัยวรรณศิลป์
“เพชรพระอุมา”ยิน...................ระเบิดก้องในวงวรรณ
ศิวาราตรี” สร้าง.......................งามกระจ่างระบือบรรณ
เรื่องรักอีกร้อยพัน....................ละอองสร้อยอีกร้อยดวง
"จุฬาตรีคูณ”รัก........................ร้อยสลักหทัยทรวง
วันนี้มาลับร่วง..........................ร้าวใจอกลงตกดิน
ฟ้ามืดยิ่งมืดอีก.........................เกินหลบหลีกให้พ้นสิ้น
น้ำตาไหลรินริน........................อาลัยลา “พนมเทียน”
ไปดีเถิดพี่ชาย......................... สู่จุดหมายไม่ผันเปลี่ยน
วรรณศิลป์อันพากเพียร............. ย่อมส่งพี่สู่สรวงสวรรค์
สรวงสวรรค์ชั้นกวี......................อันเป็นศรี “ฉัตรชัย”สรร
และเป็น “วิเศษสุวรรณ-..............ภูมิ”แท้ถ่องทางเทอญ

ชมัยภร แสงกระจ่าง
๒๑ เมษายน ๒๕๖๓
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 24 เม.ย. 20, 21:02

คารวะอาลัย "พนมเทียน" ๐-
 
    ฉัตรชัย  ฉัตรช่อชั้น   วรรณกรรม
วิเศษ  เสกสารคำ   ค่าแก้ว
สุวรรณ  สว่างผ่องผกายนำ   นับเนิ่น นานเฮย
ภูมิ  พิสิฐวรรณศิลป์แพร้ว   พร่างฟ้ากาลสมัย ฯ
 
     เพชร  ใดกว่าเพชรแก้ว   ปลาบประกาย
พระ  อุมามาฉาย   ปิ่นฟ้า
อุ  โฆษเอกอุพราย   ระบือเกียรติ ก้องเฮย
มา  ประจักษ์เจิมใจหล้า   แหล่งพื้นพิภพบรรณ ฯ
 
     พนม  จิตสรรค์สื่อน้อม   นอบใจ
เทียน  ต่อเทียนวรรณไสว   สว่างล้ำ
พนม  จิตทอดหทัย   คารวะ วางเอย
เทียน  อมตะสว่างย้ำ   ยิ่งแท้พนมเทียน ฯ
:
.
- Black Sword -
(หมู มยุรธุชบูรพา)

http://www.homelittlegirl.com/index.php?topic=12704
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 25 เม.ย. 20, 10:08

จริงหรือที่ พนมเทียน คือ รพินทร์ ไพรวัลย์ ไขเบื้องหลัง เพชรพระอุมา

ในผลงานทั้งหมดของ พนมเทียน หรือ ฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ (พ.ศ. ๒๔๗๔ - ๒๕๖๓) หนังสือ เพชรพระอุมา ถือได้ว่าเป็นนวนิยายสร้างชื่อ เป็นผลงานสุดคลาสสิกหมวดท่องไพร การผจญภัย และเป็นเหมือนลายเซ็นเมื่อเอ่ยถึงนามปากกา พนมเทียน

คำกล่าวที่ว่า เพชรพระอุมา คือ พนมเทียน นั้นไม่ได้เป็นคำกล่าวที่เกินจริงเลย เพราะอมตะนิยายผจญภัยเรื่อง เพชรพระอุมา นั้นได้รวบรวมประสบการณ์ชีวิต ความเชื่อ ความรู้ต่าง ๆ ของฉัตรชัยตั้งแต่วัยเยาว์ ทั้งเรื่องการเดินป่า การดำรงชีพในป่า การล่าสัตว์ ธรรมชาตินิสัยของสัตว์ป่า ไสยศาสตร์ เวทมนตร์ และกฎแห่งกรรม ขมวดมาอยู่ในเรื่องนี้ทั้งหมด

ฉัตรชัย ผู้ซึ่งจากโลกนี้ไปเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๓ ในวัย ๘๙ ปี ด้วยโรคประจำตัวคือโรคหัวใจ เคยเขียนไว้ในหนังสือ “อินไซด์เพชรพระอุมา ภาค ๑” ว่า

