เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 3440 สอบเรื่องการสืบราชสกุลครับ
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 01 พ.ค. 20, 10:27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1283/2522

โจทก์ – หม่อมหลวง ธ. (นามสกุลราชสกุล) ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของ
โจทก์ – เด็กหญิง น. (นามสกุลสามัญ)
โจทก์ – และเด็กหญิง ศ. (นามสกุลสามัญ)
โจทก์ – โดยนายบ. ผู้รับมอบอำนาจ
จำเลย - กรุงเทพมหานคร ฯ กับพวก

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 1561
ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ม. 3
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม. 142 (5), 182, 183

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1561 ซึ่งให้ใช้บังคับโดยพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 นั้น เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่บุตร กล่าวคือให้บุตร มีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดา และในกรณีที่ไม่ปรากฏว่าใครเป็นบิดา บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของมารดาได้ มิได้บังคับว่าบุตรจะต้องใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดา  เมื่อกฎหมายมิได้บังคับไว้ บุตรก็ชอบที่จะใช้ชื่อสกุลอื่นได้ แม้จะปรากฏว่ามีบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ก็ตาม การที่ ศ. ผู้เป็นบิดาและโจทก์ผู้เป็นมารดายินยอมพร้อมใจกันให้บุตรใช้ชื่อสกุลของมารดา หาเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1561 วรรค 2 ไม่

เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจสืบพยาน สละประเด็นข้ออื่นทั้งสิ้น ขอให้ศาลวินิจฉัยเพียงประเด็นเดียวว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้วพ.ศ.2519 มาตรา 1561 บุตรจะใช้ชื่อสกุลของมารดาได้หรือไม่ เมื่อบิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมายยินยอมให้ใช้ชื่อสกุลของมารดาเช่นนี้  จึงไม่มีปัญหาข้อเท็จจริงที่ว่าบุตรไม่ต้องการใช้ชื่อสกุลของบิดา หรือต้องการใช้ชื่อสกุลของมารดาหรือไม่ อันจะนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์  ไม่ชอบที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยและอ้างเป็นเหตุยกฟ้อง

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลและเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหัวหน้าที่ว่าการเขตพระโขนง โจทก์ได้จดทะเบียนสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายกับนาย ภ. มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ เด็กหญิง น. กับเด็กหญิง ศ. ต่อมาเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2518 โจทก์และนาย ภ.ได้ตกลงหย่ากันโดยความสมัครใจ โดยโจทก์เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูและใช้อำนาจปกครองบุตรทั้งสอง ต่อมาโจทก์และนาย ภ.ได้ตกลงกันเปลี่ยนชื่อสกุลบุตรทั้งสองโดยเปลี่ยนจาก(นามสกุลสามัญ) เป็น (ราชสกุลของมารดา พ่วงด้วย ณ อบุธยา) ตามชื่อสกุลโจทก์ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2520 โจทก์และนาย ภ. ได้ร่วมกันยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 2 ขอแก้ไขรายการในทะเบียนบ้านโดยขอเปลี่ยนชื่อสกุล(นามสกุลสามัญ) เป็น (ราชสกุลของมารดา พ่วงด้วย ณ อบุธยา) จำเลยที่ 2 ไม่ยอมจัดการดำเนินการให้โดยอ้างว่าเป็นกรณีต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1561 วรรคสอง ไม่อาจเปลี่ยนชื่อสกุลบุตรทั้งสองให้ได้ โจทก์และนาย ภ. ชี้แจงแล้ว จำเลยที่ 2 ก็ไม่ยอมจัดการแก้ไขให้ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกัน และแทนกันจดทะเบียนแก้ไขรายการในทะเบียนบ้านรายการในช่องชื่อสกุล จาก เด็กหญิง น.และเด็กหญิง ศ. (นามสกุลบิดา) เป็นเด็กหญิง น.และเด็กหญิง ศ. (ราชสกุลของมารดา พ่วงด้วย ณ อบุธยา) หากจำเลยทั้งสองไม่ยอมจัดการให้ ให้ศาลมีคำสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสอง

จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์ไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิง น.และเด็กหญิง ศ. ไม่มีอำนาจฟ้อง ภายหลังการจดทะเบียนหย่าขาดจากกัน โจทก์และนาย ภ. มิได้ตกลงกันให้โจทก์เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูและใช้อำนาจปกครองเด็กหญิงทั้งสอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เปลี่ยนชื่อสกุลของเด็กหญิงทั้งสองนั้น และไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 2 ไม่ยอมเปลี่ยนชื่อสกุลเพราะเห็นว่าไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1561 วรรคสอง การวินิจฉัยของจำเลยที่ 2 ชอบด้วยเหตุผลทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย

ต่อมาทนายจำเลยทั้งสองแถลงรับว่า โจทก์ได้จดทะเบียนหย่ากับนาย ภ. และได้ทำหนังสือตกลงให้โจทก์เป็นผู้อุปการะและใช้อำนาจปกครองเด็กหญิง น. และเด็กหญิง ศ.จริง มีอำนาจฟ้อง และทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจสืบพยาน สละประเด็นข้อนี้ทั้งสิ้น  ขอให้ศาลวินิจฉัยเพียงประเด็นเดียวว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว พ.ศ. 2519 มาตรา 1561 บุตรจะใช้นามสกุลของมารดาได้หรือไม่ แม้บิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมายยินยอมให้ใช้นามสกุลของมารดา

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันและแทนกัน แก้ทะเบียนบ้านในรายการชื่อสกุลของ เด็กหญิง น.และเด็กหญิง ศ. จาก(นามสกุลบิดา) เป็น (ราชสกุลของมารดา พ่วงด้วย ณ อบุธยา) ตามที่โจทก์ยื่นคำร้องไว้

จำเลยทั้งสองฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มาตรา 1561 ซึ่งให้ใช้บังคับโดยพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มีความว่า "บุตรมีสิทธิ - ใช้ชื่อสกุลของบิดา" (วรรคหนึ่ง) "  ในกรณีที่บิดาไม่ปรากฏ บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของมารดา " (วรรคสอง)” เห็นได้ว่ามาตรานี้เป็นบทบัญญัติให้สิทธิแก่บุตร กล่าวคือให้บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดา และในกรณีที่ไม่ปรากฏว่าใครเป็นบิดา บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของมารดาได้ มิได้บังคับว่าบุตรจะต้องใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดา เมื่อกฎหมายมิได้บังคับไว้ บุตรก็ชอบที่จะใช้ชื่อสกุลอื่นได้แม้จะปรากฏว่ามีบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ก็ตาม การที่นาย ภ. ผู้เป็นบิดาและโจทก์ผู้เป็นมารดายินยอมพร้อมใจกันให้บุตรทั้งสองใช้ชื่อสกุลของมารดา หาเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1561 วรรคสองไม่

ข้อต่อมาจำเลยฎีกาว่า ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าบุตรมีความประสงค์จะไม่ใช้นามสกุลของบิดา หรือต้องการใช้นามสกุลของมารดา โจทก์กระทำไปโดยไม่มีอำนาจ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

ข้อที่จำเลยยกขึ้นฎีกานี้ จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้  ศาลชั้นต้นยกขึ้นวินิจฉัยโดยเห็นว่าเป็นปัญหาเรื่องอำนาจอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน  ซึ่งศาลอุทธรณ์เห็นว่าไม่สมควรที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัย จำเลยจึงได้ฎีกาขึ้นมา

ศาลฎีกาเห็นว่าคู่ความทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจสืบพยาน สละประเด็นข้ออื่นทั้งสิ้น  ขอให้ศาลวินิจฉัยเพียงประเด็นเดียวดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่มีปัญหาข้อเท็จจริงที่ว่าบุตรทั้งสองไม่ต้องการใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือต้องการใช้ชื่อสกุลของมารดาหรือไม่ อันจะนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้อง ไม่ชอบที่ศาลชั้นต้นจะยกขึ้นวินิจฉัย และอ้างเป็นเหตุยกฟ้อง

