เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 6262 ว่าด้วยคนจีนในเมืองไทยในรัชสมัยรัชกาลที่ ๕
ตรีเพชร
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


 เมื่อ 06 มี.ค. 20, 12:15

พอดีได้เห็นภาพของชาวจีนในสยามมาร่วมในการแห่พระราชพิธีตรียัมปวายในรัชกาลที่ ๕ ของคุณหนุ่มรัตนะ เลยคิดว่าอยากเชิญชวนสมาชิกทุกท่านมาร่วมกันเสวนาเกี่ยวกับคนจีนในเมืองไทยในเมืองไทยช่วงรัชกาลที่ ๕ ในเรื่องอะไรก็ได้ เพราะในรัชสมัยนี้ ถือว่าเป็นยุคที่ประวัติศาสตร์ของคนจีนในสยามมีความเข้มข้นหลากหลายมากที่สุด และเป็นยุคที่คนจีนในเมืองไทยเริ่มเข้าไปพัวพันกับการเมืองภายในของจีนอย่างจริงจังเป็นยุคแรก ขออนุญาตและขอเชิญทุกท่านได้เลยครับ โดยขอเริ่มประเด็นแรกที่คนจีนกลุ่มภาษาต่างๆก่อนเลยครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 06 มี.ค. 20, 13:20

อ้างถึง
เพราะในรัชสมัยนี้ ถือว่าเป็นยุคที่ประวัติศาสตร์ของคนจีนในสยามมีความเข้มข้นหลากหลายมากที่สุด และเป็นยุคที่คนจีนในเมืองไทยเริ่มเข้าไปพัวพันกับการเมืองภายในของจีนอย่างจริงจังเป็นยุคแรก

คุณตรีเพชรน่าจะประเดิมด้วยคำอธิบายสองเรื่องนี้หน่อยนะคะ
มันคืออะไรคะ
บันทึกการเข้า
ตรีเพชร
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 06 มี.ค. 20, 13:47

กล่าวคือในสมัยรัชกาลที่ ๕ นั้น เป็นยุคที่่ความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐของไทยกับจีนขาดลงจนเกือบสิ้นเชิง แต่กับภาคเอกชนนั้นยังมีการติดต่อกับคนจีนในประเทศจีนอย่างเหนียวแน่น และนำไปสู่การพยายามดึงคนจีนในสยามเข้าเป็นพวกพรรคของคนสองฝั่งคือฝั่งอนุรักษ์ราชวงศ์ชิง นำโดยราชสำนักชิงที่พยายามซื้อใจพ่อค้าจีนในสยามโดยการมอบตำแหน่งขุนนางให้ในกรณีบริจาคช่วยเหลือราชสำนักจีน และกลุ่มของคังโหย่วเหวย นักปราชญ์สายอนุรักษ์ และอีกฝั่งคือกลุ่มหัวสมัยใหม่นำโดยเซียวฮุดเส็ง ชาวจีนเปอรานากันเชื้อสายฮกเกี้ยนที่อยู่ในสยาม ผู้มีบทบาทมากในฐานะของผู้นำคณะก๊กหมิ่นตั๋งในสยาม และภายหลัง ยังได้แต้ตี่ย้งหรือยี่กอฮงมาร่วมด้วย ทำให้ก๊กมินตั๋งในสยามแข็งแกร่งขึ้น และแนวคิดของก๊กมินตั๋งในสยาม ( รัฐบาลเวลานั้นเรียก " เก๊กเหมง " ) กลายเป็นต้นของกบฎ ร.ศ.๑๓๐ ต่อมา ในขณะเดียวกัน ทางฝ่ายราชวงศ์ชิงก็ไม่ได้อยู่เฉย นอกจากการขายตำแหน่งขุนนางแล้ว ยังปรากฎมีการส่งผู้แทนรัฐบาลเข้ามาสยามในปีพุทธศักราช ๒๔๕๑ เพื่อเรียกเสียงนับสนุนจากคนจีนกลุ่มภาษาต่างๆในสยามครับ