“ผมเคยเจ็บหนักเกือบตายเพราะโรคหัวใจระหว่างเขียนเรื่องนี้มาได้ครึ่ง ๆ กลาง ๆ ก็ได้ภาวนาต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายว่าจะเลิกทำบาปกรรม เลิกฆ่าสัตว์ตัดชีวิต และขอให้อยู่ต่อไปเพียงเพื่อให้เขียนเรื่องนี้ได้จบสิ้นสมบูรณ์ แล้วจะตายก็ไม่ว่า แต่ขออย่าให้ตายระหว่างที่ยังเขียนเรื่องค้างเติ่งอยู่เลย”

เขาใช้เวลาเขียนเรื่อง เพชรพระอุมา เป็นเวลาเกือบ ๒๖ ปี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๗ จนถึง พ.ศ. ๒๕๓๓ นับได้ว่า เพชรพระอุมา เป็นนวนิยายที่ยาวที่สุดเท่าที่เคยตีพิมพ์ในประเทศไทย คือ รวมเล่มเป็นพ็อกเก็ตบุ๊คทั้งหมดถึง ๔๘ เล่มจนจบบริบูรณ์

เนื้อเรื่องเพชรพระอุมาเกี่ยวกับการเดินทางและการผจญภัยของพรานป่า “รพินทร์ ไพรวัลย์” ที่รับจ้างวานนำทางคณะของ ม.ร.ว. เชษฐา วราฤทธิ์ ในการออกติดตามค้นหาน้องชายคือ ม.ร.ว.อนุชา (พรานชด ประชากร) ผู้สูญหายยังดินแดนลึกลับและเต็มไปด้วยอาถรรพณ์แห่งป่า พร้อมกับเรื่องราวการตามหาขุมทรัพย์เพชรพระอุมาในตำนาน

แม้หลายคนจะอ่าน เพชรพระอุมา ครบทุกภาคทุกตอน ตอนละหลาย ๆ รอบ ทว่าด้วยความสมจริงของทั้งฉาก บทบรรยายถึงพงไพรก็ทำให้ผู้อ่านมีข้อสงสัย ตั้งสมมติฐานในใจเกี่ยวกับเพชรพระอุมามากมาย ขอชวนแฟนนักอ่านมาคลายข้อสงสัยเหล่านี้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 25 เม.ย. 20, 10:11

รพินทร์ ไพรวัลย์ คือ พนมเทียน
ฉัตรชัยหรือพนมเทียนนิยมการท่องเที่ยวผจญภัยในป่าตั้งแต่เด็กและมีความเชี่ยวชาญเรื่องปืนอย่างมากเช่นเดียวกับพรานรพินทร์ ตัวละครเอกของเขา ฉัตรชัยยังเป็นคอลัมนิสต์ให้นิตยสารเกี่ยวกับอาวุธปืนและเขียนตำราเรื่องปืนโดยใช้ชื่อและนามสกุลจริง

ถึงแม้จะเป็นพรานที่เก่งกาจ แต่จุดอ่อนของรพินทร์คือโรคไข้จับสั่นหรือมาลาเรีย เมื่อใดที่อาการกำเริบ เมื่อนั้นรพินทร์หมดสภาพที่จะปกป้องใครได้ และในภาค ๒ ของ เพชรพระอุมา เขามีอาการโรคหัวใจเข้ามาแทรกซ้อนอีกซึ่งทั้ง ๒ โรคและอาการที่รพินทร์เป็นในเรื่องล้วนเป็นโรคที่ฉัตรชัยเผชิญในชีวิตจริง ถึงแม้ผู้เขียนจะหายจากโรคมาลาเรียซึ่งทำให้เขาเกือบตายในป่าหลายครั้งแต่โรคหัวใจต้องรักษาจนวาระสุดท้ายของชีวิต และเพราะโรคหัวใจนี่เองทำให้ฉัตรชัยเลิกการล่าสัตว์อย่างเด็ดขาดด้วยตระหนักถึงเรื่องบาปบุญคุณโทษและกฎแห่งกรรม

หมู่บ้านหนองน้ำแห้ง ที่รพินทร์ ไพรวัลย์ บุกเบิกและสร้างปางพักมีจริงหรือไม่
ฉัตรชัยเคยกล่าวไว้ว่า หมู่บ้านหนองน้ำแห้งมีอยู่จริง แต่ชื่อจริง ๆ คือ “หมู่บ้านหนองแห้ง” และเขาเติมคำว่า “น้ำ” ลงไปในนวนิยาย หมู่บ้านหนองแห้งเป็นหมู่บ้านกลางป่าลึกในจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นที่อยู่ของพรานใหญ่พื้นเมืองนาม “หนานไพร” และฉัตรชัยก็ได้นำชื่อครูพรานคนนี้ซึ่งมีตัวตนอยู่จริงมาใส่ในนิยายให้เป็นครูพรานของรพินทร์ ตัวเอกของเรื่อง

