เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 12
  พิมพ์  
อ่าน: 36097 อาหารโบราณ
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



 เมื่อ 18 เม.ย. 20, 17:14

น่าจะแยกเป็นอีกกระทู้   ว่าด้วยอาหารโบราณ นะคะ
แล้วมาสืบดูว่าอาหารเหล่านี้คืออะไร
คุณเพ็ญชมพูเห็นด้วยไหมคะ

ชื่ออาหารโบราณชวนขานไข
คืออะไรสืบดูให้รู้หนา
แยกกระทู้ดีไหมไถ่ถามมา
แยกเช่นใดไม่ว่าถ้าเห็นควร
 ยิงฟันยิ้ม

จาก พระอภัยมณี ตอนอภิเษกหัสไชย


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 18 เม.ย. 20, 17:47

เห็นด้วยครับ   

อาหารไทยต่างๆที่กล่าวถึงในกระทู้กลุ่มวิเสทนิยม แท้จริงแล้วเห็นว่า ส่่วนมากก็มาจากอาหารโบราณ เพียงแต่ในปัจจุบันนี้มีการสร้างสรรค์ให้มีความแปลกแตกต่างกันออกไปด้วยการปรับ เปลี่ยน ลด หรือเพิ่มเครื่องปรุงพวกเนื้อ ผัก รส และกลิ่น แล้วเปลี่ยนชื่อหรือตั้งชื่อใหม่  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 18 เม.ย. 20, 18:35

อาหารที่สุนทรภู่บรรยายไว้ในตอนนางละเวงจัดเลี้ยงบรรดากษัตริย์ที่ยกทัพมาตีกรุงผลึก เป็นอาหารไฮโซสมัยรัชกาลที่ 3  อย่างไม่มีข้อสงสัย
ถ้าเป็นปัจจุบันก็ต้องเป็นเมนูในภัตตาคาร 5 ดาว
สะท้อนให้เห็นว่าอาหารชั้นเลิศในยุคนั้น มีอาหารอิมพอร์ตปนอยู่ด้วย คือจีนกับเทศ ได้แก่อินเดียขึ้นไปจนถึงตะวันออกกลาง   อาหารฝรั่งนอกจากนมกับเนยที่บอกไว้ตอนท้าย ยังมองไม่เห็นรายการอื่น

อย่างแรกคือแพะผัดน้ำมัน   น้ำมันในที่นี้น่าจะเป็นน้ำมันเนย  (ghee)  ส่วนเนื้อแพะนั้นก็กินได้เช่นเดียวกับเนื้อแกะ
หาภาพมาใกล้เคียงที่สุดคือแพะย่างกับน้ำมันเนย ค่ะ ใส่เครื่องเทศด้วย

คิดว่าคุณตั้งเคยรับประทานเนื้อแพะมาแล้วนะคะ  ส่วนน้ำมันเนยก็คงรู้จักเช่นกัน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 18 เม.ย. 20, 18:38

เนื้อแพะดูๆไปก็เหมือนเนื้อวัว หรือเนื้อแกะ  แต่กลิ่นและรสอาจแตกต่างกันไปเฉพาะตัว


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 18 เม.ย. 20, 20:04

ในตอน อภิเษกหัสไชย วงศ์พงศ์กษัตริย์ทั้งสี่เมืองคือ ผลึก ลังกา รมจักร และการะเวก มารวมตัวกันที่เมืองลังกาเพื่อร่วมอวยพรในพิธีแต่งงานระหว่างหัสไชยกับนางสร้อยสุวรรณ นางจันทร์สุดา และสุดสาครกับนางเสาวคนธ์

มีเลี้ยงทั้งอาหารแขก อาหารไทย และอาหารจีน สำหรับอาหารแขก เมนูเนื้อแพะผัดน้ำมันเนยคงใส่เครื่องเทศเพื่อปรุงรสและกลิ่น ในความเชื่อของมุสลิม เนื้อแพะเป็นบารอกัต (เสริมสร้างผลดีให้คนกิน) โดยเฉพาะในงานมงคล งานไหนมีอาหารจากเนื้อแพะ แสดงถึงฐานะของผู้จัดงานได้อย่างดี

https://www.facebook.com/kruadotco/photos/a.457295810951133/2439264996087528/?type=3

