เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 5288 ขออนุญาตเรียนถามถึงเรื่องกฏเกณฑ์การตั้งชื่อของคนในราชวงศ์ ชนชั้นสูง อื่นๆ ค่ะ
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 14 มี.ค. 20, 10:41

ชื่อบุตรธิดาของพระยาศรีสรราชภักดีจึงมีนามคล้องจองกันดังนี้

พงษ์สุริยันต์-พันธุ์สุริยา-พิณเทพเฉลิม-เพิ่มเสน่หา-พุ่มมะลิร่วง-พวงมะลิลา-เพิ่มสมบัติมูล-พูนสมบัติมา-พียศมูล-พูนยศมา-พลอยพรรณราย-พรายพรรณา

อีกเวอร์ชั่นหนึ่ง

สาส์นสมเด็จ ฉบับลงวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทูล สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

https://vajirayana.org/สาส์นสมเด็จ-พุทธศักราช-๒๔๘๔/สิงหาคม/วันที่-๑๐-สิงหาคม-พศ-๒๔๘๕-ดร



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 14 มี.ค. 20, 11:22

การนำส่วนหนึ่งของชื่อบิดามารดามาเป็นชื่อบุตร

เจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ สมรสกับเจ้าศิริประกาย ณ เชียงใหม่    มีบุตรธิดา 3 ท่านคือ
เจ้าพงษ์กาวิล
เจ้าศิริกาวิล
เจ้ากอแก้ว ประกายกาวิล   (เดิมชื่อประกายกาวิล)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 14 มี.ค. 20, 11:33

  เจ้านายที่ประสูติจากเจ้าจอมมารดาเดียวกัน ได้รับพระราชทานพระนามคล้องจองกัน มีอยู่หลายพระองค์ในรัชกาลที่ 5
  - พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ์ พระองค์เจ้าสุวพักตร์วิไลยพรรณ และพระองค์เจ้าบัณฑรวรรณวโรภาษ ประสูติจากเจ้าจอมมารดาแพ (เจ้าคุณพระประยุรวงศ์)
  - พระราชธิดาแฝดที่ประสูติจากเจ้าจอมมารดาพร้อม  ทรงพระนามว่า พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลยและพระองค์เจ้าประไพพรรณพิลาส
  - พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท และพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์   ต่อมาคือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ประสูติจากเจ้าจอมมารดาม.ร.ว.เนื่อง

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 14 มี.ค. 20, 15:31

การตั้ง พระนาม/พระนามทรงกรม/ราชทินนาม/นาม สำหรับ เจ้านาย/ขุนนาง/คหบดี มีความนิยมอยู่เรื่องหนึ่งคือความคล้องจองกัน ดังตัวอย่าง

ชั้นพระองค์เจ้า

.......................................
กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา
....................................

เรื่องนี้มีที่มา สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเล่าไว้ในนิทานโบราณคดีดังนี้

มีเรื่องเนื่องกับพระประวัติของพระองค์ศรีฯ อยู่เรื่องหนึ่ง ในเวลานี้ดูเหมือนจะรู้อยู่แต่ตัวฉันคนเดียว ด้วยเป็นเรื่องเนื่องในเรื่องประวัติของฉันด้วย จะเขียนลงไว้มิให้สูญไปเสีย ประเพณีแต่ก่อนเมื่อพระเจ้าอยู่หัวจะทรงตั้งเจ้านายพระองค์ใดให้เป็นกรม อาลักษณ์เป็นพนักงานคิดนามกรม เมื่อครั้งตัวฉันจะรับกรม พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจาริยางกูร) เห็นว่าฉันรับราชการทหาร จึงคิดนามกรมว่า กรมหมื่นจตุรงครังสฤษฏ์ นามหนึ่ง ว่า กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ นามหนึ่ง ถวายทรงเลือก สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงโปรดนามหลัง แต่ทรงปรารภถึงคำ “ภาพ” ที่ลงท้าย ว่าเมื่อถึงนามกรมของพระองค์ศรีฯ ซึ่งเป็นเจ้าน้องต่อตัวฉัน จะหาคำรับสัมผัสให้คล้องกันได้ยาก พระยาศรีสุนทรฯ กราบทูลรับประกันว่าจะหาให้ได้ จึงทรงรับฉันเป็นกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ พระยาศรีสุนทรฯ กราบทูลรับแล้วไม่นอนใจ คิดนามกรมสำหรับพระองค์ศรีฯ ขึ้นสำรองไว้ว่า “กรมหมื่นศุภกาพย์กวีการ” เพราะเธอทรงชำนิชำนาญการบทกลอนภาษาไทย แต่ลักษณะพิธีรับกรมในสมัยนั้น พระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปพระราชทานพระสุพรรณบัฏที่วังเจ้านาย คือต้องสร้างวังก่อนแล้วจึงรับกรม พระองค์ศรีฯ ด่วนสิ้นพระชนม์เสียแต่ยังไม่ได้สร้างวัง จึงมิได้เป็นกรม นามกรมที่พระยาศรีสุนทรโวหารคิดไว้ก็เลยสูญ เมื่อโปรดให้พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต เจ้าน้องถัดพระองค์ศรีฯ ไป รับกรม พระยาศรีสุนทรโวหารคิดพระนามใหม่ว่า “กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา” ก็สัมผัสคำ “ภาพ” ได้ไม่ขัดข้อง