นอกจากนั้นแล้ว หลายครั้งที่ชาวจีนในสยามเข้าไปพัวพันกับชาติตะวันตก ครั้งที่เรียกได้ว่ารุนแรงมากที่สุดคือการที่คนจีนในบังคับฝรั่งเศส ชื่อจีนตังเหยี่ยง ปลุกระดมและข่มขู่คนจีนในพระนครและหัวเมืองให้หยุดร้านไม่ค้าขายเพื่อต่อต้านการยกเลิกเงินผูกปี้มาเก็บค่ารัชชูปการตามธรรมเนียมในปีพุทธศักราช ๒๔๕๓ จนทำให้เศรษฐกิจในพระนครเป็นอัมพาตไปหลายวัน กว่ากระทรวงนครบาลจะระงับสถานการณ์ได้ พร้อมๆกับวิกฤตการณ์ข้าราชการกระทรวงยุติธรรมลาออกตามกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ครับ
บันทึกการเข้า
ตรีเพชร
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 06 มี.ค. 20, 13:54

ตอบท่านเจ้าเรือนนะครับ
กล่าวคือในสมัยรัชกาลที่ ๕ นั้น เป็นยุคที่่ความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐของไทยกับจีนขาดลงจนเกือบสิ้นเชิง แต่กับภาคเอกชนนั้นยังมีการติดต่อกับคนจีนในประเทศจีนอย่างเหนียวแน่น และนำไปสู่การพยายามดึงคนจีนในสยามเข้าเป็นพวกพรรคของคนสองฝั่งคือฝั่งอนุรักษ์ราชวงศ์ชิง นำโดยราชสำนักชิงที่พยายามซื้อใจพ่อค้าจีนในสยามโดยการมอบตำแหน่งขุนนางให้ในกรณีบริจาคช่วยเหลือราชสำนักจีน และกลุ่มของคังโหย่วเหวย นักปราชญ์สายอนุรักษ์ และอีกฝั่งคือกลุ่มหัวสมัยใหม่นำโดยเซียวฮุดเส็ง ชาวจีนเปอรานากันเชื้อสายฮกเกี้ยนที่อยู่ในสยาม ผู้มีบทบาทมากในฐานะของผู้นำคณะก๊กหมิ่นตั๋งในสยาม และภายหลัง ยังได้แต้ตี่ย้งหรือยี่กอฮงมาร่วมด้วย ทำให้ก๊กมินตั๋งในสยามแข็งแกร่งขึ้น และแนวคิดของก๊กมินตั๋งในสยาม ( รัฐบาลเวลานั้นเรียก " เก๊กเหมง " ) กลายเป็นต้นของกบฎ ร.ศ.๑๓๐ ต่อมา ในขณะเดียวกัน ทางฝ่ายราชวงศ์ชิงก็ไม่ได้อยู่เฉย นอกจากการขายตำแหน่งขุนนางแล้ว ยังปรากฎมีการส่งผู้แทนรัฐบาลเข้ามาสยามในปีพุทธศักราช ๒๔๕๑ เพื่อเรียกเสียงนับสนุนจากคนจีนกลุ่มภาษาต่างๆในสยามครับ

นอกจากนั้นแล้ว หลายครั้งที่ชาวจีนในสยามเข้าไปพัวพันกับชาติตะวันตก ครั้งที่เรียกได้ว่ารุนแรงมากที่สุดคือการที่คนจีนในบังคับฝรั่งเศส ชื่อจีนตังเหยี่ยง ปลุกระดมและข่มขู่คนจีนในพระนครและหัวเมืองให้หยุดร้านไม่ค้าขายเพื่อต่อต้านการยกเลิกเงินผูกปี้มาเก็บค่ารัชชูปการตามธรรมเนียมในปีพุทธศักราช ๒๔๕๓ จนทำให้เศรษฐกิจในพระนครเป็นอัมพาตไปหลายวัน กว่ากระทรวงนครบาลจะระงับสถานการณ์ได้ พร้อมๆกับวิกฤตการณ์ข้าราชการกระทรวงยุติธรรมลาออกตามกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 06 มี.ค. 20, 16:39