เนื้อแพะบนแผงในตลาดที่พม่า หัวกะโหลกยืนยันว่าเป็นแพะแน่นอน  ยิงฟันยิ้ม




บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 18 เม.ย. 20, 20:23

เนื้อแพะ อร่อยนะครับ   ผมเห็นว่ามันมีกลิ่นสาบเนื้อพอๆกับสาบเนื้อแกะอ่อนวัย (lamb) ไม่มีกลิ่นแรงเหมือนกับเนื้อแกะสูงวัย (mutton)  อย่างไรก็ตาม เท่าที่ได้เคยกินมา อาหารจากเนื้อแพะจะมีการใช้เครื่องเทศเสมอ แต่หากเป็นแพะย่างหรือหันทั้งตัว ก็อาจจะใช้เพียงน้ำมัน ผสมเกลือ พริกไทย และกระเทียม ทาและพักไว้ก่อนย่างก็พอได้อยู่  ผมไม่เคยทำอาหารจากเนื้อแพะด้วยตนเอง  แพะหันนี้ได้กินเมื่อครั้งยังสนุกสนานกับวงสนทนายามเย็นในวัยการทำงาน

แพะตุ๋นยาจีนยังพอจะหากินได้ในภัตตาคารอาหารจีนบางแห่ง ข้าวหมกแพะก็เช่นกัน    มีอยู่เจ้าหนึ่งในเมืองเชียงราย เป็นคนไทยเชื้อสายปากีสถาน ขายข้าวหมกไก่ หมกแพะ เนื้ออบน้ำมัน ฯลฯ  ที่น่าสนใจก็คือ เนื้ออบน้ำมัน ซึ่งโดยนัยแล้วก็น่าจะเป็นอาหารในลักษณะเดียวกันกับ เนื้อแพะผัดน้ำมัน    ก็อาจจะพอสื่อได้ว่าเป็นอาหารของพวกแขกขาว ซึ่งเราน่าจะรับมาจากอิหร่านตั้งแต่สมัยศรีอยุธยา  

สูตรอาหารหลายๆสูตรที่ใช้เครื่องเทศในปัจจุบันจึงน่าจะยังพอสืบหาต้นตอได้จากอาหารพื้นบ้านของชุมชนในพื้นที่เก่าๆของ จ.พระนครศรีอยุธยา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 18 เม.ย. 20, 20:53

แพะอบน้ำมันเนย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 18 เม.ย. 20, 21:10

แกงมัสมั่น ทุกวันนี้ยังหาได้อยู่ค่ะ   จึงไม่ต้องอธิบายมาก
ที่เห็นบ่อยคือมัสมั่นไก่   


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 18 เม.ย. 20, 21:11

แต่มัสมั่นเนื้อก็ยังพอหาได้เหมือนกัน    สมัยโบราณเมื่อคนไทยยังกินเนื้อวัวอยู่  มัสมั่นเนื้อเป็นของอร่อยพอๆกับแกงเผ็ดเนื้อ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 18 เม.ย. 20, 21:14

ข้าวบุหรี่เป็นชื่อแปลกหูคนไทยปัจจุบัน  แต่ถ้าเรียกว่า "ข้าวหมก..." ก็ร้องอ๋อกัน    ทุกวันนี้ที่หาได้ง่ายคือข้าวหมกไก่ เป็นอาหารขึ้นชื่อของร้านอาหารมุสลิม 


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 18 เม.ย. 20, 21:20

นอกจากไก่  เนื้อก็นำมาประกอบได้อร่อยเหมือนกันค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 18 เม.ย. 20, 21:21

ใครเคยรับประทานข้าวหมกแพะบ้างคะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 18 เม.ย. 20, 22:23

แกงมัสมั่นถือเป็นอาหารพิเศษของชาวมุสลิมโดยเฉพาะในงานบุญ เป็นแกงเข้ากะทิ ใส่เครื่องเทศ
มากมายหลายอย่าง ปัจจุบันนี้กลายเป็น อาหารไทยที่ชาวต่างชาตินิยมเป็นอันดับหนึ่งไปแล้วมัสมั่น อาจมีที่มาจากคำว่า Mussulman ซึ่งแปลว่ามุสลิม คือผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม

ส่วนข้าวบุหรี่ อาจได้มาจากคำภาษาเปอร์เซียว่า "kabuli" ซึ่งมาจากชื่อ Kabul เมืองหลวงของประเทศอัฟกานิสถาน เป็นอาหารประเภทข้าวหมก น่าจะเข้ามาตั้งแต่สมัยอยุธยา คุณหลวงเล็กวิสัชนาว่า

ผมเคยได้ยินมาอีกทางหนึ่งว่า  ข้าวหมกไก่ (หรือหมกเนื้อสัตว์อื่น ๆ) ซึ่งสมัยก่อนเราเรียกว่า  ข้าวบุหรี่  นั้น  มาจากคำว่า  กาบูลี  หมายถึง  ข้าวหุงปรุงอย่างเทศสูตรชาวเมืองกาบูล  หรือ คาบูล ถูกผิดอย่างไรไม่ทราบ  แต่เคยเห็นเอกสารไทยเก่าๆ เรียกว่า  
ข้าวกาบุหรี่ ด้วยเหมือนกัน  แต่จำไม่ได้ว่าอ่านมาแต่ไหน  อิเหนา รัชกาลที่ ๒ ?