พิพากษายืน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 01 พ.ค. 20, 10:37

คดีจึงจบลง เป็นอันว่าในตอนนั้นเขตพระโขนงได้จดทะเบียนให้ เด็กหญิง น.และเด็กหญิง ศ. เปลียนจาก(นามสกุลบิดา) เป็น(ราชสกุลของมารดา พ่วงด้วย ณ อบุธยา) ตามคำพิพากษาดังกล่าว

แต่ความตลกอยู่ที่ว่า คู่คดีไม่ได้ต่อสู้กันเรื่องสิทธิ์  ว่าบุตรจะมีสิทธิ์ใช้ ณ อยุธยาพ่วงท้ายราชสกุลของมารดาหรือไม่
 
กล่าวคือ เมื่อคุณหม่อมหลวงหญิงผู้นั้นไปขอเปลี่ยนนามสกุลให้บุตรทั้งสอง โดยเขียนชื่อนามสกุลที่ต้องการจะเปลี่ยนลงไปในคำร้อง อาจจะเพราะเป็นนักเรียนนอกและใช้ชีวิตอยู่เมืองนอกตลอด จึงไม่ทราบข้อห้าม แล้วใส่นามสกุลของบุตร เป็นราชสกุล ที่พ่วงท้ายด้วย ณ อยุธยา

เขตไม่ทำให้ แต่ด้วยเหตุผลว่า บุตรจะใช้นามสกุลของมารดาไม่ได้  แม้บิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมายยินยอมให้ใช้นามสกุลของมารดาก็ตาม

เธอจึงฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษา ยกฟ้องโจทก์

เธออุทธรณ์  ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้เขตเปลี่ยนชื่อและนามสกุลของเด็กให้ตามที่เธอขอ

จำเลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า กฏหมายให้สิทธิแก่บุตร กล่าวคือให้บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดา และในกรณีที่ไม่ปรากฏว่าใครเป็นบิดา บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของมารดาได้  แต่มิได้บังคับว่าบุตรจะต้องใช้ชื่อสกุลของบิดาหรือมารดา เมื่อกฎหมายมิได้บังคับไว้ บุตรก็ชอบที่จะใช้ชื่อสกุลอื่นได้  แม้จะปรากฏว่ามีบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ก็ตาม

พิพากษายืน
.

และยังตลกต่อไปอีกว่า คำพิพากษาศาลฎีกานี้ มีผู้นำไปอ้างต่อเขต แล้วเขตยอมเปลี่ยนให้ ได้ ณ อยุธยามาพ่วงท้ายหลายคน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 01 พ.ค. 20, 10:43

ผมใช้อินทรเนตรตรวจสอบสถานภาพปัจจุบันพบว่า ผู้ที่ใช้นามสกุลของมารดาแล้วเคยมี ณ อยุธยาพ่วงท้ายนั้น  บัดนี้ พวกที่ไม่ได้เปลี่ยนนามสกุลไปตามสามี  หรือเปลี่ยนแล้วเปลี่ยนกลับ จะไม่ปรากฏ ณ อยุธยาพ่วงท้ายเช่นที่เคยแล้ว โดยไม่ทราบสาเหตุ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 01 พ.ค. 20, 13:46

ขอบคุณค่ะ  อ่านแล้วก็มึนพอใช้
ถ้าไม่ได้คุณ NAVARAT.C  อธิบายไว้ตอนต้นเรื่องก็คงยังมึนไปอีกนาน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 02 พ.ค. 20, 15:07

เป็นได้ว่า ทางอำเภอต่างๆได้รับคำชี้แจงอย่างเป็นทางการแล้ว ถึงระเบียบการใช้ ณ อยุธยาต่อท้ายนามสกุล
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.09 วินาที กับ 19 คำสั่ง