https://vajirayana.org/นิทานโบราณคดี/นิทานที่-๑๒-เรื่องตั้งโรงพยาบาล

พระองค์ศรีฯ ในที่นี้คือ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 14 มี.ค. 20, 16:23

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีพระนามเมื่อประสูติว่า พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร  (อ่านว่าดิด-วอ-ระ-กุ-มาน  ไม่ใช่  ดิ-สวน-กุ-มาร)
พระโอรสจึงมีคำว่า ดิศ อยู่ในพระนาม หลายพระองค์ด้วยกัน ทุกองค์ดำรงฐานันดรศักดิ์เป็นหม่อมเจ้า

จุลดิศ   ดิศศานุวัติ นิพัทธ์พันธุ์ดิศ  พิสิษฐดิศพงศ์    ศุกรวรรณดิศ    กาฬวรรณดิศ  วีรดิศ  อาชวดิศ   พิริยดิศ   สุภัทรดิศ  กุมารดิศ

นอกจากนี้ หลายองค์ทรงมีพระนามคล้องจองกัน
จุลดิศ  อิทธิดำรง  ทรงวุฒิภาพ    รัชลาภจิรธิษฐ   ดิศศานุวัติ นิพัทธ์พันธุ์ดิศ   พิสิษฐดิศพงศ์ 
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 14 มี.ค. 20, 19:43

ก่อนอื่นต้องขออภัยด้วยค่ะที่เข้ามาขอบคุณช้า ขอขอบพระคุณท่านๆที่เข้ามาตอบ อธิบายเรื่องการตั้งชื่อให้ฟังมากๆค่ะ

และอนุญาตขอตอบคำถามของคุณเทาชมพูที่ถามไว้นะคะ

1   ไม่มีกฎหมาย ข้อบังคับ กฎเกณฑ์ใดๆ ในสังคมไทยที่กำหนดการตั้ง"ชื่อปัจเจกบุคคล"ที่คุณยกตัวอย่างถึง ว่าจะต้องใช้เกณฑ์อะไรหรือภาษาแบบไหนอย่างไร   เป็นสิทธิของผู้ตั้งแต่ละคน

- ถ้าเป็นเรื่องของภาษาดิฉันไม่ได้คิดว่าต้องมีกฏบังคับให้ตั้งชื่อได้แต่ภาษาบาลีและสันสกฤตค่ะ เพียงแต่เห็นว่าเป็นกลุ่มภาษาที่คนไทยเอามาตั้งเป็นชื่อจริงมากที่สุดและชื่อชาติอื่นก็ดูเหมือนไม่ยาวเท่านี้เลยยกมาถามค่ะ

2  ราชทินนามขุนนางเป็นคนละเรื่องกับชื่อของปัจเจกบุคคล  ราชทินนามมีไว้เพื่อบอกถึงหน้าที่การงานและสังกัดของขุนนาง   ไม่ใช่ชื่อตัว   
เช่นออกญาไกรเพชรรัตนสงครามรามภักดีพิรียภาหะ " เป็นราชทินนามประจำตัวของขุนนางที่มารับตำแหน่งเจ้าเมืองนครสวรรค์   ถ้าคนเดิมตายไปหรือเลื่อนตำแหน่งไปรับหน้าที่อื่น  เจ้าเมืองคนใหม่ของนครสวรรค์ก็เป็นออกญาไกรเพชรรัตน แทน