ดิฉันไม่มีความรู้เรื่องประวัติศาสตร์คนจีนในไทยช่วงนี้ค่ะ    เลยตอบไม่ได้
ขอบคุณที่เล่าให้ฟังค่ะ

สำหรับคนที่เข้ามาอ่าน

อ้างถึง
เซียวฮุดเส็ง ชาวจีนเปอรานากันเชื้อสายฮกเกี้ยน
เปอรานากัน = ลูกครึ่งพ่อจีน แม่มลายู    คนไทยแต่เดิมเรียกว่า บ้าบ๋า-ย่าหยา  คำแรกใช้เรียกเพศชาย  คำหลังสำหรับเพศหญิง

นายเซียวฮุดเส็ง มีนามสกุลไทยว่า "สีบุญเรือง"เป็นเจ้าของโรงพิมพ์ และบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ภาษาไทย/จีน ปลายรัชกาลที่5 ชื่อ  จีนโนสยามวารศัพท์ นสพ.จีนชื่อ ฮ่ำเสี่ยงซินป่อ และยังมีวารสารรายเดือน ชื่อ ผดุงวิทยา
เขาเขียนบทความสนับสนุนการปฏิวัติโค่นล้มบังลังค์รัฐบาลแมนจูของพระนางทูสีไทเฮา
ดร.ซุนยัดเซ็น หัวหน้าก็กหมิ่งตั๊ง ได้ก่อแนวร่วมแห่งการปฏิวัติ และแสวงหาการสนับสนุนจากจีนโพ้นทะเล ดร.ซุน ได้ชื่นชอบบทความฯใน นสพ. และเมื่อคราวมาเยือนกรุงสยาม ได้พำนักที่บ้านนายเซียวฮุดเส็งระยะหนึ่ง ในพศ.2474
เมื่อดร.ซุน ได้ปฎิวัติสำเร็จ ได้แต่งตั้งนายเซียวฮุดเส็งเป็นรัฐมนตรีประจำกระทรวงชาวจีนโพ้นทะเล บุตรชายท่านไดตำแหน่งนายพลประจำกองทัพจีน
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 07 มี.ค. 20, 08:47

ภาพนายเซียวฮุดเส็ง สีบุญเรือง จากห้องสมุดประชาชน โรงเรียนธรรมอมรอนุสรณ์



สกุลสีบุญเรือง จัดทำโดย คุณวินท์ โอสถานนท์



เรื่องของนายเซียวฮุดเส็ง สีบุญเรือง เริ่มต้นนาทีที่ ๗.๐๐ ถึง นาทีที่ ๑๑.๐๐
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 07 มี.ค. 20, 09:16

ราชสำนักชิงที่พยายามซื้อใจพ่อค้าจีนในสยามโดยการมอบตำแหน่งขุนนางให้ในกรณีบริจาคช่วยเหลือราชสำนักจีน

เพียงหวังจะเฟื่องฟุ้ง
จึงหมายมุ่งมาถวาย
เงินทองทรัพย์มากมาย
แลกยศศักดิ์จากต้าชิง



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 07 มี.ค. 20, 09:51

ภายหลัง ยังได้แต้ตี่ย้งหรือยี่กอฮงมาร่วมด้วย ทำให้ก๊กมินตั๋งในสยามแข็งแกร่งขึ้น

ยี่กอฮง (ฮง เตชะวณิช) ได้รับบรรดาศักดิ์จากฝ่ายไทยเป็น พระอนุวัฒน์ราชนิยม และได้รับการแต่งตั้งจากฝ่ายจีนเป็นขุนนางฝ่ายพลเรือน ระดับ ๑ ชั้นโท ตำแหน่ง หย่งหลกไต่ฮู

ครอบครัวยี่กอฮงและคฤหาสน์ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งสถานีตำรวจนครบาลพลับพลาไชย)