อินเดียรับวัฒนธรรมการปรุงข้าวหมกไปจากเปอร์เซีย ได้พัฒนาเป็นข้าวบิรยานี (Biryani)

บิรยานี (biryani) หรือที่เราเรียกว่า ข้าวหมก เป็นอาหารที่ทำจากข้าวผสมเครื่องเทศ มีกำเนิดในประเทศอิหร่าน (เปอร์เชีย) ซึ่งคำว่า “บิรยานี (biryani)” มาจากภาษาเปอร์เชีย ที่หมายถึง ทอด หรือ ย่าง นำเข้าสู่อินเดียโดยนักเดินทางและพ่อค้าชาวมุสลิม และกลายเป็นอาหารยอดนิยมของเอเชียใต้ ในแหลมอารเบีย รวมทั้งชุมชนชาวเอเชียใต้ในประเทศตะวันตกต่างๆ ที่มีความหลากหลายแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น

ข้าวหมกที่ใส่ผงขมิ้น สีเหลืองสุก กินกับเนื้อสัตว์อบ คนไทยเรียก ข้าวคอบูรี หรือ ข้าวบุหรี่ ในปัจจุบันข้าวหมกที่คนไทยรู้จักดีที่สุดคือ ข้าวหมกไก่ ซึ่ง ตรงกับข้าวหมกประเภทบิรยานีของอินเดีย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 19 เม.ย. 20, 07:05

แกงมัสมั่น กับ ข้าวบุหรี่ สองเมนูนี้เรียกได้ว่าคู่กันมานานเป็นร้อยปี เพราะบันทึกไว้ใน พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี ได้กล่าวถึงการทำบุญเลี้ยงพระฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดารามในสมัยรัชกาลที่ ๑ ว่ามีการจัดทำสำรับอาหารถวายพระทั้งอาหารไทยและเทศ ซึ่งแกงมัสมั่นและข้าวบุหรี่เป็นหนึ่งในเมนูถวายพระครั้งนั้นด้วย

ซึ่งตรงกับหลักฐานในพงศาวดารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ฉลองพระที่นั่งสวนขวาและได้พระราชทานฉัน ซึ่งมีเมนูแกงมัสมั่นและข้าวบุหรี่รวมอยู่ในสำรับนั้น เช่นกัน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์เรื่องราวดังกล่าวไว้ในพระราชนิพนธ์ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ว่า

บัดนั้น
สังฆการีแจ้งความตามรับสั่ง
นิมนต์สวดพิธีที่ในวัง
สิ้นทั้งคณะพระสิทธา
อันสำรับกับข้าวของฉัน
มัดสะมั่นเข้าบุหรี่มีหนักหนา
ไก่พะแนงแกงต้มยำน้ำยา
สังขยาฝอยทองของชอบใจ


เครื่องเทศที่โขลกลงในน้ำพริกแกงมัสมั่นบางชนิดเหมือนกับเครื่องเทศที่ใส่ลงในข้าวบุหรี่  จึงทำให้กินแล้วมีกลิ่นหอมไปในทิศทางเดียวกัน กลิ่นรสของอาหารไม่ขัดกัน แถมรสชาติเปรี้ยวหวานเค็มของแกงมัสมั่นยังเข้ากันดีกับรสเค็มมันของข้าวบุหรี่อีกด้วย

ภาพและเรื่องจาก https://goodlifeupdate.com/healthy-food/92495.html


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 19 เม.ย. 20, 09:04

อ้างจาก: siamese ที่  22 มี.ค. 11, 16:42

บิรยานี (biryani) หรือที่เราเรียกว่า ข้าวหมก เป็นอาหารที่ทำจากข้าวผสมเครื่องเทศ มีกำเนิดในประเทศอิหร่าน (เปอร์เชีย) ซึ่งคำว่า “บิรยานี (biryani)” มาจากภาษาเปอร์เชีย ที่หมายถึง ทอด หรือ ย่าง นำเข้าสู่อินเดียโดยนักเดินทางและพ่อค้าชาวมุสลิม และกลายเป็นอาหารยอดนิยมของเอเชียใต้ ในแหลมอารเบีย รวมทั้งชุมชนชาวเอเชียใต้ในประเทศตะวันตกต่างๆ ที่มีความหลากหลายแตกต่างกันตามแต่ละท้องถิ่น


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 12
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 19 คำสั่ง