ที่มาของชื่อ รพินทร์ ไพรวัลย์
ฉัตรชัยต้องการชื่อตัวเอกที่ฟังแล้วไม่เหี้ยมหาญดุดันเกินไป แถมยังต้องแฝงความอ่อนโยน ซึ่งค่อนข้างขัดกับบุคลิกภายนอกที่ห้าวหาญ และเฉียบขาด ดังนั้นชื่อของท่าน รพินทรนาถ ฐากูร นักปราชญ์ชาวอินเดีย จึงเป็นชื่อที่เขาคิดว่าอ่อนโยนเสนาะหู จึงนำคำว่า รพินทร์ (มาจาก ระพี แปลว่า พระอาทิตย์) มาเป็นชื่อตัวเอก เพราะชื่อเมื่อออกเสียงไม่แข็งกร้าว ทั้งความหมายยังแฝงด้วยความแข็งแกร่ง ส่วนนามสกุล ไพรวัลย์ เพื่อสื่อให้เห็นถึงอาชีพพรานและป่าดงพงไพรซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการผจญภัยครั้งนี้

ลายแทงขุมทรัพย์ เพชรพระอุมา มีที่มาอย่างไร
ในเรื่อง เพชรพระอุมา ฉัตรชัยเขียนถึงลายแทงขุมสมบัติที่ มังมหานรธา แม่ทัพพม่าเมื่อ ๔๐๐ กว่าปีเขียนไว้และได้ตกไปอยู่ในมือของ รพินทร์ ไพรวัลย์ และ รพินทร์ ก็ได้ใช้ลายแทงนี้เป็นเครื่องมือนำทางรับจ้างคณะของ ม.ร.ว. เชษฐา และ ม.ร.ว ดาริน วราฤทธิ์ ในการออกติดตามหา ม.ร.ว.อนุชา (พรานชด ประชากร) ที่หายสาบสูญ โดยกำหนดให้เนินพระจันทร์เป็นตำแหน่งสุดท้ายที่จะนำไปสู่เทือกเขาพระศิวะซึ่งเป็นที่เก็บสมบัติ

การจะเข้าถึงตำแหน่งตามลายแทงกำหนดว่าต้องรอให้ถึงเวลาขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๑๒ และจะต้องเห็น “ปิ่นพระศิวะฉายแสงเรืองรองขึ้น” อันจะทำให้เกิดปรากฎการณ์สะท้อนให้เห็นเต้าพระถันทั้งสองข้างของพระอุมาเทวี และหากไต่เขาไปตามร่องถันโดยแยกไปทางถันซีกซ้ายจะทำให้บรรลุถึงถนนของพระศิวะนำไปสู่มหาปราสาทของพระอุมาเทวีที่เก็บ

ถึงแม้ฉัตรชัยไม่ได้กล่าวถึงแรงบันดาลใจเรื่องดินแดนลี้ลับมรกตนคร แต่ในนิตยสารสารคดี ฉบับเดือนธันวาคม ๒๕๔๗ ในบทความเรื่อง “ตามรอยลายแทงเพชรพระอุมา เพมาโค ดินแดนศักดิ์สิทธิ์แห่งทิเบต” โดย สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ ได้เขียนถึงเพมาโค (แปลว่า สถานที่แห่งดอกบัว หรือ สถานที่แห่งพุทธะ) ที่ล้อมรอบด้วยเทือกเขาหิมะสลับซับซ้อนและหุบเขาแม่น้ำแซงโป ซึ่งตามลายแทงมองเห็นเป็นร่างของนางวัชรโยคีนี (พระแม่เจ้าสามตาแห่งปัญญาของพุทธนิกายวัชรยานของทิเบต หรือ พระแม่อุมาของศาสนาฮินดู) ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับลายแทงมรกตนครในเรื่อง เพชรพระอุมา

ตำนานเพมาโคเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ชนชาวทิเบต ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ ว่ากันว่าโยคีสายตันตระผู้บรรลุธรรมจากแคว้นสวัสดิ์ หรือ ปากีสถาน ในปัจจุบัน เป็นพระพุทธเจ้าที่รู้จักกันในนาม ปัทมาสัมภาวะ ได้เดินทางไปทั่วทิเบตและค้นพบหุบเขาศักดิ์สิทธิ์จำนวนมากเหมาะแก่การลี้ภัยและปฏิบัติธรรมเรียกว่า เบยุล หรือ แดนลับแล พร้อมกับเขียนลายแทงกำกับไว้ก่อนนำไปซ่อน จนในพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ริคซิน โกเดม ได้ค้นพบลายแทงส่วนหนึ่งในถ้ำ

