เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 6102 รู้สึกคุ้นๆน่ะครับ
ตรีเพชร
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


 เมื่อ 05 มี.ค. 20, 10:59

 เรื่องมีอยู่ว่า มีศูนย์จัดแสดงแห่งหนึ่งที่ปักษ์ใต้ ได้นำภาพสีน้ำมันของบุคคลต่างๆ ( เป็นผู้ชายทั้งหมด ) มาจัดแสดง ซึ่งผมดูแล้ว เห็นว่าหน้าตาคนในรูป ( เจ้าของศูนย์อ้างว่า เป็นบรรพบุรุษของตนเองบ้าง หรือเป็นช่างหลวง ช่างชาวบ้าน ช่างต่อเรือ นานาสารพัดที่ได้ช่วยสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี ) แกะพระสมเด็จ ) แลดูคล้ายคลึงกับพระบรมฉายาลักษณฺ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งวังหลวงและวังหน้าหลายพระองค์ และยังมีขุุนนางในตระกูลบุนนาค ตลอดจนขุนนางท่านอื่นๆที่มีบทบาทในช่วงรัชกาลที่ ๔ และ ๕ หลายท่าน จึงขอรบกวนผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านช่วยกันตรวจสอบด้วยครับ เพื่อช่วยปกป้องไม่ให้คนที่ไม่เคยเห็นหรือทราบข้อมูลได้รับข้อมูลที่ผิดพลาดน่ะครับ ขอขอบคุณล่วงหน้ามา ณ ที่นี้ด้วย

ขออนุญาตลงลิงค์วิดีโอเพื่อให้ทุกท่านได้ช่วยกันพิจารณานะครับ ขอบคุณครับ



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 05 มี.ค. 20, 12:30

  ภาพเหล่านี้บางภาพเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ และพระรูปเจ้านายในอดีต ที่เห็นกันได้ในอินเทอร์เน็ต     ผู้บรรยายก็ไม่ได้ปิดบังว่าเป็นบุคคลอื่น
  ส่วนภาพวาดนั้นดูยาก  เพราะอาจเหมือนหรือไม่เหมือนต้นแบบ และกล้องถ่ายก็เคลื่อนไหวตลอดเวลา ดูยากค่ะ

  ขอโทษที่ไม่สามารถช่วยเหลือได้ค่ะ
 
บันทึกการเข้า
ตรีเพชร
อสุรผัด
*
ตอบ: 0


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 05 มี.ค. 20, 13:09

ไม่เป็นไรครับ ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 09 พ.ค. 20, 16:51

คุณนวรัตนเผยความจริงในคลิปแรกไว้ที่ FB หัวข้อเรื่อง

การปลอมแปลงประวัติศาสตร์เพื่อการตลาดพุทธพาณิชย์ครั้งยิ่งใหญ่ ณ กาลปัจจุบัน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 10 พ.ค. 20, 10:14

การปลอมแปลงประวัติศาสตร์เพื่อการตลาดพุทธพาณิชย์ครั้งยิ่งใหญ่ ณ กาลปัจจุบัน ตอนที่ ๒

ยังมีต่อ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 10 พ.ค. 20, 11:08

เป็นคอลเลคชั่นพระรูปเจ้านายและภาพขุนนางสำคัญในอดีต ที่น่าจะรวบรวมเอาไว้มาก
ดิฉันขอรวบรวมภาพถ่าย (ไม่เกี่ยวกับภาพวาด) ซึ่งหมดลิขสิทธิ์แล้ว  ไปตั้งเป็นกระทู้ไฮโซโบราณ 3 นะคะ

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=7119.msg172407;topicseen#msg172407
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 11 พ.ค. 20, 19:55



คลิปนายยอดชี้แจงข้อกล่าวหาของคุณนวรัตน

นาทีที่ ๑๒.๒๕ "ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าตะปูขึ้นสนิมขนาดนี้ ต้องอายุหลักร้อยปี" นายยอดกล่าวด้วยความเชื่อมั่น  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
ราชประชา
อสุรผัด
*
ตอบ: 10



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 11 พ.ค. 20, 20:27

เคยมีเซียนพระเพื่อนฝูงกัน มาขอความเห็นผมในฐานะเป็นผู้ฝักไฝ่ประวัติศาสตร์ ผมตอบสั้นๆว่า
“ผมคงบอกคุณไม่ได้หรอกนะ ว่าสิ่งที่เห็นอยู่ในวิดีโอเนี้ยจริงหรือไม่จริง เอาเป็นว่าถ้าบล็อกพิมพ์พระสมเด็จ
มีถึงสามหมื่นแม่พิมพ์ หนึ่งแม่พิมพ์กดสิบครั้งก็ได้พระสามแสนองค์ ถ้ากดพิมพ์ละร้อยครั้งก็ได้พระสมเด็จราวสามล้านองค์
นั่นเป็นจำนวนที่มากกว่าชาวพระนครในเวลานั้น”
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 12 พ.ค. 20, 18:53

การปลอมแปลงประวัติศาสตร์เพื่อการตลาดพุทธพาณิชย์ครั้งยิ่งใหญ่ ณ กาลปัจจุบัน ตอนที่ ๓

วิสัชนาเรื่องการใช้ศักราชของไทย จาก ม.ศ. เป็น จ.ศ. เป็น ร.ศ. จนถึง พ.ศ.  




บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 13 พ.ค. 20, 12:33



คลิปนายยอดตอบโต้ "การปลอมแปลงประวัติศาสตร์ฯ ตอนที่ ๓”

นาทีที่ ๒๑.๒๐ "เพราะฉะนั้นผมเรียนให้ทราบเลย ร.ศ. ใช้ตั้งแต่ ๒๔๑๑ เป็นต้นไป" นายยอดกล่าวด้วยความมั่นใจ

นายยอดกรุณาอ่านตรงนี้ดี ๆ หนอ
 ยิงฟันยิ้ม

การใช้รัตนโกสินทรศกเป็นไปตาม ประกาศให้ใช้วันอย่างใหม่ ประกาศมา ณ วันพฤหัสบดี แรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๔ ปีชวดสัมฤทฺธิศก จุลศักราช ๑๒๕๐ และบังคับใช้ตั้งแต่วันจันทร์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ปีฉลูยังเป็นสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๕๐ ตรงกับวันที่ ๑ เมษายน รัตนโกสินทรศก ๑๐๘ (พุทธศักราช ๒๔๓๒)

ข้อ ๑ ให้ใช้ศักราชตามปีตั้งแต่กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทรมหินทรา ยุทธยามหาราชธานี เรียว่า "รัตนโกสินทร์ศก" ใช้เลขปีในรัชกาลทับหลังศกด้วย แต่เลขทับศกที่ประกาศไว้ในหมายประกาศสงกรานต์ ใช้เปลี่ยนต่อเมื่อเปลี่ยนจุลศักราชนั้น ให้ยกเสียให้เปลี่ยนเลขทับศกตามกาลที่เปลี่ยนรัตนโกสินทร์ศก

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2431/052/451_1.PDF



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 13 พ.ค. 20, 13:21

เห็นคำว่า พุทธพาณิชย์ ก็เลยนึกถึงข่าวนี้ขึ้นมาได้  แม้ว่าสามปีแล้วก็ยังทันสมัยอยู่ค่ะ

เปิดงานวิจัยของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พบ 10 รูปแบบพร้อมวิธีการในการทำ ‘ธุรกิจพุทธพาณิชย์’ ของบรรดาวัดต่าง ๆ ที่สามารถกระตุ้นความต้องการให้พุทธศาสนิกชนเข้ามาซื้อหาและครอบครอง ซึ่งทุกกิจกรรมของวัด ล้วนมีเป้าหมายเพื่อสร้างรายได้และแสวงหากำไร โดยเฉพาะมีการสร้างตำนานการตลาดที่ชวนให้หลงใหล เชื่อในอิทธิฤทธิ์ และผลบุญจากอานิสงส์ของการทำบุญ ที่สำคัญแค่การสร้างพระใหญ่ ก็ยังทำให้เกิดสารพัดกิจกรรมที่ทำให้เกิดผลประโยชน์ตามมาได้ทั้งวัดและผู้เกี่ยวข้อง


ข่าวนี้ยาวมาก ขอตัดตอนมาให้อ่านเพียงบางส่วนค่ะ

รูปแบบที่ 4 การให้เช่าบูชาพระเครื่อง พระบูชา เครื่องรางของขลัง วัตถุมงคล ถือเป็นรูปแบบที่มีมายาวนานและถูกตั้งคำถามในเรื่องของการเป็นพุทธพาณิชย์ ที่อาศัยความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ อิทธิปาฏิหาริย์ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมาด้วยคติความเชื่อทางศาสนา คุณค่าทางศิลปะ และวิธีทางการตลาด พัฒนาจนถึงขั้นที่ว่าสะสมไว้เพื่อการสร้างผลกำไรทางธุรกิจด้วยการนำไปให้คนเช่าบูชา ทัศนคติเหล่านี้ก่อให้เกิดความนิยมในแง่ของการเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการซื้อขายแลกเปลี่ยนโดยมีการสร้างนวัตกรรมรูปลักษณ์ใหม่ ๆ นำเสนอสินค้ารูปแบบใหม่ ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง

โดยพุทธพาณิชย์รูปแบบนี้จะผสมผสานกับการสร้างเรื่องเล่าสรรพคุณของพระเครื่องราง ของขลัง วัตถุมงคลนั้น ๆ และยังเชื่อมโยงไปถึงพระเกจิผู้สร้าง รูปแบบของพิธีปลุกเสกนั่งปรกอธิษฐานจิต รวมไปถึงประสบการณ์ของผู้ใช้วัตถุมงคล เรื่องอิทธิฤทธิ์ และเรื่องเจตนาในการสร้างในลักษณะเพื่อนำเงินที่ได้จากการให้เช่าบูชาไปทำกิจกรรมเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา บูรณปฏิสังขรณ์ หรือสาธารณประโยชน์อื่น ๆ


อ่านรายละเอียดทั้งหมดได้ที่นี่ค่ะ
https://mgronline.com/specialscoop/detail/9600000110404
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 14 พ.ค. 20, 15:18


วิสัชนาเรื่องสมุดไทยโบราณ  
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 14 พ.ค. 20, 15:47

การเขียนลงสมุดข่อย สมัยโบราณ  ลายมือบรรจงแบบนี้


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 14 พ.ค. 20, 16:34



นาทีที่ ๑.๑๕ "กระดาษสาซึ่งเป็นการบันทึกของหลวงปู่คำ เจ้าอาวาสวัดอมรินทร์ ท่านบันทึกไว้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๑๔ - ๒๔๑๖" นายกุ่ยบอกที่มาของสมุดไทยแผ่นนี้


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 14 พ.ค. 20, 16:44

ข้อพิรุธนอกจากลายมือและสำนวนการเขียนแล้ว ยังมีที่เห็นได้ชัด ๆ อยู่อีก ๒ จุด คือ การใช้ศักราชเป็น พ.ศ. ซึ่งเริ่มใช้อย่างเป็นทางการในรัชกาลที่ ๖ แล้ว

และชื่อเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี ในวงเล็บยังระบุชื่อ ท้วม และนามสกุล บุนนาค ซึ่งเป็นนามสกุลพระราชทานเมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๕


http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2456/D/648.PDF





บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 20 คำสั่ง