เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 6103 รู้สึกคุ้นๆน่ะครับ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 14 พ.ค. 20, 18:40

     แปลไทยเป็นไทยว่า  ในบันทึกที่อ้างว่าเป็นของหลวงปู่คำ เจ้าอาวาสวัดอมรินทร์    ท่านเขียนนามสกุลของเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดีไว้ตั้งแต่ก่อนสยามจะมีนามสกุลประมาณ 40 ปี   
     มิหนำซ้ำ  ยังระบุไว้ด้วยว่า เจ้าพระยาภาณุวงศ์มีนามสกุลว่า "บุนนาค"
     ทั้งๆในพ.ศ. 2414-2416   ไม่มีใครในสยามรู้กันเลยว่านามสกุลคืออะไร 

     ข้อผิดพลาดเหล่านี้เป็นหลักฐานได้ถึงความน่าเชื่อถือของเอกสารเหล่านี้ว่ามีมากน้อยแค่ไหน

     มองในแง่ร้ายสักหน่อย   การจับข้อเท็จจริงเหล่านี้จะกลายเป็นมีดสองคม    ถ้าในอนาคต  ใครคิดจะปลอมแปลงเอกสารหรืออะไรขึ้นมา คงอุดช่องโหว่ได้มากทีเดียว  จากข้อพิสูจน์ที่เรากำลังทำกันอยู่  เช่นจะไม่เขียนพ.ศ.  และไม่วงเล็บนามสกุลตั้งแต่ในรัชกาลที่ 5   ในเมื่อนามสกุลเพิ่งมีในรัชกาลที่ 6
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 14 พ.ค. 20, 19:36

อาจด้วยความไม่เข้าเรื่องใจราชทินนาม หลวงวิจารณ์เจียรนัย จึงเขียนแยกกันเหมือนเป็นชื่อและนามสกุล คือ หลวงวิจารณ์ เจียรนัย  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 15 พ.ค. 20, 19:15

การปลอมแปลงประวัติศาสตร์เพื่อการตลาดพุทธพาณิชย์ครั้งยิ่งใหญ่ ณ กาลปัจจุบัน ตอนที่ ๔

วิสัชนาภาพหลวงวิจารณ์ เจียรนัย กับ นางเง็ก ของนายยอด

ที่ปรึกษาของนายยอดเป็นถึงนายพลเชียวหนา
 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 15 พ.ค. 20, 19:23

ความเห็นที่น่าสนใจจากคุณธีรนนท์ โพธาราช

คำบรรยายบอกว่า เป็นภาพปี พ.ศ. ๒๔๑๔ แต่หลวงวิจารณ์ใส่ชุดราชประแตน นุ่งผ้าม่วง ส่วนนางเง็กใส่เสื้อลูกผ้าสมัย ร.๖ นุ่งผ้าซิ่นล้านนา

- พ.ศ. ๒๔๑๔ ยังไม่เสื้อราชประแตน ต้องรออีก ๒ ปี ที่รัชกาลที่ ๕ เสด็จอินเดีย และโปรดให้ช่างที่เมืองกัลกัตตา ตัดเสื้อราชประแตนถวาย
- พ.ศ. ๒๔๑๔ ผู้หญิงสยามยังไม่นิยมสวมเสื้อลูกไม้ แม้แต่เสื้อแขนหมูแฮม (leg o’motton sleeve) ก็ยังไม่นิยมในสยาม เพิ่งมาฮิตกันในปี พ.ศ. ๒๔๓๘
- พ.ศ. ๒๔๑๔ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ยังไม่ได้เสด็จลงมากรุงเทพ คนกรุงเทพไม่รู้จักผ้าซิ่นเมืองเหนือแพร่หลายและไม่นิยมใส่กัน รู้จักเพียงผ้าซิ่นลาวโซ่ง แต่นางเง็กมีผ้าซิ่นเมืองเหนือใส่แล้ว แปลกมาก


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 15 พ.ค. 20, 19:39

ภาพนี้เคยนำมาวิสัชนาไว้แล้วที่กระทู้ "ขุนนางท่านใด"

ภาพลงสีโดยคุณหนุ่มสยาม

จาก FB สยามพหุรงค์



คุณตาคุณยายของคุณภัทราวดี มีชูธน ศิลปินแห่งชาติ  สาขาศิลปะการแสดง ประจำปี พ.ศ. 2557

จาก FB คุณนวรัตน



คลิปที่นายยอดออกมาตอบโต้คุณนวรัตน

นาทีที่ ๑๖.๕๐ "นี่คือทวดใหญ่ของผม ของจริงครับ ใครว่าไม่จริงก็ไปแจ้งความเถิดครับ ว่าผมหลอกลวง" นายยอดท้าทายทายาทตัวจริงของพระยาราชมนตรี (สง่า สิงหลกะ) แลคุณหญิงบุญปั๋น สิงหลกะ  ตกใจ

