เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 6430 ว่าด้วยคนจีนในเมืองไทยในรัชสมัยรัชกาลที่ ๕
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 06 มิ.ย. 23, 20:44

ไม่เกี่ยวกับยี่กอฮง  เอามาเป็นความรู้ประกอบเท่านั้นค่ะ

https://www.silpa-mag.com/history/article_76930


บันทึกการเข้า
ทิพยุทธ
อสุรผัด
*
ตอบ: 28


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 09 ก.ค. 23, 17:42

ส่วนตัวผมคิดว่าเป็นเพราะเทคโนโลยียุคใหม่กำลังครอบคลุมเข้ามาในอาณาจักรต่างๆ​ ทำให้อารยธรรมการปกครองของประเทศต่างๆเปลี่ยนแปลงไป​ ชาวจีนการปกครองแบบราชวงศ์ก็สิ้นสุดลง​ ชาวจีนบางส่วนก็ขยับขยายออกมาทำมาหากินในต่างแดน​  ในส่วนตัวผมคิดว่าขณะที่บ้านเมืองใดเมืองหนึ่งกำลังจะเปลี่ยนแปลงการปกครอง​ คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะใช้ชีวิตแบบเดิมเหมือนที่เคยเปน​ จะมีฝ่ายที่มีอำนาจขึ้นมา​ ส่วนพวกตรงข้ามก็อาจมีความคิดที่จะขยับขยายออกไปหากินที่ใหม่​ คนจีนที่เข้ามาแรกๆถึงมองเห็นโอกาส​ จากบ้านเมืองที่ยังสงบสุข​ ทำมาหากินสะสมเงินทองจนร่ำรวย​ ส่วนเราคนไทยในขณะนั้นน่าจะสงบสุข​ มีการฑูตก็เลยยังมิได้ตระหนกอะไรเท่าไร​ เลยใช้ชีวิตแบบพอเพียงเหมือนที่เคย​ ถ้าสังเกตุดูให้ดีๆผมว่านี่อาจไม่ใช่แค่การอพยพย้ายถิ่นฐาน​ แต่เหมือนการไล่ล่าอารยธรรมเก่าจากอารยธรรมยุคใหม่​ ราชวงศ์โมกุนอินเดีย​ จักรพรรดิญี่ปุ่น​ ราชวงศ์เกาหลี​ อารยธรรมการปกครองของประเทศต่างๆก้อเริ่มหายไป​ ผมว่าไทยครองเอกราชมาได้ขนาดนี้​ น่าภูมิใจมาก​ กับประเทศของเราครับ
ยุคกลียุค​ #ยุคพระศรีอารย
บันทึกการเข้า
ong
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 22 ก.ย. 23, 11:37

 จากหนังสือหนังสือ "ลักษณะของนายทุนไทยในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2457-2482: บทเรียนจากความรุ่งโรจน์สู่โศกนาฏกรรม" สำนักพิมพ์พันธกิจ ผู้เขียน พรรณี บัวเล็ก
ในปี พ.ศ. 2453 (1910) จีนฮง หรือ พระอนุวัตร์ราชนิยมได้ยื่นเรื่องขอจัดตั้งสโมสรในลักษณะเดียวกับสโมสรพาณิชย์จีน ชื่อสโมสรพาณิชย์การฝรั่งเศสแลจีนในกรุงสยามโดยมีราชทูตฝรั่งเศสเป็นผู้ขออนุมัติให้ ทางฝ่ายไทยก็ได้อนุมัติให้จัดตั้งได้โดยไม่ต้องจดทะเบียนสโมสรแห่งนี้มี นายแต้ฮง หรือพระอนุวัตร์ราชนิยมเป็นผู้ขอจดทะเบียนคณะกรรมการชุดแรกของสโมสรในปี พ.ศ. 2460(1917) มีนายแต้ฮงเป็นประธานกรรมการ และนายตันลิบบ๊วย หวั่งหลี เป็นรองประธาน" สโมสรแห่งนี้พยายามดำเนินบทบาทแข่งขันกับสมาคมพาณิชย์จีนแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ไม่มีบทบาททั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง บรรดาพ่อค้าชาวจีนไม่สนใจเข้าเป็นสมาชิก รัฐบาลก็ไม่ค่อยไว้ใจสโมสรแห่งนี้ เนื่องจากสโมสรมีกงสุลฝรั่งเศสเป็นผู้สนับสนุน และรัฐบาลเองก็ไม่ไว้ใจนายแต้ฮงประธานสโมสรแห่งนี้  ซึ่งเป็นเจ้าภาษีฝิ่นและนายอากรรายใหญ่ของกรุงเทพในขณะนั้น
ข้อมูลในหนังสือ  110 ปี ของสมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ (110 ans d’histoire...) “สมาคมแห่งแรกของชาวฝรั่งเศสในสยามเกิดขึ้น มาแล้วเมื่อปี 2441 โดยการนำของอุปทูตฝรั่งเศสในขณะ นั้นซึ่งมีสมาชิกเป็นทั้งเจ้าของกิจการอุตสาหกรรมและ พ่อค้าชาวจีนจำนวนไม่น้อย สมาคมนี้จะมีการติดต่อขอเข้าร่วมกับสมาคมฝรั่งเศสหรือ ไม่ วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งไม่ได้รับการรับรองจากปารีส หรืออย่างไร หรือเป็นเพียงเพราะเหล่าสมาชิกไม่มีใคร อยากเข้าร่วมกิจกรรมของสมาคมนี้อีก เอกสารหลักฐาน ไม่มีกล่าวเอาไว้ แต่ที่แน่ๆ คือสมาคมที่ว่านี้หายสาบสูญไป อย่างรวดเร็ว 
หมายเหตุ ปี พ.ศ.อ้างอิงไม่ตรงกัน(2441 VS 2453) แต่เนื้อหาใกล้เคียงกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 22 ก.ย. 23, 16:56