ภาพจากหนังสือ Twentieth Century Impressions of Siam หน้า ๒๘๙




ชื่อ ยี่กอฮง 二哥丰 เป็นฉายาแปลว่า พี่รองฮง เป็นคนจีนแต้จิ๋วแซ่แต้ 郑 ชื่อ หงี่ฮง 义丰

เมื่อครั้งที่ ดร.ซุนยัตเซ็นออกเดินทางทั่วโลกเพื่อหาเงินทุนและความช่วยเหลือจากจีนโพ้นทะเลเพื่อทำการปฏิวัติโค่นราชวงศ์ชิง ขับไล่แมนจู ในวันที่ ๒๐ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๑ ดร.ซุนยัตเซ็นมาถึงเมืองไทย ยี่กอฮงให้การต้อนรับ และในคืนนั้นที่คฤหาสน์ของยี่กอฮง ว่ากันว่า หลังจากพูดคุยกับดร.ซุนยัตเซ็นแล้ว ด้วยเลือดรักชาติอันระอุผ่าว ยี่กอฮงตัดสินใจตัดผมเปียทิ้ง และอาสาเป็นผู้ก่อตั้งสมาคมลับถงเหมิงฮุ่ยประจำประเทศไทยขึ้น แล้วยังมอบเงินสนับสนุนการปฏิวัติกับดร.ซุนเป็นจำนวนเงินถึงหนึ่งแสนหยวน แล้วสาบานเป็นพี่น้องกับดร.ซุนยัตเซ็นที่อายุอ่อนกว่า

ดร.ซุนยัตเซ็นผู้นี้เองที่เป็นคนตั้งชื่อให้ยี่กอฮงว่า “ตี้ย้ง 智勇” หมายถึงผู้ที่มีพร้อมทั้งปัญญาและความกล้าหาญ “有智有勇”  ดร.ซุนยัตเซ็นยังยกย่องยี่กอฮงอีกว่าเป็น เจ้าสัวนักปฏิวัติ 革命座山

http://www.gypzyworld.com/article/view/1356
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 07 มี.ค. 20, 10:03

ประวัติที่ปรากฏเป็นทางการ

รองหัวหมื่นพระอนุวัตน์ราชนิยม (ฮง เตชะวณิช) มีชื่อจีนว่า "ยี่กอฮง" (二哥豐) หรือ "ตี้ยัง แซ่แต้"(鄭智勇) เกิดเมื่อวันอังคาร ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 3 ปีจอ พ.ศ. 2392 แต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเกิดในประเทศไทย หรือเดินทางมาจากประเทศจีน ท่านประกอบอาชีพค้าขาย และมีตำแหน่งเป็นนายอากรที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2479 รวมอายุได้ 87 ปี

ประวัติของยี่กอฮงนั้น ส่วนที่เชื่อว่า เกิดในประเทศไทย ยี่กอฮงเป็นบุตรนายเกีย แซ่แต้ ชาวจีน กับนางเกิด ชาวไทย ซึ่งเมื่อยี่กอฮงถือกำเนิดมานั้น นายเกียผู้เป็นบิดาได้ตั้งหลักฐานอยู่ในพระนคร โดยเปิดร้านค้าขายผ้าอยู่ที่หัวมุมสี่กั๊กพระยาศรี เสาชิงช้า ด้านถนนบำรุงเมือง เมื่ออายุประมาณ 7 ขวบ บิดาและมารดาถึงแก่กรรม ญาติฝ่ายบิดาที่เป็นคนจีนจึงรับกลับไปอยู่ที่เมืองจีนจนกระทั่งอายุ 16 ปี จึงกลับมายังประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2409 และไม่ได้กลับไปประเทศจีนอีกเลย โดยได้เข้าทำงานเป็นเสมียนโรงบ่อนของพระยาภักดีภัทรากร (เล่ากี้ปิง)

ส่วนที่เชื่อว่า เกิดในประเทศจีน ยี่กอฮงเป็นชาวจีนแต้จิ๋วที่ถือกำเนิดในมณฑลกวางตุ้ง ใน พ.ศ. 2394 เมื่ออายุ 16 ปี ได้เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยตั้งปณิธานว่าจะประกอบอาชีพค้าขายในสยามตลอดชีวิต