ดังนั้นในประวัติศาสตร์ไทย จึงมีราชทินนามซ้ำกันหลายคนในยุคต่างๆ จึงต้องวงเล็บชื่อเอาไว้ตอนท้ายให้รู้ว่าหมายถึงใคร

-เรื่องราชทินนามก่อนอื่นต้องขอขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ เหตุผลที่ยกมาดิฉันแต่เห็นว่าราชทินนามเป็นภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีมากกว่า 3 คำขึ้นไปเหมือนชื่อคนทั่วไปเลยหยิบมาถามด้วยค่ะจะได้ครอบคลุมเรื่องชื่อต่างๆที่ใช้ภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีมากกว่า 3 คำขึ้นไป
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 14 มี.ค. 20, 20:03

พอได้อ่านที่ท่ายๆยกมาตอบแล้วทำให้ที่ดิฉันมีสงสัยมีอยู่อีก 2 เรื่องค่ะคงต้องขอคำแนะนำด้วย

1 เรื่องกฏการแปลภาษาจากคำหลังไปคำหน้าของภาษาบาลีและสันสกฤตมีผลต่อการตั้งชื่อในสังคมไทยไหมคะ เคยมีการตั้งชื่อเพื่อให้คนแปลจากคำหลังมาก่อนไหม

2 อันนี้ต้องขออภัยไว้ก่อนถ้าไม่ควรนะคะ จากที่ดิฉันยกตัวอย่างมา เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ พิมลรัตนวดี

-การเรียงคำ ศิรา+ภรณ์+โสภณ +พิมล+รัตน+วดี ไม่มีกฏอะไรที่ทำให้เรียงแบบนี้ขึ้นอยู่กับขึ้นอยู่กับผู้ตั้งว่าจะเรียงคำแบบไหนก็ได้ไม่มีกฏการเรียงคำ และถ้ามีการเรียงสลับคำว่า  โสภณ+ศิรา+ภรณ์ +รัตน+พิมล+วดี ก็สามารถทำได้ผิดกฏอะไรถูกไหมคะ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 14 มี.ค. 20, 20:08

   ดิฉันเดาจากคำตอบของคุณดาวกระจ่าง  ว่าคุณคงแปลกใจว่า เหตุใดจึงมีชื่อบาลีสันสกฤตอยู่ในชื่อยาวๆของคนไทยและราชทินนามขุนนาง     การตั้งชื่อเหล่านี้เกิดจากอะไร
   ก่อนอื่นขออธิบายว่า ภาษาไทยดั้งเดิม เป็นคำโดด คือคำเดี่ยวๆเสียเป็นส่วนใหญ่    เช่น พ่อ แม่  พี่  ต่อมาเมื่อพุทธศาสนาเข้ามาในดินแดนแหลมทอง   ภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนพระไตรปิฎกก็เข้ามาเสริมให้คำในภาษาไทยมีมากขึ้น     ส่วนสันสกฤตนั้นมากับพราหมณ์  ในศาสนาฮินดูซึ่งอ้อมมาทางเขมรอีกทีหนึ่ง  
   ดังนั้นในสมัยอยุธยา จึงมีทั้งบาลีและสันสกฤตเข้ามาใช้ในศาสนาและวรรณคดี แล้วก็มาเป็นชื่อเสียงเรียงนามต่างๆ เช่นพระนาม "รามาธิบดี"ของกษัตริย์อยุธยาหลายพระองค์ด้วยกัน  
   ภาษาเหล่านี้ถือเป็นภาษาของชนชั้นสูง    ใช้ประกอบชื่อและราชทินนามขุนนาง  ซึ่งต้องการความสละสลวยและความหมายที่ซับซ้อนกว่าคำโดดในภาษาไทยดั้งเดิมจะเอื้อให้ได้     ค่านิยมเหล่านี้ก็สืบทอดมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์
   พระนามเดิมของเจ้านายในสมัยรัตนโกสินทร์เป็นคำโดด   พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ ทรงมีพระนามเดิมว่า "ฉิม"  สมเด็จพระนั่งเกล้าฯทรงมีพระนามเดิมว่า "ทับ" แต่เมื่อทรงกรม  ภาษาก็จะเป็นพิธีรีตองขึ้น ต้องอาศัยภาษาบาลีสันสกฤตเข้ามาประกอบ  
   ส่วนประชาชนสามัญนั้น ก็ใช้ชื่อเป็นภาษาไทยคำโดดเสียเป็นส่วนใหญ่  ขอยกตัวอย่างชื่อตัวละครใน "สี่แผ่นดิน"  แม่พลอย พ่อเพิ่ม คุณอุ่น คุณเชย  คุณชิด ล้วนมีชื่อเป็นภาษาไทย คำโดด    สมัยนั้นไม่นิยมชื่อยาวๆเพราะถือว่าทำเทียมเจ้านาย    
  แต่การถือกันแบบนี้ในรัชกาลที่หกดูจะหย่อนลงมาก   คนสมัยใหม่ในรัชกาลที่ 6 เริ่มนิยมตั้งชื่อลูก 2 พยางค์แทนพยางค์เดียว  หรือถ้าเป็นลูกขุนนางก็อาจจะชื่อยาวหรูหราได้โดยไม่มีใครว่า
  เช่นเจ้าพระยามหิธร(ลออ ไกรฤกษ์) ตั้งชื่อธิดาค่อนข้างยาวเมื่อเทียบกับชื่อคนไทยรุ่นก่อน