จาก นิตยสารผู้จัดการ มีนาคม ๒๕๓๖โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข

คุณหญิงสุภัทรา เป็นธิดาของมหาเสวกตรี พระยาราชมนตรี (สง่า สิงหลกะ) กับคุณหญิงบุญปั๋น มีพี่น้องร่วมสายเลือดเดียวกันคือ นายสนองราชบรรหาร (ชุบ), ชวน, เธียร, ทักษ์ สิงหลกะ และสุมิตรา (สิงหลกะ) สุจริตกุล

คุณหญิงสุภัทราและสามี สอาด มีชูธน อดีตอธิบดีกรมโรงงาน ให้กำเนิดบุตรีสองคน คือ สุภาพรรณ และภัทราวดี มีชูธน  สุภาพรรณ พิชัยรณรงค์สงคราม ปัจจุบันเป็นทายาทธุรกิจที่ดูแลกิจการบริษัทสุภัทรา ขณะที่ภัทราวดี มีชูธน มีวิถีการทำงานอิสระที่แตกต่างออกไป แต่ประสบความสำเร็จมีชื่อเสียงโด่งดังในวงการธุรกิจบันเทิง





คุณหญิงสุภัทราล่วงลับไปนานแล้ว   สุภาพสตรีในชุดสีฟ้าในภาพซ้ายบนคือคุณสุภาพรรณ พิชัยรณรงค์สงคราม ค่ะ

ก็ไม่รู้ว่าป่านนี้ทั้งคุณสุภาพรรณและคุณภัทราวดีจะทราบข่าวนี้หรือยัง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 17 พ.ค. 20, 18:30

การปลอมแปลงประวัติศาสตร์เพื่อการตลาดพุทธพาณิชย์ครั้งยิ่งใหญ่ ณ กาลปัจจุบัน ตอนที่ ๖



ความไม่เข้าใจของนายยอดต่อเรื่องการใช้ ร.ศ. และ พ.ศ. และคำถามถึงนายยอด
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 17 พ.ค. 20, 18:34

คำถามของคุณนวรัตนถึงนายยอด

เอาอย่างนี้ดีกว่า ผมรออยู่นานยังไม่เห็นเอ่ยถึง  ผมเป็นผู้สืบสายโลหิตขององค์ต้นราชสกุลนวรัตน ผมจึงมีสิทธิตามกฏหมายที่จะตั้งคำถามให้นายยอดตอบ ถ้าไม่ตอบในนี้ก็คงต้องไปตอบในศาล ว่า ทำไมจึงเอาพระรูปของพระองค์เจ้าเนาวรัตน์ กรมหมื่นสถิตย์ธำรงสวัสดิ์ ไปแอบอ้างว่าเป็นรูปถ่ายของหลวงวิจิตร นฤมล (เขียนแยกกันตามวิธีการของนายยอด)

ภาพล่างนี้ ถ้านายยอดถือรูปนี้ไปยืนส่องกระจกดูหลาย  ครั้ง ถ้าไม่เข้าใจว่าไม่รูปใดก็รูปหนึ่งได้ลอกเลียนอีกภาพ ก็เห็นจะเกินเยียวยา ทั้งสองรูปมีแต่หนวดที่ผิดกัน นอกนั้นตั้งแต่กระดุมเสื้อ ไปจนนิ้วมือที่วางบนโต๊ะ เหมือนกันหมดแบบไม่มีคิดจะดัดแปลง

นี่คนเขียนต้องการอะไร ?
หรือคนที่จ้างเขียนจะเอาอย่างนั้นให้ได้ ?
ด้วยวัตถุประสงค์เร้นลับอะไร?

นี่นายยอดต้องตอบ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 17 พ.ค. 20, 19:49

ในยุค 2414  นางเง็กน่าจะแต่งตัวอย่างภาพขวา เวลาอยู่บ้าน   ถ้าแต่งอย่างเป็นพิธีรีตองเต็มที่ก็อย่างภาพซ้าย 
ไม่ใช่เกล้าผม สวมเสื้อลูกไม้สะพายแพร นุ่งผ้าซิ่น   


บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 18 พ.ค. 20, 15:31

งานนี้เจ้าของสถานที่เจอของจริงเสียแล้ว หลังจากในกลุ่มคนนักประวัติศาสตร์ราชวงศ์ชิงเคยเปิดศึกมาหนึ่งรอบ  แต่ไม่ได้ทำอะไรมาก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 18 พ.ค. 20, 16:53

หาอ่านได้ที่ไหนคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 20 พ.ค. 20, 19:07

ชมรมผู้สนใจข้อมูลราชวงศ์ชิง

https://www.facebook.com/111221915569530/posts/3770803092944709/


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 28 ต.ค. 20, 17:04

ล่าสุดสามสหายแห่งศูนย์มหาสมบัติ ๓ แผ่นดิน ถูกกองบังคับการปราบปรามบุกเข้าจับกุมแล้ว



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 20 คำสั่ง