การมาพำนักอยู่ในประเทศไทย ยี่กอฮงได้เลือกอาศัยและประกอบอาชีพค้าขายอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ และได้สมรสเป็นลูกเขยของคหบดีย่านตลาดสันป่าข่อย จนอายุได้ประมาณ 30 ปี ยี่กอฮงได้ล่องแพนำสินค้าลงมาค้าขายอยู่แถวบริเวณหน้าจวนของท่านเจ้าคุณโชฎึกราชเศรษฐี บริเวณวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เมื่อค้าขายได้ในระดับหนึ่ง ยี่กอฮงจึงตัดสินใจมาตั้งรกรากทำการค้าอยู่ที่พระนครโดยถาวร โดยเลือกทำเลปลูกตึกอยู่ตรงสถานีตำรวจพลับพลาชัยในปัจจุบัน

ยี่กอฮงมีส่วนในการบริจาคทรัพย์สินและได้สร้างสาธารณประโยชน์ไว้อย่างมากมาย เช่น ถนน, สะพานฮงอุทิศ สะพานนิยมนฤนาถ สะพานอนุวัฒนโรดม, โรงเรียนวัดสะพานสูง (โรงเรียนโยธินบูรณะ), โรงเรียนป้วยเองหรือโรงเรียนเผยอิง เมื่อ พ.ศ. 2463, ศาลเจ้าเก่าถนนทรงวาด, ศาลเจ้าไต้ฮงกง, ก่อสร้างท่าน้ำฮั่วเซี้ยม, ริเริ่มก่อตั้งโรงพยาบาลเทียนฟ้า เป็นต้น ท่านเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งขึ้น โดยชักชวนเหล่าพรรคพวกเพื่อนฝูงในสมัยนั้น มาร่วมกันสร้างมูลนิธิช่วยเหลือผู้ยากไร้ตกทุกข์ได้ยากและสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่เด็กที่เรียนดีแต่ยากไร้ อีกทั้งยังเป็นผู้มีส่วนในการรณรงค์หาเงินเข้าสภากาชาดไทยอย่างมากมาย รวมถึงได้บริจาคเงิน 10,000 บาทในการก่อสร้างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยได้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์หมายเลข 9

พระราชทานบรรดาศักดิ์
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงทราบถึงคุณความดีและทรงพอพระทัยอย่างมาก จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "พระอนุวัตน์ราชนิยม"รองหัวหมื่น กรมมหาดเล็ก เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2461 และพระราชทานนามสกุล "เตชะวณิช" ตำแหน่งนายอากร เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2461

บั้นปลายชีวิต
เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2479 รองหัวหมื่นพระอนุวัตน์ราชนิยมได้เสียชีวิตลงอย่างสงบในบ้านของท่าน สิริอายุรวม 87 ปี ศพของท่านได้นำกลับไปฝัง ที่สุสานในเมืองปังโคย ประเทศจีน ขณะเดียวกันหลวงอดุลเดชจรัส ผู้เป็นอธิบดีกรมตำรวจในสมัยนั้นมีความต้องการใช้บ้านของท่านมาเป็นโรงพักกลางแทนโรงพักสามแยกที่ถูกไฟไหม้เสียหายไป จึงทำการรื้อตัวอาคารเดิมทั้งหมดทิ้งลง แล้วสร้างอาคารใหม่ขึ้นมาแทน และสร้างศาลพ่อปู่เจ้ายี่กอฮงไว้บนโรงพักแห่งนี้ด้วย

จากวิกิพีเดีย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 10 พ.ค. 20, 13:09

ภาพนายเซียวฮุดเส็ง สีบุญเรือง จากห้องสมุดประชาชน โรงเรียนธรรมอมรอนุสรณ์


ภาพวัยหนุ่ม ลงสีโดยคุณหนุ่มสยาม

จาก FB สยามพหุรงค์


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
นโม ตสฺส
พาลี
****
ตอบ: 216