ลายแทงจะระบุทางเข้าแดนลับแลจากทั้ง ๔ ทิศ โดยกำหนดเวลาตายตัวที่จะทางเข้าจะเปิดได้ และบอกสัญญาณไว้ให้สังเกต จึงยังมีแดนลับแลอยู่อีกในทิเบตที่ยังไม่ถึงเวลาเปิด สำหรับลายแทงสู่เพมาโคนั้นว่ากันว่าถูกค้นพบโดย ดอเจทองเม ผู้เปิดหุบเขานี้ในพุทธศตวรรษที่ ๒๓ และเฮียน เบเกอร์ นักสำรวจชาวอเมริกัน ได้รับลายแทงจากลามะองค์หนึ่งและได้เริ่มสำรวจกับ ฮามิด ซัดดาร์ เพื่อนชาวอิหร่าน เพมาโคนอกจากจะเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ในเทือกเขาหิมาลัยที่นักแสวงบุญปรารถนาไปเยือน สำหรับนักภูมิศาสตร์แล้วสถานที่ลี้ลับนี้ยังเป็นแหล่งรวมพันธุ์ไม้

https://www.sarakadeelite.com/lite/phet-pra-uma-thai-novel/
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 25 เม.ย. 20, 18:06

ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 27 เม.ย. 20, 18:37

ขอแสดงความเสียใจด้วยค่ะ ส่วนเรื่องเพชรพระอุมาได้ข่าวว่าจะมีการนำมาทำละครก็หวังว่าจะได้ดูเร็วๆนี้
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 06 พ.ค. 20, 20:16

ขออนุญาตแทรกตัวเข้ามาในถ้ำเสือแห่งนี้ ครับ  เพื่อให้ความเห็นเพิ่มเติมบางประการเกี่ยวกับพื้นที่ๆเป็นแรงบันดาลใจในเรื่องราวต่างๆของเพชรพระอุมา   เป็นความเห็นส่วนตัวที่สังเคราะห์มาจากกระบวนการทำงานและประสบการณ์สำรวจทำแผนที่ธรณีวิทยาในพื้นที่ทางตะวันตกของไทยเป็นเวลากว่า 2 ทศวรรษ (ตั้งแต่ 2513) 

ก่อนที่จะเข้าเรื่องราวก็จะขอขยายความในเรื่องพื้นฐานบางประการดังนี้    พนมเทียนเริ่มประพันธ์เรื่องเพชรพระอุมาเมื่อปี 2507 ตอนอายุประมาณ 30 ปี  ท่านเกิดที่ปัตตานีเมื่อ พ.ศ.2474 เข้ามาเรียนมัธยมต้นในกรุงเทพฯ ก็หมายความว่าท่านเข้ามากรุงเทพฯเมื่อมีอายุแรกรุ่น ซึ่งพอจะบ่งชี้ว่าท่านมีประสบการณ์กับวิถีชีวิตแบบพื้นบ้านเข้มขันไม่นานมากนัก  เมื่อจบการศึกษาระดับมัธยมปลายแล้วก็ไปเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยที่อินเดีย ซึ่งท่านเรียนในกลุ่มวิชาทางอักษรศาสตร์ ก็พอจะบ่งชี้ได้ว่าท่านน่าจะได้อิทธิพลทางความคิดจากบทประพันธ์และตำนานต่างๆที่ได้รับในระหว่างการศึกษา อันนำไปสู่แนวคิดในการวางโครงเรื่องของนวนิยายที่ท่านได้ประพันธ์ต่อๆมา  เมื่อท่านจบแล้วกลับมาเมืองไทย ก็เลยพอจะเห็นช่วงเวลาที่ท่านได้เริ่มเข้าป่าดงพงไพรในไทยแบบจริงๆจังๆ(ก่อนที่จะเขียนเรื่องเพชรพระอุมา) ซึ่งน่าจะเป็นช่วงประมาณปี 2500 เป็นต้นมา แล้วก็มีการเข้าป่าเป็นระยะๆต่อเนื่องจนไปถึงประมาณปี 2515  (แล้วค่อยดูเหตุผล)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.043 วินาที กับ 19 คำสั่ง