ดุษฎีมาลา
มัณฑนาภรณ์
วิจิตราภรณ์
ภูษณาภรณ์
นิภาภรณ์
ดารา
รัตนาภรณ์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 14 มี.ค. 20, 20:14

อ้างถึง
1 เรื่องกฏการแปลภาษาจากคำหลังไปคำหน้าของภาษาบาลีและสันสกฤตมีผลต่อการตั้งชื่อในสังคมไทยไหมคะ เคยมีการตั้งชื่อเพื่อให้คนแปลจากคำหลังมาก่อนไหม

ชื่อคน เป็นวิสามานยนาม  หมายความว่าเป็นชื่อเฉพาะตัว   ไม่ใช่ชื่อที่หมายถึงสิ่งของทั่วๆไป  เพราะฉะนั้นจะตั้งเพื่อแปลจากหลังมาหน้า หรือแปลจากหน้าไปหลัง ก็ทำได้ตามใจสมัครของผู้ตั้ง
เช่น พระนามของสมเด็จเจ้าฟ้า" มหาวชิรุณหิศ"  ก็เป็นการแปลจากหลังมาหน้า ค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 14 มี.ค. 20, 22:23

จากที่ดิฉันยกตัวอย่างมา เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ พิมลรัตนวดี

การเรียงคำ ศิรา+ภรณ์+โสภณ +พิมล+รัตน+วดี ไม่มีกฏอะไรที่ทำให้เรียงแบบนี้ขึ้นอยู่กับขึ้นอยู่กับผู้ตั้งว่าจะเรียงคำแบบไหนก็ได้ไม่มีกฏการเรียงคำ และถ้ามีการเรียงสลับคำว่า  โสภณ+ศิรา+ภรณ์ +รัตน+พิมล+วดี ก็สามารถทำได้ผิดกฏอะไรถูกไหมคะ

สิ่งที่ควรยึดถือเป็นหลักในการเรียงคำบาลีสันสกฤตคือ คำสนธิ และ คำสมาส

คำว่า '"ศิราภรณ์" เป็นคำสนธิ เกิดจาก ศิระ + อาภรณ์ เแปลว่า เครื่องประดับศีรษะ จะแยกเป็น ศิรา + ภรณ์ หรือ ภรณ์ + ศิรา อย่างนี้ไม่ได้

คำว่า "รัตนวดี" เป็นคำสมาส เกิดจาก รัตนะ + วดี แปลว่า มีแก้ว คำว่า วดี ต้องลงท้ายคำนาม เป็นเพศหญิงตามหลักไวยากรณ์ จะลงท้ายคำว่า พิมล เป็น พิมลวดี อย่างนี้ไม่ได้ เพราะ พิมล ซึ่งแปลว่า ปราศจากมลทิน, ผ่องใส เป็นคำวิเศษณ์
บันทึกการเข้า
ดาวกระจ่าง
มัจฉานุ
**
ตอบ: 89