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 19 พ.ค. 20, 18:11

สุสานของยี่กอฮง (二哥豐墓) ที่หมู่บ้านคี้ฮึ๊ง (淇園鄉) อำเภอเตี่ยอัง (潮安縣) แต้จิ๋ว 祖考榮祿大夫智勇鄭公墓


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
vilat
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 01 มิ.ย. 23, 10:36

เรียนหาข้อมูลเพิ่ม ผมกำลังหาหลักฐานว่า ยี่กอฮง เป็นจีนในใต้ร่มของฝรั่งเศส ใช่หรือไม่ ท่านใดพอทราบ เรียนขอความรู้ด้วยครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 01 มิ.ย. 23, 10:47

เห็นจะต้องพึ่งคุณเพ็ญชมพูอีกครั้งละค่ะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 02 มิ.ย. 23, 09:35

ต้องถามคุณ vilat ว่า ทำไมคิดว่า ยี่กอฮง น่าจะเป็นจีนในร่มธงของฝรั่งเศส❓

หลักฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้ของ ยี่กอฮง ยังหาไม่พบ แต่พอมีข้อมูลคนจีนในบังคับตะวันตก หรือ "จีนในร่มธง" ระดับพ่อค้าคหบดีชั้นนำที่ร่ำรวยและทรงอิทธิพลต่อเศรษฐกิจของสยามในขณะนั้น เช่นนายตันฉี่อฮ้วง (เฉินฉือหวง) ต้นตระกูลหวั่งหลีเป็นคนในบังคับอังกฤษ ส่วนนายตันลิบบ๊วย (เฉินลี่เหมย) บุตรชายคนรองผู้รับสืบทอดธุรกิจตระกูลเป็นคนในบังคับฝรั่งเศส 

พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร เขียนไว้ในเรื่อง "ร่มธง" กับ "ผูกปี้"  ในหนังสือดุจนาวากลางมหาสมุทร ว่า ใบร่มธงของฝรั่งเศสเป็นที่นิยมในหมู่พ่อค้าข้าว และเจ้าของโรงสีชั้นนำ คาดว่าเพราะอาณานิคมอินโดจีนของฝรั่งเศส ได้แก่ ลาว เขมร และเวียดนาม เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวสำคัญ นอกจากนายตันลิบบ๊วยแล้วยังมีครอบครัวของกอม้าหัว บิดาของกอฮุ่ยเจี๊ยะ (เกาฮุยสีอ) ผู้ก่อตั้งและนายกคนแรกของหอการค้าไทย-จีน และครอบครัวของท่านล้อม เหมะชญาติที่เป็นคนในปกครองของฝรั่งเศส

นอกจากนี้ยังมี หลวงอุดรพาณิชย์ (เต็ง โสภโณดร) คหบดีจีนแต้จิ๋วที่เดินทางมายังสยามเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๒ สมัครเป็นคนในบังคับอังกฤษ ส่วนพระโสภณเพ็ชรรัตน์ (กิ๊ โสภโณดร) บุตรชาย เข้าเป็นคนในคุ้มครองของฝรั่งเศส

จาก ปัญหา "จีนในร่มธง" และแนวคิดการจัดตั้งกงสุลจีน ประจำสยามสมัยรัชกาลที่ ๕
บันทึกการเข้า
vilat
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 05 มิ.ย. 23, 11:20

เรียนคุณเพ็ญชมพู ที่สงสัยหาหลักฐานว่า ยี่กอฮงเป็นคนในร่มธงฝรั่งเศส เป็นความทรงจำเก่า ที่เลือนลางไปว่า เคยอ่านเจอที่ไหน พอดีช่วยเพื่อนเขียนบทความเกี่ยวกับยี่กอฮง เพื่อออกรายการวิทยุ เลยค้นหาดู ปรากฏว่า หาไม่พบ เลยลองเรียนถามหาความรู้จากท่านอื่น  และขอขอบพระคุณ คุณเพ็ญชมพู ที่ช่่วยตอบกระทู้ ขยายความรู้ให้
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 20 คำสั่ง