     พอจะทราบประวัติของนายตันลิบบ๊วยอยู่บ้าง ว่าเป็นบุตรชายของนายตันฉื่อฮ้วง  ต้นตระกูลหวั่งหลีในสยาม   
     ถิ่่นฐานเดิมของนายตันฉื่อฮ้วงอยู่ที่ซัวเถา  เดินทางมาค้าขายที่สยามตั้งแต่รัชกาลที่ ๕    ได้ภรรยาเป็นคนไทยเชื้อจีนชื่อหนู อยู่ในตระกูลโปษยานนท์  มีบุตร 2 คน คนโตคือนายตันลิบบ๊วย  บิดาส่งไปเล่าเรียนที่จีน  กลับมาทำธุรกิจค้าข้าวต่อจากบิดาซึ่งกลับไปใช้ชีวิตบั้นปลายกับภรรยาคนจีนในประเทศจีน
    นายตันลิบบ๊วยได้รับสัญชาติไทย รับรองโดยพระยามานนวราชเสวี  เพราะมีแม่เป็นไทย  ในประวัติของตระกูลหวั่งหลีเล่าว่า ท่านเป็นผู้หนึ่งที่ร่วมก่อตั้ง ‘เสียมเกียตงฮั้วจงเซียงกวย’ หรือสโมสรพาณิชย์จีนแห่งกรุงสยาม เมื่อ พ.ศ. 2471
ไม่ทราบว่าเป็นสมาคมเดียวกับ สโมสรพาณิชย์การฝรั่งเศสแลจีนในกรุงสยาม หรือเปล่า


ภาพของนายตันลิบบ๊วย


บันทึกการเข้า
ong
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 28 ก.ย. 23, 15:39

ถ้าผมจำไม่ผิด มี 2 สมาคมการค้าของคนจีนครับ ในยุคนั้น  ลองหาดูข้อมูลในหนังสือ อ.พรรณา บัวเล็กครับ   ลักษณะของนายทุนไทย 2457-2482
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 29 ก.ย. 23, 11:23

เขิญอ่าน

ชาวจีนในประเทศไทยกับปัญหาด้านการเมือง  โดย ขจัดภัย บุรุษพัฒน์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 30 ก.ย. 23, 14:01

อ่านโทรเลข ‘เซียวฮุดเสง’ ถึง ‘ในหลวงรัชกาลที่ 7’ หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475
 นริศ จรัสจรรยาวงศ์


“ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วว่า นายเซียวฮุดเสง สีบุญเรือง ได้เป็นนักหนังสือพิมพ์และนักการเมือง ซึ่งนิยมการปกครองระบอบประชาธิปไตย และเป็นผู้ที่ได้เคยเสียสละและฝ่าอุปสรรคนำมติมหาชนในประเทศไทยนี้ชั่วเวลาหลายปี เมื่อประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญแล้ว ขณะนั้น นายเซียวฮุดเสง กำลังอยู่ในประเทศจีน ได้มีโทรเลขเข้ามากราบบังคมทูลพระมหากษัตริย์แสดงความชื่นชมยินดีที่ทรงพระกรุณาพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ประชาชนชาวไทย”  
                                          ประดิษฐมนูธรรม กรุงเทพฯ วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2482


นอกเหนือจากนายเซียวฮุดเสงจะมีมิตรภาพส่วนตัวกับ ดร.ซุนยัดเซ็น นักปฏิวัติชาวจีนผู้สามารถพลิกประวัติศาสตร์โค่นล้มระบอบกษัตริย์ของประเทศจีนได้สำเร็จแล้ว เขายังมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อสองคณะปฏิวัติที่สำคัญของประเทศสยาม คือ คณะ ร.ศ.130 และ คณะราษฎร 2475 อีกด้วย

https://www.the101.world/sieohutseng/


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 30 ก.ย. 23, 14:03

 ยิ้ม


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 19 คำสั่ง