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 16 มี.ค. 20, 13:40

ขอบคุณสำหรับคำอธิบายเรื่องคำโดดค่ะคุณเทาชมพู อันที่จริงกิฉันไม่ได้สงสัยเรื่องนั้นหรอกค่ะที่ดิฉันสงสัยเปฌป็นเรื่องกฏการตั้งชื่อน่ะค่ะอย่างที่ดิฉันได้ถามไปเรื่องต้องคิดถึงวิธีการอ่านด้วยไหม ดิฉันเห็นว่าภาษาบาลีและสันสกฤตเขาก็มีกฏ ไวยกรณ์ของเขาอยู่พอไทยนำมาใช้ในการตั้งชื่อไทยก็นำกฏ ไวยกรณ์ของภาษานั้นๆมาใช้ด้วยหรือไม่น่ะค่ะ ปล.เห็นคุณเทาชมพูพูดถึงการสมาส สนธิไว้ครั้งก่อนก็ประมาณเรื่องนั้นค่ะ ต้องขอโทษด้วยที่ไม่ได้ยกมาเดี๋ยวดิฉันจะไปศึกษาเพิ่มค่ะ

และขอบคุณคุณเพ็ญชมพูสำหรับคำอธิบายเรื่องการเรียงคำด้วยค่ะ เดี๋ยวดิฉันจะไปศึกษาเพิ่มค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 17 มี.ค. 20, 11:03

การเรียงคำในชื่อยาว ๆ และมีคำคล้องจองกัน เช่น พระนามทรงกรม/พระนาม/นาม สามารถสลับคำได้ (หากไม่มีการแยกคำอย่างผิดหลักไวยากรณ์เช่นในกรณี คำสมาส คำสนธิ) โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ถึงเปลี่ยนแปลงก็เล็กน้อย

…..............................
กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร
กรมหมื่นทิวากรวงศ์ประวัติ
กรมขุนสิริธัชสังกาศ
กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ
กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
....................................

พระนามทรงกรมข้างบนสามารถสลับคำได้ดังนี้

ราชศักดิ์สโมสร  
ทิวากรวงศ์ประวัติ
สิริธัชสังกาศ
สรรพสาตรศุภกิจ
สรรพสิทธิประสงค์
         ↓
ประสงค์สรรพสิทธิ
ศุภกิจสรรพสาตร
สังกาศสิริธัช
วงศ์ประวัติทิวากร
สโมสรราชศักดิ์

พระนามที่คุณดาวยกมาเป็นตัวอย่างก็อาจสลับคำได้ดังนี้

ศิราภรณ์โสภณ พิมลรัตนวดี → รัตนวดีพิมล โสภณศิราภรณ์

แม้แต่ชื่อก็อาจสลับคำได้ เช่น ดาวกระจ่าง → กระจ่างดาว, เพ็ญชมพู → ชมพูเพ็ญ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 19 มี.ค. 20, 10:50

การตั้งชื่อบุตรธิดาตามอักษรชื่อบิดา  

พระยาอิศราธิราชเสวี (เลื่อน บุนนาค ) สมรสกับคุณหญิงเอิบอาบ สกุลเดิม อรรถจินดา มีบุตรธิดา ๕ คน

ท่านตั้งชื่อบุตรด้วยอักษร ล. ตามชื่อของท่าน  และตัวอักษรซ้ำกันในพยางค์ ตามแบบชื่อของภรรยา
บุตรทั้งสี่คน ชื่อ ละล่อง ละลิ่ว ลิ่วละล่อง และล่องละลิ่ว
ธิดาชื่อ ลีลา (สมรสกับ พลเรือโทพรชัย เทพปัญญา)

บุตรที่เกิดจากภรรยาอื่น ได้แก่ ลอยเลื่อน และเลื่อนลอย   มีธิดาชื่อ ลลิดา และลินดา


นอกจากจะตั้งชื่อตามอักษรต้นของชื่อบิดาแล้ว ก็ยังใช้อักษรต้นของชื่อมารดาด้วย  ยิงฟันยิ้ม

นอกจากการตั้งชื่อให้คล้องจองแล้ว ยังใช้อักษรต้นชื่อของบิดามารดามาตั้งชื่อลูกด้วย อย่างเจ้านาย เช่น พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ และ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระนามขึ้นด้วย "อ" เพราะเจ้าจอมมารดาเป็นเจ้าจอมก๊กออ (เจ้าจอมมารดาอ่อน และน้องสาว เจ้าจอมเอี่ยม เอิบ อาบ เอื้อน)

เจ้าจอมก๊กออ เป็นธิดาของ เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) และท่านผู้หญิงอู่ (วงศาโรจน์) บุตร ธิดา ของท่านทั้งสอง ถ้าเป็นชาย จะใช้ "ท" (หรือ  "ถ" เนื่องจากเน้นการออกเสียงเป็นสำคัญ) ตามเจ้าคุณบิดา ส่วนธิดา จะขึ้นด้วย "อ" ตามคุณหญิงมารดา  ดังนี้

เทียน-เอม-เทียม-อ่อน-แถบ-อ่วน-เอี่ยม-อิ่ม-อบ-เถลิง-เอิบ-อาบ-อาย-เอื้อน

บางครั้ง ทั้งบุตรและธิดา อาจใช้อักษรต้น ตามบิดาทั้งหมด หรือ บุตรธิดาที่เกิดจากอนุภริยา อาจใช้ตามมารดาทั้งหมด ทั้งนี้ ไม่ใช่หลักตายตัว  บางครอบครัวก็ตั้งชื่อตามใจชอบ

ในเรื่องสี่แผ่นดิน คุณเปรม (ปร) แม่พลอย (พ)   นำอักษรต้นของชื่อทั้งสอง มาตั้งเป็นชื่อบุตรธิดา คือ

ปร นธ์
ปรพั นธ์
ปร จน์
ปร ะ ไ

โดยชื่อบุตรนั้น เอาพยางค์หลัง มาเปลี่ยนเป็น "อ" เพื่อตั้งเป็นชื่อเล่น คือ

พนธ์ - อ้น
พันธ์ - อั้น
พจน์ - อ๊อด

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 19 มี.ค. 20, 11:27

การใช้คำเพื่อให้รู้ว่าเป็นบุตรหรือเชื้อสายจากบิดาหรือมารดา   

เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ  ทรงมีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ    พระโอรสพระองค์เดียวจึงมีพระนามว่า "จุลจักรพงษ์" 
จุล แปลว่า น้อย  ตรงกับ Junior ในภาษาอังกฤษ


คุณหญิงพันธ์ุเครือ ยงใจยุทธ อดีตภรรยาของพลอ. ชวลิต ยงใจยุทธ  เป็นธิดาของหลวงนรอัฎบัญชา  กับภรรยาชื่อเครือวัลย์    จึงได้รับนามว่า " พันธ์ุเครือ"
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 19 มี.ค. 20, 12:18

พระนามพระโอรส ธิดาในพลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ต้นสกุล ทองใหญ่  ล้วนมีความหมายว่า "ทอง" ตามพระนามพระบิดา

หม่อมสุวรรณ

หม่อมเจ้าหญิงสุพรรณพิมพ์
หม่อมเจ้าหญิงประสบสุวรรณ

หม่อมพริ้ง

หม่อมเจ้าชายทองฑีฆายุ
หม่อมเจ้าชายทองอนุวัติ

หม่อมจันทร์

หม่อมเจ้าหญิงอุไรวรรณ
หม่อมเจ้าหญิงสอิ้งมาศ
หม่อมเจ้าหญิงมาลากนก
หม่อมเจ้าชายลายฉลุทอง
หม่อมเจ้าหญิงเถาทองตรา

หม่อมนวม

หม่อมเจ้าหญิงพันธ์สิหิงค์
หม่อมเจ้าหญิงนาฏนพคุณ
หม่อมเจ้าชายไศลทอง
หม่อมเจ้าหญิงลำทองแร่
หม่อมเจ้าหญิงแพร่ทองทราย
หม่อมเจ้าหญิงสลักทองนูน
หม่อมเจ้าชายทองทูลถวาย
หม่อมเจ้าชายทองประทาศรี
หม่อมเจ้าชายทองคำเปลว

หม่อมเปลี่ยน

หม่อมเจ้าทองมุ่นใหญ่
หม่อมเจ้าหญิงมาลกสุวรรณ
หม่อมเจ้าหญิงข่ายทองถัก

หม่อมทองสุก

หม่อมเจ้าหญิงก่องกาญจนา
หม่อมเจ้าหญิงกรัณฑ์คำ

หม่อมแก้ว

หม่อมเจ้าชายทองแกมแก้ว
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 20 คำสั่ง